ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ฉบับที่ 50 (พ.ศ.2533)
เรื่อง กำหนดทองรูปพรรณ อัญมณีเจียระไน และอัญมณีขึ้นรูป
เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
________________
โดยที่ปรากฏว่าสินค้าประเภททองรูปพรรณ อัญมณีเจียระไน และอัญมณีขึ้นรูปยังแสดงสาระสำคัญเกี่ยวกับฉลากสินค้าไม่แจ้งชัด ดังนั้น เพื่อประโยชน์แก่การเลือกซื้อและป้องกันการหลอกลวง สมควรกำหนดให้ทองรูปพรรณ อัญมณี เจียระไน และอัญมณีขึ้นรูป เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
"ทองรูปพรรณ" (gold ornaments) หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ทำหรือประกอบขึ้นด้วยโลหะทองคำบริสุทธิ์หรือโลหะทองคำผสม
"อัญมณีเจียระไน" หมายความว่า รัตนชาติที่เป็นเพชรและพลอยตามธรรมชาติและที่สังเคราะห์ขึ้นด้วยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ ที่นำมาเจียระไนตกแต่งหรือขัดมันแล้ว
"อัญมณีขึ้นรูป" หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นด้วยอัญมณีเจียระไนประกอบขึ้นรูปโดยใช้ทองรูปพรรณ แพลทินัม เงิน หรือวัตถุอื่น
ข้อ 2 ให้ทองรูปพรรณ อัญมณีเจียระไน และอัญมณีขึ้นรูป เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ข้อ 3 ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับแก่ทองรูปพรรณ อัญมณีเจียระไน และอัญมณีขึ้นรูปที่ผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ทองรูปพรรณ อัญมณีเจียระไน และอัญมณีขึ้นรูปดังกล่าวต้องแสดงข้อความให้เห็นและอ่านได้ชัดเจนไว้ที่ภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุเป็นภาษาไทยว่า "สำหรับส่งออกเท่านั้น" หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า "For Export only"
(2) ทองรูปพรรณ อัญมณีเจียระไน และอัญมณีขึ้นรูปดังกล่าวต้องอยู่ในความครอบครองของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก หรือผู้ผลิต ผู้ขายหรือผู้จัดหาสินค้านั้นให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก
ข้อ 4 ทองรูปพรรณที่จะนำออกขายต้องจัดให้มีฉลากตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5 อัญมณีเจียระไนที่จะนำออกขายต้องจัดให้มีฉลากตามที่กำหนดไว้ในข้อ 6 สำหรับอัญมณีขึ้นรูปที่จะนำออกขายต้องจัดให้มีฉลากตามที่กำหนดไว้ในข้อ 7
ข้อ 5 ฉลากทองรูปพรรณต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน และข้อความในฉลากอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(1) ต้องแสดงข้อความเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจแล้วแต่กรณี ดังนี้
(ก)ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร ให้ระบุชื่อผู้ผลิตและสถานที่ประกอบการของผู้ผลิต
(ข) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อผู้นำเข้าและสถานที่ประกอบการของผู้นำเข้า
(ค)ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามความต้องการหรือเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นหรือเป็นสินค้าที่นำเข้าเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น ผู้ที่เกี่ยวข้องจะตกลงกันให้ระบุเฉพาะชื่อผู้ประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจรายใดรายหนึ่งแต่เพียงรายเดียวแทนก็ได้ แต่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้านั้นจะต้องส่งสำเนาข้อตกลงดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบก่อนจะนำสินค้านั้นออกขาย
ถ้าผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าหรือผู้ประกอบธุรกิจรายใดมีเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยแล้ว จะระบุเครื่องหมายการค้าแทนชื่อและสถานที่ประกอบการของตนก็ได้
(2) น้ำหนักทองรูปพรรณ โดยระบุหน่วยเป็นกรัม หรือใช้สัญลักษณ์ ก. หรือ g แทนก็ได้
ในกรณีฉลากตาม (1) และ (2) ให้ทำเป็นแผ่นป้ายแขวนหรือติดไว้ที่ทองรูปพรรณ
(3) ปริมาณทองคำบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณ โดยระบุหน่วยเป็นกะรัต หรือเปอร์เซนต์ หรือใช้สัญลักษณ์ kt หรือ K หรือ % แทนก็ได้
(4) เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยหรือรหัสร้านค้า
ในกรณีฉลากตาม (3) และ (4) ให้ทำติดไว้ที่ทองรูปพรรณอย่างเป็นเนื้อเดียวกัน
ในกรณีที่มีการใช้ภาษาต่างประเทศด้วย จะต้องใช้ข้อความที่ความหมายตรงกับฉลากภาษาไทย
ข้อ 6 ฉลากอัญมณีเจียระไน ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน โดยทำเป็นแผ่นป้ายแขวน หรือติดไว้ที่อัญมณีเจียระไน และข้อความในฉลากอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(1) ต้องแสดงข้อความเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจ แล้วแต่กรณีดังนี้
(ก)ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรให้ระบุชื่อผู้ผลิตและสถานที่ประกอบการของผู้ผลิต
(ข) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อผู้นำเข้าและสถานที่ประกอบการของผู้นำเข้า
(ค) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามความต้องการหรือเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น หรือเป็นสินค้าที่นำเข้าเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นผู้ที่เกี่ยวข้องจะตกลงกันให้ระบุเฉพาะชื่อผู้ประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจรายใดรายหนึ่งแต่เพียงรายเดียวแทนก็ได้ แต่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้านั้นจะต้องส่งสำเนาข้อตกลงดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบก่อนจะนำสินค้านั้นออกขาย
ถ้าผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าหรือผู้ประกอบธุรกิจรายใดมีเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยแล้ว จะระบุเครื่องหมายการค้าแทนชื่อและสถานที่ประกอบการของตนก็ได้
(2) ชนิดของอัญมณีเจียระไน โดยระบุเป็นชื่อทางการค้า (trade name) และชื่อทางแร่ (mineralogical name) สำหรับชื่อทางแร่นั้นให้เป็นไปตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ศัพท์บัญญัติชื่อแร่ พ.ศ. 2523 ถ้าชื่อทางการค้าตรงกับข้อห้ามในประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลากฉบับนี้อนุญาตให้ใช้ชื่อทางแร่อย่างเดียวได้ และระบุว่าเป็นอัญมณีธรรมชาติหรืออัญมณีสังเคราะห์ ทั้งนี้ ห้ามใช้คำว่าเพชรสำหรับอัญมณีที่ไม่ได้ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน (carbon) ตามธรรมชาติของเพชร
(3) น้ำหนักอัญมณีเจียระไน โดยระบุหน่วยเป็นกะรัต หรือใช้สัญลักษณ์ Ct หรือ C แทนก็ได้
(4) ราคา โดยระบุหน่วยเป็นบาท และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่นด้วยก็ได้
ในกรณีที่มีการใช้ภาษาต่างประเทศด้วย จะต้องใช้ข้อความที่มีความหมายตรงกับฉลากภาษาไทย
ข้อ 7 ฉลากอัญมณีขึ้นรูปต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน และข้อความในฉลากอย่างน้องต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(1) ต้องแสดงข้อความเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจแล้วแต่กรณี ดังนี้
(ก) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร ให้ระบุชื่อผู้ผลิต และสถานที่ประกอบการของผู้ผลิต
(ข) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อผู้นำเข้าและสถานที่ประกอบการของผู้นำเข้า
(ค) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามความต้องการหรือเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น หรือเป็นสินค้าที่นำเข้าเพื่อการขายของ ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น ผู้ที่เกี่ยวข้องจะตกลงกันให้ระบุเฉพาะชื่อผู้ประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจรายใดรายหนึ่งแต่เพียงรายเดียวแทนก็ได้ แต่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้านั้นจะต้องส่งสำเนาข้อตกลงดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบก่อนจะนำสินค้านั้นออกขาย
ถ้าผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าหรือผู้ประกอบธุรกิจรายใดมีเครื่องหมายการค้า ที่จดทะเบียนในประเทศไทยแล้ว จะระบุเครื่องหมายการค้าแทนชื่อและสถานที่ประกอบการของตนก็ได้
(2) ชนิดของอัญมณีเจียระไนที่ใช้ในการขึ้นรูป โดยระบุเป็นชื่อทางการค้า (trade name)หรือชื่อทางแร่ (mineralogical name) สำหรับชื่อทางแร่นั้นให้เป็นไปตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง ศัพท์บัญญัติชื่อแร่ พ.ศ. 2523 ถ้าชื่อทางการค้าตรงกับข้อห้ามในประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลากฉบับนี้ อนุญาตให้ใช้ชื่อแร่อย่างเดียวได้ และระบุว่าเป็นอัญมณีธรรมชาติหรืออัญมณีสังเคราะห์ ทั้งนี้ ห้ามใช้คำว่า เพชร สำหรับอัญมณีที่ไม่ได้ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน (carbon) ตามธรรมชาติของเพชร
(3) ต้องแสดงน้ำหนักอัญมณีเจียระไนแต่ละชนิดที่ใช้ในการขึ้นรูปโดยระบุหน่วยเป็นกะรัตหรือใช้สัญลักษณ์ Ct หรือ C แทนก็ได้ ตามกรณี (ก) หรือกรณี (ข) หรือทั้งสองกรณี ดังนี้
(ก) อัญมณีเจียระไนชนิดใดมีน้ำหนักต่อเม็ดตั้งแต่ครึ่งกะรัตขึ้นไปให้แสดงน้ำหนักของแต่ละเม็ดนั้น
(ข) อัญมณีเจียระไนชนิดใดมีน้ำหนักต่อเม็ดน้อยกว่าครึ่งกะรัตลงมาหากมีจำนวนหลายเม็ดที่มีน้ำหนักรวมกันแล้วตั้งแต่ครึ่งกะรัตขึ้นไป ให้แสดงน้ำหนักรวมของอัญมณีเจียระไนชนิดนั้น
(4) น้ำหนังทองรูปพรรณ หรือแพลทินัม หรือเงิน หรือวัตถุอื่นที่ใช้ในการขึ้นรูป โดยระบุหน่วยเป็นกรัม หรือใช้สัญลักษณ์ ก. หรือ g แทนก็ได้
ในกรณีฉลากตาม (1) ถึง (4) ให้ทำเป็นแผ่นป้ายแขวนหรือติดไว้ที่อัญมณีขึ้นรูป
(5) ปริมาณทองคำบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณที่ใช้ในการขึ้นรูปโดยระบุหน่วยเป็นกะรัตหรือเปอร์เซนต์ หรือใช้สัญลักษณ์ Kt หรือ K หรือ % แทนก็ได้
(6) เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยหรือรหัสร้านค้า
ในกรณีฉลากตาม (5) และ (6) ให้ทำติดไว้ที่ทองรูปพรรณอย่างเป็นเนื้อเดียวกัน
(7) ราคารวม โดยระบุหน่วยเป็นบาท และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่นด้วยก็ได้
ในกรณีฉลากตาม (7) ให้ทำเป็นแผ่นป้ายแขวนหรือติดไว้ที่อัญมณีขึ้นรูป
ในกรณีที่มีการใช้ภาษาต่างประเทศด้วย จะต้องใช้ข้อความที่มีความหมายตรงกับฉลากภาษาไทย
ข้อ 8 ให้ทองรูปพรรณ อัญมณีเจียระไน และอัญมณีขึ้นรูป ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีฉลากขณะนำเข้าที่ด่านศุลกากร แต่ต้องจัดให้มีฉลากตามประกาศนี้ก่อนที่จะนำออกขาย
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533
ประดิษฐ์ เชี่ยวสกุล
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
--ราชกิจจานุเบกษา--
ฉบับที่ 50 (พ.ศ.2533)
เรื่อง กำหนดทองรูปพรรณ อัญมณีเจียระไน และอัญมณีขึ้นรูป
เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
________________
โดยที่ปรากฏว่าสินค้าประเภททองรูปพรรณ อัญมณีเจียระไน และอัญมณีขึ้นรูปยังแสดงสาระสำคัญเกี่ยวกับฉลากสินค้าไม่แจ้งชัด ดังนั้น เพื่อประโยชน์แก่การเลือกซื้อและป้องกันการหลอกลวง สมควรกำหนดให้ทองรูปพรรณ อัญมณี เจียระไน และอัญมณีขึ้นรูป เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
"ทองรูปพรรณ" (gold ornaments) หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ทำหรือประกอบขึ้นด้วยโลหะทองคำบริสุทธิ์หรือโลหะทองคำผสม
"อัญมณีเจียระไน" หมายความว่า รัตนชาติที่เป็นเพชรและพลอยตามธรรมชาติและที่สังเคราะห์ขึ้นด้วยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ ที่นำมาเจียระไนตกแต่งหรือขัดมันแล้ว
"อัญมณีขึ้นรูป" หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นด้วยอัญมณีเจียระไนประกอบขึ้นรูปโดยใช้ทองรูปพรรณ แพลทินัม เงิน หรือวัตถุอื่น
ข้อ 2 ให้ทองรูปพรรณ อัญมณีเจียระไน และอัญมณีขึ้นรูป เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ข้อ 3 ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับแก่ทองรูปพรรณ อัญมณีเจียระไน และอัญมณีขึ้นรูปที่ผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ทองรูปพรรณ อัญมณีเจียระไน และอัญมณีขึ้นรูปดังกล่าวต้องแสดงข้อความให้เห็นและอ่านได้ชัดเจนไว้ที่ภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุเป็นภาษาไทยว่า "สำหรับส่งออกเท่านั้น" หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า "For Export only"
(2) ทองรูปพรรณ อัญมณีเจียระไน และอัญมณีขึ้นรูปดังกล่าวต้องอยู่ในความครอบครองของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก หรือผู้ผลิต ผู้ขายหรือผู้จัดหาสินค้านั้นให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก
ข้อ 4 ทองรูปพรรณที่จะนำออกขายต้องจัดให้มีฉลากตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5 อัญมณีเจียระไนที่จะนำออกขายต้องจัดให้มีฉลากตามที่กำหนดไว้ในข้อ 6 สำหรับอัญมณีขึ้นรูปที่จะนำออกขายต้องจัดให้มีฉลากตามที่กำหนดไว้ในข้อ 7
ข้อ 5 ฉลากทองรูปพรรณต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน และข้อความในฉลากอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(1) ต้องแสดงข้อความเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจแล้วแต่กรณี ดังนี้
(ก)ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร ให้ระบุชื่อผู้ผลิตและสถานที่ประกอบการของผู้ผลิต
(ข) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อผู้นำเข้าและสถานที่ประกอบการของผู้นำเข้า
(ค)ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามความต้องการหรือเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นหรือเป็นสินค้าที่นำเข้าเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น ผู้ที่เกี่ยวข้องจะตกลงกันให้ระบุเฉพาะชื่อผู้ประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจรายใดรายหนึ่งแต่เพียงรายเดียวแทนก็ได้ แต่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้านั้นจะต้องส่งสำเนาข้อตกลงดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบก่อนจะนำสินค้านั้นออกขาย
ถ้าผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าหรือผู้ประกอบธุรกิจรายใดมีเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยแล้ว จะระบุเครื่องหมายการค้าแทนชื่อและสถานที่ประกอบการของตนก็ได้
(2) น้ำหนักทองรูปพรรณ โดยระบุหน่วยเป็นกรัม หรือใช้สัญลักษณ์ ก. หรือ g แทนก็ได้
ในกรณีฉลากตาม (1) และ (2) ให้ทำเป็นแผ่นป้ายแขวนหรือติดไว้ที่ทองรูปพรรณ
(3) ปริมาณทองคำบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณ โดยระบุหน่วยเป็นกะรัต หรือเปอร์เซนต์ หรือใช้สัญลักษณ์ kt หรือ K หรือ % แทนก็ได้
(4) เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยหรือรหัสร้านค้า
ในกรณีฉลากตาม (3) และ (4) ให้ทำติดไว้ที่ทองรูปพรรณอย่างเป็นเนื้อเดียวกัน
ในกรณีที่มีการใช้ภาษาต่างประเทศด้วย จะต้องใช้ข้อความที่ความหมายตรงกับฉลากภาษาไทย
ข้อ 6 ฉลากอัญมณีเจียระไน ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน โดยทำเป็นแผ่นป้ายแขวน หรือติดไว้ที่อัญมณีเจียระไน และข้อความในฉลากอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(1) ต้องแสดงข้อความเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจ แล้วแต่กรณีดังนี้
(ก)ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรให้ระบุชื่อผู้ผลิตและสถานที่ประกอบการของผู้ผลิต
(ข) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อผู้นำเข้าและสถานที่ประกอบการของผู้นำเข้า
(ค) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามความต้องการหรือเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น หรือเป็นสินค้าที่นำเข้าเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นผู้ที่เกี่ยวข้องจะตกลงกันให้ระบุเฉพาะชื่อผู้ประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจรายใดรายหนึ่งแต่เพียงรายเดียวแทนก็ได้ แต่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้านั้นจะต้องส่งสำเนาข้อตกลงดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบก่อนจะนำสินค้านั้นออกขาย
ถ้าผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าหรือผู้ประกอบธุรกิจรายใดมีเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยแล้ว จะระบุเครื่องหมายการค้าแทนชื่อและสถานที่ประกอบการของตนก็ได้
(2) ชนิดของอัญมณีเจียระไน โดยระบุเป็นชื่อทางการค้า (trade name) และชื่อทางแร่ (mineralogical name) สำหรับชื่อทางแร่นั้นให้เป็นไปตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ศัพท์บัญญัติชื่อแร่ พ.ศ. 2523 ถ้าชื่อทางการค้าตรงกับข้อห้ามในประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลากฉบับนี้อนุญาตให้ใช้ชื่อทางแร่อย่างเดียวได้ และระบุว่าเป็นอัญมณีธรรมชาติหรืออัญมณีสังเคราะห์ ทั้งนี้ ห้ามใช้คำว่าเพชรสำหรับอัญมณีที่ไม่ได้ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน (carbon) ตามธรรมชาติของเพชร
(3) น้ำหนักอัญมณีเจียระไน โดยระบุหน่วยเป็นกะรัต หรือใช้สัญลักษณ์ Ct หรือ C แทนก็ได้
(4) ราคา โดยระบุหน่วยเป็นบาท และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่นด้วยก็ได้
ในกรณีที่มีการใช้ภาษาต่างประเทศด้วย จะต้องใช้ข้อความที่มีความหมายตรงกับฉลากภาษาไทย
ข้อ 7 ฉลากอัญมณีขึ้นรูปต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน และข้อความในฉลากอย่างน้องต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(1) ต้องแสดงข้อความเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจแล้วแต่กรณี ดังนี้
(ก) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร ให้ระบุชื่อผู้ผลิต และสถานที่ประกอบการของผู้ผลิต
(ข) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อผู้นำเข้าและสถานที่ประกอบการของผู้นำเข้า
(ค) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามความต้องการหรือเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น หรือเป็นสินค้าที่นำเข้าเพื่อการขายของ ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น ผู้ที่เกี่ยวข้องจะตกลงกันให้ระบุเฉพาะชื่อผู้ประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจรายใดรายหนึ่งแต่เพียงรายเดียวแทนก็ได้ แต่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้านั้นจะต้องส่งสำเนาข้อตกลงดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบก่อนจะนำสินค้านั้นออกขาย
ถ้าผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าหรือผู้ประกอบธุรกิจรายใดมีเครื่องหมายการค้า ที่จดทะเบียนในประเทศไทยแล้ว จะระบุเครื่องหมายการค้าแทนชื่อและสถานที่ประกอบการของตนก็ได้
(2) ชนิดของอัญมณีเจียระไนที่ใช้ในการขึ้นรูป โดยระบุเป็นชื่อทางการค้า (trade name)หรือชื่อทางแร่ (mineralogical name) สำหรับชื่อทางแร่นั้นให้เป็นไปตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง ศัพท์บัญญัติชื่อแร่ พ.ศ. 2523 ถ้าชื่อทางการค้าตรงกับข้อห้ามในประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลากฉบับนี้ อนุญาตให้ใช้ชื่อแร่อย่างเดียวได้ และระบุว่าเป็นอัญมณีธรรมชาติหรืออัญมณีสังเคราะห์ ทั้งนี้ ห้ามใช้คำว่า เพชร สำหรับอัญมณีที่ไม่ได้ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน (carbon) ตามธรรมชาติของเพชร
(3) ต้องแสดงน้ำหนักอัญมณีเจียระไนแต่ละชนิดที่ใช้ในการขึ้นรูปโดยระบุหน่วยเป็นกะรัตหรือใช้สัญลักษณ์ Ct หรือ C แทนก็ได้ ตามกรณี (ก) หรือกรณี (ข) หรือทั้งสองกรณี ดังนี้
(ก) อัญมณีเจียระไนชนิดใดมีน้ำหนักต่อเม็ดตั้งแต่ครึ่งกะรัตขึ้นไปให้แสดงน้ำหนักของแต่ละเม็ดนั้น
(ข) อัญมณีเจียระไนชนิดใดมีน้ำหนักต่อเม็ดน้อยกว่าครึ่งกะรัตลงมาหากมีจำนวนหลายเม็ดที่มีน้ำหนักรวมกันแล้วตั้งแต่ครึ่งกะรัตขึ้นไป ให้แสดงน้ำหนักรวมของอัญมณีเจียระไนชนิดนั้น
(4) น้ำหนังทองรูปพรรณ หรือแพลทินัม หรือเงิน หรือวัตถุอื่นที่ใช้ในการขึ้นรูป โดยระบุหน่วยเป็นกรัม หรือใช้สัญลักษณ์ ก. หรือ g แทนก็ได้
ในกรณีฉลากตาม (1) ถึง (4) ให้ทำเป็นแผ่นป้ายแขวนหรือติดไว้ที่อัญมณีขึ้นรูป
(5) ปริมาณทองคำบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณที่ใช้ในการขึ้นรูปโดยระบุหน่วยเป็นกะรัตหรือเปอร์เซนต์ หรือใช้สัญลักษณ์ Kt หรือ K หรือ % แทนก็ได้
(6) เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยหรือรหัสร้านค้า
ในกรณีฉลากตาม (5) และ (6) ให้ทำติดไว้ที่ทองรูปพรรณอย่างเป็นเนื้อเดียวกัน
(7) ราคารวม โดยระบุหน่วยเป็นบาท และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่นด้วยก็ได้
ในกรณีฉลากตาม (7) ให้ทำเป็นแผ่นป้ายแขวนหรือติดไว้ที่อัญมณีขึ้นรูป
ในกรณีที่มีการใช้ภาษาต่างประเทศด้วย จะต้องใช้ข้อความที่มีความหมายตรงกับฉลากภาษาไทย
ข้อ 8 ให้ทองรูปพรรณ อัญมณีเจียระไน และอัญมณีขึ้นรูป ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีฉลากขณะนำเข้าที่ด่านศุลกากร แต่ต้องจัดให้มีฉลากตามประกาศนี้ก่อนที่จะนำออกขาย
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533
ประดิษฐ์ เชี่ยวสกุล
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
--ราชกิจจานุเบกษา--