คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 3/2535
เรื่อง ห้ามขายสินค้าที่เรียกกันว่า "ลูกโป่งวิทยาศาสตร์" หรือ
"ลูกโป่งพลาสติก" หรือ "blowing balloon" เป็นการชั่วคราว
----------------
โดยที่ปัจจุบันได้มีการขาย ผลิต สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายสินค้าที่เป็นของเหลวและเหนียว ผสมสีอยู่ในภาชนะบรรจุที่เรียกกันว่า "ลูกโป่งวิทยาศาสตร์" หรือ "ลูกโป่งพลาสติก" หรือ "blowing balloon" และปรากฏว่าได้มีผู้ร้องเรียนว่าเด็กเล็ก ๆ ชอบซื้อสินค้าดังกล่าวมาเป่าเล่นหรือฉีกหลอดออก เอามาเคี้ยวเล่นแบบหมากฝรั่ง และมีกลิ่นทินเนอร์ หากไม่ได้ซื้อมาเล่นหรือเคี้ยวเล่นก็จะกระวนกระวาย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้ขอให้กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมีของสินค้า "ลูกโป่งวิทยาศาสตร์" หรือ "ลูกโป่งพลาสติก" หรือ "blowing balloon" ที่พบจำหน่ายในท้องตลาดแล้วปรากฏว่าสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่มีทินเนอร์ผสม และใช้สีที่ไม่ใช่สีผสมอาหาร และยังมีฉลากไม่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 36 (พ.ศ.2530) เรื่องกำหนดสินค้าที่มีทินเนอร์ผสมเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก และกฏกระทรวง (พ.ศ.2534) ออกตามความในพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ.2533 นอกจากนี้ ยังเป็นสินค้าที่ไม่ได้ใช้เพื่อการอื่นนอกจากการเล่นของเด็กเล็ก ซึ่งลักษณะการเล่นของเด็กเล็กในขณะที่เป่าสินค้าดังกล่าวให้เป็นลูกโป่ง ต้องมีการสูดลมหายใจเข้าออกหลายครั้ง ทำให้เด็กเล็กมีโอกาสสูดดมทินเนอร์ อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 2/2535 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2535 แล้ว เห็นว่ามีเหตุอันน่าเชื่อว่าสินค้าที่เรียกกันว่า "ลูกโป่งวิทยาศาสตร์" หรือ "ลูกโป่งพลาสติก" หรือ "blowing balloon" อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กเล็ก จึงมีความจำเป็นและเร่งด่วนที่จะป้องกันอันตราย และคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าชนิดนี้ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา 36 วรรคหนึ่งและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
(1) ห้ามขายสินค้าที่เรียกกันว่า "ลูกโป่งวิทยาศาสตร์" หรือ "ลูกโป่งพลาสติก" หรือ "blowing balloon" เป็นการชั่วคราว จนกว่าคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะมีคำสั่งยกเลิก
(2) ให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งประสงค์จะขาย ผลิต ส่ง หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายซึ่งสินค้าที่เรียกกันว่า "ลูกโป่งวิทยาศาสตร์" หรือ "ลูกโป่งพลาสติก" หรือ "blowing balloon" ทำการติดต่อกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยเร็วที่สุด เพื่อดำเนินการทดสอบเพื่อพิสูจน์สินค้าดังกล่าวว่าสินค้านั้นไม่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ทั้งนี้ โดยให้ดำเนินการทดสอบหรือพิสูจน์ให้สามารถรู้ผลได้ ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่คำสั่งนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
สั่ง ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2535
สายสุรี จุติกุล
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
--ราชกิจจานุเบกษา--
เรื่อง ห้ามขายสินค้าที่เรียกกันว่า "ลูกโป่งวิทยาศาสตร์" หรือ
"ลูกโป่งพลาสติก" หรือ "blowing balloon" เป็นการชั่วคราว
----------------
โดยที่ปัจจุบันได้มีการขาย ผลิต สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายสินค้าที่เป็นของเหลวและเหนียว ผสมสีอยู่ในภาชนะบรรจุที่เรียกกันว่า "ลูกโป่งวิทยาศาสตร์" หรือ "ลูกโป่งพลาสติก" หรือ "blowing balloon" และปรากฏว่าได้มีผู้ร้องเรียนว่าเด็กเล็ก ๆ ชอบซื้อสินค้าดังกล่าวมาเป่าเล่นหรือฉีกหลอดออก เอามาเคี้ยวเล่นแบบหมากฝรั่ง และมีกลิ่นทินเนอร์ หากไม่ได้ซื้อมาเล่นหรือเคี้ยวเล่นก็จะกระวนกระวาย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้ขอให้กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมีของสินค้า "ลูกโป่งวิทยาศาสตร์" หรือ "ลูกโป่งพลาสติก" หรือ "blowing balloon" ที่พบจำหน่ายในท้องตลาดแล้วปรากฏว่าสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่มีทินเนอร์ผสม และใช้สีที่ไม่ใช่สีผสมอาหาร และยังมีฉลากไม่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 36 (พ.ศ.2530) เรื่องกำหนดสินค้าที่มีทินเนอร์ผสมเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก และกฏกระทรวง (พ.ศ.2534) ออกตามความในพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ.2533 นอกจากนี้ ยังเป็นสินค้าที่ไม่ได้ใช้เพื่อการอื่นนอกจากการเล่นของเด็กเล็ก ซึ่งลักษณะการเล่นของเด็กเล็กในขณะที่เป่าสินค้าดังกล่าวให้เป็นลูกโป่ง ต้องมีการสูดลมหายใจเข้าออกหลายครั้ง ทำให้เด็กเล็กมีโอกาสสูดดมทินเนอร์ อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 2/2535 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2535 แล้ว เห็นว่ามีเหตุอันน่าเชื่อว่าสินค้าที่เรียกกันว่า "ลูกโป่งวิทยาศาสตร์" หรือ "ลูกโป่งพลาสติก" หรือ "blowing balloon" อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กเล็ก จึงมีความจำเป็นและเร่งด่วนที่จะป้องกันอันตราย และคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าชนิดนี้ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา 36 วรรคหนึ่งและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
(1) ห้ามขายสินค้าที่เรียกกันว่า "ลูกโป่งวิทยาศาสตร์" หรือ "ลูกโป่งพลาสติก" หรือ "blowing balloon" เป็นการชั่วคราว จนกว่าคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะมีคำสั่งยกเลิก
(2) ให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งประสงค์จะขาย ผลิต ส่ง หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายซึ่งสินค้าที่เรียกกันว่า "ลูกโป่งวิทยาศาสตร์" หรือ "ลูกโป่งพลาสติก" หรือ "blowing balloon" ทำการติดต่อกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยเร็วที่สุด เพื่อดำเนินการทดสอบเพื่อพิสูจน์สินค้าดังกล่าวว่าสินค้านั้นไม่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ทั้งนี้ โดยให้ดำเนินการทดสอบหรือพิสูจน์ให้สามารถรู้ผลได้ ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่คำสั่งนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
สั่ง ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2535
สายสุรี จุติกุล
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
--ราชกิจจานุเบกษา--