แท็ก
ฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2528)
เรื่องกำหนดภาชนะโลหะที่ใช้กับอาหารเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
—————————————————
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการว่าด้วยฉลากออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้ "ภาชนะโลหะที่ใช้กับอาหาร" หมายความว่า ภาชนะโลหะซึ่งโดยการใช้จะมีการสัมผัสโดยตรงกับอาหารที่พร้อมจะบริโภค แต่ไม่หมายความรวมถึงภาชนะโลหะเคลือบที่อยู่ภายใต้บังคับตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ว่าด้วยเรื่องภาชนะเซรามิกที่ใช้กับอาหาร
ข้อ 2 ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับแก่ภาชนะโลหะที่ใช้กับอาหารที่ผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ภาชนะโลหะที่ใช้กับอาหารดังกล่าวต้องแสดงข้อความให้เห็นและอ่านได้ชัดเจนไว้ที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุเป็นภาษาไทยว่า "สำหรับส่งออกเท่านั้น" หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า "For Export Only"
(2) ภาชนะโลหะที่ใช้กับอาหารดังกล่าวต้องอยู่ในความครอบครองของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก หรือผู้ผลิตหรือขายหรือจัดหาหรือเก็บรักษาสินค้านั้นให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก
ข้อ 3 ให้ภาชนะโลหะที่ใช้กับอาหารต่อไปนี้เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
(1) จาน
(2) ชาม
(3) ถ้วย
(4) เหยือก
(5) กระทะ
(6) หม้อ
(7) กระละมังหรืออ่าง
(8) กระป๋อง
(9) ถังน้ำ
(10) แท็งก์น้ำ
(11) กล่อง
(12) กระติก
(13) ถังสำหรับบรรจุน้ำแข็ง
(14) ถาด
(15) แบบพิมพ์อาหาร
ข้อ 4 ภาชนะโลหะที่ใช้กับอาหารที่ควบคุมฉลาก ที่จะนำออกขาย ต้องจัดให้มีฉลาก ปิดหรือติดไว้ที่ตัวภาชนะหรือหีบห่อบรรจุ หรือจัดพิมพ์ฉลากสอดแทรกหรือรวมไว้กับตัวภาชนะหรือหีบห่อบรรจะหรือจัดทำเป็นป้ายติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ตัวภาชนะนั้นก็ได้
ข้อ 5 ฉลากนั้น ต้องใช้ข้อความเป็นภาษาไทยให้เห็นและอ่านได้ชัดเจน ข้อความในฉลากอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณที่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรให้ระบุชื่อผู้ผลิตและสถานที่ประกอบการของผู้ผลิต
ในกรณีที่เป็นสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อผู้นำเข้าและสถานที่ประกอบการของผู้นำเข้า
ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตตามความต้องการหรือเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น หรือเป็นสินค้าที่นำเข้าเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น คู่กรณีจะตกลงกันให้ระบุเฉพาะชื่อผู้ประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจรายใดรายหนึ่ง แต่เพียงรายเดียวแทนก็ได้ แต่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าดังกล่าวจะต้องส่งสำเนาข้อตกลงดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบก่อนจะนำสินค้านั้นออกขาย
ถ้าผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าหรือผู้ประกอบธุรกิจรายใดมีเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยแล้ว จะระบุเครื่องหมายการค้าแทนชื่อและสถานที่ประกอบการของตนก็ได้
(2) ภาชนะโลหะที่ใช้กับอาหารที่ควบคุมฉลากชนิดใด ถ้าอาจเกิดความเสียหารหรือเสื่อมคุณภาพได้ง่ายให้มีคำแนะนำและข้อควรระวังเกี่ยวกับวิธีใช้และการบำรุงรักษาไว้ด้วย
ข้อ 6 ให้ภาชนะโลหะที่ใช้กับอาหารที่ควบคุมฉลาก ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อขายได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีฉลากในขณะนำเข้าที่ด่านศุลกากร แต่ต้องจัดให้มีฉลากตามประกาศนี้ก่อนที่จะนำออกขาย
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2528
มาลดี วสีนนท์
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
--ราชกิจจานุเบกษา--
ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2528)
เรื่องกำหนดภาชนะโลหะที่ใช้กับอาหารเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
—————————————————
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการว่าด้วยฉลากออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้ "ภาชนะโลหะที่ใช้กับอาหาร" หมายความว่า ภาชนะโลหะซึ่งโดยการใช้จะมีการสัมผัสโดยตรงกับอาหารที่พร้อมจะบริโภค แต่ไม่หมายความรวมถึงภาชนะโลหะเคลือบที่อยู่ภายใต้บังคับตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ว่าด้วยเรื่องภาชนะเซรามิกที่ใช้กับอาหาร
ข้อ 2 ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับแก่ภาชนะโลหะที่ใช้กับอาหารที่ผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ภาชนะโลหะที่ใช้กับอาหารดังกล่าวต้องแสดงข้อความให้เห็นและอ่านได้ชัดเจนไว้ที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุเป็นภาษาไทยว่า "สำหรับส่งออกเท่านั้น" หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า "For Export Only"
(2) ภาชนะโลหะที่ใช้กับอาหารดังกล่าวต้องอยู่ในความครอบครองของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก หรือผู้ผลิตหรือขายหรือจัดหาหรือเก็บรักษาสินค้านั้นให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก
ข้อ 3 ให้ภาชนะโลหะที่ใช้กับอาหารต่อไปนี้เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
(1) จาน
(2) ชาม
(3) ถ้วย
(4) เหยือก
(5) กระทะ
(6) หม้อ
(7) กระละมังหรืออ่าง
(8) กระป๋อง
(9) ถังน้ำ
(10) แท็งก์น้ำ
(11) กล่อง
(12) กระติก
(13) ถังสำหรับบรรจุน้ำแข็ง
(14) ถาด
(15) แบบพิมพ์อาหาร
ข้อ 4 ภาชนะโลหะที่ใช้กับอาหารที่ควบคุมฉลาก ที่จะนำออกขาย ต้องจัดให้มีฉลาก ปิดหรือติดไว้ที่ตัวภาชนะหรือหีบห่อบรรจุ หรือจัดพิมพ์ฉลากสอดแทรกหรือรวมไว้กับตัวภาชนะหรือหีบห่อบรรจะหรือจัดทำเป็นป้ายติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ตัวภาชนะนั้นก็ได้
ข้อ 5 ฉลากนั้น ต้องใช้ข้อความเป็นภาษาไทยให้เห็นและอ่านได้ชัดเจน ข้อความในฉลากอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณที่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรให้ระบุชื่อผู้ผลิตและสถานที่ประกอบการของผู้ผลิต
ในกรณีที่เป็นสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อผู้นำเข้าและสถานที่ประกอบการของผู้นำเข้า
ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตตามความต้องการหรือเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น หรือเป็นสินค้าที่นำเข้าเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น คู่กรณีจะตกลงกันให้ระบุเฉพาะชื่อผู้ประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจรายใดรายหนึ่ง แต่เพียงรายเดียวแทนก็ได้ แต่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าดังกล่าวจะต้องส่งสำเนาข้อตกลงดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบก่อนจะนำสินค้านั้นออกขาย
ถ้าผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าหรือผู้ประกอบธุรกิจรายใดมีเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยแล้ว จะระบุเครื่องหมายการค้าแทนชื่อและสถานที่ประกอบการของตนก็ได้
(2) ภาชนะโลหะที่ใช้กับอาหารที่ควบคุมฉลากชนิดใด ถ้าอาจเกิดความเสียหารหรือเสื่อมคุณภาพได้ง่ายให้มีคำแนะนำและข้อควรระวังเกี่ยวกับวิธีใช้และการบำรุงรักษาไว้ด้วย
ข้อ 6 ให้ภาชนะโลหะที่ใช้กับอาหารที่ควบคุมฉลาก ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อขายได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีฉลากในขณะนำเข้าที่ด่านศุลกากร แต่ต้องจัดให้มีฉลากตามประกาศนี้ก่อนที่จะนำออกขาย
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2528
มาลดี วสีนนท์
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
--ราชกิจจานุเบกษา--