แท็ก
ฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2527)
เรื่อง กำหนดของเล่นสำหรับเด็กเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
—————————————————
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการว่าด้วยฉลากออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
"ของเล่นสำหรับเด็ก" หมายความว่า ของเล่นที่ผลิตขึ้นเพื่อมุ่งหมายสำหรับให้เด็กเล่น แต่ไม่รวมถึง
(1) ของเล่นที่ทำด้วยดิน ดินเผา กระดาษ ผ้า ไม้ หรือผลิตภัณฑ์จากพืชซึ่งไม่มีกลไกเป็นพิเศษหรือสารพิษที่อาจเป็นอันตราย
(2) อุปกรณ์สำหรับเล่นและฝึกซ้อมกีฬาทุกชนิด
(3) อุปกรณ์สนามเด็กเล่น
(4) อุปกรณ์สำหรับเล่นดนตรี
"เด็ก" หมายความว่า บุคคลที่มีอายุไม่เกินสิบสี่ปี
ข้อ 2 ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับแก่ของเล่นสำหรับเด็กที่ผลิตเพื่อการส่งออกแต่ต้องอยู่ในบังคับของเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ของเล่นสำหรับเด็กดังกล่าวต้องแสดงข้อความให้เห็นและอ่านได้ชัดเจนไว้ที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุเป็นภาษาไทยว่า "สำหรับส่งออกเท่านั้น" หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า "For Export Only"
(2) ของเล่นสำหรับเด็กดังกล่าวต้องอยู่ในความครอบครองของผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระแสทางธุรกิจเพื่อการส่งออก
ข้อ 3 ให้ของเล่นสำหรับเด็กเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ข้อ 4 ของเล่นสำหรับเด็กที่จะนำออกขาย ต้องจัดให้มีฉลาก ปิด หรือติดไว้ที่ตัวของเล่นสำหรับเด็กหรือภาชนะบรรจุ หรือจัดพิมพ์ฉลากสอดแทรกหรือรวมไว้กับตัวเลขของเล่นสำหรับเด็กหรือภาชนะบรรจุก็ได้
ข้อ 5 ฉลากนั้น ต้องใช้ข้อความเป็นภาษาไทยให้เห็นและอ่านได้ชัดเจน ข้อความในฉลากอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร ให้ระบุชื่อผู้ผลิตและสถานที่ประกอบการของผู้ผลิต
ในกรณีที่เป็นสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อผู้นำเข้าและสถานที่ประกอบการของผู้นำเข้า
ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามความต้องการหรือเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น หรือเป็นสินค้าที่นำเข้าเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นคู่กรณีจะตกลงกันให้ระบุเฉพาะาชื่อผู้ประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจรายใดรายหนึ่งแต่เพียงรายเดียวแทนก็ได้ แต่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าดังกล่าวจะต้องส่งสำเนาข้อตกลงดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบก่อนจะนำสินค้านั้นออกขาย
ถ้าผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าหรือผู้ประกอบธุรกิจรายใดมีเครื่องหมายการค้าที่จะทะเบียนในประเทศไทยแล้ว จะระบุเครื่องหมายการค้าแทนชื่อและสถานที่ประกอบการของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าหรือผู้ประกอบธุรกิจก็ได้
(2) ชื่อประเทศที่ผลิต
(3) คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีเล่น รวมทั้งคำแนะนำอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เช่น เกณฑ์อายุโดยเฉลี่ยของเด็กที่เหมาะหรือไม่เหมาะสำหรับให้เล่น
(4) ของเล่นสำหรับเด็กที่ควบคุมฉลากชนิดใด ถ้าอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่เด็กเนื่องในการเล่น ตามวิธีที่มุ่งหมายให้ใช้เล่นหรือตามวิธีที่อาจคาดหมายได้ว่าเด็กอาจจะใช้เล่นเช่นนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นอันตรายโดยทางกล ทางกายภาพ ทางเคมี หรือโดยทางอื่นใดก็ตาม ให้ของเล่นสำหรับเด็กดังกล่าวต้องมีคำเตือนเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นนั้นด้วย
ข้อ 6 ให้ของเล่นสำหรับเด็กที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ได้รับการยกเว้นไม่ต้องแสดงข้อความในฉลากตามข้อ 5 เป็นภาษาไทยในขณะนำเข้าที่ด่านศุลกากร แต่ต้องแสดงข้อความในฉลากตามข้อ 5 เป็นภาษาไทยก่อนที่จะนำออกขาย
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามร้อยหกสิบห้าวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2527
มาลดี วสีนนท์
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
--ราชกิจจานุเบกษา--
ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2527)
เรื่อง กำหนดของเล่นสำหรับเด็กเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
—————————————————
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการว่าด้วยฉลากออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
"ของเล่นสำหรับเด็ก" หมายความว่า ของเล่นที่ผลิตขึ้นเพื่อมุ่งหมายสำหรับให้เด็กเล่น แต่ไม่รวมถึง
(1) ของเล่นที่ทำด้วยดิน ดินเผา กระดาษ ผ้า ไม้ หรือผลิตภัณฑ์จากพืชซึ่งไม่มีกลไกเป็นพิเศษหรือสารพิษที่อาจเป็นอันตราย
(2) อุปกรณ์สำหรับเล่นและฝึกซ้อมกีฬาทุกชนิด
(3) อุปกรณ์สนามเด็กเล่น
(4) อุปกรณ์สำหรับเล่นดนตรี
"เด็ก" หมายความว่า บุคคลที่มีอายุไม่เกินสิบสี่ปี
ข้อ 2 ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับแก่ของเล่นสำหรับเด็กที่ผลิตเพื่อการส่งออกแต่ต้องอยู่ในบังคับของเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ของเล่นสำหรับเด็กดังกล่าวต้องแสดงข้อความให้เห็นและอ่านได้ชัดเจนไว้ที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุเป็นภาษาไทยว่า "สำหรับส่งออกเท่านั้น" หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า "For Export Only"
(2) ของเล่นสำหรับเด็กดังกล่าวต้องอยู่ในความครอบครองของผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระแสทางธุรกิจเพื่อการส่งออก
ข้อ 3 ให้ของเล่นสำหรับเด็กเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ข้อ 4 ของเล่นสำหรับเด็กที่จะนำออกขาย ต้องจัดให้มีฉลาก ปิด หรือติดไว้ที่ตัวของเล่นสำหรับเด็กหรือภาชนะบรรจุ หรือจัดพิมพ์ฉลากสอดแทรกหรือรวมไว้กับตัวเลขของเล่นสำหรับเด็กหรือภาชนะบรรจุก็ได้
ข้อ 5 ฉลากนั้น ต้องใช้ข้อความเป็นภาษาไทยให้เห็นและอ่านได้ชัดเจน ข้อความในฉลากอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร ให้ระบุชื่อผู้ผลิตและสถานที่ประกอบการของผู้ผลิต
ในกรณีที่เป็นสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อผู้นำเข้าและสถานที่ประกอบการของผู้นำเข้า
ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามความต้องการหรือเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น หรือเป็นสินค้าที่นำเข้าเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นคู่กรณีจะตกลงกันให้ระบุเฉพาะาชื่อผู้ประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจรายใดรายหนึ่งแต่เพียงรายเดียวแทนก็ได้ แต่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าดังกล่าวจะต้องส่งสำเนาข้อตกลงดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบก่อนจะนำสินค้านั้นออกขาย
ถ้าผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าหรือผู้ประกอบธุรกิจรายใดมีเครื่องหมายการค้าที่จะทะเบียนในประเทศไทยแล้ว จะระบุเครื่องหมายการค้าแทนชื่อและสถานที่ประกอบการของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าหรือผู้ประกอบธุรกิจก็ได้
(2) ชื่อประเทศที่ผลิต
(3) คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีเล่น รวมทั้งคำแนะนำอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เช่น เกณฑ์อายุโดยเฉลี่ยของเด็กที่เหมาะหรือไม่เหมาะสำหรับให้เล่น
(4) ของเล่นสำหรับเด็กที่ควบคุมฉลากชนิดใด ถ้าอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่เด็กเนื่องในการเล่น ตามวิธีที่มุ่งหมายให้ใช้เล่นหรือตามวิธีที่อาจคาดหมายได้ว่าเด็กอาจจะใช้เล่นเช่นนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นอันตรายโดยทางกล ทางกายภาพ ทางเคมี หรือโดยทางอื่นใดก็ตาม ให้ของเล่นสำหรับเด็กดังกล่าวต้องมีคำเตือนเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นนั้นด้วย
ข้อ 6 ให้ของเล่นสำหรับเด็กที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ได้รับการยกเว้นไม่ต้องแสดงข้อความในฉลากตามข้อ 5 เป็นภาษาไทยในขณะนำเข้าที่ด่านศุลกากร แต่ต้องแสดงข้อความในฉลากตามข้อ 5 เป็นภาษาไทยก่อนที่จะนำออกขาย
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามร้อยหกสิบห้าวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2527
มาลดี วสีนนท์
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
--ราชกิจจานุเบกษา--