แท็ก
ฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ฉบับที่ 34 (พ.ศ. 2530)
เรื่อง กำหนดเครื่องรับวิทยุเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
—————————————————
โดยที่ปรากฏว่า ขณะนี้เครื่องรับวิทยุเป็นสินค้าที่ประชาชนใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่การแสดงลักษณะเฉพาะยังไม่ชัดเจน ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการใช้อย่างถูกต้องและปลอดภัยของผู้บริโภค สมควรกำหนดเครื่องรับวิทยุเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการว่าด้วยฉลากออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เครื่องรับวิทยุเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
สินค้าใดมีเครื่องรับวิทยุเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยไม่ว่าสินค้านั้นจะมีเครื่องเล่นแถบบันทึกเสียง โทรทัศน์ หรืออุปกรณ์อื่นใดอยู่ด้วยก็ตาม ให้สินค้าดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องรับวิทยุ ต้องมีการควบคุมฉลากตามประกาศฉลากตามประกาศฉบับนี้ด้วย แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเครื่องรับวิทยุที่การมีไว้ในครอบครองต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการ
ข้อ 2 ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับแก่เครื่องรับวิทยุที่ผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) เครื่องรับวิทยุดังกล่าวต้องแสดงข้อความให้เห็นและอ่านได้ชัดเจนไว้ที่ภาชนะบรรจุหีบห่อบรรจุเป็นภาษาไทยว่า "สำหรับส่งออกเท่านั้น" หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า "For Export Only"
(2) เครื่องรับวิทยุดังกล่าวต้องอยู่ในความครอบครองของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก หรือผู้ผลิต ผู้ขาย หรือผู้จัดหาสินค้านั้นให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก
ข้อ 3 เครื่องรับวิทยุที่จะนำออกขายต้องจัดให้มีฉลากรวมทั้งเอกสารหรือคู่มือ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 4 และข้อ 5
ข้อ 4 ฉลากต้องมีข้อความเป็นภาษาไทย ที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน ปิดหรือติดไว้ที่เครื่องรับวิทยุ และข้อความในฉลากอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(1) ต้องแสดงข้อความ เกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจดังนี้
(ก) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร ให้ระบุชื่อผู้ผลิตและสถานที่ประกอบการของผู้ผลิต
(ข) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อผู้นำเข้าและสถานที่ประกอบการผู้นำเข้า
(ค) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามความต้องการหรือเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น หรือเป็นสินค้าที่นำเข้าเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นผู้ที่เกี่ยวข้องจะตกลงกันให้ระบุเฉพาะชื่อผู้ประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจรายหนึ่งรายใดแต่เพียงรายเดียวแทนก็ได้ แต่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าดังกล่าวจะต้องส่งสำเนาข้อตกลงดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบก่อนจะนำสินค้านั้นออกขาย
ถ้าผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าหรือผู้ประกอบธุรกิจรายใดมีเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทย จะระบุเครื่องหมายการค้าแทนชื่อและสถานที่ประกอบการของตนก็ได้
(2) ชื่อประเทศที่ผลิต
(3) แบบหรือรุ่น (model)
(4) หมายเลขลำดับ (serial number)
(5) ระบบคลื่น
(6) ระบบกระแสไฟฟ้า
(7) แรงดันไฟฟ้า โดยระบุหน่วยเป็นโวลต์
(8) ความถี่ของกระแสไฟฟ้า โดยระบุหน่วยเป็นเฮิรตซ์
(9) กำลังไฟฟ้า โดยระบุหน่วยเป็นวัตต์
(10) คำเตือนเกี่ยวกับการป้องกันไฟฟ้าช็อก (shock) และความเสียหายที่อาจเกิดแก่เครื่องรับวิทยุและแบตเตอรี่ เช่น
(ก) ในกรณีไม่ใช้เครื่องรับวิทยุนาน ๆ ให้เอาแบตเตอรี่ออก
(ข) ไม่ควรเสียบเต้าเสียบทิ้งไว้ เมื่อไม่ได้ใช้เครื่อง
(ค)เครื่องรับวิทยุที่ใช้ได้ทั้งไฟฟ้าและแบตเตอรี่ ให้เอาแบตเตอรี่ออก เมื่อใช้ไฟฟ้า
(ง) ไม่ควรถอดฝาด้านหลังเครื่องรับวิทยุออกเพราะอาจถูกไฟฟ้าดูดได้
(จ) ควรเสียบเต้าเสียบให้แน่น และจับที่ตัวเต้าเสียบในขณะเสียบหรือดึงออกทุกครั้ง
กรณีตาม (5) (6) (7) (8) และ (9) จะใช้สัญญลักษณ์แทนข้อความนั้นก็ได้
ข้อ 5 เอกสารหรือคู่มือสำหรับเครื่องรับวิทยุ ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ตามความเหมาะสม และอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(1) วงจรไฟฟ้า
(2) การติดตั้งสายดิน และเสาอากาศ
(3) วิธีใช้
(4) การบำรุงรักษา
ข้อ 6 ให้เครื่องรับวิทยุที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีฉลากขณะนำเข้าที่ด่านศุลกากร แต่ต้องจัดให้มีฉลากตามประกาศนี้ก่อนที่จะนำออกขาย
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 20 มกราคม 2530
มาลดี วสีนนท์
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
--ราชกิจจานุเบกษา--
ฉบับที่ 34 (พ.ศ. 2530)
เรื่อง กำหนดเครื่องรับวิทยุเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
—————————————————
โดยที่ปรากฏว่า ขณะนี้เครื่องรับวิทยุเป็นสินค้าที่ประชาชนใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่การแสดงลักษณะเฉพาะยังไม่ชัดเจน ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการใช้อย่างถูกต้องและปลอดภัยของผู้บริโภค สมควรกำหนดเครื่องรับวิทยุเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการว่าด้วยฉลากออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เครื่องรับวิทยุเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
สินค้าใดมีเครื่องรับวิทยุเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยไม่ว่าสินค้านั้นจะมีเครื่องเล่นแถบบันทึกเสียง โทรทัศน์ หรืออุปกรณ์อื่นใดอยู่ด้วยก็ตาม ให้สินค้าดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องรับวิทยุ ต้องมีการควบคุมฉลากตามประกาศฉลากตามประกาศฉบับนี้ด้วย แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเครื่องรับวิทยุที่การมีไว้ในครอบครองต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการ
ข้อ 2 ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับแก่เครื่องรับวิทยุที่ผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) เครื่องรับวิทยุดังกล่าวต้องแสดงข้อความให้เห็นและอ่านได้ชัดเจนไว้ที่ภาชนะบรรจุหีบห่อบรรจุเป็นภาษาไทยว่า "สำหรับส่งออกเท่านั้น" หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า "For Export Only"
(2) เครื่องรับวิทยุดังกล่าวต้องอยู่ในความครอบครองของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก หรือผู้ผลิต ผู้ขาย หรือผู้จัดหาสินค้านั้นให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก
ข้อ 3 เครื่องรับวิทยุที่จะนำออกขายต้องจัดให้มีฉลากรวมทั้งเอกสารหรือคู่มือ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 4 และข้อ 5
ข้อ 4 ฉลากต้องมีข้อความเป็นภาษาไทย ที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน ปิดหรือติดไว้ที่เครื่องรับวิทยุ และข้อความในฉลากอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(1) ต้องแสดงข้อความ เกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจดังนี้
(ก) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร ให้ระบุชื่อผู้ผลิตและสถานที่ประกอบการของผู้ผลิต
(ข) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อผู้นำเข้าและสถานที่ประกอบการผู้นำเข้า
(ค) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามความต้องการหรือเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น หรือเป็นสินค้าที่นำเข้าเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นผู้ที่เกี่ยวข้องจะตกลงกันให้ระบุเฉพาะชื่อผู้ประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจรายหนึ่งรายใดแต่เพียงรายเดียวแทนก็ได้ แต่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าดังกล่าวจะต้องส่งสำเนาข้อตกลงดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบก่อนจะนำสินค้านั้นออกขาย
ถ้าผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าหรือผู้ประกอบธุรกิจรายใดมีเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทย จะระบุเครื่องหมายการค้าแทนชื่อและสถานที่ประกอบการของตนก็ได้
(2) ชื่อประเทศที่ผลิต
(3) แบบหรือรุ่น (model)
(4) หมายเลขลำดับ (serial number)
(5) ระบบคลื่น
(6) ระบบกระแสไฟฟ้า
(7) แรงดันไฟฟ้า โดยระบุหน่วยเป็นโวลต์
(8) ความถี่ของกระแสไฟฟ้า โดยระบุหน่วยเป็นเฮิรตซ์
(9) กำลังไฟฟ้า โดยระบุหน่วยเป็นวัตต์
(10) คำเตือนเกี่ยวกับการป้องกันไฟฟ้าช็อก (shock) และความเสียหายที่อาจเกิดแก่เครื่องรับวิทยุและแบตเตอรี่ เช่น
(ก) ในกรณีไม่ใช้เครื่องรับวิทยุนาน ๆ ให้เอาแบตเตอรี่ออก
(ข) ไม่ควรเสียบเต้าเสียบทิ้งไว้ เมื่อไม่ได้ใช้เครื่อง
(ค)เครื่องรับวิทยุที่ใช้ได้ทั้งไฟฟ้าและแบตเตอรี่ ให้เอาแบตเตอรี่ออก เมื่อใช้ไฟฟ้า
(ง) ไม่ควรถอดฝาด้านหลังเครื่องรับวิทยุออกเพราะอาจถูกไฟฟ้าดูดได้
(จ) ควรเสียบเต้าเสียบให้แน่น และจับที่ตัวเต้าเสียบในขณะเสียบหรือดึงออกทุกครั้ง
กรณีตาม (5) (6) (7) (8) และ (9) จะใช้สัญญลักษณ์แทนข้อความนั้นก็ได้
ข้อ 5 เอกสารหรือคู่มือสำหรับเครื่องรับวิทยุ ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ตามความเหมาะสม และอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(1) วงจรไฟฟ้า
(2) การติดตั้งสายดิน และเสาอากาศ
(3) วิธีใช้
(4) การบำรุงรักษา
ข้อ 6 ให้เครื่องรับวิทยุที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีฉลากขณะนำเข้าที่ด่านศุลกากร แต่ต้องจัดให้มีฉลากตามประกาศนี้ก่อนที่จะนำออกขาย
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 20 มกราคม 2530
มาลดี วสีนนท์
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
--ราชกิจจานุเบกษา--