ประกาศกระทรวงแรงงานและ
สวัสดิการสังคม
เรื่อง อัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก
วิธีการประเมินการเรียกเก็บเงินสมทบ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จึงออกประกาศกำหนดอัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก วิธีการประเมินและการเรียกเก็บเงินสมทบ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 2 ในประกาศนี้
"สำนักงาน" หมายความว่า สำนักงานประกันสังคม หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด แล้วแต่กรณี
"เงินสมทบ" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนเพื่อใช้เป็นเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้าง
"ปี" หมายความว่า ปีปฏิทิน
"แบบลงทะเบียน" หมายความว่า แบบลงทะเบียนจ่ายเงินสมทบ และแบบรายการแสดงรายชื่อลูกจ้างตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
หมวด 1
อัตราเงินสมทบ
ข้อ 3 ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบตามอัตราเงินสมทบ ซึ่งกำหนดไว้ในตารางที่ 1 ท้ายประกาศนี้
หมวด 2
การกำหนดรหัสประเภทกิจการ
ข้อ 4 เพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บเงินสมทบ ให้สำนักงานกำหนดรหัสประเภทกิจการของนายจ้างตามตารางที่ 1 ท้ายประกาศนี้ โดยพิจารณาจากประเภทกิจการที่นายจ้างดำเนินการ และให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบตามอัตราเงินสมทบของรหัสประเภทกิจการนั้น
ในกรณีที่ไม่อาจกำหนดรหัสประเภทกิจการของนายจ้างอย่างหนึ่งอย่างใดได้ให้กำหนดรหัสประเภทกิจการที่มีความเสี่ยงภัยใกล้เคียงอย่างยิ่ง
ข้อ 5 ให้สำนักงานกำหนดรหัสประเภทกิจการของนายจ้างรายหนึ่งเพียงรหัสเดียว โดยพิจารณาจากกิจการหลักของนายจ้างผู้นั้น เว้นแต่นายจ้างประกอบกิจการหลายอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
ถ้าไม่สามารถกำหนดรหัสประเภทกิจการตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดรหัสประเภทกิจการซึ่งเป็นบริการหรือผลผลิตสุดท้าย เว้นแต่ไม่สามารถแยกได้ว่าประเภทกิจการใดเป็นบริการหรือผลผลิตสุดท้าย ให้กำหนดรหัสประเภทกิจการซึ่งมีลูกจ้างมากที่สุด ถ้าไม่สามารถแยกได้ว่าประเภทกิจการใดมีลูกจ้างมากที่สุด ให้กำหนดรหัสประเภทกิจการที่มีอัตราเงินสมทบสูงสุด
ในกรณีที่นายจ้างประกอบกิจการผลิตหรือประกอบและจำหน่าย ให้สำนักงานกำหนดรหัสประเภทกิจการซึ่งเป็นกิจการผลิตหรือประกอบ แล้วแต่กรณี
ข้อ 6 ถ้าปรากฏว่ารหัสประเภทกิจการที่กำหนดไว้ไม่ถูกต้องกับข้อเท็จจริง ให้สำนักงานวินิจฉัยและเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการ และอัตราเงินสมทบของนายจ้างให้ถูกต้องกับข้อเท็จจริง และเมื่อได้เปลี่ยนแปลงเป็นการถูกต้องแล้ว ให้แจ้งให้นายจ้างทราบ เพื่อให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเพิ่ม หรือจ่ายเงินคืนแก่นายจ้าง
การเปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นผลให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเพิ่ม หรือสำนักงานต้องจ่ายเงินคืนให้กับนายจ้าง ให้มีผลใช้บังคับย้อนหลังได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันต้นแห่งปีนั้น
หมวด 3
วิธีเรียกเก็บเงินสมทบ
ข้อ 7 ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเป็นรายปี
เงินสมทบให้คำนวณจากค่าจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างทั้งปี
ลูกจ้างคนใดได้รับค่าจ้างเกินกว่าสองแสนสี่หมื่นบาทต่อปี ค่าจ้างที่นำมาคำนวณเงินสมทบสำหรับลูกจ้างผู้นั้น ให้คำนวณเพียงสองแสนสี่หมื่นบาท
กรณีที่ลูกจ้างตามวรรคสองทำงานไม่ถึงหนึ่งปี การคำนวณเงินสมทบให้ลดลงตามส่วน
ข้อ 8 นายจ้างรายใดมีหน้าที่ยื่นแบบลงทะเบียน แต่ไม่ยื่น หรือยื่นแล้วแต่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง หรือปฏิเสธที่จะให้ข้อเท็จจริงในการคำนวณเงินสมทบ ให้สำนักงานบันทึกรายละเอียดลงในแบบลงทะเบียน แล้วประเมินเงินสมทบที่นายจ้างผู้นั้นต้องจ่ายโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หากไม่มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องก็ให้ประเมินเงินสมทบตามที่เห็นสมควร
ข้อ 9 นายจ้างรายใดได้ยื่นแบบลงทะเบียนและจ่ายเงินสมทบครั้งแรกต่อสำนักงานแล้ว ในปีต่อไปให้จ่ายเงินสมทบซึ่งคำนวณโดยประมาณตลอดทั้งปีภายในเดือนมกราคมของทุกปี
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงประเภทกิจการและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อความในแบบลงทะเบียนจ่ายเงินสมทบซึ่งได้ยื่นไว้ต่อสำนักงาน ให้นายจ้างแจ้งเป็นหนังสือให้สำนักงานทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น
ข้อ 10 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ให้นายจ้างแจ้งจำนวนเงินค่าจ้างทั้งหมดของปีที่ล่วงมาแล้วที่ได้จ่ายจริงให้กับลูกจ้างตามแบบที่สำนักงานกำหนด โดยให้แจ้งนับแต่วันที่ต้องจ่ายเงินสมทบจนถึงวันสิ้นปีนั้น และให้สำนักงานคำนวณเงินสมทบที่ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง ผลต่างระหว่างเงินสมทบที่นายจ้างได้จ่ายให้แก่สำนักงานไว้แล้ว และที่คำนวณใหม่จะเป็นเงินสมทบที่นายจ้างต้องจ่ายเพิ่มหรือสำนักงานจะต้องจ่ายคืนให้กับนายจ้าง แล้วแต่กรณี
การแจ้งจำนวนเงินค่าจ้างตามวรรคหนึ่ง หากเป็นกรณีที่นายจ้างเลิกกิจการให้นายจ้างแจ้งจำนวนเงินค่าจ้างภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เลิกกิจการ โดยให้แจ้งจำนวนเงินค่าจ้างจนถึงวันเลิกกิจการหรือวันสิ้นปีที่มีการจ่ายค่าจ้าง แล้วแต่กรณี
ข้อ 11 ในกรณีที่นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่ม หรือสำนักงานต้องจ่ายเงินคืนให้แก่นายจ้างตามข้อ 6 และข้อ 10 ให้นายจ้างหรือสำนักงานดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบผลว่านายจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่ม หรือสำนักงานต้องจ่ายเงินคืนแล้วแต่กรณี เว้นแต่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มตามจำนวนที่คำนวณได้ตามข้อ 10 วรรคหนึ่งให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมีนาคม
ข้อ 12 นายจ้างรายใดซึ่งมีหน้าที่จะต้องจ่ายเงินสมทบตั้งแต่วันต้นแห่งปี และยินยอมปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อ 13 และข้อ 14 อาจยื่นคำขอต่อสำนักงานตามแบบที่สำนักงานกำหนดเพื่อขออนุญาตผ่อนชำระเงินสมทบเป็นงวดก็ได้
นายจ้างซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระเงินสมทบเป็นงวด หากไม่ปฏิบัติตามความในข้อ 13 หรือข้อ 14 สำนักงานอาจยกเลิกการอนุญาตดังกล่าวนั้นก็ได้
ข้อ 13 นายจ้างซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระเงินสมทบเป็นงวด ให้ฝากเงินไว้กับสำนักงานเป็นจำนวนร้อยละยี่สิบห้าของเงินสมทบ ซึ่งคำนวณโดยประมาณตลอดทั้งปีเพื่อเป็นการประกันการจ่ายเงินสมทบภายในเดือนมกราคม
เงินฝากตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานเก็บรักษาไว้ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระเงินสมทบ และให้สำนักงานคืนเงินฝากให้นายจ้างเมื่อนายจ้างไม่ขอผ่อนชำระเงินสมทบ หรือสำนักงานยกเลิกการอนุญาตให้ผ่อนชำระ หรือนายจ้างไม่มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบต่อไป
ข้อ 14 การจ่ายเงินสมทบของนายจ้าง ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระเงินสมทบเป็นงวด ให้แบ่งจ่ายเป็นสี่งวดตามปี และต้องจ่ายภายในเดือนถัดจากวันสิ้นงวดของแต่ละงวด พร้อมทั้งแจ้งจำนวนเงินค่าจ้างทั้งสิ้นของแต่ละงวดตามแบบที่สำนักงานกำหนด
หมวด 4
การลดหรือเพิ่มอัตราเงินสมทบ
ข้อ 15 นายจ้างซึ่งต้องจ่ายเงินสมทบตามตารางที่ 1 มาแล้วสี่ปีติดต่อกัน ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบในปีถัดไป ลดหรือเพิ่มอัตราเงินสมทบตามอัตราส่วนการสูญเสียของนายจ้างตามตารางที่ 2 ท้ายประกาศนี้
การคำนวณหาอัตราส่วนการสูญเสียตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานคำนวณอัตราส่วนการสูญเสีย โดยเฉลี่ยของนายจ้างแต่ละรายย้อนหลังไปสามปีติดต่อกัน และนำผลที่คำนวณได้ไปใช้ในปีถัดไปจากปีที่คำนวณหาอัตราส่วนการสูญเสีย
อัตราส่วนการสูญเสียนั้น ให้นำเงินทดแทนซึ่งต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่ละคน คำนวณเป็นร้อยละของเงินสมทบที่นายจ้างผู้นั้นต้องจ่ายในระยะเวลาเดียวกัน
ในกรณีที่นายจ้างประกอบกิจการหลายประเภทและมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบทุกประเภทกิจการ การคำนวณหาอัตราส่วนการสูญเสีย ให้คำนวณแยกตามประเภทกิจการนั้นๆ
ข้อ 16 สำหรับนายจ้างที่ได้จ่ายเงินสมทบตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน และการอุทธรณ์ซึ่งออกตามความในข้อ 3 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 อยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ให้นำจำนวนเงินทดแทนที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่ละคน และการจ่ายเงินสมทบตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว มาคำนวณหาอัตราส่วนการสูญเสียตามหลักเกณฑ์ในข้อ 15 ด้วย
ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2537
เสริมศักดิ์ การุญ
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
--ราชกิจจานุเบกษา--
สวัสดิการสังคม
เรื่อง อัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก
วิธีการประเมินการเรียกเก็บเงินสมทบ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จึงออกประกาศกำหนดอัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก วิธีการประเมินและการเรียกเก็บเงินสมทบ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 2 ในประกาศนี้
"สำนักงาน" หมายความว่า สำนักงานประกันสังคม หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด แล้วแต่กรณี
"เงินสมทบ" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนเพื่อใช้เป็นเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้าง
"ปี" หมายความว่า ปีปฏิทิน
"แบบลงทะเบียน" หมายความว่า แบบลงทะเบียนจ่ายเงินสมทบ และแบบรายการแสดงรายชื่อลูกจ้างตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
หมวด 1
อัตราเงินสมทบ
ข้อ 3 ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบตามอัตราเงินสมทบ ซึ่งกำหนดไว้ในตารางที่ 1 ท้ายประกาศนี้
หมวด 2
การกำหนดรหัสประเภทกิจการ
ข้อ 4 เพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บเงินสมทบ ให้สำนักงานกำหนดรหัสประเภทกิจการของนายจ้างตามตารางที่ 1 ท้ายประกาศนี้ โดยพิจารณาจากประเภทกิจการที่นายจ้างดำเนินการ และให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบตามอัตราเงินสมทบของรหัสประเภทกิจการนั้น
ในกรณีที่ไม่อาจกำหนดรหัสประเภทกิจการของนายจ้างอย่างหนึ่งอย่างใดได้ให้กำหนดรหัสประเภทกิจการที่มีความเสี่ยงภัยใกล้เคียงอย่างยิ่ง
ข้อ 5 ให้สำนักงานกำหนดรหัสประเภทกิจการของนายจ้างรายหนึ่งเพียงรหัสเดียว โดยพิจารณาจากกิจการหลักของนายจ้างผู้นั้น เว้นแต่นายจ้างประกอบกิจการหลายอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
ถ้าไม่สามารถกำหนดรหัสประเภทกิจการตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดรหัสประเภทกิจการซึ่งเป็นบริการหรือผลผลิตสุดท้าย เว้นแต่ไม่สามารถแยกได้ว่าประเภทกิจการใดเป็นบริการหรือผลผลิตสุดท้าย ให้กำหนดรหัสประเภทกิจการซึ่งมีลูกจ้างมากที่สุด ถ้าไม่สามารถแยกได้ว่าประเภทกิจการใดมีลูกจ้างมากที่สุด ให้กำหนดรหัสประเภทกิจการที่มีอัตราเงินสมทบสูงสุด
ในกรณีที่นายจ้างประกอบกิจการผลิตหรือประกอบและจำหน่าย ให้สำนักงานกำหนดรหัสประเภทกิจการซึ่งเป็นกิจการผลิตหรือประกอบ แล้วแต่กรณี
ข้อ 6 ถ้าปรากฏว่ารหัสประเภทกิจการที่กำหนดไว้ไม่ถูกต้องกับข้อเท็จจริง ให้สำนักงานวินิจฉัยและเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการ และอัตราเงินสมทบของนายจ้างให้ถูกต้องกับข้อเท็จจริง และเมื่อได้เปลี่ยนแปลงเป็นการถูกต้องแล้ว ให้แจ้งให้นายจ้างทราบ เพื่อให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเพิ่ม หรือจ่ายเงินคืนแก่นายจ้าง
การเปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นผลให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเพิ่ม หรือสำนักงานต้องจ่ายเงินคืนให้กับนายจ้าง ให้มีผลใช้บังคับย้อนหลังได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันต้นแห่งปีนั้น
หมวด 3
วิธีเรียกเก็บเงินสมทบ
ข้อ 7 ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเป็นรายปี
เงินสมทบให้คำนวณจากค่าจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างทั้งปี
ลูกจ้างคนใดได้รับค่าจ้างเกินกว่าสองแสนสี่หมื่นบาทต่อปี ค่าจ้างที่นำมาคำนวณเงินสมทบสำหรับลูกจ้างผู้นั้น ให้คำนวณเพียงสองแสนสี่หมื่นบาท
กรณีที่ลูกจ้างตามวรรคสองทำงานไม่ถึงหนึ่งปี การคำนวณเงินสมทบให้ลดลงตามส่วน
ข้อ 8 นายจ้างรายใดมีหน้าที่ยื่นแบบลงทะเบียน แต่ไม่ยื่น หรือยื่นแล้วแต่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง หรือปฏิเสธที่จะให้ข้อเท็จจริงในการคำนวณเงินสมทบ ให้สำนักงานบันทึกรายละเอียดลงในแบบลงทะเบียน แล้วประเมินเงินสมทบที่นายจ้างผู้นั้นต้องจ่ายโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หากไม่มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องก็ให้ประเมินเงินสมทบตามที่เห็นสมควร
ข้อ 9 นายจ้างรายใดได้ยื่นแบบลงทะเบียนและจ่ายเงินสมทบครั้งแรกต่อสำนักงานแล้ว ในปีต่อไปให้จ่ายเงินสมทบซึ่งคำนวณโดยประมาณตลอดทั้งปีภายในเดือนมกราคมของทุกปี
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงประเภทกิจการและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อความในแบบลงทะเบียนจ่ายเงินสมทบซึ่งได้ยื่นไว้ต่อสำนักงาน ให้นายจ้างแจ้งเป็นหนังสือให้สำนักงานทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น
ข้อ 10 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ให้นายจ้างแจ้งจำนวนเงินค่าจ้างทั้งหมดของปีที่ล่วงมาแล้วที่ได้จ่ายจริงให้กับลูกจ้างตามแบบที่สำนักงานกำหนด โดยให้แจ้งนับแต่วันที่ต้องจ่ายเงินสมทบจนถึงวันสิ้นปีนั้น และให้สำนักงานคำนวณเงินสมทบที่ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง ผลต่างระหว่างเงินสมทบที่นายจ้างได้จ่ายให้แก่สำนักงานไว้แล้ว และที่คำนวณใหม่จะเป็นเงินสมทบที่นายจ้างต้องจ่ายเพิ่มหรือสำนักงานจะต้องจ่ายคืนให้กับนายจ้าง แล้วแต่กรณี
การแจ้งจำนวนเงินค่าจ้างตามวรรคหนึ่ง หากเป็นกรณีที่นายจ้างเลิกกิจการให้นายจ้างแจ้งจำนวนเงินค่าจ้างภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เลิกกิจการ โดยให้แจ้งจำนวนเงินค่าจ้างจนถึงวันเลิกกิจการหรือวันสิ้นปีที่มีการจ่ายค่าจ้าง แล้วแต่กรณี
ข้อ 11 ในกรณีที่นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่ม หรือสำนักงานต้องจ่ายเงินคืนให้แก่นายจ้างตามข้อ 6 และข้อ 10 ให้นายจ้างหรือสำนักงานดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบผลว่านายจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่ม หรือสำนักงานต้องจ่ายเงินคืนแล้วแต่กรณี เว้นแต่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มตามจำนวนที่คำนวณได้ตามข้อ 10 วรรคหนึ่งให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมีนาคม
ข้อ 12 นายจ้างรายใดซึ่งมีหน้าที่จะต้องจ่ายเงินสมทบตั้งแต่วันต้นแห่งปี และยินยอมปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อ 13 และข้อ 14 อาจยื่นคำขอต่อสำนักงานตามแบบที่สำนักงานกำหนดเพื่อขออนุญาตผ่อนชำระเงินสมทบเป็นงวดก็ได้
นายจ้างซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระเงินสมทบเป็นงวด หากไม่ปฏิบัติตามความในข้อ 13 หรือข้อ 14 สำนักงานอาจยกเลิกการอนุญาตดังกล่าวนั้นก็ได้
ข้อ 13 นายจ้างซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระเงินสมทบเป็นงวด ให้ฝากเงินไว้กับสำนักงานเป็นจำนวนร้อยละยี่สิบห้าของเงินสมทบ ซึ่งคำนวณโดยประมาณตลอดทั้งปีเพื่อเป็นการประกันการจ่ายเงินสมทบภายในเดือนมกราคม
เงินฝากตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานเก็บรักษาไว้ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระเงินสมทบ และให้สำนักงานคืนเงินฝากให้นายจ้างเมื่อนายจ้างไม่ขอผ่อนชำระเงินสมทบ หรือสำนักงานยกเลิกการอนุญาตให้ผ่อนชำระ หรือนายจ้างไม่มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบต่อไป
ข้อ 14 การจ่ายเงินสมทบของนายจ้าง ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระเงินสมทบเป็นงวด ให้แบ่งจ่ายเป็นสี่งวดตามปี และต้องจ่ายภายในเดือนถัดจากวันสิ้นงวดของแต่ละงวด พร้อมทั้งแจ้งจำนวนเงินค่าจ้างทั้งสิ้นของแต่ละงวดตามแบบที่สำนักงานกำหนด
หมวด 4
การลดหรือเพิ่มอัตราเงินสมทบ
ข้อ 15 นายจ้างซึ่งต้องจ่ายเงินสมทบตามตารางที่ 1 มาแล้วสี่ปีติดต่อกัน ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบในปีถัดไป ลดหรือเพิ่มอัตราเงินสมทบตามอัตราส่วนการสูญเสียของนายจ้างตามตารางที่ 2 ท้ายประกาศนี้
การคำนวณหาอัตราส่วนการสูญเสียตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานคำนวณอัตราส่วนการสูญเสีย โดยเฉลี่ยของนายจ้างแต่ละรายย้อนหลังไปสามปีติดต่อกัน และนำผลที่คำนวณได้ไปใช้ในปีถัดไปจากปีที่คำนวณหาอัตราส่วนการสูญเสีย
อัตราส่วนการสูญเสียนั้น ให้นำเงินทดแทนซึ่งต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่ละคน คำนวณเป็นร้อยละของเงินสมทบที่นายจ้างผู้นั้นต้องจ่ายในระยะเวลาเดียวกัน
ในกรณีที่นายจ้างประกอบกิจการหลายประเภทและมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบทุกประเภทกิจการ การคำนวณหาอัตราส่วนการสูญเสีย ให้คำนวณแยกตามประเภทกิจการนั้นๆ
ข้อ 16 สำหรับนายจ้างที่ได้จ่ายเงินสมทบตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน และการอุทธรณ์ซึ่งออกตามความในข้อ 3 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 อยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ให้นำจำนวนเงินทดแทนที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่ละคน และการจ่ายเงินสมทบตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว มาคำนวณหาอัตราส่วนการสูญเสียตามหลักเกณฑ์ในข้อ 15 ด้วย
ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2537
เสริมศักดิ์ การุญ
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
--ราชกิจจานุเบกษา--