ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
เรื่อง กำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนและหลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวณค่าจ้างรายเดือน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 18 (2) (3) วรรคสาม และวรรคสี่
แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในการกำหนดประเภทของการสูญเสียอวัยวะ
(1) แขนขาด หมายความว่า ขาดตั้งแต่ข้อศอกขึ้นมา
(2) ขาขาด หมายความว่า ขาดตั้งแต่หัวเข่าขึ้นมา
(3) มือขาด หมายความว่า ขาดตั้งแต่ข้อมือขึ้นมา
(4) เท้าขาด หมายความว่า ขาดตั้งแต่ข้อเท้าขึ้นมา
(5) นิ้วขาด หมายความว่า ขาดเกินหนึ่งข้อขึ้นไปสำหรับนิ้วหัวแม่มือและนิ้วหัว
แม่เท้า และขาดเกินสองข้อขึ้นไปสำหรับนิ้วอื่น ๆ
(6) นิ้วขาดหนึ่งข้อ หมายความว่า ขาดตั้งแต่ปลายนิ้วแต่ไม่เกินระดับข้อปลายนิ้ว
(7) นิ้วขาดสองข้อ หมายความว่า ขาดเกินหนึ่งข้อขึ้นไป แต่ไม่เกินสองข้อ
(8) สูญเสียสมรรถภาพในการมองเห็นร้อยละเก้าสิบขึ้นไป หรือเสียความสามารถในการ
มองเห็นตั้งแต่ 3/60 หรือมากกว่า หมายความว่า ไม่สามารถมองเห็นอักษรบนแผ่นป้ายวัดสายตา
มาตรฐานได้ในระยะห่างจากป้ายสามเมตร ในขณะที่คนตาปกติสามารถมองเห็นได้ในระยะห่างจากป้าย
หกสิบเมตร
(9) สูญเสียความสามารถในการใช้สายตาสองข้างร่วมกัน (Binocular Vision)
หมายความว่า เมื่อใช้ตาข้างที่ไม่ปกติร่วมกับตาอีกข้างหนึ่งแล้ว ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างคนปกติ และ
ถือว่าเป็นการสูญเสียสมรรถภาพในการมองเห็นของตาข้างทีไม่ปกติ นั้น
การสูญเสียอวัยวะส่วนใด หรือการที่อวัยวะส่วนใดสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานโดยสิ้นเชิง
ซึ่งไม่สามารถจะรักษาให้หายเป็นปกติได้ ให้ถือว่าอวัยวะส่วนนั้นขาดด้วย
ข้อ 2 กรณีที่ลูกจ้างต้องสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกาย ตามมาตรา 18 (2) แห่ง
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ให้มีระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนตามประเภทการสูญเสียอวัยวะ
ดังต่อไปนี้
(1) แขนขาดข้างหนึ่ง สิบปี
(2) ขาขาดข้างหนึ่ง หกปีกับแปดเดือน
(3) มือขาดข้างหนึ่ง เก้าปี
(4) เท้าขาดข้างหนึ่ง สี่ปีกับแปดเดือน
(5) เท้าทั้งสองข้างขาด สิบปี
(6) หูหนวกทั้งสองข้าง ห้าปีกับสิบเดือน
(7) หูหนวกข้างหนึ่ง สองปีกับแปดเดือน
(8) นิ้วหัวแม่มือขาดนิ้วหนึ่ง สามปีกับแปดเดือน
(9) นิ้วชี้ขาดนิ้วหนึ่ง สองปีกับสี่เดือน
(10) นิ้วกลางขาดนิ้วหนึ่ง หนึ่งปีกับสิบเดือน
(11) นิ้วนางขาดนิ้วหนึ่ง สิบเดือน
(12) นิ้วก้อยขาดนิ้วหนึ่ง หกเดือน
(13) นิ้วหัวแม่เท้าขาดนิ้วหนึ่ง สิบเดือน
(14) นิ้วเท้าอื่นขาดนิ้วหนึ่ง สามเดือน
(15) สูญเสียลูกตาข้างหนึ่ง สี่ปีกับห้าเดือน
(16) สูญเสียสมรรถภาพในการมองเห็นร้อยละเก้าสิบขึ้นไป หรือเสียความสามารถในการ
มองเห็นตั้งแต่ 3/60 หรือมากกว่าของตาข้างหนึ่ง หรือสูญเสียความสามารถในการใช้สายตาสองข้าง
ร่วมกัน (Binocular Vision) สามปีกับสิบเดือน
(17) สูญเสียอวัยวะ หรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะส่วนอื่น นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง
(16) ให้มีระยะเวลาการจ่ายตามที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือคณะกรรมการการแพทย์กำหนด แต่
ไม่เกินห้าปี
ถ้าลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยซึ่งสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะใน
หลายส่วนของร่างกายตามที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (17) ให้คำนวณกำหนดเวลาดังกล่าวรวมกันแต่ไม่เกิน
สิบปี
ข้อ 3 การสูญเสียอวัยวะตามข้อ 2 (8) (9) (10) (11) (12) (13) และ (14) ถ้า
ลูกจ้างต้องสูญเสียอวัยวะน้อยกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้แล้ว ให้มีระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทน ดังนี้
(1) นิ้วหัวแม่มือขาดหนึ่งข้อ สองปีกับแปดเดือน
(2) นิ้วชี้ขาดหนึ่งข้อ หนึ่งปี
(3) นิ้วชี้ขาดสองข้อ หนึ่งปีกับสิบเดือน
(4) นิ้วกลางขาดหนึ่งข้อ สิบเดือน
(5) นิ้วกลางขาดสองข้อ หนึ่งปีกับสี่เดือน
(6) นิ้วนางขาดหนึ่งข้อ หกเดือน
(7) นิ้วนางขาดสองข้อ แปดเดือน
(8) นิ้วก้อยขาดหนึ่งข้อ สามเดือน
(9) นิ้วก้อยขาดสองข้อ สี่เดือน
(10) นิ้วหัวแม่เท้าขาดหนึ่งข้อ แปดเดือน
(11) นิ้วเท้าอื่นขาดไม่เกินสองข้อ หนึ่งเดือน
ข้อ 4 กรณีที่ลูกจ้างสูญเสียอวัยวะประเภทใดประเภทหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ถือว่าเป็นกรณีลูกจ้าง
ทุพพลภาพ ตามมาตรา 18 (3) แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 ให้มีระยะเวลาจ่ายค่า
ทดแทนมีกำหนดสิบห้าปี คือ
(1) ขาทั้งสองข้างขาด
(2) เท้าข้างหนึ่งกับขาอีกข้างหนึ่งขาด
(3) มือหรือแขนข้างหนึ่งกับเท้าหรือขาอีกข้างหนึ่งขาด
(4) มือทั้งสองข้างขาด
(5) แขนทั้งสองข้างขาด
(6) มือข้างหนึ่งกับแขนอีกข้างหนึ่งขาด
(7) สูญเสียลูกตาทั้งสองข้าง หรือสูญเสียลูกตาข้างหนึ่งกับสูญเสียสมรรถภาพในการมองเห็น
ร้อยละเก้าสิบขึ้นไป หรือเสียความสามารถในการมองเห็นตั้งแต่ 3/60 หรือมากกว่าของตาอีกข้างหนึ่ง
หรือสูญเสียสมรรถภาพในการมองเห็นร้อยละเก้าสิบขึ้นไป หรือเสียความสามารถในการมองเห็นตั้งแต่
3/60 หรือมากกว่าของตาทั้งสองข้าง
(8) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่ศีรษะ และ/หรือกระดูกสันหลัง เป็นเหตุให้มือหรือแขน
ทั้งสองข้าง มือข้างหนึ่งกับแขนข้างหนึ่ง เท้าหรือขาทั้งสองข้าง เท้าข้างหนึ่งกับขาอีกข้างหนึ่ง มือหรือ
แขนข้างหนึ่งกับเท้า หรือขาอีกข้างหนึ่งสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานโดยสิ้นเชิง
(9) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่ศีรษะ อันเป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติของความรู้สึกตัว
และหรือจิตฟั่นเฟือน เป็นเหตุให้ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ และไม่สามารถรักษาให้หายได้ หรือวิกลจริต
(10) สูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะในส่วนหนึ่งส่วนใดหรือใน
หลายส่วนของร่างกาย นอกจากที่กำหนดไว้ใน (1) ถึง (9) ซึ่งคณะกรรมการการแพทย์วินิจฉัยว่า
ทุพพลภาพ
ข้อ 5 กรณีจะเป็นประการใดก็ตาม ค่าทดแทนตามมาตรา 18 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติเงิน
ทดแทน พ.ศ. 2537 ต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละสองพันบาท และไม่เกินเดือนละเก้าพันบาท
ข้อ 6 หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าจ้างรายเดือนตามมาตรา 18 วรรคสาม ให้เป็นไป
ดังนี้
(1) กรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน เท่ากับค่าจ้างรายเดือนในเดือนที่ลูกจ้าง
ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย
(2) กรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน เท่ากับอัตราค่าจ้างรายวันในวันที่ลูกจ้างประสบ
อันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายคูณด้วยยี่สิบหก
(3) กรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง เท่ากับอัตราค่าจ้างในชั่วโมงที่ลูกจ้าง
ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายคูณด้วยแปดและยี่สิบหก
(4) กรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยตามชิ้นงาน เท่ากับค่าจ้าง
งวดสุดท้ายที่ลูกจ้างได้รับหารด้วยจำนวนวันที่ลูกจ้างทำงานในงวดนั้นและคูณด้วยยี่สิบหก
(5) กรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายระยะเวลาอย่างอื่น หรือคำนวณการจ่ายเป็นอย่างอื่น
นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ใน (1) ถึง (4) เท่ากับค่าจ้างงวดสุดท้ายที่ลูกจ้างได้รับหารด้วยจำนวนวัน
ทำงานปกติในงวดนั้น และคูณด้วยยี่สิบหก
ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างหลายประเภท ให้คำนวณค่าจ้างแต่ละประเภทตาม (1) ถึง (5)
แล้วนำมารวมกันเป็นค่าจ้างรายเดือน
ข้อ 7 ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวัน
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2537
เสริมศักดิ์ การุญ
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
--ราชกิจจานุเบกษา--
เรื่อง กำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนและหลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวณค่าจ้างรายเดือน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 18 (2) (3) วรรคสาม และวรรคสี่
แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในการกำหนดประเภทของการสูญเสียอวัยวะ
(1) แขนขาด หมายความว่า ขาดตั้งแต่ข้อศอกขึ้นมา
(2) ขาขาด หมายความว่า ขาดตั้งแต่หัวเข่าขึ้นมา
(3) มือขาด หมายความว่า ขาดตั้งแต่ข้อมือขึ้นมา
(4) เท้าขาด หมายความว่า ขาดตั้งแต่ข้อเท้าขึ้นมา
(5) นิ้วขาด หมายความว่า ขาดเกินหนึ่งข้อขึ้นไปสำหรับนิ้วหัวแม่มือและนิ้วหัว
แม่เท้า และขาดเกินสองข้อขึ้นไปสำหรับนิ้วอื่น ๆ
(6) นิ้วขาดหนึ่งข้อ หมายความว่า ขาดตั้งแต่ปลายนิ้วแต่ไม่เกินระดับข้อปลายนิ้ว
(7) นิ้วขาดสองข้อ หมายความว่า ขาดเกินหนึ่งข้อขึ้นไป แต่ไม่เกินสองข้อ
(8) สูญเสียสมรรถภาพในการมองเห็นร้อยละเก้าสิบขึ้นไป หรือเสียความสามารถในการ
มองเห็นตั้งแต่ 3/60 หรือมากกว่า หมายความว่า ไม่สามารถมองเห็นอักษรบนแผ่นป้ายวัดสายตา
มาตรฐานได้ในระยะห่างจากป้ายสามเมตร ในขณะที่คนตาปกติสามารถมองเห็นได้ในระยะห่างจากป้าย
หกสิบเมตร
(9) สูญเสียความสามารถในการใช้สายตาสองข้างร่วมกัน (Binocular Vision)
หมายความว่า เมื่อใช้ตาข้างที่ไม่ปกติร่วมกับตาอีกข้างหนึ่งแล้ว ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างคนปกติ และ
ถือว่าเป็นการสูญเสียสมรรถภาพในการมองเห็นของตาข้างทีไม่ปกติ นั้น
การสูญเสียอวัยวะส่วนใด หรือการที่อวัยวะส่วนใดสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานโดยสิ้นเชิง
ซึ่งไม่สามารถจะรักษาให้หายเป็นปกติได้ ให้ถือว่าอวัยวะส่วนนั้นขาดด้วย
ข้อ 2 กรณีที่ลูกจ้างต้องสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกาย ตามมาตรา 18 (2) แห่ง
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ให้มีระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนตามประเภทการสูญเสียอวัยวะ
ดังต่อไปนี้
(1) แขนขาดข้างหนึ่ง สิบปี
(2) ขาขาดข้างหนึ่ง หกปีกับแปดเดือน
(3) มือขาดข้างหนึ่ง เก้าปี
(4) เท้าขาดข้างหนึ่ง สี่ปีกับแปดเดือน
(5) เท้าทั้งสองข้างขาด สิบปี
(6) หูหนวกทั้งสองข้าง ห้าปีกับสิบเดือน
(7) หูหนวกข้างหนึ่ง สองปีกับแปดเดือน
(8) นิ้วหัวแม่มือขาดนิ้วหนึ่ง สามปีกับแปดเดือน
(9) นิ้วชี้ขาดนิ้วหนึ่ง สองปีกับสี่เดือน
(10) นิ้วกลางขาดนิ้วหนึ่ง หนึ่งปีกับสิบเดือน
(11) นิ้วนางขาดนิ้วหนึ่ง สิบเดือน
(12) นิ้วก้อยขาดนิ้วหนึ่ง หกเดือน
(13) นิ้วหัวแม่เท้าขาดนิ้วหนึ่ง สิบเดือน
(14) นิ้วเท้าอื่นขาดนิ้วหนึ่ง สามเดือน
(15) สูญเสียลูกตาข้างหนึ่ง สี่ปีกับห้าเดือน
(16) สูญเสียสมรรถภาพในการมองเห็นร้อยละเก้าสิบขึ้นไป หรือเสียความสามารถในการ
มองเห็นตั้งแต่ 3/60 หรือมากกว่าของตาข้างหนึ่ง หรือสูญเสียความสามารถในการใช้สายตาสองข้าง
ร่วมกัน (Binocular Vision) สามปีกับสิบเดือน
(17) สูญเสียอวัยวะ หรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะส่วนอื่น นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง
(16) ให้มีระยะเวลาการจ่ายตามที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือคณะกรรมการการแพทย์กำหนด แต่
ไม่เกินห้าปี
ถ้าลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยซึ่งสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะใน
หลายส่วนของร่างกายตามที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (17) ให้คำนวณกำหนดเวลาดังกล่าวรวมกันแต่ไม่เกิน
สิบปี
ข้อ 3 การสูญเสียอวัยวะตามข้อ 2 (8) (9) (10) (11) (12) (13) และ (14) ถ้า
ลูกจ้างต้องสูญเสียอวัยวะน้อยกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้แล้ว ให้มีระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทน ดังนี้
(1) นิ้วหัวแม่มือขาดหนึ่งข้อ สองปีกับแปดเดือน
(2) นิ้วชี้ขาดหนึ่งข้อ หนึ่งปี
(3) นิ้วชี้ขาดสองข้อ หนึ่งปีกับสิบเดือน
(4) นิ้วกลางขาดหนึ่งข้อ สิบเดือน
(5) นิ้วกลางขาดสองข้อ หนึ่งปีกับสี่เดือน
(6) นิ้วนางขาดหนึ่งข้อ หกเดือน
(7) นิ้วนางขาดสองข้อ แปดเดือน
(8) นิ้วก้อยขาดหนึ่งข้อ สามเดือน
(9) นิ้วก้อยขาดสองข้อ สี่เดือน
(10) นิ้วหัวแม่เท้าขาดหนึ่งข้อ แปดเดือน
(11) นิ้วเท้าอื่นขาดไม่เกินสองข้อ หนึ่งเดือน
ข้อ 4 กรณีที่ลูกจ้างสูญเสียอวัยวะประเภทใดประเภทหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ถือว่าเป็นกรณีลูกจ้าง
ทุพพลภาพ ตามมาตรา 18 (3) แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 ให้มีระยะเวลาจ่ายค่า
ทดแทนมีกำหนดสิบห้าปี คือ
(1) ขาทั้งสองข้างขาด
(2) เท้าข้างหนึ่งกับขาอีกข้างหนึ่งขาด
(3) มือหรือแขนข้างหนึ่งกับเท้าหรือขาอีกข้างหนึ่งขาด
(4) มือทั้งสองข้างขาด
(5) แขนทั้งสองข้างขาด
(6) มือข้างหนึ่งกับแขนอีกข้างหนึ่งขาด
(7) สูญเสียลูกตาทั้งสองข้าง หรือสูญเสียลูกตาข้างหนึ่งกับสูญเสียสมรรถภาพในการมองเห็น
ร้อยละเก้าสิบขึ้นไป หรือเสียความสามารถในการมองเห็นตั้งแต่ 3/60 หรือมากกว่าของตาอีกข้างหนึ่ง
หรือสูญเสียสมรรถภาพในการมองเห็นร้อยละเก้าสิบขึ้นไป หรือเสียความสามารถในการมองเห็นตั้งแต่
3/60 หรือมากกว่าของตาทั้งสองข้าง
(8) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่ศีรษะ และ/หรือกระดูกสันหลัง เป็นเหตุให้มือหรือแขน
ทั้งสองข้าง มือข้างหนึ่งกับแขนข้างหนึ่ง เท้าหรือขาทั้งสองข้าง เท้าข้างหนึ่งกับขาอีกข้างหนึ่ง มือหรือ
แขนข้างหนึ่งกับเท้า หรือขาอีกข้างหนึ่งสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานโดยสิ้นเชิง
(9) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่ศีรษะ อันเป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติของความรู้สึกตัว
และหรือจิตฟั่นเฟือน เป็นเหตุให้ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ และไม่สามารถรักษาให้หายได้ หรือวิกลจริต
(10) สูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะในส่วนหนึ่งส่วนใดหรือใน
หลายส่วนของร่างกาย นอกจากที่กำหนดไว้ใน (1) ถึง (9) ซึ่งคณะกรรมการการแพทย์วินิจฉัยว่า
ทุพพลภาพ
ข้อ 5 กรณีจะเป็นประการใดก็ตาม ค่าทดแทนตามมาตรา 18 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติเงิน
ทดแทน พ.ศ. 2537 ต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละสองพันบาท และไม่เกินเดือนละเก้าพันบาท
ข้อ 6 หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าจ้างรายเดือนตามมาตรา 18 วรรคสาม ให้เป็นไป
ดังนี้
(1) กรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน เท่ากับค่าจ้างรายเดือนในเดือนที่ลูกจ้าง
ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย
(2) กรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน เท่ากับอัตราค่าจ้างรายวันในวันที่ลูกจ้างประสบ
อันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายคูณด้วยยี่สิบหก
(3) กรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง เท่ากับอัตราค่าจ้างในชั่วโมงที่ลูกจ้าง
ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายคูณด้วยแปดและยี่สิบหก
(4) กรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยตามชิ้นงาน เท่ากับค่าจ้าง
งวดสุดท้ายที่ลูกจ้างได้รับหารด้วยจำนวนวันที่ลูกจ้างทำงานในงวดนั้นและคูณด้วยยี่สิบหก
(5) กรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายระยะเวลาอย่างอื่น หรือคำนวณการจ่ายเป็นอย่างอื่น
นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ใน (1) ถึง (4) เท่ากับค่าจ้างงวดสุดท้ายที่ลูกจ้างได้รับหารด้วยจำนวนวัน
ทำงานปกติในงวดนั้น และคูณด้วยยี่สิบหก
ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างหลายประเภท ให้คำนวณค่าจ้างแต่ละประเภทตาม (1) ถึง (5)
แล้วนำมารวมกันเป็นค่าจ้างรายเดือน
ข้อ 7 ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวัน
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2537
เสริมศักดิ์ การุญ
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
--ราชกิจจานุเบกษา--