กฎกระทรวง
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร พ.ศ. 2549
---------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 และมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และมาตรา 75 ตรี แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 และมาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่การกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
(2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2546) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
ข้อ 2 ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตรซึ่งมีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์จำนวนคราวละไม่เกินสองคน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นบุตรที่เกิดก่อนหรือหลังการเป็นผู้ประกันตน
ข้อ 3 ประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรให้เหมาจ่ายเป็นเงินในอัตราสามร้อยห้าสิบบาทต่อเดือนต่อบุตรหนึ่งคน
ข้อ 4 การจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรให้แก่ผู้ประกันตนซึ่งมีบุตรเกิดในระหว่างเดือนให้จ่ายเต็มเดือน
ข้อ 5 ในกรณีที่ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือกรณีที่บุตรซึ่งได้รับการสงเคราะห์มีอายุครบหกปีบริบูรณ์ หรือถึงแก่ความตาย หรือได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น ให้งดจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรตั้งแต่เดือนถัดจากเดือนที่ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงหรือเดือนที่บุตรมีอายุครบหกปีบริบูรณ์ หรือถึงแก่ความตาย หรือได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นแล้วแต่กรณี
ข้อ 6 ในกรณีที่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตายในขณะที่บุตรซึ่งได้รับการสงเคราะห์มีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์ ให้จ่ายเงินสงเคราะห์บุตรแก่ผู้ประกันตนซึ่งเป็นผู้ทุพพลภาพหรือบุคคลตามมาตรา 75 จัตวา ต่อไปจนกว่าบุตรซึ่งได้รับการสงเคราะห์อยู่มีอายุครบหกปีบริบูรณ์
ข้อ 7 เพื่อให้การจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรเป็นไปโดยถูกต้อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบการมีชีวิตอยู่ของบุตรซึ่งได้รับการสงเคราะห์ตามระเบียบที่สำนักงานกำหนด
ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจสอบตามวรรคหนึ่งได้ หรือมีเหตุอันควรสงสัยการมีชีวิตอยู่ของบุตรซึ่งได้รับการสงเคราะห์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรแสดงหลักฐานการมีชีวิตอยู่ของบุตรซึ่งได้รับการสงเคราะห์ ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้าน หรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ หรือหนังสือรับรองของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไปต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ 8 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549
สมศักดิ์ เทพสุทิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป้นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร เพื่อเพิ่มอัตราเงินสงเคราะห์บุตรให้แก่ผู้ประกันตนให้ได้รับสูงขึ้นและลดภาระของผู้ประกันตนในการแสดงหลักฐานการมีชีวิตอยู่ของบุตรต่อสำนักงานประกันสังคมจึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร พ.ศ. 2549
---------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 และมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และมาตรา 75 ตรี แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 และมาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่การกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
(2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2546) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
ข้อ 2 ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตรซึ่งมีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์จำนวนคราวละไม่เกินสองคน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นบุตรที่เกิดก่อนหรือหลังการเป็นผู้ประกันตน
ข้อ 3 ประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรให้เหมาจ่ายเป็นเงินในอัตราสามร้อยห้าสิบบาทต่อเดือนต่อบุตรหนึ่งคน
ข้อ 4 การจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรให้แก่ผู้ประกันตนซึ่งมีบุตรเกิดในระหว่างเดือนให้จ่ายเต็มเดือน
ข้อ 5 ในกรณีที่ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือกรณีที่บุตรซึ่งได้รับการสงเคราะห์มีอายุครบหกปีบริบูรณ์ หรือถึงแก่ความตาย หรือได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น ให้งดจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรตั้งแต่เดือนถัดจากเดือนที่ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงหรือเดือนที่บุตรมีอายุครบหกปีบริบูรณ์ หรือถึงแก่ความตาย หรือได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นแล้วแต่กรณี
ข้อ 6 ในกรณีที่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตายในขณะที่บุตรซึ่งได้รับการสงเคราะห์มีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์ ให้จ่ายเงินสงเคราะห์บุตรแก่ผู้ประกันตนซึ่งเป็นผู้ทุพพลภาพหรือบุคคลตามมาตรา 75 จัตวา ต่อไปจนกว่าบุตรซึ่งได้รับการสงเคราะห์อยู่มีอายุครบหกปีบริบูรณ์
ข้อ 7 เพื่อให้การจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรเป็นไปโดยถูกต้อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบการมีชีวิตอยู่ของบุตรซึ่งได้รับการสงเคราะห์ตามระเบียบที่สำนักงานกำหนด
ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจสอบตามวรรคหนึ่งได้ หรือมีเหตุอันควรสงสัยการมีชีวิตอยู่ของบุตรซึ่งได้รับการสงเคราะห์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรแสดงหลักฐานการมีชีวิตอยู่ของบุตรซึ่งได้รับการสงเคราะห์ ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้าน หรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ หรือหนังสือรับรองของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไปต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ 8 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549
สมศักดิ์ เทพสุทิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป้นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร เพื่อเพิ่มอัตราเงินสงเคราะห์บุตรให้แก่ผู้ประกันตนให้ได้รับสูงขึ้นและลดภาระของผู้ประกันตนในการแสดงหลักฐานการมีชีวิตอยู่ของบุตรต่อสำนักงานประกันสังคมจึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้