ระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง
และกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง
ในสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ
พ.ศ. 2536
โดยที่ข้อ 2 แห่งคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 47 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 กำหนดให้สมาคมนายจ้างและสหภาพแรงงานเป็นผู้เลือกตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละห้าคน เพื่อเป็นกรรมการสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ พ.ศ. 2536"
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2536 เป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายลูกจ้างและผู้แทนฝ่ายนายจ้าง เพื่อเป็นกรรมการสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ ลงวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2534
ข้อ 4 ในระเบียบนี้
"สมาคมนายจ้าง" หมายความว่า สมาคมนายจ้างซึ่งจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
"สหภาพแรงงาน" หมายความว่า สหภาพแรงงานซึ่งจดทะเบียนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
"อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ข้อ 5 ให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรักษาการตามระเบียบนี้
หมวด 1
การใช้สิทธิเลือกตั้ง
ข้อ 6 เมื่อคณะกรรมการสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติใกล้จะพ้นจากตำแหน่งตามวาระ และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้รับแจ้งจากเลขาธิการสำนักงานสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้างเพื่อเสนอรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ
ข้อ 7 ให้สมาคมนายจ้างเสนอชื่อผู้แทนซึ่งต้องเป็นกรรมการของสมาคมนายจ้างนั้นแห่งละหนึ่งคน เพื่อเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างในสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ และเสนอชื่อผู้แทนซึ่งต้องเป็นกรรมการของสมาคมนายจ้างนั้นแห่งละหนึ่งคน เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างต่ออธิบดี
ให้สหภาพแรงงานเสนอชื่อผู้แทนซึ่งต้องเป็นกรรมการของสหภาพแรงงานนั้นแห่งละหนึ่งคน เพื่อเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ และเสนอชื่อผู้แทนซึ่งต้องเป็นกรรมการของสหภาพแรงงานนั้นแห่งละหนึ่งคนเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้างต่ออธิบดี
การเสนอชื่อผู้แทนตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามแบบและภายในระยะเวลาที่อธิบดีกำหนด
เมื่อได้มีการเสนอชื่อผู้แทนสมาคมนายจ้างหรือผู้แทนสหภาพแรงงานแล้ว สมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานจะขอเปลี่ยนผู้แทนสมาคมนายจ้างหรือผู้แทนสหภาพแรงงานก็ได้ แต่ต้องขอเปลี่ยนโดยเสนอชื่อผู้แทนใหม่ภายในระยะเวลาตามวรรคสาม
สมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานจะเสนอชื่อบุคคลคนเดียวกันเป็นผู้แทนเพื่อเข้ารับการเลือกตั้งหรือผู้แทนเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งก็ได้
ในกรณีที่สมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานเสนอชื่อผู้แทนเพื่อเข้ารับการเลือกตั้งไม่ครบจำนวนภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีขยายระยะเวลาการเสนอชื่อผู้แทนออกไปตามที่เห็นสมควร
ข้อ 8 ให้อธิบดีประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อตามข้อ 7 ซึ่งผ่านการตรวจสอบถูกต้องแล้ว ณ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบวัน
หมวด 2
การเตรียมการเลือกตั้ง
ข้อ 9 ให้อธิบดีประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง เวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และสถานที่ทำการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ณ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเฉพาะในจังหวัดที่มีสมาคมนายจ้างและหรือสหภาพแรงงานตั้งอยู่
ข้อ 10 ให้อธิบดีเตรียมการเลือกตั้ง ดังต่อไปนี้
(1) จัดทำบัญชีรายชื่อ หมายเลขประจำตัวของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และบัญชีรายชื่อผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
(2) จัดหาอุปกรณ์สำหรับใช้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ดังนี้
(ก) บัตรเลือกตั้ง
(ข) หีบบัตรเลือกตั้ง
(ค) เครื่องเขียน
(ง) กระดานดำ กระดาษหรืออุปกรณ์อย่างอื่นที่คล้ายคลึงกัน เพื่อใช้ในการนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ในวันที่มีการเลือกตั้ง ให้อธิบดีปิดประกาศบัญชีรายชื่อ หมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ณ สถานที่เลือกตั้ง
บัตรเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด
หมวด 3
การดำเนินการเลือกตั้ง
ข้อ 11 ให้อธิบดีแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจคะแนนอย่างน้อยสามคนและเจ้าหน้าที่คะแนนอย่างน้อยหนึ่งคน
กรรมการตรวจคะแนนให้แต่งตั้งจากผู้มาลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ข้อ 12 คณะกรรมการตรวจคะแนนมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) จัดระเบียบและควบคุมดูแลให้ความสะดวกแก่ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(2) ตรวจนับคะแนนเสียงเลือกตั้งและวินิจฉัยบัตรดี บัตรเสีย พร้อมทั้งจัดทำรายงานผลการนับคะแนนและประกาศการนับคะแนนอย่างละหนึ่งฉบับตามแบบที่อธิบดีกำหนด
(3) วินิจฉัยชี้ขาดการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง กรณีมีผู้ทักท้วงหรือกรณีที่สงสัยว่าผู้ที่เข้ามาแสดงตนมิใช่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อที่ประกาศไว้และบันทึกไว้ด้านหลังรายงานผลการนับคะแนน
การวินิจฉัยใด ๆ ของคณะกรรมการตรวจคะแนนให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก ถ้าจำนวนเสียงเท่ากัน ให้ประธานคณะกรรมการตรวจคะแนนออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ 13 เจ้าหน้าที่คะแนน มีหน้าที่คอยสับเปลี่ยนช่วยเหลือกรรมการตรวจคะแนนปฏิบัติหน้าที่ซึ่งมิได้กำหนดว่ากรรมการตรวจคะแนนต้องกระทำเองเป็นการเฉพาะ โดยให้อยู่ในความควบคุมและรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจคะแนน
ข้อ 14 ก่อนเวลาเปิดการรับลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนเลือกกรรมการตรวจคะแนนคนหนึ่งเป็นประธาน
การลงมติวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจคะแนนให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการตรวจคะแนนคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ 15 การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ให้ใช้วิธีทำเครื่องหมายกากบาท (เช่น X) ลงในช่องทำเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้งให้ตรงกับหมายเลขผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตนต้องการเลือก
ข้อ 16 ขณะจะเปิดการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ให้ประธานคณะกรรมการตรวจคะแนนเปิดหีบบัตรเลือกตั้งต่อหน้าผู้ซึ่งอยู่ ณ ที่เลือกตั้ง เพื่อแสดงว่าไม่มีบัตรเลือกตั้งหรือสิ่งใดในหีบบัตรเลือกตั้ง และให้คณะกรรมการตรวจคะแนนบันทึกการเปิดและปิดหีบบัตรเลือกตั้งโดยให้ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสองคนซึ่งอยู่ในที่เลือกตั้งในขณะนั้นลงลายมือชื่อในบันทึกด้วย
ข้อ 17 ในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ให้ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่จะลงคะแนนไปแสดงตนต่อกรรมการตรวจคะแนน โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชนให้กรรมการตรวจคะแนนตรวจสอบชื่อในบัญชีรายชื่อผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแล้วและจดแจ้งหมายเหตุในบัญชีรายชื่อผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งว่า ผู้นั้นมาใช้สิทธิเลือกตั้งแล้ว พร้อมทั้งมอบบัตรเลือกตั้งให้ผู้นั้นหนึ่งชุด
การจ่ายบัตรเลือกตั้ง ให้จ่ายตามลำดับบัตรเลือกตั้งเลขที่จากน้อยไปหามาก
ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งต้องมาใช้สิทธิเลือกตั้งด้วยตนเองจะมอบให้ผู้อื่นมาใช้สิทธิแทนไม่ได้
ในกรณีที่สงสัยว่าผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่มาแสดงตนนั้นไม่ใช่ผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดว่าผู้นั้นมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือไม่ คำชี้ขาดของคณะกรรมการตรวจคะแนนให้เป็นที่สุด คณะกรรมการตรวจคะแนนต้องบันทึกคำวินิจฉัยและลงลายมือชื่อไว้ด้วย
ข้อ 18 ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ใดใช้บัตรประจำตัวประชาชนเพื่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ให้กรรมการตรวจคะแนนจดหมายเลขของบัตรประจำตัวประชาชน และสถานที่ออกบัตรลงในบัญชีผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งไว้เป็นหลักฐาน
ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ใดใช้ใบรับคำขอมีบัตรหรือเปลี่ยนบัตรใหม่เพื่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ให้กรรมการตรวจคะแนนปฏิบัติเช่นเดียวกับวรรคหนึ่งและให้ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้นั้นลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือในบัญชีผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นหลักฐานเพิ่มขึ้นด้วย
ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งซึ่งไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมาย ให้ใช้บัตรประจำตัวอย่างอื่นที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ ซึ่งแสดงได้ว่าระบุถึงตัวผู้นั้น
ข้อ 19 ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งคนหนึ่งจะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายตนได้ไม่เกินจำนวนห้าคน
เมื่อผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแล้ว ให้พับบัตรเลือกตั้งมอบให้กรรมการตรวจคะแนนเพื่อหย่อนบัตรเลือกตั้งนั้นลงในหีบบัตรเลือกตั้งต่อหน้าผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ข้อ 20 เมื่อผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งคนใดรับบัตรเลือกตั้งเพื่อลงคะแนนแล้ว ถ้าไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครคนใด ให้ทำเครื่องหมายกากบาท (X) ลงในช่อง "ไม่ลงคะแนน" แล้วนำบัตรเลือกตั้งนั้นมอบให้แก่กรรมการตรวจคะแนนเพื่อหย่อนบัตรเลือกตั้งนั้นลงในหีบบัตรเลือกตั้งต่อหน้าผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
หมวด 4
การตรวจและการรวมคะแนน
ข้อ 21 เมื่อปิดการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแล้ว ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนนับคะแนนเสียงเลือกตั้งโดยเปิดเผยจนเสร็จ ห้ามมิให้มีการเลื่อนหรือประวิงการนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ข้อ 22 บัตรเลือกตั้งต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นบัตรเสีย
(1) บัตรปลอม
(2) บัตรที่ทำเครื่องหมายนอกช่องทำเครื่องหมาย
(3) บัตรที่มิได้ทำเครื่องหมาย
(4) บัตรที่ปรากฏว่าได้พับซ้อนกันมากกว่าหนึ่งบัตร
(5) บัตรที่มีเครื่องหมายหรือข้อความอื่นใดนอกจากเครื่องหมายกากบาท
(6) บัตรที่ไม่อาจทราบได้ว่าลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใด
(7) บัตรที่ทำเครื่องหมายเกินจำนวนที่กำหนด
บัตรดังกล่าวให้กรรมการตรวจคะแนนสลักหลังว่า "เสีย" และต้องมีกรรมการตรวจคะแนนสามคนลงลายมือชื่อกำกับไว้
ในการนับคะแนน หากปรากฏว่ามีบัตรเสียหรือบัตรที่ทำเครื่องหมายกากบาท (X) ในช่อง "ไม่ลงคะแนน" ให้แยกบัตรดังกล่าวออกไว้เป็นส่วนหนึ่ง และห้ามมิให้นับบัตรนั้นเป็นคะแนนเสียงเลือกตั้งไม่ว่ากรณีใด
ข้อ 23 ในกรณีบัตรเสียที่มีลักษณะตามข้อ 22 (2) (5) หรือ (6) ให้ถือว่าเป็นบัตรเสียเฉพาะเครื่องหมายที่ทำนอกช่องเครื่องหมาย เครื่องหมายหรือข้อความอื่น นอกจากเครื่องหมายกากบาทหรือเครื่องหมายที่ไม่อาจทราบได้ว่าลงคะแนนให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใด
ข้อ 24 เมื่อการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนเก็บบัตรเลือกตั้งที่ใช้นับคะแนนเสียงเลือกตั้งแล้วใส่ซองปิดผนึกโดยลงลายมือชื่อคณะกรรมการตรวจคะแนนกำกับไว้บนซอง และแยกเก็บบัตรเสียและบัตรที่ทำเครื่องหมายกากบาท (X) ในช่อง "ไม่ลงคะแนน" ไว้ต่างหาก แล้วมอบให้อธิบดีพร้อมกับบัญชีรายชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง
เมื่อการเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว อธิบดีจะทำลายบัตรเลือกตั้งและเอกสารอื่นได้เมื่อพ้นระยะเวลาคัดค้านการเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
ข้อ 25 ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนประกาศผลของการนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้งนั้น และให้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง ซึ่งได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุด ตามลำดับจนครบจำนวนที่กำหนดไว้แล้วมอบให้อธิบดีโดยเร็ว
ผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งห้าลำดับแรกเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างหรือกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งเท่ากันในลำดับสุดท้ายทำให้จำนวนผู้ที่อยู่ในข่ายรับเลือกตั้งเป็นกรรมการผู้แทนแต่ละฝ่ายเกินห้าคน ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนดำเนินการจับสลากระหว่างผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงเท่ากันในลำดับสุดท้ายโดยเปิดเผย เพื่อให้ได้จำนวนกรรมการผู้แทนแต่ละฝ่ายที่กำหนด
ผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งในลำดับถัดไปจากจำนวนที่กำหนดห้าคนให้เป็นผู้แทนสำรอง
ข้อ 26 ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เสนอชื่อผู้ได้รับเลือกตั้งตามข้อ 25 ทั้งฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละห้าคนต่อรัฐมนตรีเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ
ข้อ 27 ในกรณีที่กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง หรือกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระให้รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้แทนสำรองตามข้อ 25 วรรคสาม ที่ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งสูงสุดเป็นกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างหรือกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้างแทนตำแหน่งที่ว่าง และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน
หมวด 5
การคัดค้านการเลือกตั้ง
ข้อ 28 เมื่อคณะกรรมการตรวจคะแนนประกาศผลการเลือกตั้ง แล้วถ้าสมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้องในการเลือกตั้งเห็นว่า การที่บุคคลใดได้รับการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบให้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่ออธิบดีภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่
เมื่ออธิบดีได้รับคำร้องคัดค้านแล้ว ให้ดำเนินการพิจารณาโดยไม่ชักช้า คำวินิจฉัยของอธิบดีให้เป็นที่สุด
หมวด 6
การเลือกตั้งเพิ่ม
ข้อ 29 ในกรณีที่มีการเลือกตั้งไม่ได้จำนวนผู้ที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้างครบจำนวนที่กำหนด ให้อธิบดีดำเนินการเพื่อให้มีการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้างเพิ่มเติมให้ครบจำนวนที่กำหนดไว้และให้นำความในหมวด 1 หมวด 2 หมวด 3 หมวด 4 และหมวด 5 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2536
ไพทูรย์ แก้วทอง
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
--ราชกิจจานุเบกษา--
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง
และกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง
ในสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ
พ.ศ. 2536
โดยที่ข้อ 2 แห่งคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 47 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 กำหนดให้สมาคมนายจ้างและสหภาพแรงงานเป็นผู้เลือกตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละห้าคน เพื่อเป็นกรรมการสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ พ.ศ. 2536"
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2536 เป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายลูกจ้างและผู้แทนฝ่ายนายจ้าง เพื่อเป็นกรรมการสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ ลงวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2534
ข้อ 4 ในระเบียบนี้
"สมาคมนายจ้าง" หมายความว่า สมาคมนายจ้างซึ่งจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
"สหภาพแรงงาน" หมายความว่า สหภาพแรงงานซึ่งจดทะเบียนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
"อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ข้อ 5 ให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรักษาการตามระเบียบนี้
หมวด 1
การใช้สิทธิเลือกตั้ง
ข้อ 6 เมื่อคณะกรรมการสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติใกล้จะพ้นจากตำแหน่งตามวาระ และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้รับแจ้งจากเลขาธิการสำนักงานสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้างเพื่อเสนอรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ
ข้อ 7 ให้สมาคมนายจ้างเสนอชื่อผู้แทนซึ่งต้องเป็นกรรมการของสมาคมนายจ้างนั้นแห่งละหนึ่งคน เพื่อเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างในสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ และเสนอชื่อผู้แทนซึ่งต้องเป็นกรรมการของสมาคมนายจ้างนั้นแห่งละหนึ่งคน เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างต่ออธิบดี
ให้สหภาพแรงงานเสนอชื่อผู้แทนซึ่งต้องเป็นกรรมการของสหภาพแรงงานนั้นแห่งละหนึ่งคน เพื่อเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ และเสนอชื่อผู้แทนซึ่งต้องเป็นกรรมการของสหภาพแรงงานนั้นแห่งละหนึ่งคนเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้างต่ออธิบดี
การเสนอชื่อผู้แทนตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามแบบและภายในระยะเวลาที่อธิบดีกำหนด
เมื่อได้มีการเสนอชื่อผู้แทนสมาคมนายจ้างหรือผู้แทนสหภาพแรงงานแล้ว สมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานจะขอเปลี่ยนผู้แทนสมาคมนายจ้างหรือผู้แทนสหภาพแรงงานก็ได้ แต่ต้องขอเปลี่ยนโดยเสนอชื่อผู้แทนใหม่ภายในระยะเวลาตามวรรคสาม
สมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานจะเสนอชื่อบุคคลคนเดียวกันเป็นผู้แทนเพื่อเข้ารับการเลือกตั้งหรือผู้แทนเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งก็ได้
ในกรณีที่สมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานเสนอชื่อผู้แทนเพื่อเข้ารับการเลือกตั้งไม่ครบจำนวนภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีขยายระยะเวลาการเสนอชื่อผู้แทนออกไปตามที่เห็นสมควร
ข้อ 8 ให้อธิบดีประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อตามข้อ 7 ซึ่งผ่านการตรวจสอบถูกต้องแล้ว ณ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบวัน
หมวด 2
การเตรียมการเลือกตั้ง
ข้อ 9 ให้อธิบดีประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง เวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และสถานที่ทำการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ณ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเฉพาะในจังหวัดที่มีสมาคมนายจ้างและหรือสหภาพแรงงานตั้งอยู่
ข้อ 10 ให้อธิบดีเตรียมการเลือกตั้ง ดังต่อไปนี้
(1) จัดทำบัญชีรายชื่อ หมายเลขประจำตัวของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และบัญชีรายชื่อผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
(2) จัดหาอุปกรณ์สำหรับใช้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ดังนี้
(ก) บัตรเลือกตั้ง
(ข) หีบบัตรเลือกตั้ง
(ค) เครื่องเขียน
(ง) กระดานดำ กระดาษหรืออุปกรณ์อย่างอื่นที่คล้ายคลึงกัน เพื่อใช้ในการนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ในวันที่มีการเลือกตั้ง ให้อธิบดีปิดประกาศบัญชีรายชื่อ หมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ณ สถานที่เลือกตั้ง
บัตรเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด
หมวด 3
การดำเนินการเลือกตั้ง
ข้อ 11 ให้อธิบดีแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจคะแนนอย่างน้อยสามคนและเจ้าหน้าที่คะแนนอย่างน้อยหนึ่งคน
กรรมการตรวจคะแนนให้แต่งตั้งจากผู้มาลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ข้อ 12 คณะกรรมการตรวจคะแนนมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) จัดระเบียบและควบคุมดูแลให้ความสะดวกแก่ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(2) ตรวจนับคะแนนเสียงเลือกตั้งและวินิจฉัยบัตรดี บัตรเสีย พร้อมทั้งจัดทำรายงานผลการนับคะแนนและประกาศการนับคะแนนอย่างละหนึ่งฉบับตามแบบที่อธิบดีกำหนด
(3) วินิจฉัยชี้ขาดการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง กรณีมีผู้ทักท้วงหรือกรณีที่สงสัยว่าผู้ที่เข้ามาแสดงตนมิใช่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อที่ประกาศไว้และบันทึกไว้ด้านหลังรายงานผลการนับคะแนน
การวินิจฉัยใด ๆ ของคณะกรรมการตรวจคะแนนให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก ถ้าจำนวนเสียงเท่ากัน ให้ประธานคณะกรรมการตรวจคะแนนออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ 13 เจ้าหน้าที่คะแนน มีหน้าที่คอยสับเปลี่ยนช่วยเหลือกรรมการตรวจคะแนนปฏิบัติหน้าที่ซึ่งมิได้กำหนดว่ากรรมการตรวจคะแนนต้องกระทำเองเป็นการเฉพาะ โดยให้อยู่ในความควบคุมและรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจคะแนน
ข้อ 14 ก่อนเวลาเปิดการรับลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนเลือกกรรมการตรวจคะแนนคนหนึ่งเป็นประธาน
การลงมติวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจคะแนนให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการตรวจคะแนนคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ 15 การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ให้ใช้วิธีทำเครื่องหมายกากบาท (เช่น X) ลงในช่องทำเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้งให้ตรงกับหมายเลขผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตนต้องการเลือก
ข้อ 16 ขณะจะเปิดการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ให้ประธานคณะกรรมการตรวจคะแนนเปิดหีบบัตรเลือกตั้งต่อหน้าผู้ซึ่งอยู่ ณ ที่เลือกตั้ง เพื่อแสดงว่าไม่มีบัตรเลือกตั้งหรือสิ่งใดในหีบบัตรเลือกตั้ง และให้คณะกรรมการตรวจคะแนนบันทึกการเปิดและปิดหีบบัตรเลือกตั้งโดยให้ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสองคนซึ่งอยู่ในที่เลือกตั้งในขณะนั้นลงลายมือชื่อในบันทึกด้วย
ข้อ 17 ในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ให้ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่จะลงคะแนนไปแสดงตนต่อกรรมการตรวจคะแนน โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชนให้กรรมการตรวจคะแนนตรวจสอบชื่อในบัญชีรายชื่อผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแล้วและจดแจ้งหมายเหตุในบัญชีรายชื่อผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งว่า ผู้นั้นมาใช้สิทธิเลือกตั้งแล้ว พร้อมทั้งมอบบัตรเลือกตั้งให้ผู้นั้นหนึ่งชุด
การจ่ายบัตรเลือกตั้ง ให้จ่ายตามลำดับบัตรเลือกตั้งเลขที่จากน้อยไปหามาก
ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งต้องมาใช้สิทธิเลือกตั้งด้วยตนเองจะมอบให้ผู้อื่นมาใช้สิทธิแทนไม่ได้
ในกรณีที่สงสัยว่าผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่มาแสดงตนนั้นไม่ใช่ผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดว่าผู้นั้นมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือไม่ คำชี้ขาดของคณะกรรมการตรวจคะแนนให้เป็นที่สุด คณะกรรมการตรวจคะแนนต้องบันทึกคำวินิจฉัยและลงลายมือชื่อไว้ด้วย
ข้อ 18 ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ใดใช้บัตรประจำตัวประชาชนเพื่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ให้กรรมการตรวจคะแนนจดหมายเลขของบัตรประจำตัวประชาชน และสถานที่ออกบัตรลงในบัญชีผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งไว้เป็นหลักฐาน
ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ใดใช้ใบรับคำขอมีบัตรหรือเปลี่ยนบัตรใหม่เพื่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ให้กรรมการตรวจคะแนนปฏิบัติเช่นเดียวกับวรรคหนึ่งและให้ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้นั้นลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือในบัญชีผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นหลักฐานเพิ่มขึ้นด้วย
ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งซึ่งไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมาย ให้ใช้บัตรประจำตัวอย่างอื่นที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ ซึ่งแสดงได้ว่าระบุถึงตัวผู้นั้น
ข้อ 19 ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งคนหนึ่งจะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายตนได้ไม่เกินจำนวนห้าคน
เมื่อผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแล้ว ให้พับบัตรเลือกตั้งมอบให้กรรมการตรวจคะแนนเพื่อหย่อนบัตรเลือกตั้งนั้นลงในหีบบัตรเลือกตั้งต่อหน้าผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ข้อ 20 เมื่อผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งคนใดรับบัตรเลือกตั้งเพื่อลงคะแนนแล้ว ถ้าไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครคนใด ให้ทำเครื่องหมายกากบาท (X) ลงในช่อง "ไม่ลงคะแนน" แล้วนำบัตรเลือกตั้งนั้นมอบให้แก่กรรมการตรวจคะแนนเพื่อหย่อนบัตรเลือกตั้งนั้นลงในหีบบัตรเลือกตั้งต่อหน้าผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
หมวด 4
การตรวจและการรวมคะแนน
ข้อ 21 เมื่อปิดการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแล้ว ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนนับคะแนนเสียงเลือกตั้งโดยเปิดเผยจนเสร็จ ห้ามมิให้มีการเลื่อนหรือประวิงการนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ข้อ 22 บัตรเลือกตั้งต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นบัตรเสีย
(1) บัตรปลอม
(2) บัตรที่ทำเครื่องหมายนอกช่องทำเครื่องหมาย
(3) บัตรที่มิได้ทำเครื่องหมาย
(4) บัตรที่ปรากฏว่าได้พับซ้อนกันมากกว่าหนึ่งบัตร
(5) บัตรที่มีเครื่องหมายหรือข้อความอื่นใดนอกจากเครื่องหมายกากบาท
(6) บัตรที่ไม่อาจทราบได้ว่าลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใด
(7) บัตรที่ทำเครื่องหมายเกินจำนวนที่กำหนด
บัตรดังกล่าวให้กรรมการตรวจคะแนนสลักหลังว่า "เสีย" และต้องมีกรรมการตรวจคะแนนสามคนลงลายมือชื่อกำกับไว้
ในการนับคะแนน หากปรากฏว่ามีบัตรเสียหรือบัตรที่ทำเครื่องหมายกากบาท (X) ในช่อง "ไม่ลงคะแนน" ให้แยกบัตรดังกล่าวออกไว้เป็นส่วนหนึ่ง และห้ามมิให้นับบัตรนั้นเป็นคะแนนเสียงเลือกตั้งไม่ว่ากรณีใด
ข้อ 23 ในกรณีบัตรเสียที่มีลักษณะตามข้อ 22 (2) (5) หรือ (6) ให้ถือว่าเป็นบัตรเสียเฉพาะเครื่องหมายที่ทำนอกช่องเครื่องหมาย เครื่องหมายหรือข้อความอื่น นอกจากเครื่องหมายกากบาทหรือเครื่องหมายที่ไม่อาจทราบได้ว่าลงคะแนนให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใด
ข้อ 24 เมื่อการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนเก็บบัตรเลือกตั้งที่ใช้นับคะแนนเสียงเลือกตั้งแล้วใส่ซองปิดผนึกโดยลงลายมือชื่อคณะกรรมการตรวจคะแนนกำกับไว้บนซอง และแยกเก็บบัตรเสียและบัตรที่ทำเครื่องหมายกากบาท (X) ในช่อง "ไม่ลงคะแนน" ไว้ต่างหาก แล้วมอบให้อธิบดีพร้อมกับบัญชีรายชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง
เมื่อการเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว อธิบดีจะทำลายบัตรเลือกตั้งและเอกสารอื่นได้เมื่อพ้นระยะเวลาคัดค้านการเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
ข้อ 25 ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนประกาศผลของการนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้งนั้น และให้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง ซึ่งได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุด ตามลำดับจนครบจำนวนที่กำหนดไว้แล้วมอบให้อธิบดีโดยเร็ว
ผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งห้าลำดับแรกเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างหรือกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งเท่ากันในลำดับสุดท้ายทำให้จำนวนผู้ที่อยู่ในข่ายรับเลือกตั้งเป็นกรรมการผู้แทนแต่ละฝ่ายเกินห้าคน ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนดำเนินการจับสลากระหว่างผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงเท่ากันในลำดับสุดท้ายโดยเปิดเผย เพื่อให้ได้จำนวนกรรมการผู้แทนแต่ละฝ่ายที่กำหนด
ผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งในลำดับถัดไปจากจำนวนที่กำหนดห้าคนให้เป็นผู้แทนสำรอง
ข้อ 26 ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เสนอชื่อผู้ได้รับเลือกตั้งตามข้อ 25 ทั้งฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละห้าคนต่อรัฐมนตรีเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ
ข้อ 27 ในกรณีที่กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง หรือกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระให้รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้แทนสำรองตามข้อ 25 วรรคสาม ที่ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งสูงสุดเป็นกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างหรือกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้างแทนตำแหน่งที่ว่าง และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน
หมวด 5
การคัดค้านการเลือกตั้ง
ข้อ 28 เมื่อคณะกรรมการตรวจคะแนนประกาศผลการเลือกตั้ง แล้วถ้าสมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้องในการเลือกตั้งเห็นว่า การที่บุคคลใดได้รับการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบให้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่ออธิบดีภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่
เมื่ออธิบดีได้รับคำร้องคัดค้านแล้ว ให้ดำเนินการพิจารณาโดยไม่ชักช้า คำวินิจฉัยของอธิบดีให้เป็นที่สุด
หมวด 6
การเลือกตั้งเพิ่ม
ข้อ 29 ในกรณีที่มีการเลือกตั้งไม่ได้จำนวนผู้ที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้างครบจำนวนที่กำหนด ให้อธิบดีดำเนินการเพื่อให้มีการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้างเพิ่มเติมให้ครบจำนวนที่กำหนดไว้และให้นำความในหมวด 1 หมวด 2 หมวด 3 หมวด 4 และหมวด 5 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2536
ไพทูรย์ แก้วทอง
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
--ราชกิจจานุเบกษา--