กฏกระทรวง
ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2543)
ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
_____________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฏหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมออกกฏกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(1) ให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาทำงานปกติ โดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงาน แต่วันหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง"
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ถ้านายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาทำงานปกติตามวรรคหนึ่งเกินกว่าวันละแปดชั่วโมงสำหรับลูกจ้างซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันทำงานสำหรับการทำงานแปดชั่วโมงและจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกินหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ในชั่วโมงที่ทำเกินสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย และถ้าเป็นการทำงานในวันหยุดให้จ่ายค่าทำงานในวันหยุดสำหรับการทำงานแปดชั่วโมงและจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกิน หรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ในชั่วโมงที่ทำเกินโดยคำนวณเป็นหน่วย"
ให้ไว้ ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2543
จองชัย เที่ยงธรรม
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฎิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฏกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่กฏกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดการคุ้มครองแรงงานในกิจการปิโตรเลียมตามกฏหมายว่าด้วยปิโตรเลียม แตกต่างไปจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และกฏกระทรวงดังกล่าวได้กำหนดเวลาทำงานปกติสำหรับลูกจ้างในกิจการปิโตรเลียมตามกฏหมายว่าด้วยปิโตรเลียม รวมตลอดถึงงานซ่อมบำรุงและงานให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับงานดังกล่าวเฉพาะที่ทำในแปลงสำรวจและพื้นที่ผลิต วันละไม่เกินสิบสองชั่วโมง โดยมิได้กำหนดกรอบเวลาทำงานปกติต่อสัปดาห์ไว้ด้วย เป็นเหตุให้ลูกจ้างไม่ได้รับค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุดเมื่อทำงานเกินสี่สิบแปดชั่วโมงต่อหนึ่งสัปดาห์ ดังนั้น เพื่อให้ลูกจ้างได้รับค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด สมควรปรับปรุง โดยกำหนดเวลาทำงานปกติไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมงต่อหนึ่งสัปดาห์ นอกจากนี้ กฏกระทรวงดังกล่าวยังได้กำหนดให้ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างรายวันหรือลูกจ้างรายวันหรือลูกจ้างตามผลงานตกลงกันกำหนดเวลาทำงานปกติเกินกว่าวันละแปดชั่วโมงสำหรับงานที่ใช้วิชาชีพหรือวิชาการ งานด้านบริหารและงานจัดการ งานเสมียนพนักงาน งานอาชีพเกี่ยวการค้า งานอาชีพด้านบริการ งานที่เกี่ยวกับการผลิต หรืองานที่เกี่ยวข้องกับงานดังกล่าว โดยให้ได้รับค่าตอบแทนในเวลาที่เกินกว่าแปดชั่วโมงเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานหรือเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้นั้น มีผลกระทบต่อค่าตอบในการทำงานของลูกจ้างดังกล่าว สมควรปรับปรุงให้ลูกจ้างได้รับค่าตอบแทนในอัตราที่สูงขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฏกระทรวงนี้
--ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 7 ก.--
ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2543)
ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
_____________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฏหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมออกกฏกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(1) ให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาทำงานปกติ โดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงาน แต่วันหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง"
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ถ้านายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาทำงานปกติตามวรรคหนึ่งเกินกว่าวันละแปดชั่วโมงสำหรับลูกจ้างซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันทำงานสำหรับการทำงานแปดชั่วโมงและจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกินหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ในชั่วโมงที่ทำเกินสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย และถ้าเป็นการทำงานในวันหยุดให้จ่ายค่าทำงานในวันหยุดสำหรับการทำงานแปดชั่วโมงและจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกิน หรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ในชั่วโมงที่ทำเกินโดยคำนวณเป็นหน่วย"
ให้ไว้ ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2543
จองชัย เที่ยงธรรม
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฎิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฏกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่กฏกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดการคุ้มครองแรงงานในกิจการปิโตรเลียมตามกฏหมายว่าด้วยปิโตรเลียม แตกต่างไปจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และกฏกระทรวงดังกล่าวได้กำหนดเวลาทำงานปกติสำหรับลูกจ้างในกิจการปิโตรเลียมตามกฏหมายว่าด้วยปิโตรเลียม รวมตลอดถึงงานซ่อมบำรุงและงานให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับงานดังกล่าวเฉพาะที่ทำในแปลงสำรวจและพื้นที่ผลิต วันละไม่เกินสิบสองชั่วโมง โดยมิได้กำหนดกรอบเวลาทำงานปกติต่อสัปดาห์ไว้ด้วย เป็นเหตุให้ลูกจ้างไม่ได้รับค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุดเมื่อทำงานเกินสี่สิบแปดชั่วโมงต่อหนึ่งสัปดาห์ ดังนั้น เพื่อให้ลูกจ้างได้รับค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด สมควรปรับปรุง โดยกำหนดเวลาทำงานปกติไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมงต่อหนึ่งสัปดาห์ นอกจากนี้ กฏกระทรวงดังกล่าวยังได้กำหนดให้ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างรายวันหรือลูกจ้างรายวันหรือลูกจ้างตามผลงานตกลงกันกำหนดเวลาทำงานปกติเกินกว่าวันละแปดชั่วโมงสำหรับงานที่ใช้วิชาชีพหรือวิชาการ งานด้านบริหารและงานจัดการ งานเสมียนพนักงาน งานอาชีพเกี่ยวการค้า งานอาชีพด้านบริการ งานที่เกี่ยวกับการผลิต หรืองานที่เกี่ยวข้องกับงานดังกล่าว โดยให้ได้รับค่าตอบแทนในเวลาที่เกินกว่าแปดชั่วโมงเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานหรือเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้นั้น มีผลกระทบต่อค่าตอบในการทำงานของลูกจ้างดังกล่าว สมควรปรับปรุงให้ลูกจ้างได้รับค่าตอบแทนในอัตราที่สูงขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฏกระทรวงนี้
--ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 7 ก.--