แท็ก
กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2500)
ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน
พ.ศ.2497
——————————————————————
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 และมาตรา 12 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ผู้ใดมีความประสงค์จะขอสัมปทานเพื่อกระทำการอย่างใด ๆ ในที่ดิน ให้ทำเรื่องราวตามแบบ ท.ด.73 ท้ายกฎกระทรวงนี้ ยื่นต่อนายอำเภอท้องที่รวมห้าชุด พร้อมด้วยแผนที่ที่ดินสิบชุด
/1 ในกรณีขอสัมปทานที่ดิน ซึ่งถูกกันออกจากที่ดินที่ทางราชการไม่ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ผู้ขอสัมปทานจะต้องเป็นผู้ซึ่งได้ครอบครองที่ดินนั้น
ข้อ 2. แผนที่ที่ดินตามข้อ 1 ให้แสดงเขตที่ดินและภูมิประเทศในบริเวณที่ขอสัมปทานมีรัศมีห่างจากเขตที่ดินออกไปด้านละอย่างน้อย 300 เมตร และให้แสดงว่ามีสิ่งปลูกสร้าง พืชพันธุ์ไม้หรือทรัพยากรอันมีค่าอย่างใดบ้างหรือไม่ กับให้แสดงแผนผังที่จะใช้ที่ดินนั้นกระทำกิจการโดยละเอียด
ข้อ 3. เมื่อได้รับเรื่องราวตามข้อ 1 ให้นายอำเภอท้องที่ปิดประกาศ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินสาขา ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอท้องที่ ที่บ้านกำนัน และในที่เปิดเผยในบริเวณที่ดินนั้น เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน เมื่อครบกำหนดแล้ว จะมีผู้คัดค้านหรือไม่ก็ตาม ให้นายอำเภอสอบสวนพิจารณาเรื่องราวเสนอความเห็นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาเสนอความเห็นไปยังรัฐมนตรีเพื่อสั่งการต่อไป
ข้อ 4. การให้สัมปทานที่ดินนั้น ให้รัฐมนตรีอนุญาตต่อเมื่อ
(1) ผู้ขอมีความประพฤติดี
(2) ผู้ขอมีความสามารถ และมีปัจจัยที่จะกระทำกิจการ ที่ได้รับสัมปทานให้เป็นผลสำเร็จได้
(3) ที่ดินที่จะอนุญาตสมควรกับกิจการที่ขอสัมปทาน และไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่เศรษฐกิจของประเทศ ไม่ขัดต่อสาธารณประโยชน์ และไม่เป็นอันตรายแก่ทรัพย์สิน หรือขัดต่อสวัสดิภาพของประชาชนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
ข้อ 5. /2 รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ในสัมปทานและกำหนดอายุสัมปทานตามที่เห็นสมควรแก่กิจการนั้น แต่ไม่เกินห้าสิบปี
ในกรณีที่จะให้สัมปทานแก่ผู้ใดเกินยี่สิบปี ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อนเป็นราย ๆ ไป
สัมปทานบัตรให้จัดทำเป็นสี่ฉบับ เก็บรักษาไว้ที่กรมที่ดินหนึ่งฉบับ จังหวัดและอำเภอท้องที่แห่งละหนึ่งฉบับ และให้ผู้รับสัมปทานถือไว้หนึ่งฉบับ
ข้อ 6. ถ้าผู้รับสัมปทานไม่มีความประสงค์จะกระทำกิจการที่ได้รับสัมปทานต่อไป ก็ให้ยื่นเรื่องราวต่อรัฐมนตรีโดยผ่านนายอำเภอท้องที่ตามลำดับและให้สัมปทานนั้นสิ้นอายุนับแต่วันที่รัฐมนตรีอนุมัติ
ข้อ 7. ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานเป็นบุคคลธรรมดา เมื่อผู้รับสัมปทานถึงแก่กรรม ทายาท หรือผู้มีส่วนได้ส่วนได้เสียคนใดมีความประสงค์จะถือสัมปทานนั้นต่อไป ให้ยื่นเรื่องราวต่อรัฐมนตรีผ่านนายอำเภอท้องที่ตามลำดับภายในกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ผู้รับสัมปทานถึงแก่กรรม ถ้าไม่มีผู้ใดยื่นเรื่องราวภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่า สัมปทานนั้นสิ้นอายุในวันที่ครบกำหนดเก้าสิบวัน
ข้อ 8. ถ้าผู้รับสัมปทานมีความประสงค์จะโอนสัมปทานให้แก่ผู้อื่น ให้ผู้โอนและผู้รับโอนยื่นเรื่องราวต่อรัฐมนตรีโดยผ่านนายอำเภอท้องที่ตามลำดับ เมื่อรัฐมนตรีพิจารณาเห็นสมควรก็อนุญาตให้โอนได้
ผู้รับโอนย่อมได้รับช่วงสิทธิและหน้าที่ในกิจการของสัมปทานนั้นต่อไปเท่าที่ผู้รับสัมปทานเดิมมีอยู่
ให้ไว้ ณ วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2500
(ลงชื่อ) พลโท ป. จารุเสถียร
(พลโท ป. จารุเสถียร)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
--ราชกิจจานุเบกษา--
——————————————————————————
/1 มีความเพิ่มขึ้นเป็นวรรคสองของข้อ 1. นี้ โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 21 (พ.ศ.2515)
/2 ความในข้อ 5 เดิม ถูกยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2503) และให้ใช้ความที่พิมพ์ไว้แทน
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้สัมปทาน ให้ หรือให้ใช้ที่ดินของรัฐ ซึ่งมิได้มีบุคคลใดมีสิทธิครอบครอง
ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2500)
ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน
พ.ศ.2497
——————————————————————
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 และมาตรา 12 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ผู้ใดมีความประสงค์จะขอสัมปทานเพื่อกระทำการอย่างใด ๆ ในที่ดิน ให้ทำเรื่องราวตามแบบ ท.ด.73 ท้ายกฎกระทรวงนี้ ยื่นต่อนายอำเภอท้องที่รวมห้าชุด พร้อมด้วยแผนที่ที่ดินสิบชุด
/1 ในกรณีขอสัมปทานที่ดิน ซึ่งถูกกันออกจากที่ดินที่ทางราชการไม่ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ผู้ขอสัมปทานจะต้องเป็นผู้ซึ่งได้ครอบครองที่ดินนั้น
ข้อ 2. แผนที่ที่ดินตามข้อ 1 ให้แสดงเขตที่ดินและภูมิประเทศในบริเวณที่ขอสัมปทานมีรัศมีห่างจากเขตที่ดินออกไปด้านละอย่างน้อย 300 เมตร และให้แสดงว่ามีสิ่งปลูกสร้าง พืชพันธุ์ไม้หรือทรัพยากรอันมีค่าอย่างใดบ้างหรือไม่ กับให้แสดงแผนผังที่จะใช้ที่ดินนั้นกระทำกิจการโดยละเอียด
ข้อ 3. เมื่อได้รับเรื่องราวตามข้อ 1 ให้นายอำเภอท้องที่ปิดประกาศ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินสาขา ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอท้องที่ ที่บ้านกำนัน และในที่เปิดเผยในบริเวณที่ดินนั้น เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน เมื่อครบกำหนดแล้ว จะมีผู้คัดค้านหรือไม่ก็ตาม ให้นายอำเภอสอบสวนพิจารณาเรื่องราวเสนอความเห็นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาเสนอความเห็นไปยังรัฐมนตรีเพื่อสั่งการต่อไป
ข้อ 4. การให้สัมปทานที่ดินนั้น ให้รัฐมนตรีอนุญาตต่อเมื่อ
(1) ผู้ขอมีความประพฤติดี
(2) ผู้ขอมีความสามารถ และมีปัจจัยที่จะกระทำกิจการ ที่ได้รับสัมปทานให้เป็นผลสำเร็จได้
(3) ที่ดินที่จะอนุญาตสมควรกับกิจการที่ขอสัมปทาน และไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่เศรษฐกิจของประเทศ ไม่ขัดต่อสาธารณประโยชน์ และไม่เป็นอันตรายแก่ทรัพย์สิน หรือขัดต่อสวัสดิภาพของประชาชนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
ข้อ 5. /2 รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ในสัมปทานและกำหนดอายุสัมปทานตามที่เห็นสมควรแก่กิจการนั้น แต่ไม่เกินห้าสิบปี
ในกรณีที่จะให้สัมปทานแก่ผู้ใดเกินยี่สิบปี ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อนเป็นราย ๆ ไป
สัมปทานบัตรให้จัดทำเป็นสี่ฉบับ เก็บรักษาไว้ที่กรมที่ดินหนึ่งฉบับ จังหวัดและอำเภอท้องที่แห่งละหนึ่งฉบับ และให้ผู้รับสัมปทานถือไว้หนึ่งฉบับ
ข้อ 6. ถ้าผู้รับสัมปทานไม่มีความประสงค์จะกระทำกิจการที่ได้รับสัมปทานต่อไป ก็ให้ยื่นเรื่องราวต่อรัฐมนตรีโดยผ่านนายอำเภอท้องที่ตามลำดับและให้สัมปทานนั้นสิ้นอายุนับแต่วันที่รัฐมนตรีอนุมัติ
ข้อ 7. ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานเป็นบุคคลธรรมดา เมื่อผู้รับสัมปทานถึงแก่กรรม ทายาท หรือผู้มีส่วนได้ส่วนได้เสียคนใดมีความประสงค์จะถือสัมปทานนั้นต่อไป ให้ยื่นเรื่องราวต่อรัฐมนตรีผ่านนายอำเภอท้องที่ตามลำดับภายในกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ผู้รับสัมปทานถึงแก่กรรม ถ้าไม่มีผู้ใดยื่นเรื่องราวภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่า สัมปทานนั้นสิ้นอายุในวันที่ครบกำหนดเก้าสิบวัน
ข้อ 8. ถ้าผู้รับสัมปทานมีความประสงค์จะโอนสัมปทานให้แก่ผู้อื่น ให้ผู้โอนและผู้รับโอนยื่นเรื่องราวต่อรัฐมนตรีโดยผ่านนายอำเภอท้องที่ตามลำดับ เมื่อรัฐมนตรีพิจารณาเห็นสมควรก็อนุญาตให้โอนได้
ผู้รับโอนย่อมได้รับช่วงสิทธิและหน้าที่ในกิจการของสัมปทานนั้นต่อไปเท่าที่ผู้รับสัมปทานเดิมมีอยู่
ให้ไว้ ณ วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2500
(ลงชื่อ) พลโท ป. จารุเสถียร
(พลโท ป. จารุเสถียร)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
--ราชกิจจานุเบกษา--
——————————————————————————
/1 มีความเพิ่มขึ้นเป็นวรรคสองของข้อ 1. นี้ โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 21 (พ.ศ.2515)
/2 ความในข้อ 5 เดิม ถูกยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2503) และให้ใช้ความที่พิมพ์ไว้แทน
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้สัมปทาน ให้ หรือให้ใช้ที่ดินของรัฐ ซึ่งมิได้มีบุคคลใดมีสิทธิครอบครอง