หมวด 11
ค่าธรรมเนียม
—————————————————
มาตรา 103 /1 ในการดำเนินการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน การรังวัด การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือการทำธุระอื่น ๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง /2 แต่ต้องไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้
/3 ในกรณีออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามมาตรา 58 ให้เรียกเก็บเฉพาะค่าธรรมเนียมเป็นค่าออกโฉนดที่ดิน ค่าออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ค่าหลักเขตที่ดิน และค่ามอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจ แล้วแต่กรณี โดยผู้มีสิทธิในที่ดินจะขอรับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้น ถ้าได้ยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมครั้งแรกให้ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
ในกรณีออกโฉนดที่ดินตามมาตรา 58 ตรี ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
มาตรา 103 ทวิ /4 การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่บริจาคให้แก่ทางราชการ ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม
มาตรา 104 /5 ในการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ให้ผู้ขอจดทะเบียนเสียค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโดยคำนวณตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามมาตรา 105 เบญจ
มาตรา 105 /5 ให้มีคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ ประกอบด้วยปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมการปกครองหรือผู้แทน อธิบดีกรมสรรพากรหรือ ผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังหรือผู้แทน และผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินสี่คนซึ่งรัฐมนตรี แต่งตั้ง เป็นกรรมการ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน เป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา 105 ทวิ /6 กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่ตั้งเป็นกรรมการอีกได้
มาตรา 105 ตรี /6 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 105 ทวิ กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) รัฐมนตรีให้ออก
(4) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถหรือเป็นบุคคลล้มละลาย
(5) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทน
กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามวรรคสอง ให้อยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น
มาตรา 105 จัตวา /6 การประชุมของคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา 105 เบญจ /7 ให้คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฏหมายนี้ /8
(2) ให้ความเห็นชอบต่อการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่คณะกรรมการประจำจังหวัดเสนอ เพื่อใช้ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับอสังหาริมทรัพยืที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดนั้นหรือในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดในเขตจังหวัดนั้น
(3) วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามที่กรมที่ดินขอความเห็น
(4) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์มอบหมายก็ได้ แล้วรายงานต่อคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์
(5) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ได้ให้ความเห็นชอบตาม (2) แล้วให้ปิดประกาศไว้ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินสาขาและสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอหรือที่วาการกิ่งอำเภอท้องที่
มาตรา 105 ฉ /7 ให้มีคณะอนุกรรมการการประจำจังหวัดแต่ละจังหวัด ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานอนุกรรมการ ปลัดจังหวัด สรรพากรจังหวัด และผู้ทรงคุณวุฒิ อีกไม่เกินสามคนซึ่งคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์แต่งตั้ง เป็นอนุกรรมการ และให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดสำหรับกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทนกรมสรรพากร เจ้าพนักงานที่กรุงเทพมหานคร และผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินสามคนซึ่งคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์แต่งตั้ง เป็นอนุกรรมการ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สินเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
ให้นำมาตรา 105 ทวิ มาตรา 105 ตรี และมาตรา 105 จัตวา มาใช้บังคับแก่คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดโดยอนุโลม
มาตรา 105 สัตต /9 ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดมีหน้าที่พิจารณากำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อใช้ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดนั้น หรือในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดในเขตจังหวัดนั้น เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์
มาตรา 105 อัฎฐ /9 เมื่อได้มีการประกาศกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์สำหรับเขตจังหวัดใดไว้แล้วถ้าต่อมาปรากฏว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดในเขตจังหวัดนั้น แตกต่างจากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ได้ประกาศกำหนดไว้มากพอสมควร ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดนั้นพิจารณาปรับปรุงราคาประเมินทุนทรัพย์สำหรับท้องที่นั้น เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์โดยเร็ว
มาตรา 106 /10 (ถูกยกเลิกทั้งมาตรา)
--ราชกิจจานุเบกษา--
—————————————————————
/1 ความเดิมถูกยกเลิกและเปลี่ยนแปลงโดยมาตรา 8 แห่ง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2521
/2 ดูกฎกระทรวงฉบับที่ 32 (พ.ศ.2522), ฉบับที่ 37 (พ.ศ.2532), ฉบับที่ 40 (พ.ศ.2534) และกฎกระทรวงฉบับที่ 41 (พ.ศ.2534)
/3 ความเดิมถูกยกเลิกและเปลี่ยนแปลงโดยมาตรา 18 แห่ง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2528
/4 มาตรา 103 ทวิ เพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 16 (พ.ศ.2520)
/5 ความเดิมถูกยกเลิกและเปลี่ยนแปลงโดยมาตรา 3 แห่ง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายที่ดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2534
/6 มาตรา 105 ทวิ มาตรา 105 ตรี และมาตรา 105 จัตวา เพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายที่ดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2534
/7 มาตรา 105 เบญจและมาตรา 105 ฉ เพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายที่ดิน (ฉบับทึ่ 5) พ.ศ.2534
/8 ดูระเบียบของคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดราคาประเมิน ทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ.2535
/9 มาตรา 105 สัตต และมาตรา 105 อัฏฐ เพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายที่ดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2534
/10 มาตรา 106 ถูกยกเลิกโดยมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายที่ดิน ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2534)
ค่าธรรมเนียม
—————————————————
มาตรา 103 /1 ในการดำเนินการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน การรังวัด การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือการทำธุระอื่น ๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง /2 แต่ต้องไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้
/3 ในกรณีออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามมาตรา 58 ให้เรียกเก็บเฉพาะค่าธรรมเนียมเป็นค่าออกโฉนดที่ดิน ค่าออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ค่าหลักเขตที่ดิน และค่ามอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจ แล้วแต่กรณี โดยผู้มีสิทธิในที่ดินจะขอรับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้น ถ้าได้ยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมครั้งแรกให้ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
ในกรณีออกโฉนดที่ดินตามมาตรา 58 ตรี ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
มาตรา 103 ทวิ /4 การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่บริจาคให้แก่ทางราชการ ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม
มาตรา 104 /5 ในการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ให้ผู้ขอจดทะเบียนเสียค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโดยคำนวณตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามมาตรา 105 เบญจ
มาตรา 105 /5 ให้มีคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ ประกอบด้วยปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมการปกครองหรือผู้แทน อธิบดีกรมสรรพากรหรือ ผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังหรือผู้แทน และผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินสี่คนซึ่งรัฐมนตรี แต่งตั้ง เป็นกรรมการ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน เป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา 105 ทวิ /6 กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่ตั้งเป็นกรรมการอีกได้
มาตรา 105 ตรี /6 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 105 ทวิ กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) รัฐมนตรีให้ออก
(4) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถหรือเป็นบุคคลล้มละลาย
(5) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทน
กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามวรรคสอง ให้อยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น
มาตรา 105 จัตวา /6 การประชุมของคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา 105 เบญจ /7 ให้คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฏหมายนี้ /8
(2) ให้ความเห็นชอบต่อการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่คณะกรรมการประจำจังหวัดเสนอ เพื่อใช้ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับอสังหาริมทรัพยืที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดนั้นหรือในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดในเขตจังหวัดนั้น
(3) วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามที่กรมที่ดินขอความเห็น
(4) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์มอบหมายก็ได้ แล้วรายงานต่อคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์
(5) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ได้ให้ความเห็นชอบตาม (2) แล้วให้ปิดประกาศไว้ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินสาขาและสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอหรือที่วาการกิ่งอำเภอท้องที่
มาตรา 105 ฉ /7 ให้มีคณะอนุกรรมการการประจำจังหวัดแต่ละจังหวัด ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานอนุกรรมการ ปลัดจังหวัด สรรพากรจังหวัด และผู้ทรงคุณวุฒิ อีกไม่เกินสามคนซึ่งคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์แต่งตั้ง เป็นอนุกรรมการ และให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดสำหรับกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทนกรมสรรพากร เจ้าพนักงานที่กรุงเทพมหานคร และผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินสามคนซึ่งคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์แต่งตั้ง เป็นอนุกรรมการ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สินเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
ให้นำมาตรา 105 ทวิ มาตรา 105 ตรี และมาตรา 105 จัตวา มาใช้บังคับแก่คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดโดยอนุโลม
มาตรา 105 สัตต /9 ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดมีหน้าที่พิจารณากำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อใช้ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดนั้น หรือในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดในเขตจังหวัดนั้น เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์
มาตรา 105 อัฎฐ /9 เมื่อได้มีการประกาศกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์สำหรับเขตจังหวัดใดไว้แล้วถ้าต่อมาปรากฏว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดในเขตจังหวัดนั้น แตกต่างจากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ได้ประกาศกำหนดไว้มากพอสมควร ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดนั้นพิจารณาปรับปรุงราคาประเมินทุนทรัพย์สำหรับท้องที่นั้น เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์โดยเร็ว
มาตรา 106 /10 (ถูกยกเลิกทั้งมาตรา)
--ราชกิจจานุเบกษา--
—————————————————————
/1 ความเดิมถูกยกเลิกและเปลี่ยนแปลงโดยมาตรา 8 แห่ง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2521
/2 ดูกฎกระทรวงฉบับที่ 32 (พ.ศ.2522), ฉบับที่ 37 (พ.ศ.2532), ฉบับที่ 40 (พ.ศ.2534) และกฎกระทรวงฉบับที่ 41 (พ.ศ.2534)
/3 ความเดิมถูกยกเลิกและเปลี่ยนแปลงโดยมาตรา 18 แห่ง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2528
/4 มาตรา 103 ทวิ เพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 16 (พ.ศ.2520)
/5 ความเดิมถูกยกเลิกและเปลี่ยนแปลงโดยมาตรา 3 แห่ง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายที่ดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2534
/6 มาตรา 105 ทวิ มาตรา 105 ตรี และมาตรา 105 จัตวา เพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายที่ดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2534
/7 มาตรา 105 เบญจและมาตรา 105 ฉ เพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายที่ดิน (ฉบับทึ่ 5) พ.ศ.2534
/8 ดูระเบียบของคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดราคาประเมิน ทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ.2535
/9 มาตรา 105 สัตต และมาตรา 105 อัฏฐ เพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายที่ดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2534
/10 มาตรา 106 ถูกยกเลิกโดยมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายที่ดิน ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2534)