แท็ก
กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2497)
ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน
พ.ศ. 2497
—————————————————————
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 และมาตรา 77 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงดังต่อไปนี้
ข้อ 1 /1 ภายใต้บังคับข้อ 8 และข้อ 9 บุคคลใดมีความประสงค์จะขอทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้บุคคลนั้นยื่นคำขอตามแบบ ท.ด.1 สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน หรือแนบท.ด.1ก สำหรับที่ดินที่ยังไม่มีโฉนดที่ดินและอสังหาริมทรัยพ์อย่างอื่นท้ายกฎกระทรวงนี้ พร้อมทั้งแนบหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินหรือหลักฐานอย่างอื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ 2 ก่อนทำการจดทะเบียนให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนในเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย คือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(1) สิทธิและความสามารถของบุคคลรวมตลอดถึงความสมบูรณ์แห่งนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(2) ข้อกำหนดสิทธิในที่ดินละการค้าที่ดิน หรือการหลีกเลี่ยงกฎหมาย เช่น การได้มาซึ่งที่ดิน เพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าว
(3) การกำหนดทุนทรัพย์สำหรับเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน
ข้อ 3 ในกรณีที่เห็นเป็นการสมควร พนักงานเจ้าหน้าที่จะให้คู่กรณีนำพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่อื่นไปตรวจสภาพของที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น โดยคู่กรณีเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองก็ได้
ข้อ 4 นิติกรรมที่คู่กรณีขอให้จดทะเบียน ถ้าทำในรูปหนังสือสัญญาให้ทำเป็นคู่ฉบับ เพื่อเก็บไว้ ณ สำนักงานที่ดิน 1 ฉบับ และมอบให้ผู้เป็นฝ่ายอีก 1 ฉบับ หรือ 2 ฉบับ แล้วแต่กรณี ถ้าทำเป็นรูปบันทึกข้อตกลงให้ทำ 1 ฉบับ เพื่อเก็บไว้ ณ สำนักงานที่ดิน
ข้อ 5 /2 การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ยังไม่มีโฉนดที่ดิน ใบไต่สวนหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามแบบ น.ส.3 ก. หรือเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นในที่ดินดังกล่าว หรือเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นในที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน ใบไต่วน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามแบบ น.ส.3 ก. ในกรณีไม่รวมกับที่ดินดังกล่าว ให้ประกาศขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีกำหนดสามสิบวัน
ประกาศตามวรรคหนึ่งให้ปิดไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นตั้งอยู่ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอหรือที่ว่าการกิ่งอำเภอท้องที่ ที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันท้องที่ และบริเวณที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้น แห่งละหนึ่งฉบับ
ข้อ 6 /3 การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังต่อไปนี้ ไม่ต้องประกาศตามความในข้อ 5 คือ
(1) การจดทะเบียนเลิกสิทธิหรือนิติกรรม เช่น เลิกเช่า เลิกภาระจำยอม เป็นต้น
(2) การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวเนื่องกับการจำนอง เช่น การไถ่ถอน การขึ้นเงิน การผ่อนต้น การโอนสิทธิ การโอนหลุดเป็นสิทธิ การโอนชำระหนี้จำนอง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนองหรือหนี้อันจำนองเป็นประกัน เป็นต้น
(3) การไถ่ถอนจากการขายฝาก การปลดเงื่อนไขการไถ่ หรือการโอนสิทธิการไถ่จากการขายฝาก
(4) การจดทะเบียนการได้มาจากการขายทอดตลาด โดยมีการบังคับคดีทางศาล
(5) การจดทะเบียนตาม (2) (3) หรือ (4) แล้วจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประเภทอื่นต่อไปในวันเดียวกัน
(6) เมื่อมีการประกาศขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประเภทหนึ่งประเภทใดไว้ครบกำหนดแล้ว ต่อมามีการตกลงเปลี่ยนประเภทการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนคู่กรณีฝ่ายผู้รับสัญญา
(7) การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประเภทหนึ่งประเภทใด ซึ่งได้กระทำติดต่อในวันเดียวกันเมื่อการจดทะเบียนลำดับแรกนั้นมีการประกาศตามข้อ 5 แล้ว
(8) การจดเบียนการโอนตามคำสั่งศาล
(9) การจดทะเบียนการโอนตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายอื่น
(10) /4
ข้อ 6 ทวิ /5
ข้อ 7 ในการประการศตามความในข้อ 5 ถ้าไม่มีผู้ใดคัดค้านภายในกำหนดเวลาแล้วให้ดำเนินการจดทะเบียนต่อไป ในกรณีที่มีผู้คัดค้าน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนพยานหลักฐานและทำการเปรียบเทียบทั้งสองฝ่าย ถ้าตกลงกันได้ ให้ทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความไว้แล้วดำเนินการตามนั้น ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้งดดำเนินการไว้ แล้วแจ้งให้ทั้งสองฝ่ายไปจัดการฟ้องร้องว่ากล่าวกันต่อไป และเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จึงดำเนินการจดทะเบียนตามผลแห่งคำพิพากษา
ข้อ 8 การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ซึ่งได้มาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ให้ดำเนินการดังนี้
(1) ผู้ได้มาต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยคำพิพากษา หรือคำสั่งศาลอันถึงที่สุด แสดงว่าตนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวนั้น
(2)ถ้าผู้ได้มาได้กรรมสิทธิ์ที่ดินมาเต็มตามโฉนดที่ดิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบครอง
(3) ถ้าโฉนดที่ดินมีชื่อบุคคลคนเดียว หรือหลายคน แต่ผู้ได้มาได้กรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใด ให้สอบสวนว่าต่างฝ่ายต่างจะยอมให้ผู้ได้มามีชื่อร่วมในโฉนดที่ดินหรือไม่ถ้าตกลงกัน ก็ให้จดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบครอง โดยเติมชื่อผู้ได้มาลงไปในโฉนดถ้าไม่ตกลงกันก็ให้แบ่งแยกส่วนของผู้ได้มาออก โดยให้ผู้ได้มาและผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินยังมีกรรมสิทธิ์อยู่ไปดูแลระวังเขตที่ดินในกรรมสิทธิ์ของตนแล้วจดทะเบียนในประเภทแบ่งได้มาโดยการครอบครอง
ถ้าผู้ได้มาได้กรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนไม่เต็มตามโฉนดที่ดินให้จดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบครองเฉพาะส่วน
(4) ในกรณีตาม (1) (2) และ (3) ถ้าไม่ได้โฉนดที่ดินมาให้ถือว่า โฉนดที่ดินสูญหาย ให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดิน แล้วดำเนินการจดทะเบียนต่อไปตามควรแก่กรณี ในกรณีเช่นว่านี้โฉนดที่ดินเดิมเป็นอันใช้ไม่ได้ต่อไป
(5) ถ้าผู้ได้มาได้กรรมสิทธิ์มาไม่ตรงกันตามโฉนดที่ดิน ให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้ใหม่
เมื่อออกโฉนดที่ดินให้ใหม่แล้ว ถ้าได้โฉนดที่ดินเดิมมา ให้หมายเหตุด้วยหมึกแดง ลงไว้ในด้านหน้าของโฉนดเดิมแสดงว่า โฉนดที่ดินฉบับนั้นได้มีการออกโฉนดใหม่แล้ว สำหรับกรณีไม่ได้โฉนดที่ดินเดิมมา ให้ระบุไว้ในประกาศแจกโฉนดที่ดิน แสดงว่าไม่ได้โฉนดที่ดินมาด้วย
(6) ถ้าโฉนดที่ดินนั้นมีการจดทะเบียนผูกผัน เช่น จำนอง เช่า ภาระจำยอม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ศาลทราบ เมื่อศาลแจ้งมาอย่างไร ให้ปฏิบัติตามควรแก่กรณี
ข้อ 9 การจดทะเบียนสิทธิในที่ดิน โดยประการอื่นนอกจากนิติกรรม ให้ดำเนินการดังนี้
(1) ผู้ได้มาต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยเอกสารแสดงสิทธิการได้มาและโฉนดที่ดิน
(2) ถ้าเป็นกรณีได้มาโดยศาลสั่ง ให้จดทะเบียนในประเภทโอนตามคำสั่งศาล โดยระบุคำสั่งศาลไว้ด้วย
(3) ถ้าเป็นกรณีได้มาโดยประการอื่น ให้ปฏิบัติตามความใน (2) โดยอนุโลม
(4) ถ้าโฉนดที่ดินมีชื่อไม่ตรงกับกรณีศาลสั่งมา หรือมีการจดทะเบียนผูกพันอยู่ เช่น จำนอง เช่า ภาระจำยอม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ศาลทราบ เมื่อศาลแจ้งมาอย่างไรให้ปฏิบัติตามควรแก่กรณี
ให้ไว้ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2497
(ลงชื่อ) พลเรือโท สุนาวินวัฒ
(พลเรือโท สุนาวิวัฒ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
--ราชกิจจานุเบกษา--
—————————————————————————————
/1 ความในข้อ 1 ถูกยกเลิกโดย ข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 42 (พ.ศ.2536) และ ให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้แทน
/2 ความในข้อ 5 ถูกยกเลิกโดย ข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 35 (พ.ศ.2531) และให้ใช้ความที่พิมพ์แทน
/3 ความในข้อ 6 เดิม ถูกยกเลิกโดยข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2526) และให้ใช้ความที่พิมพ์ไว้แทน (ถูกยกเลิกโดยข้อ 1 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 34 (พ.ศ.2529)
/4 ความในข้อ 6 (10) ถูกยกเลิกโดยข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 35 (พ.ศ.2531)
/5 ข้อ 6 ทวิ ถูกยกเลิกโดย ข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2526)
ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2497)
ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน
พ.ศ. 2497
—————————————————————
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 และมาตรา 77 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงดังต่อไปนี้
ข้อ 1 /1 ภายใต้บังคับข้อ 8 และข้อ 9 บุคคลใดมีความประสงค์จะขอทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้บุคคลนั้นยื่นคำขอตามแบบ ท.ด.1 สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน หรือแนบท.ด.1ก สำหรับที่ดินที่ยังไม่มีโฉนดที่ดินและอสังหาริมทรัยพ์อย่างอื่นท้ายกฎกระทรวงนี้ พร้อมทั้งแนบหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินหรือหลักฐานอย่างอื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ 2 ก่อนทำการจดทะเบียนให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนในเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย คือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(1) สิทธิและความสามารถของบุคคลรวมตลอดถึงความสมบูรณ์แห่งนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(2) ข้อกำหนดสิทธิในที่ดินละการค้าที่ดิน หรือการหลีกเลี่ยงกฎหมาย เช่น การได้มาซึ่งที่ดิน เพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าว
(3) การกำหนดทุนทรัพย์สำหรับเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน
ข้อ 3 ในกรณีที่เห็นเป็นการสมควร พนักงานเจ้าหน้าที่จะให้คู่กรณีนำพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่อื่นไปตรวจสภาพของที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น โดยคู่กรณีเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองก็ได้
ข้อ 4 นิติกรรมที่คู่กรณีขอให้จดทะเบียน ถ้าทำในรูปหนังสือสัญญาให้ทำเป็นคู่ฉบับ เพื่อเก็บไว้ ณ สำนักงานที่ดิน 1 ฉบับ และมอบให้ผู้เป็นฝ่ายอีก 1 ฉบับ หรือ 2 ฉบับ แล้วแต่กรณี ถ้าทำเป็นรูปบันทึกข้อตกลงให้ทำ 1 ฉบับ เพื่อเก็บไว้ ณ สำนักงานที่ดิน
ข้อ 5 /2 การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ยังไม่มีโฉนดที่ดิน ใบไต่สวนหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามแบบ น.ส.3 ก. หรือเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นในที่ดินดังกล่าว หรือเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นในที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน ใบไต่วน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามแบบ น.ส.3 ก. ในกรณีไม่รวมกับที่ดินดังกล่าว ให้ประกาศขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีกำหนดสามสิบวัน
ประกาศตามวรรคหนึ่งให้ปิดไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นตั้งอยู่ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอหรือที่ว่าการกิ่งอำเภอท้องที่ ที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันท้องที่ และบริเวณที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้น แห่งละหนึ่งฉบับ
ข้อ 6 /3 การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังต่อไปนี้ ไม่ต้องประกาศตามความในข้อ 5 คือ
(1) การจดทะเบียนเลิกสิทธิหรือนิติกรรม เช่น เลิกเช่า เลิกภาระจำยอม เป็นต้น
(2) การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวเนื่องกับการจำนอง เช่น การไถ่ถอน การขึ้นเงิน การผ่อนต้น การโอนสิทธิ การโอนหลุดเป็นสิทธิ การโอนชำระหนี้จำนอง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนองหรือหนี้อันจำนองเป็นประกัน เป็นต้น
(3) การไถ่ถอนจากการขายฝาก การปลดเงื่อนไขการไถ่ หรือการโอนสิทธิการไถ่จากการขายฝาก
(4) การจดทะเบียนการได้มาจากการขายทอดตลาด โดยมีการบังคับคดีทางศาล
(5) การจดทะเบียนตาม (2) (3) หรือ (4) แล้วจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประเภทอื่นต่อไปในวันเดียวกัน
(6) เมื่อมีการประกาศขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประเภทหนึ่งประเภทใดไว้ครบกำหนดแล้ว ต่อมามีการตกลงเปลี่ยนประเภทการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนคู่กรณีฝ่ายผู้รับสัญญา
(7) การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประเภทหนึ่งประเภทใด ซึ่งได้กระทำติดต่อในวันเดียวกันเมื่อการจดทะเบียนลำดับแรกนั้นมีการประกาศตามข้อ 5 แล้ว
(8) การจดเบียนการโอนตามคำสั่งศาล
(9) การจดทะเบียนการโอนตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายอื่น
(10) /4
ข้อ 6 ทวิ /5
ข้อ 7 ในการประการศตามความในข้อ 5 ถ้าไม่มีผู้ใดคัดค้านภายในกำหนดเวลาแล้วให้ดำเนินการจดทะเบียนต่อไป ในกรณีที่มีผู้คัดค้าน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนพยานหลักฐานและทำการเปรียบเทียบทั้งสองฝ่าย ถ้าตกลงกันได้ ให้ทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความไว้แล้วดำเนินการตามนั้น ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้งดดำเนินการไว้ แล้วแจ้งให้ทั้งสองฝ่ายไปจัดการฟ้องร้องว่ากล่าวกันต่อไป และเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จึงดำเนินการจดทะเบียนตามผลแห่งคำพิพากษา
ข้อ 8 การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ซึ่งได้มาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ให้ดำเนินการดังนี้
(1) ผู้ได้มาต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยคำพิพากษา หรือคำสั่งศาลอันถึงที่สุด แสดงว่าตนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวนั้น
(2)ถ้าผู้ได้มาได้กรรมสิทธิ์ที่ดินมาเต็มตามโฉนดที่ดิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบครอง
(3) ถ้าโฉนดที่ดินมีชื่อบุคคลคนเดียว หรือหลายคน แต่ผู้ได้มาได้กรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใด ให้สอบสวนว่าต่างฝ่ายต่างจะยอมให้ผู้ได้มามีชื่อร่วมในโฉนดที่ดินหรือไม่ถ้าตกลงกัน ก็ให้จดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบครอง โดยเติมชื่อผู้ได้มาลงไปในโฉนดถ้าไม่ตกลงกันก็ให้แบ่งแยกส่วนของผู้ได้มาออก โดยให้ผู้ได้มาและผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินยังมีกรรมสิทธิ์อยู่ไปดูแลระวังเขตที่ดินในกรรมสิทธิ์ของตนแล้วจดทะเบียนในประเภทแบ่งได้มาโดยการครอบครอง
ถ้าผู้ได้มาได้กรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนไม่เต็มตามโฉนดที่ดินให้จดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบครองเฉพาะส่วน
(4) ในกรณีตาม (1) (2) และ (3) ถ้าไม่ได้โฉนดที่ดินมาให้ถือว่า โฉนดที่ดินสูญหาย ให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดิน แล้วดำเนินการจดทะเบียนต่อไปตามควรแก่กรณี ในกรณีเช่นว่านี้โฉนดที่ดินเดิมเป็นอันใช้ไม่ได้ต่อไป
(5) ถ้าผู้ได้มาได้กรรมสิทธิ์มาไม่ตรงกันตามโฉนดที่ดิน ให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้ใหม่
เมื่อออกโฉนดที่ดินให้ใหม่แล้ว ถ้าได้โฉนดที่ดินเดิมมา ให้หมายเหตุด้วยหมึกแดง ลงไว้ในด้านหน้าของโฉนดเดิมแสดงว่า โฉนดที่ดินฉบับนั้นได้มีการออกโฉนดใหม่แล้ว สำหรับกรณีไม่ได้โฉนดที่ดินเดิมมา ให้ระบุไว้ในประกาศแจกโฉนดที่ดิน แสดงว่าไม่ได้โฉนดที่ดินมาด้วย
(6) ถ้าโฉนดที่ดินนั้นมีการจดทะเบียนผูกผัน เช่น จำนอง เช่า ภาระจำยอม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ศาลทราบ เมื่อศาลแจ้งมาอย่างไร ให้ปฏิบัติตามควรแก่กรณี
ข้อ 9 การจดทะเบียนสิทธิในที่ดิน โดยประการอื่นนอกจากนิติกรรม ให้ดำเนินการดังนี้
(1) ผู้ได้มาต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยเอกสารแสดงสิทธิการได้มาและโฉนดที่ดิน
(2) ถ้าเป็นกรณีได้มาโดยศาลสั่ง ให้จดทะเบียนในประเภทโอนตามคำสั่งศาล โดยระบุคำสั่งศาลไว้ด้วย
(3) ถ้าเป็นกรณีได้มาโดยประการอื่น ให้ปฏิบัติตามความใน (2) โดยอนุโลม
(4) ถ้าโฉนดที่ดินมีชื่อไม่ตรงกับกรณีศาลสั่งมา หรือมีการจดทะเบียนผูกพันอยู่ เช่น จำนอง เช่า ภาระจำยอม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ศาลทราบ เมื่อศาลแจ้งมาอย่างไรให้ปฏิบัติตามควรแก่กรณี
ให้ไว้ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2497
(ลงชื่อ) พลเรือโท สุนาวินวัฒ
(พลเรือโท สุนาวิวัฒ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
--ราชกิจจานุเบกษา--
—————————————————————————————
/1 ความในข้อ 1 ถูกยกเลิกโดย ข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 42 (พ.ศ.2536) และ ให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้แทน
/2 ความในข้อ 5 ถูกยกเลิกโดย ข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 35 (พ.ศ.2531) และให้ใช้ความที่พิมพ์แทน
/3 ความในข้อ 6 เดิม ถูกยกเลิกโดยข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2526) และให้ใช้ความที่พิมพ์ไว้แทน (ถูกยกเลิกโดยข้อ 1 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 34 (พ.ศ.2529)
/4 ความในข้อ 6 (10) ถูกยกเลิกโดยข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 35 (พ.ศ.2531)
/5 ข้อ 6 ทวิ ถูกยกเลิกโดย ข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2526)