แท็ก
กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
ฉบับที่ 32 (พ.ศ.2522)
ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน
——————————————————————
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 และมาตรา 103 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่ม เติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2521 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวง ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ให้ยกเลิก
(1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497
(2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 19 (พ.ศ.2515) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497
(3) กฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ.2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497
ข้อ 2. ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังนี้
(1) ค่าธรรมเนียมในการขอสัมปทาน รายละ 200 บาท
(2) ค่าสัมปทานปีหนึ่ง ไร่ละ 10 บาท
เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่
(3) ค่าธรรมเนียมออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์
(ก) ที่ดินเนื้อที่ไม่เกิน 20 ไร่ แปลงละ 20 บาท
(ข) ที่ดินเนื้อที่เกิน 20 ไร่ ส่วนที่เกิน ไร่ละ 1 บาท
เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่
(4) ค่าธรรมเนียมการพิสูจน์สอบสวนหรือตรวจสอบ
เนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์
(ก) ถ้าเรียกเป็นรายแปลง แปลงละ 20 บาท
(ข) ถ้าเรียกเป็นรายวัน วันละ 15 บาท
(ค) ค่าคัดหรือจำลองแผนที่ แปลงละ 15 บาท
(ง) ค่าคำนวณเนื้อที่หรือสอบแส แปลงละ 20 บาท
(จ) ค่าจับระยะ แปลงละ 5 บาท
(5) ค่าธรรมเนียมออกโฉนดที่ดิน
(ก) ที่ดินเนื้อที่ไม่เกิน 20 ไร่ แปลงละ 50 บาท
(ข) ที่ดินเนื้อที่เกิน 20 ไร่ ส่วนที่เกิน ไร่ละ 2 บาท
เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่
(6) ค่าธรรมเนียมรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน
(ก) ถ้าเรียกเป็นรายแปลง แปลงละ 30 บาท
(ข) ถ้าเรียกเป็นรายวัน วันละ 20 บาท
(ค) ค่าคัดหรือจำลองแผนที่ แปลงละ 20 บาท
(ง) ค่าคำนวณเนื้อที่หรือสอบแส แปลงละ 20 บาท
(จ) ค่าจับระยะ แปลงละ 10 บาท
(7) ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
(ก) /1 ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีทุนทรัพย์
เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บ
ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ร้อยละ 2
ค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์เฉพาะในกรณี
ที่มูลนิธิชัยพัฒนาหรือมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพใน
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เป็นผู้รับโอนหรือผู้โอน
เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บ
ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ร้อยละ 0.001
(ข) /2 ค่าจดทะเบียนโอนมรดกหรือให้ ทั้งนี้ เฉพาะ
ในระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือ
ระหว่างคู่สมรส
เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียก
เก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ร้อยละ 0.5
(ค) /3 ค่าจดทะเบียนการจำนอง หรือบุริมสิทธิที่จดทะเบียน
แต่อย่างสูงไม่เกิน 200,000 บาท
ค่าจดทะเบียนการจำนอง หรือบุริมสิทธิสำหรับ
การให้สินเชื่อเพื่อการเกษตรของสถาบันการเงิน
ที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ร้อยละ 0.5
แต่อย่างสูงไม่เกิน 100,000 บาท
(ง) ค่าจดทะเบียนการเช่า คิดตามค่าเช่าตลอดเวลาที่เช่า หรือ
เงินกินเปล่าหรือทั้งสองอย่างรวมกัน ร้อยละ 1
ในกรณีเช่าตลอดชีวิต ให้คำนวณค่าเช่าเท่ากับระยะเวลาการเช่า
สามสิบปีเศษของร้อย ตาม (ก) (ข) (ค) และ (ง) ให้คิดเป็น
หนึ่งร้อย
(จ) ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่มีทุนทรัพย์ แปลงละ 40 บาท
(8) ค่าธรรมเนียมการขอให้ได้มาซึ่งที่ดินของคนต่างด้าวรายละ 400 บาท
ค่าอนุญาต ไร่ละ 50 บาท
เศษของไร่คิดเป็นหนึ่งไร่
(9) ค่าธรรมเนียมการขอให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อการค้าที่ดินรายละ 200 บาท
ค่าอนุญาต ไร่ละ 10 บาท
เศษของไร่คิดเป็นหนึ่งไร่
(10) ค่าธรรมเนียมเบ็ดเตล็ด
(ก) ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
(ข) ค่าคัดสำเนาเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งค่าคัดสำเนาเอกสาร
เป็นพยานในคดีแพ่ง โดยเจ้าหน้าที่เป็นผู้คัด
ร้อยคำแรกหรือไม่ถึงร้อยคำ 10 บาท
ร้อยคำต่อไป ร้อยละ 5 บาท
เศษของร้อยให้คิดเป็นหนึ่งร้อย
(ค) ค่ารับรองเอกสารที่คัด ฉบับละ 10 บาท
(ง) ค่าตรวจหลักฐานทะเบียนที่ดิน แปลงละ 10 บาท
(จ) ค่ารับอายัดที่ดิน แปลงละ 10 บาท
(ฉ) ค่ามอบอำนาจ เรื่องละ 20 บาท
(ช) ค่าออกใบแทนโฉนดที่ดิน ฉบับละ 50 บาท
หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินอย่างอื่น ฉบับละ 30 บาท
(ซ) ค่าประกาศ แปลงละ 10 บาท
(ฌ) /4 ค่าหลักเขตที่ดิน หลักละ 15 บาท
ถ้าเป็นการเดินสำรวจหรือสอบเขตทั้งตำบล
สำหรับกรณีออกโฉนดคิดเป็นรายแปลง แปลงละ 60 บาท
ข้อ 3. ค่าใช้จ่าย
(1) ค่าพาหนะเดินทางให้แก่เจ้าพนักงาน พนักงานเจ้าหน้าที่ ให้จ่ายเท่าที่จำเป็น
และคนงานที่จ้างไปทำการรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน หรือ และใช้จ่ายไปจริง
พิสูจน์สอบสวนหรือตรวจสอบเนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือรับรอง
การทำประโยชน์ตามคำขอ
(2) ค่าเบี้ยเลี้ยงให้แก่เจ้าพนักงานพนักงานเจ้าหน้าที่และ ให้จ่ายเท่าที่จำเป็น
ค่าจ้างคนงานที่จ้างไปทำการรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน ตามระเบียบของทาง
หรือพิสูจน์สอบสวนหรือตรวจสอบเนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือ ราชการแก่ผู้ไปทำงาน
รับรองการทำประโยชน์ตามคำขอ เท่าอัตราของทาง
ราชการ
(3) ค่าป่วยการให้แก่เจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่หรือผู้แทน
ที่ไปในการรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน หรือพิสูจน์สอบสวน
หรือตรวจสอบเนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประ
โยชน์คนหนึ่ง วันละ 30 บาท
(4) ค่าปิดประกาศให้แก่ผู้ปิดประกาศ แปลงละ 10 บาท
(5) ค่าพยานให้แก่พยาน คนละ 5 บาท
ให้ไว้ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2522
(ลงชื่อ) ดำริ น้อยมณี
(นายดำริ น้อยมณี)
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
--ราชกิจจานุเบกษา--
————————————————————————————
/1 ความเดิมใน (ก) ของข้อ 2 (7) แห่งกฎกระทรวงฉบับนี้ถูกยกเลิก โดยข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 41 (พ.ศ.2534) และให้ใช้ความที่พิมพ์ไว้แทน
/2 ความเดิมใน (ข) ของข้อ 2 (7) แห่งกฎกระทรวงฉบับนี้ถูกยกเลิกโดยข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 41 (พ.ศ.2534) และให้ใช้ความที่พิมพ์ไว้แทน
/3 ความเดิมใน (ค) ของข้อ 2 (7) แห่งกฎกระทรวงฉบับนี้ถูกยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 40 (พ.ศ.2534) และให้ใช้ความที่พิมพ์ไว้แทน
/4 ความเดิมในข้อ 10 (ฌ) ถูกยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 37 (พ.ศ.2532) และให้ใช้ความที่พิมพ์ไว้แทน
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวงว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียมออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ได้ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2497 และได้มีการแก้ไขต่อมาอีก 2 ครั้ง ในปี พ.ศ.2515 และ พ.ศ.2516 และบัดนี้ได้มีการปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมท้ายประมวลกฎหมายที่ดิน ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2521 แล้วสมควรยกเลิกกฎกระทรวงทั้งสามฉบับ และบัญญัติขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับอัตราค่าธรรมเนียมที่ปรับปรุงใหม่ด้วย จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ฉบับที่ 32 (พ.ศ.2522)
ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน
——————————————————————
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 และมาตรา 103 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่ม เติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2521 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวง ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ให้ยกเลิก
(1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497
(2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 19 (พ.ศ.2515) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497
(3) กฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ.2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497
ข้อ 2. ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังนี้
(1) ค่าธรรมเนียมในการขอสัมปทาน รายละ 200 บาท
(2) ค่าสัมปทานปีหนึ่ง ไร่ละ 10 บาท
เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่
(3) ค่าธรรมเนียมออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์
(ก) ที่ดินเนื้อที่ไม่เกิน 20 ไร่ แปลงละ 20 บาท
(ข) ที่ดินเนื้อที่เกิน 20 ไร่ ส่วนที่เกิน ไร่ละ 1 บาท
เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่
(4) ค่าธรรมเนียมการพิสูจน์สอบสวนหรือตรวจสอบ
เนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์
(ก) ถ้าเรียกเป็นรายแปลง แปลงละ 20 บาท
(ข) ถ้าเรียกเป็นรายวัน วันละ 15 บาท
(ค) ค่าคัดหรือจำลองแผนที่ แปลงละ 15 บาท
(ง) ค่าคำนวณเนื้อที่หรือสอบแส แปลงละ 20 บาท
(จ) ค่าจับระยะ แปลงละ 5 บาท
(5) ค่าธรรมเนียมออกโฉนดที่ดิน
(ก) ที่ดินเนื้อที่ไม่เกิน 20 ไร่ แปลงละ 50 บาท
(ข) ที่ดินเนื้อที่เกิน 20 ไร่ ส่วนที่เกิน ไร่ละ 2 บาท
เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่
(6) ค่าธรรมเนียมรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน
(ก) ถ้าเรียกเป็นรายแปลง แปลงละ 30 บาท
(ข) ถ้าเรียกเป็นรายวัน วันละ 20 บาท
(ค) ค่าคัดหรือจำลองแผนที่ แปลงละ 20 บาท
(ง) ค่าคำนวณเนื้อที่หรือสอบแส แปลงละ 20 บาท
(จ) ค่าจับระยะ แปลงละ 10 บาท
(7) ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
(ก) /1 ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีทุนทรัพย์
เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บ
ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ร้อยละ 2
ค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์เฉพาะในกรณี
ที่มูลนิธิชัยพัฒนาหรือมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพใน
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เป็นผู้รับโอนหรือผู้โอน
เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บ
ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ร้อยละ 0.001
(ข) /2 ค่าจดทะเบียนโอนมรดกหรือให้ ทั้งนี้ เฉพาะ
ในระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือ
ระหว่างคู่สมรส
เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียก
เก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ร้อยละ 0.5
(ค) /3 ค่าจดทะเบียนการจำนอง หรือบุริมสิทธิที่จดทะเบียน
แต่อย่างสูงไม่เกิน 200,000 บาท
ค่าจดทะเบียนการจำนอง หรือบุริมสิทธิสำหรับ
การให้สินเชื่อเพื่อการเกษตรของสถาบันการเงิน
ที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ร้อยละ 0.5
แต่อย่างสูงไม่เกิน 100,000 บาท
(ง) ค่าจดทะเบียนการเช่า คิดตามค่าเช่าตลอดเวลาที่เช่า หรือ
เงินกินเปล่าหรือทั้งสองอย่างรวมกัน ร้อยละ 1
ในกรณีเช่าตลอดชีวิต ให้คำนวณค่าเช่าเท่ากับระยะเวลาการเช่า
สามสิบปีเศษของร้อย ตาม (ก) (ข) (ค) และ (ง) ให้คิดเป็น
หนึ่งร้อย
(จ) ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่มีทุนทรัพย์ แปลงละ 40 บาท
(8) ค่าธรรมเนียมการขอให้ได้มาซึ่งที่ดินของคนต่างด้าวรายละ 400 บาท
ค่าอนุญาต ไร่ละ 50 บาท
เศษของไร่คิดเป็นหนึ่งไร่
(9) ค่าธรรมเนียมการขอให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อการค้าที่ดินรายละ 200 บาท
ค่าอนุญาต ไร่ละ 10 บาท
เศษของไร่คิดเป็นหนึ่งไร่
(10) ค่าธรรมเนียมเบ็ดเตล็ด
(ก) ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
(ข) ค่าคัดสำเนาเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งค่าคัดสำเนาเอกสาร
เป็นพยานในคดีแพ่ง โดยเจ้าหน้าที่เป็นผู้คัด
ร้อยคำแรกหรือไม่ถึงร้อยคำ 10 บาท
ร้อยคำต่อไป ร้อยละ 5 บาท
เศษของร้อยให้คิดเป็นหนึ่งร้อย
(ค) ค่ารับรองเอกสารที่คัด ฉบับละ 10 บาท
(ง) ค่าตรวจหลักฐานทะเบียนที่ดิน แปลงละ 10 บาท
(จ) ค่ารับอายัดที่ดิน แปลงละ 10 บาท
(ฉ) ค่ามอบอำนาจ เรื่องละ 20 บาท
(ช) ค่าออกใบแทนโฉนดที่ดิน ฉบับละ 50 บาท
หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินอย่างอื่น ฉบับละ 30 บาท
(ซ) ค่าประกาศ แปลงละ 10 บาท
(ฌ) /4 ค่าหลักเขตที่ดิน หลักละ 15 บาท
ถ้าเป็นการเดินสำรวจหรือสอบเขตทั้งตำบล
สำหรับกรณีออกโฉนดคิดเป็นรายแปลง แปลงละ 60 บาท
ข้อ 3. ค่าใช้จ่าย
(1) ค่าพาหนะเดินทางให้แก่เจ้าพนักงาน พนักงานเจ้าหน้าที่ ให้จ่ายเท่าที่จำเป็น
และคนงานที่จ้างไปทำการรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน หรือ และใช้จ่ายไปจริง
พิสูจน์สอบสวนหรือตรวจสอบเนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือรับรอง
การทำประโยชน์ตามคำขอ
(2) ค่าเบี้ยเลี้ยงให้แก่เจ้าพนักงานพนักงานเจ้าหน้าที่และ ให้จ่ายเท่าที่จำเป็น
ค่าจ้างคนงานที่จ้างไปทำการรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน ตามระเบียบของทาง
หรือพิสูจน์สอบสวนหรือตรวจสอบเนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือ ราชการแก่ผู้ไปทำงาน
รับรองการทำประโยชน์ตามคำขอ เท่าอัตราของทาง
ราชการ
(3) ค่าป่วยการให้แก่เจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่หรือผู้แทน
ที่ไปในการรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน หรือพิสูจน์สอบสวน
หรือตรวจสอบเนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประ
โยชน์คนหนึ่ง วันละ 30 บาท
(4) ค่าปิดประกาศให้แก่ผู้ปิดประกาศ แปลงละ 10 บาท
(5) ค่าพยานให้แก่พยาน คนละ 5 บาท
ให้ไว้ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2522
(ลงชื่อ) ดำริ น้อยมณี
(นายดำริ น้อยมณี)
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
--ราชกิจจานุเบกษา--
————————————————————————————
/1 ความเดิมใน (ก) ของข้อ 2 (7) แห่งกฎกระทรวงฉบับนี้ถูกยกเลิก โดยข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 41 (พ.ศ.2534) และให้ใช้ความที่พิมพ์ไว้แทน
/2 ความเดิมใน (ข) ของข้อ 2 (7) แห่งกฎกระทรวงฉบับนี้ถูกยกเลิกโดยข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 41 (พ.ศ.2534) และให้ใช้ความที่พิมพ์ไว้แทน
/3 ความเดิมใน (ค) ของข้อ 2 (7) แห่งกฎกระทรวงฉบับนี้ถูกยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 40 (พ.ศ.2534) และให้ใช้ความที่พิมพ์ไว้แทน
/4 ความเดิมในข้อ 10 (ฌ) ถูกยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 37 (พ.ศ.2532) และให้ใช้ความที่พิมพ์ไว้แทน
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวงว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียมออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ได้ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2497 และได้มีการแก้ไขต่อมาอีก 2 ครั้ง ในปี พ.ศ.2515 และ พ.ศ.2516 และบัดนี้ได้มีการปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมท้ายประมวลกฎหมายที่ดิน ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2521 แล้วสมควรยกเลิกกฎกระทรวงทั้งสามฉบับ และบัญญัติขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับอัตราค่าธรรมเนียมที่ปรับปรุงใหม่ด้วย จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้