แท็ก
กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
ฉบับที่ 51 (พ.ศ.2549)
ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497
------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 และมาตรา 103 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2521 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ฎ/1) ของ (7) ในข้อ 2 แห่งกฎหระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497
"(ฎ/1) ค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมาทรัพย์ เฉพาะ
ในกรณีที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
โอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้รับโอน เนื่องจาก
การให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารอิสลาม
แห่งประเทศไทย ให้เรียกตามราคาประเมิน
ทุนทรัพย์ตามที่คณะกรรมการกำหนดราคา
ประเมินทุนทรัพย์กำหนดร้อยละ 1"
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (ฎ) ของ (7) ในข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(ฎ) ค่าจดทะเบียนทรัพย์สินที่มีค่าตอบแทน
ยกเว้นการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ที่มีทุนทรัพย์ตาม (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฎ)
และ (ฎ/1) ร้อยละ 1"
ให้ไว้ ณ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549
พลอากาศเอก คงศักดิ์ วันทนา
รัฐมนตรีว่าการกระทวงมหาดไทย
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นธนาคารที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ.2545 มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจทางการเงินและประกอบกิจการอื่นให้สอดคล้องกับหลักการของศาสนาอิสลามซึ่งยังห้ามมิให้ดำเนินธุรกิจทางการเงินที่ผูกพันกับดอกเบี้ย ธนาคารจึงต้องดำเนินการจัดหาสิ่งที่ลูกค้าต้องการทั้งสินทรัพย์หมุนเวียนและอสังหาริมทรัพย์แทนการให้เป็นตัวเงิน ทำให้การทำธุรกรรมการให้สินเชื่อเพื่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์เกิดภาระภาษีธุรกิจเฉพาะและค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ถึงสองครั้ง เป็นเหตุให้ค่าใช้จ่ายโดยรวมสูงกว่าการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ดังนั้น เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของลูกค้าอันเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และเป็นการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สมควรกำหนดให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์เฉพาะในกรณีที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้รับโอนเนื่องจากการให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ในอัตราร้อยละหนึ่ง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ฉบับที่ 51 (พ.ศ.2549)
ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497
------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 และมาตรา 103 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2521 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ฎ/1) ของ (7) ในข้อ 2 แห่งกฎหระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497
"(ฎ/1) ค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมาทรัพย์ เฉพาะ
ในกรณีที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
โอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้รับโอน เนื่องจาก
การให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารอิสลาม
แห่งประเทศไทย ให้เรียกตามราคาประเมิน
ทุนทรัพย์ตามที่คณะกรรมการกำหนดราคา
ประเมินทุนทรัพย์กำหนดร้อยละ 1"
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (ฎ) ของ (7) ในข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(ฎ) ค่าจดทะเบียนทรัพย์สินที่มีค่าตอบแทน
ยกเว้นการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ที่มีทุนทรัพย์ตาม (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฎ)
และ (ฎ/1) ร้อยละ 1"
ให้ไว้ ณ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549
พลอากาศเอก คงศักดิ์ วันทนา
รัฐมนตรีว่าการกระทวงมหาดไทย
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นธนาคารที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ.2545 มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจทางการเงินและประกอบกิจการอื่นให้สอดคล้องกับหลักการของศาสนาอิสลามซึ่งยังห้ามมิให้ดำเนินธุรกิจทางการเงินที่ผูกพันกับดอกเบี้ย ธนาคารจึงต้องดำเนินการจัดหาสิ่งที่ลูกค้าต้องการทั้งสินทรัพย์หมุนเวียนและอสังหาริมทรัพย์แทนการให้เป็นตัวเงิน ทำให้การทำธุรกรรมการให้สินเชื่อเพื่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์เกิดภาระภาษีธุรกิจเฉพาะและค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ถึงสองครั้ง เป็นเหตุให้ค่าใช้จ่ายโดยรวมสูงกว่าการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ดังนั้น เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของลูกค้าอันเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และเป็นการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สมควรกำหนดให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์เฉพาะในกรณีที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้รับโอนเนื่องจากการให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ในอัตราร้อยละหนึ่ง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้