หมวด 3
ระบบบำบัดน้ำเสียและการระบายน้ำทิ้ง
ข้อ 30 การออกแบบ และการคำนวณรายการระบบบำบัดน้ำเสีย และการระบายน้ำทิ้ง
ของอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องดำเนินการโดยผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
วิศวกรรมควบคุมตั้งแต่ประเภทสามัญขึ้นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม
ข้อ 31 การระบายน้ำฝนออกจากอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ จะระบายลงสู่
แหล่งรองรับน้ำทิ้งโดยตรงก็ได้ แต่ต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน
หรือกระทบกระเทือนต่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ข้อ 32 ระบบบำบัดน้ำเสียจะแยกเป็นระบบอิสระเฉพาะอาคาร หรือเป็นระบบรวมของ
ส่วนกลางก็ได้ แต่ต้องไม่ก่อให้เกิดเสียง กลิ่น ฟอง กาก หรือสิ่งอื่นใดที่เกิดจากการบำบัดนั้น จนถึง
ขนาดที่อาจเกิดภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน กระทบกระเทือนต่อการรักษา
คุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง
ข้อ 33 น้ำเสียต้องผ่านระบบบำบัดน้ำเสียจนเป็นน้ำทิ้ง ก่อนระบายสู่แหล่งรองรับน้ำทิ้ง
โดยคุณภาพน้ำทิ้งเป็นไปตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนด
มาตรฐาน คุณภาพน้ำทิ้งจากอาคาร
ข้อ 34 ทางระบายน้ำทิ้งต้องมีลักษณะที่สามารถตรวจสอบ และทำความสะอาดได้โดย
สะดวก ในกรณีที่ทางระบายน้ำเป็นท่อปิดต้องมีบ่อสำหรับตรวจการระบายน้ำทุกระยะไม่เกิน 8.00
เมตร และทุกมุมเลี้ยวด้วย
ข้อ 35 ในกรณีที่แหล่งรองรับน้ำทิ้งมีขนาดไม่เพียงพอรองรับน้ำทิ้งที่ระบายจากอาคารใน
ชั่วโมงการใช้น้ำสูงสุด ให้มีที่พักน้ำทิ้งเพื่อรองรับปริมาณน้ำทิ้งที่เกินกว่าแหล่งรองรับน้ำทิ้งจะรับได้
ก่อนที่จะระบายสู่แหล่งรองรับน้ำทิ้ง
หมวด 4
ระบบประปา
ข้อ 36 อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องมีที่เก็บน้ำใช้สำรองที่สามารถจ่ายน้ำใน
ชั่วโมงการใช้น้ำสูงสุดได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง และต้องมีระบบท่อจ่ายน้ำประปาที่มีแรงดันน้ำในท่อ
จ่ายน้ำและปริมาณน้ำประปาดังต่อไปนี้
(1) แรงดันน้ำในระบบท่อจ่ายน้ำที่จุดน้ำเข้าเครื่องสุขภัณฑ์ ต้องมีแรงดันในชั่วโมง
การใช้น้ำสูงสุดไม่น้อยกว่า 0.1 เมกะปาสกาลมาตร
(2) ปริมาณการใช้น้ำสำหรับจ่ายให้แก่ผู้ใช้ทั้งอาคาร สำหรับประเภทเครื่องสุขภัณฑ์
แต่ละชนิดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
ตารางเปรียบเทียบปริมาณน้ำประปาคิดเป็นหน่วยสุขภัณฑ์เพื่อหาปริมาณน้ำ
________________________________________________________________________
หน่วยสุขภัณฑ์
ประเภทเครื่องสุขภัณฑ์ ชนิดของเครื่อควบคุม (FIXTURE UNIT)
------------------
ส่วนบุคคล สาธารณะ
________________________________________________________________________
ส้วม ประตูน้ำล้าง (FLUSH VALUE) 6 10
ส้วม ถังน้ำล้าง (FLUSH TANK) 3 5
ที่ปัสสาวะ ประตูน้ำล้าง (FLUSH VALUE) 5 10
ที่ปัสสาวะ ถังน้ำล้าง (FLUSH TANK) 3 5
อ่างล้างมือ ก๊อกน้ำ 1 2
ฝักบัว ก๊อกน้ำ 2 4
อ่างอาบน้ำ ก๊อกน้ำ 2 4
________________________________________________________________________
หน่วยสุขภัณฑ์ หมายความว่าตัวเลขที่แสดงถึงปริมาณการใช้น้ำหรือระบายน้ำเปรียบเทียบ
กันระหว่างสุขภัณฑ์ต่างชนิดกัน
ทั้งนี้ สุขภัณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุให้เทียบเคียงตัวเลขตามตารางข้างต้น
ข้อ 37 ระบบท่อจ่ายน้ำต้องมีวิธีป้องกันมิให้สิ่งปนเปื้อนจากภายนอกเข้าไปในท่อจ่ายน้ำได้
ในกรณีที่ระบบท่อจ่ายน้ำแยกกันระหว่างน้ำดื่มกับน้ำใช้ ต้องแยกชนิดของท่อจ่ายน้ำให้ชัดเจน
ห้ามต่อท่อจ่ายทั้งสองระบบเข้าด้วยกัน
หมวด 5
ระบบกำจัดขยะมูลฝอย
ข้อ 38 ในอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องมีการจัดเก็บขยะมูลฝอย โดยวิธีขน
ลำเลียงหรือทิ้งลงปล่องทิ้งมูลฝอย
ข้อ 39 การคิดปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้นในอาคาร ให้คิดจากอัตราการใช้ดังต่อไปนี้
(1) การใช้เพื่อการอยู่อาศัย ปริมาณมูลฝอยไม่น้อยกว่า 2.40 ลิตร ต่อคนต่อวัน
(2) การใช้เพื่อการพาณิชยกรรมหรือการอื่น ปริมาณมูลฝอยไม่น้อยกว่า 0.4 ลิตร
ต่อพื้นที่หนึ่งตารางเมตรต่อวัน
ข้อ 40 อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องจัดให้มีพื้นที่พักรวมมูลฝอยที่มีลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(1) ต้องมีขนาดความจุไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน
ตามข้อ 39
(2) ผนังต้องทำด้วยวัสดุถาวรและทนไฟ
(3) พื้นผิวภายในต้องเรียบและกันน้ำซึม
(4) ต้องมีการป้องกันกลิ่นและน้ำฝน
(5) ต้องมีการระบายน้ำเสียจากมูลฝอยเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย
(6) ต้องมีการระบายอากาศและป้องกันน้ำเข้า
ที่พักรวมมูลฝอยต้องมีระยะห่างจากสถานที่ประกอบอาหารและสถานที่เก็บอาหาร ไม่น้อย
กว่า 4.00 เมตร แต่ถ้าที่พักรวมมูลฝอยมีขนาดความจุเกิน 3 ลูกบาศก์เมตร ต้องมีระยะห่างจาก
สถานที่ดังกล่าวไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร และสามารถขนย้ายมูลฝอยได้โดยสะดวก
ข้อ 41 ที่พักมูลฝอยของอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ฝา ผนัง และประตูต้องแข็งแรง
(2) ขนาดเหมาะสมกับสถานที่และสะดวกต่อการทำความสะอาด
ข้อ 42 ปล่องทิ้งมูลฝอยของอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ มีขนาดความกว้างแต่ละด้านหรือเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อย
กว่า 60 เซนติเมตร ผิวภายในเรียบ ทำความสะอาดได้ง่ายและไม่มีส่วนใดที่จะทำให้มูลฝอยติดค้าง
(2) ประตูหรือช่องทิ้งมูลฝอยต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ และปิดได้สนิทเพื่อป้องกันมิให้มูล
ฝอยปลิวย้อนกลับและติดค้างได้
(3) ต้องมีการระบายอากาศเพื่อป้องกันกลิ่น
(4) ปลายล่างของปล่องทิ้งมูลฝอยต้องมีประตูปิดสนิทเพื่อป้องกันกลิ่น
หมวด 6
ระบบลิฟท์
ข้อ 43 ลิฟท์โดยสารและลิฟท์ดับเพลิงแต่ละชุดที่ใช้กับอาคารสูงให้มีขนาดมวลบรรทุก ไม่
น้อยกว่า 630 กิโลกรัม
ข้อ 44 อาคารสูงต้องมีลิฟท์ดับเพลิงอย่างน้อยหนึ่งชุด ซึ่งมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ลิฟท์ดับเพลิงต้องจอดได้ทุกชั้นของอาคาร และต้องมีระบบควบคุมพิเศษสำหรับ
พนักงานดับเพลิงใช้ขณะเกิดเพลิงไหม้โดยเฉพาะ
(2) บริเวณห้องโถงหน้าลิฟท์ดับเพลิงทุกชั้น ต้องติดตั้งตู้สายฉีดน้ำดับเพลิงหรือหัวต่อ
สายฉีดน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ดับเพลิงอื่น ๆ
(3) ห้องโถงหน้าลิฟท์ดับเพลิงทุกชั้นต้องมีผนังหรือประตูที่ทำด้วยวัตถุทนไฟปิดกั้นมิให้
เปลวไฟหรือควันเข้าได้ มีหน้าต่างเปิดออกสู่ภายนอกอาคารได้โดยตรง หรือมีระบบอัดลมภายในห้อง
โถงหน้าลิฟท์ดับเพลิงที่มีความดันลมขณะใช้งานไม่น้อยกว่า 3.86 เมกะปาสกาลมาตร และทำงานได้
โดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้
(4) ระยะเวลาในการเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องของลิฟท์ดับเพลิงระหว่างชั้นล่างสุดกับ
ชั้นบนสุดของอาคารต้องไม่เกินหนึ่งนาที
ทั้งนี้ ในเวลาปกติลิฟท์ดับเพลิงสามารถใช้เป็นลิฟท์โดยสารได้
ข้อ 45 ในปล่องลิฟท์ห้ามติดตั้งท่อสายไฟฟ้า ท่อส่งน้ำ ท่อระบายน้ำ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
เว้นแต่เป็นส่วนประกอบของลิฟท์หรือจำเป็นสำหรับการทำงานและการดูแลรักษาลิฟท์
ข้อ 46 ลิฟท์ต้องมีระบบและอุปกรณ์การทำงานที่ให้ความปลอดภัยด้านสวัสดิภาพและสุขภาพ
ของผู้โดยสารดังต่อไปนี้
(1) ต้องมีระบบการทำงานที่จะให้ลิฟท์เลื่อนมาหยุดตรงที่จอดชั้นระดับดิน และประตู
ลิฟท์ต้องเปิดโดยอัตโนมัติเมื่อไฟฟ้าดับ
(2) ต้องมีสัญญาณเตือนและลิฟท์ต้องไม่เคลื่อนที่เมื่อบรรทุกเกินพิกัด
(3) ต้องมีอุปกรณ์ที่จะหยุดลิฟท์ได้ในระยะที่กำหนดโดยอัตโนมัติเมื่อตัวลิฟท์มีความเร็ว
เกินพิกัด
(4) ต้องมีระบบป้องกันประตูลิฟท์หนีบผู้โดยสาร
(5) ลิฟท์ต้องไม่เคลื่อนที่เมื่อประตูลิฟท์ปิดไม่สนิท
(6) ประตูลิฟท์ต้องไม่เปิดขณะลิฟท์เคลื่อนที่หรือหยุดไม่ตรงที่จอด
(7) ต้องมีระบบการติดต่อกับภายนอกห้องลิฟท์ และสัญญาณแจ้งเหตุขัดข้อง
(8) ต้องมีระบบแสงสว่างฉุกเฉินในห้องลิฟท์และหน้าชั้นที่จอด
(9) ต้องมีระบบการระบายอากาศในห้องลิฟท์ตามที่กำหนดในข้อ 9 (2)
ข้อ 47 ให้มีคำแนะนำอธิบายการใช้ และขอความช่วยเหลือ การให้ความช่วยเหลือและ
ข้อห้ามใช้ดังต่อไปนี้
(1) การใช้ลิฟท์และการขอความช่วยเหลือ ให้ติดไว้ในห้องลิฟท์
(2) การให้ความช่วยเหลือ ให้ติดไว้ในห้องจักรกลและห้องผู้ดูแลลิฟท์
(3) ข้อห้ามใช้ลิฟท์ ให้ติดไว้ในข้างประตูลิฟท์ด้านนอกทุกชั้น
ข้อ 48 การควบคุมการติดตั้งและตรวจสอบระบบลิฟท์ ต้องดำเนินการโดยวิศวกรไฟฟ้า
หรือวิศวกรเครื่องกลซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตั้งแต่ประเภท
สามัญวิศวกรขึ้นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม
ข้อ 49 การก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษที่
ได้ยื่นคำขออนุญาตหรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารไว้แล้วก่อนวันที่กฎกระทรวง
นี้ใช้บังคับ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้
ให้ไว้ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
พลเอกอิสระพงศ์ หนุนภักดี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
--ราชกิจจานุเบกษา--
______________________________
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันได้มีการก่อสร้าง
อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ เพื่อใช้ประโยชน์ในการอยู่อาศัยหรือประกอบกิจการประเภท
เดียวหรือหลายประเภทรวมกันเพิ่มมากขึ้น โครงสร้างและอุปกรณ์อันเป็นส่วนประกอบของอาคารจะ
แตกต่างกันไปตามประเภทของการใช้สมควรควบคุมอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ โดยเฉพาะ
เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษา
คุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร
ตลอดจนการวางแผนการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคของรัฐ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ระบบบำบัดน้ำเสียและการระบายน้ำทิ้ง
ข้อ 30 การออกแบบ และการคำนวณรายการระบบบำบัดน้ำเสีย และการระบายน้ำทิ้ง
ของอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องดำเนินการโดยผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
วิศวกรรมควบคุมตั้งแต่ประเภทสามัญขึ้นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม
ข้อ 31 การระบายน้ำฝนออกจากอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ จะระบายลงสู่
แหล่งรองรับน้ำทิ้งโดยตรงก็ได้ แต่ต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน
หรือกระทบกระเทือนต่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ข้อ 32 ระบบบำบัดน้ำเสียจะแยกเป็นระบบอิสระเฉพาะอาคาร หรือเป็นระบบรวมของ
ส่วนกลางก็ได้ แต่ต้องไม่ก่อให้เกิดเสียง กลิ่น ฟอง กาก หรือสิ่งอื่นใดที่เกิดจากการบำบัดนั้น จนถึง
ขนาดที่อาจเกิดภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน กระทบกระเทือนต่อการรักษา
คุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง
ข้อ 33 น้ำเสียต้องผ่านระบบบำบัดน้ำเสียจนเป็นน้ำทิ้ง ก่อนระบายสู่แหล่งรองรับน้ำทิ้ง
โดยคุณภาพน้ำทิ้งเป็นไปตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนด
มาตรฐาน คุณภาพน้ำทิ้งจากอาคาร
ข้อ 34 ทางระบายน้ำทิ้งต้องมีลักษณะที่สามารถตรวจสอบ และทำความสะอาดได้โดย
สะดวก ในกรณีที่ทางระบายน้ำเป็นท่อปิดต้องมีบ่อสำหรับตรวจการระบายน้ำทุกระยะไม่เกิน 8.00
เมตร และทุกมุมเลี้ยวด้วย
ข้อ 35 ในกรณีที่แหล่งรองรับน้ำทิ้งมีขนาดไม่เพียงพอรองรับน้ำทิ้งที่ระบายจากอาคารใน
ชั่วโมงการใช้น้ำสูงสุด ให้มีที่พักน้ำทิ้งเพื่อรองรับปริมาณน้ำทิ้งที่เกินกว่าแหล่งรองรับน้ำทิ้งจะรับได้
ก่อนที่จะระบายสู่แหล่งรองรับน้ำทิ้ง
หมวด 4
ระบบประปา
ข้อ 36 อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องมีที่เก็บน้ำใช้สำรองที่สามารถจ่ายน้ำใน
ชั่วโมงการใช้น้ำสูงสุดได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง และต้องมีระบบท่อจ่ายน้ำประปาที่มีแรงดันน้ำในท่อ
จ่ายน้ำและปริมาณน้ำประปาดังต่อไปนี้
(1) แรงดันน้ำในระบบท่อจ่ายน้ำที่จุดน้ำเข้าเครื่องสุขภัณฑ์ ต้องมีแรงดันในชั่วโมง
การใช้น้ำสูงสุดไม่น้อยกว่า 0.1 เมกะปาสกาลมาตร
(2) ปริมาณการใช้น้ำสำหรับจ่ายให้แก่ผู้ใช้ทั้งอาคาร สำหรับประเภทเครื่องสุขภัณฑ์
แต่ละชนิดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
ตารางเปรียบเทียบปริมาณน้ำประปาคิดเป็นหน่วยสุขภัณฑ์เพื่อหาปริมาณน้ำ
________________________________________________________________________
หน่วยสุขภัณฑ์
ประเภทเครื่องสุขภัณฑ์ ชนิดของเครื่อควบคุม (FIXTURE UNIT)
------------------
ส่วนบุคคล สาธารณะ
________________________________________________________________________
ส้วม ประตูน้ำล้าง (FLUSH VALUE) 6 10
ส้วม ถังน้ำล้าง (FLUSH TANK) 3 5
ที่ปัสสาวะ ประตูน้ำล้าง (FLUSH VALUE) 5 10
ที่ปัสสาวะ ถังน้ำล้าง (FLUSH TANK) 3 5
อ่างล้างมือ ก๊อกน้ำ 1 2
ฝักบัว ก๊อกน้ำ 2 4
อ่างอาบน้ำ ก๊อกน้ำ 2 4
________________________________________________________________________
หน่วยสุขภัณฑ์ หมายความว่าตัวเลขที่แสดงถึงปริมาณการใช้น้ำหรือระบายน้ำเปรียบเทียบ
กันระหว่างสุขภัณฑ์ต่างชนิดกัน
ทั้งนี้ สุขภัณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุให้เทียบเคียงตัวเลขตามตารางข้างต้น
ข้อ 37 ระบบท่อจ่ายน้ำต้องมีวิธีป้องกันมิให้สิ่งปนเปื้อนจากภายนอกเข้าไปในท่อจ่ายน้ำได้
ในกรณีที่ระบบท่อจ่ายน้ำแยกกันระหว่างน้ำดื่มกับน้ำใช้ ต้องแยกชนิดของท่อจ่ายน้ำให้ชัดเจน
ห้ามต่อท่อจ่ายทั้งสองระบบเข้าด้วยกัน
หมวด 5
ระบบกำจัดขยะมูลฝอย
ข้อ 38 ในอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องมีการจัดเก็บขยะมูลฝอย โดยวิธีขน
ลำเลียงหรือทิ้งลงปล่องทิ้งมูลฝอย
ข้อ 39 การคิดปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้นในอาคาร ให้คิดจากอัตราการใช้ดังต่อไปนี้
(1) การใช้เพื่อการอยู่อาศัย ปริมาณมูลฝอยไม่น้อยกว่า 2.40 ลิตร ต่อคนต่อวัน
(2) การใช้เพื่อการพาณิชยกรรมหรือการอื่น ปริมาณมูลฝอยไม่น้อยกว่า 0.4 ลิตร
ต่อพื้นที่หนึ่งตารางเมตรต่อวัน
ข้อ 40 อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องจัดให้มีพื้นที่พักรวมมูลฝอยที่มีลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(1) ต้องมีขนาดความจุไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน
ตามข้อ 39
(2) ผนังต้องทำด้วยวัสดุถาวรและทนไฟ
(3) พื้นผิวภายในต้องเรียบและกันน้ำซึม
(4) ต้องมีการป้องกันกลิ่นและน้ำฝน
(5) ต้องมีการระบายน้ำเสียจากมูลฝอยเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย
(6) ต้องมีการระบายอากาศและป้องกันน้ำเข้า
ที่พักรวมมูลฝอยต้องมีระยะห่างจากสถานที่ประกอบอาหารและสถานที่เก็บอาหาร ไม่น้อย
กว่า 4.00 เมตร แต่ถ้าที่พักรวมมูลฝอยมีขนาดความจุเกิน 3 ลูกบาศก์เมตร ต้องมีระยะห่างจาก
สถานที่ดังกล่าวไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร และสามารถขนย้ายมูลฝอยได้โดยสะดวก
ข้อ 41 ที่พักมูลฝอยของอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ฝา ผนัง และประตูต้องแข็งแรง
(2) ขนาดเหมาะสมกับสถานที่และสะดวกต่อการทำความสะอาด
ข้อ 42 ปล่องทิ้งมูลฝอยของอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ มีขนาดความกว้างแต่ละด้านหรือเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อย
กว่า 60 เซนติเมตร ผิวภายในเรียบ ทำความสะอาดได้ง่ายและไม่มีส่วนใดที่จะทำให้มูลฝอยติดค้าง
(2) ประตูหรือช่องทิ้งมูลฝอยต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ และปิดได้สนิทเพื่อป้องกันมิให้มูล
ฝอยปลิวย้อนกลับและติดค้างได้
(3) ต้องมีการระบายอากาศเพื่อป้องกันกลิ่น
(4) ปลายล่างของปล่องทิ้งมูลฝอยต้องมีประตูปิดสนิทเพื่อป้องกันกลิ่น
หมวด 6
ระบบลิฟท์
ข้อ 43 ลิฟท์โดยสารและลิฟท์ดับเพลิงแต่ละชุดที่ใช้กับอาคารสูงให้มีขนาดมวลบรรทุก ไม่
น้อยกว่า 630 กิโลกรัม
ข้อ 44 อาคารสูงต้องมีลิฟท์ดับเพลิงอย่างน้อยหนึ่งชุด ซึ่งมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ลิฟท์ดับเพลิงต้องจอดได้ทุกชั้นของอาคาร และต้องมีระบบควบคุมพิเศษสำหรับ
พนักงานดับเพลิงใช้ขณะเกิดเพลิงไหม้โดยเฉพาะ
(2) บริเวณห้องโถงหน้าลิฟท์ดับเพลิงทุกชั้น ต้องติดตั้งตู้สายฉีดน้ำดับเพลิงหรือหัวต่อ
สายฉีดน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ดับเพลิงอื่น ๆ
(3) ห้องโถงหน้าลิฟท์ดับเพลิงทุกชั้นต้องมีผนังหรือประตูที่ทำด้วยวัตถุทนไฟปิดกั้นมิให้
เปลวไฟหรือควันเข้าได้ มีหน้าต่างเปิดออกสู่ภายนอกอาคารได้โดยตรง หรือมีระบบอัดลมภายในห้อง
โถงหน้าลิฟท์ดับเพลิงที่มีความดันลมขณะใช้งานไม่น้อยกว่า 3.86 เมกะปาสกาลมาตร และทำงานได้
โดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้
(4) ระยะเวลาในการเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องของลิฟท์ดับเพลิงระหว่างชั้นล่างสุดกับ
ชั้นบนสุดของอาคารต้องไม่เกินหนึ่งนาที
ทั้งนี้ ในเวลาปกติลิฟท์ดับเพลิงสามารถใช้เป็นลิฟท์โดยสารได้
ข้อ 45 ในปล่องลิฟท์ห้ามติดตั้งท่อสายไฟฟ้า ท่อส่งน้ำ ท่อระบายน้ำ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
เว้นแต่เป็นส่วนประกอบของลิฟท์หรือจำเป็นสำหรับการทำงานและการดูแลรักษาลิฟท์
ข้อ 46 ลิฟท์ต้องมีระบบและอุปกรณ์การทำงานที่ให้ความปลอดภัยด้านสวัสดิภาพและสุขภาพ
ของผู้โดยสารดังต่อไปนี้
(1) ต้องมีระบบการทำงานที่จะให้ลิฟท์เลื่อนมาหยุดตรงที่จอดชั้นระดับดิน และประตู
ลิฟท์ต้องเปิดโดยอัตโนมัติเมื่อไฟฟ้าดับ
(2) ต้องมีสัญญาณเตือนและลิฟท์ต้องไม่เคลื่อนที่เมื่อบรรทุกเกินพิกัด
(3) ต้องมีอุปกรณ์ที่จะหยุดลิฟท์ได้ในระยะที่กำหนดโดยอัตโนมัติเมื่อตัวลิฟท์มีความเร็ว
เกินพิกัด
(4) ต้องมีระบบป้องกันประตูลิฟท์หนีบผู้โดยสาร
(5) ลิฟท์ต้องไม่เคลื่อนที่เมื่อประตูลิฟท์ปิดไม่สนิท
(6) ประตูลิฟท์ต้องไม่เปิดขณะลิฟท์เคลื่อนที่หรือหยุดไม่ตรงที่จอด
(7) ต้องมีระบบการติดต่อกับภายนอกห้องลิฟท์ และสัญญาณแจ้งเหตุขัดข้อง
(8) ต้องมีระบบแสงสว่างฉุกเฉินในห้องลิฟท์และหน้าชั้นที่จอด
(9) ต้องมีระบบการระบายอากาศในห้องลิฟท์ตามที่กำหนดในข้อ 9 (2)
ข้อ 47 ให้มีคำแนะนำอธิบายการใช้ และขอความช่วยเหลือ การให้ความช่วยเหลือและ
ข้อห้ามใช้ดังต่อไปนี้
(1) การใช้ลิฟท์และการขอความช่วยเหลือ ให้ติดไว้ในห้องลิฟท์
(2) การให้ความช่วยเหลือ ให้ติดไว้ในห้องจักรกลและห้องผู้ดูแลลิฟท์
(3) ข้อห้ามใช้ลิฟท์ ให้ติดไว้ในข้างประตูลิฟท์ด้านนอกทุกชั้น
ข้อ 48 การควบคุมการติดตั้งและตรวจสอบระบบลิฟท์ ต้องดำเนินการโดยวิศวกรไฟฟ้า
หรือวิศวกรเครื่องกลซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตั้งแต่ประเภท
สามัญวิศวกรขึ้นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม
ข้อ 49 การก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษที่
ได้ยื่นคำขออนุญาตหรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารไว้แล้วก่อนวันที่กฎกระทรวง
นี้ใช้บังคับ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้
ให้ไว้ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
พลเอกอิสระพงศ์ หนุนภักดี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
--ราชกิจจานุเบกษา--
______________________________
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันได้มีการก่อสร้าง
อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ เพื่อใช้ประโยชน์ในการอยู่อาศัยหรือประกอบกิจการประเภท
เดียวหรือหลายประเภทรวมกันเพิ่มมากขึ้น โครงสร้างและอุปกรณ์อันเป็นส่วนประกอบของอาคารจะ
แตกต่างกันไปตามประเภทของการใช้สมควรควบคุมอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ โดยเฉพาะ
เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษา
คุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร
ตลอดจนการวางแผนการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคของรัฐ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้