พระราชกฤษฎีกา ให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ บังคับในท้องที่บางแห่งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ.๒๕๔๒

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday April 21, 1999 08:43 —พรบ.ควบคุมอาคาร

                                            พระราชกฤษฎีกา
ให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒
บังคับในท้องที่บางแห่งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนางรอง
องค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก และองค์การบริหารส่วนตำบลสะเดา
อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
พ.ศ.๒๕๔๒
_____________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๒
เป็นปีที่ ๕๔ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ บังคับในท้องที่บางแห่งในเขตงค์การ
บริหารส่วนตำบลนางรอง องค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก และองค์การบริหารส่วนตำบลสะเดา อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒ แห่งพระราชบัญญัติ
ควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ บังคับใน
ท้องที่บางแห่งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนางรอง องค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก องค์การบริหารส่วนตำบลสะเดา
อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ.๒๕๔๒"
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ บังคับในท้องที่บางแห่งในเขตองค์การบริหารส่วน
ตำบลนางรอง องค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก และองค์การบริหารส่วนตำบลสะเดา อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ภายในแนว
เขตแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่บางแห่งในเขตองค์การบริหาร
ส่วนตำบลนางรอง องค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก และองค์การบริหารส่วนตำบลสะเดา อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
มีการขยายตัวทั้งในด้านการก่อสร้างอาคารและการผังเมือง สมควรให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ บังคับ
ในท้องที่ดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในด้านการควบคุมเกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย
การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ