กฎกระทรวง ฉบับที่ 60 (พ.ศ.2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday July 5, 2006 15:57 —พรบ.ควบคุมอาคาร

                                              กฎกระทรวง
ฉบับที่ 60 (พ.ศ.2549)
ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
_____________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 (3) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และมาตรา 8 (2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2543 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 48 มาตรา 49 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคารออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในข้อ 24 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 48 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ.ศ.2522 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 24 โครงสร้างหลักของอาคาร ดังต่อไปนี้
(1) อาคารสำหรับใช้เป็นคลังสินค้า โรงมหรสพ โรงแรม อาคารชุด หรือสถานพยาบาล
(2) อาคารสำหรับใช้เพื่อกิจการพาณิชยกรรม การอุตสาหกรรม การศึกษา การสาธารณสุข หรือสำนักงานหรือที่ทำการที่มีความสูงตั้งแต่สามชั้นขึ้นไป และมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันเกิน 1,000 ตารางเมตร
(3) อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารขนาดใหญ่ หรืออาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นหอประชุม
ให้ก่อสร้างด้วยวัสดุทนไฟที่มีลักษณะและคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
ชนิดของการก่อสร้างและโครงสร้างหลัก ความหนาน้อยสุดของคอนกรีตที่หุ้มเหล็ก
เสริมหรือคอนกรีตหุ้นเหล็ก(มิลลิเมตร)
1. คอนกรีตเสริมเหล็ก
1.1 เสาสี่เหลี่ยมที่มีด้านแคบขนาด 300 40
มิลลิเมตรขึ้นไป
1.2 เสากลมหรือเสาตั้งแต่ห้าเหลี่ยมขึ้นไปที่มี 40
รูปทรงใกล้เคียงเสากลม ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง
ตั้งแต่ 300 มิลลิเมตรขึ้นไป
1.3 คานและโครงข้อหมุนคอนกรีต ขนาดกว้างตั้งแต่ 40
300 มิลลิเตรขึ้นไป
1.4 พื้นหนาไม่น้อยกว่า 115 มิลลิเมตร 20
2. คอนกรีตอัดแรง
2.1 คานชนิดดึงลวดก่อน 75
2.2 คานชนิดดึงลวดภายหลัง
(1) กว้าง 200 มิลลิเมตร โดยปลายไม่เหนี่ยวรั้ง 115
(UNRESTRAINED)
(2) กว้างตั้งแต่ 300 มิลลิเมตรขึ้นไป โดยปลาย
ไม่เหนี่ยวรั้ง (UNRESTRAINED) 65
(3) กว้าง 200 มิลลิเมตร โดยปลายเหนี่ยวรั้ง 50
(RESTRAINED)
(4) กว้างตั้งแต่ 300 มิลลิเมตรขึ้นไป โดยปลาย 45
เหนี่ยวรั้ง (RESTRAINED)
2.3 พื้นชนิดดึงลวดก่อนที่มีความหนาตั้งแต่ 115 มิลลิเมตรขึ้นไป 40
2.4 พื้นชนิดดึงลวดภายหลังที่มีความหนาตั้งแต่
115 มิลลิเมตรขึ้นไป
(1) ขอบไม่เหนี่ยวรั้ง (UNRESTRAINED) 40
(2) ขอบเหนี่ยวรั้ง (RESTRAINED) 20
3. เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ
3.1 เสาเหล็กขนาด 150x150 มิลลิเมตร 50
3.2 เสาเหล็กขนาด 200x200 มิลลิเมตร 40
3.3 เสาเหล็กขนาดตั้งแต่ 300x300 มิลลิเมตรขึ้นไป 25
3.4 คานเหล็ก 50
ในกรณีโครงสร้างหลักมีขนาดระหว่างขนาดที่กำหนดในตาราง ให้คำนวณหาความหนาน้อยสุดของคอนกรีตที่หุ้มเหล็กเสริมหรือคอนกรีตหุ้มเหล็กโดยวิธีเทียบอัตราส่วน
ในกรณีโครงสร้างหลักก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กหรือคอนกรีตอัดแรงที่มีขนาดหรือมีความหนาของคอนกรีตที่หุ้มเหล็กเสริมหรือคอนกรีตหุ้มเหล็กน้อยกว่าที่กำหนดไว้ในตารางข้างต้นจะต้องใช้วัสดุอื่นหุ้มเพิ่มเติมหรือต้องป้องกันโดยวิธีอื่นเพื่อช่วยทำให้เสาหรือคานมีอัตราการทนไฟได้ไม่น้อยกว่าสามชั่วโมง และตงหรือพื้นต้องมีอัตราการทนไฟได้ไม่น้อยกว่าสองชั่วโมง โดยจะต้องมีเอกสารรับรองอัตราการทนไฟจากสถาบันที่เชื่อถือได้ประกอบการขออนุญาต
ในกรณีโครงสร้างหลักที่เป็นเสาหรือคานที่ก่อสร้างด้วยเหล็กโครงสร้างรูปพรรณที่ไม่ได้ใช้คอนกรีตหุ้ม ต้องป้องกันโดยวิธีอื่นเพื่อให้มีอัตราการทนไฟได้ไม่น้อยกว่าสามชั่วโมง โดยจะต้องมีเอกสารรับรองอัตราการทนไฟจากสถาบันที่เชื่อถือได้ประกอบการขออนุญาต
โครงหลังคาของอาคารตามวรรคหนึ่งที่ก่อสร้างด้วยเหล็กโครงสร้างรูปพรรณที่ไม่ได้ใช้คอนกรีตหุ้ม หากอาคารดังกล่าวเป็นอาคารชั้นเดียว โครงหลังคาต้องมีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง และหากเป็นอาคารตั้งแต่สองชั้นขึ้นไป โครงหลังคาต้องมีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่าสองชั่วโมง โดยจะต้องมีเอกสารรับรองอัตราการทนไฟจากสถาบันที่เชื่อถือได้ประกอบการขออนุญาต
โครงหลังคาของอาคารตามวรรคหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่ต้องมีอัตราการทนไฟตามที่กำหนดในวรรคห้าก็ได้
(1) เป็นโครงหลังคาของอาคารที่มีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร เว้นแต่โรงมหรสพ สถานพยาบาล หรือหอประชุม
(2) เป็นโครงหลังคาของอาคารที่อยู่สูงจากพื้นอาคารเกิน 8.00 เมตร และอาคารนั้นมีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ หรือมีการป้องกันความร้อนหรือระบบระบายความร้อน มิให้เกิดอันตรายต่อโครงหลังคา
วิธีการทดสอบอัตราการทนไฟตามวรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้าให้เป็นไปตามมาตรฐานไอเอสโอ 934 (ISO 834) หรือมาตรฐานเอเอสทีเอ็ม อี 119 (ASTM E 119)"
ให้ไว้ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2549
พลอากาศเอก คงศักดิ์ วันทนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ข้อ 24 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 48 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ยังไม่มีการบัญญัติอัตราการทนไฟของโครงสร้างหลักในส่วนที่เป็นโครงหลังคาของอาคารเป็นการเฉพาะทำให้เกิดปัญหาทางปฏิบัติแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับในปัจจุบันได้มีมาตรฐานไอเอสโอ 834 (ISO 834) สำหรับการทดสอบอัตราการทนไฟซึ่งเป็นที่ยอมรับเพิ่มขึ้นนอกเหนือไปจากมาตรฐานเอเอสทีเอ็ม อี 119 (ASTM E 119) ดังนั้น สมควรแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าวให้เหมาะสมแก่กาลสมัย จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

แท็ก กฎกระทรวง  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ