พระราชกำหนด
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522
พ.ศ.2526
_________________________________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2526
เป็นปีที่ 38 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และ
ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 157 ของรัฐธรรมนูญแห่งพระราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขั้นไว้ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้เรียกว่า "พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 พ.ศ. 2526"
มาตรา 2 พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา /1 เป็นต้นไป
มาตรา 3 ถึง มาตรา 36 (เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งได้กล่าวไว้ ข้างต้นแล้ว)
มาตรา 37 ให้บุคคลซึ่งใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจที่มีคำว่า "การลงทุน" "เครดิต" หรือคำอื่นใดที่มี
ความหมายเช่นเดียวกันอยู่แล้วในวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ซึ่งต้องห้ามมิให้ใช้ มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติ
การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้
เลิกใช้ชื่อ คำแสดงชื่อหรือคำอื่นใดดังกล่าวภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ
มาตรา 38 บริษัทเงินทุนใดมีทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้วไม่ถูกต้องตามมาตรา 14 วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชกำหนดนี้ ให้บริษัทเงินทุนนั้นดำเนินการตาม เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับต้องดำเนินการให้มีทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้ว
หรือเงินกองทุนไม่ต่ำกว่าสามสิบล้านบาท
(2) ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับต้องดำเนินการให้มีทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้ว
หรือเงินกองทุนไม่ต่ำกว่าสี่สิบล้านบาท
(3) ภายในสามปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับต้องดำเนินการให้มีทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้ว
หรือเงินกองทุนไม่ต่ำกว่าห้าสิบล้านบาท
(4) ภายในสี่ปีนับแต่วันที่พระรกำหนดนี้ใช้บังคับ ต้องดำเนินการให้มีทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้วหรือ
เงินกองทนไม่ต่ำกว่าหกสิบล้านบาท
มาตรา 39 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ใด มีทุนจดทะเบียน และทุนซึ่งชำระแล้วธุรกิจหลักทรัพย์ และ
ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์นั้นดำเนินการ
ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ต้องดำเนินการให้มีทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้ว
หรือเงินกองทุนไม่ต่ำกว่าสิบล้านบาท
(2) ภายในกำหนดสองปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับต้องดำเนินการให้มีทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระ
แล้วหรือเงินกองทุนไม่ต่ำกว่ายี่สิบล้านบาท
(3) ภายในกำหนดสามปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดที่ใช้บังคับต้องดำเนินการให้มีทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระ
แล้วหรือเงินกองทุนไม่ต่ำกว่าสามสิบล้านบาท
มาตรา 40 ในการดำเนินการตามมาตรา 38 หรือมาตรา 39 แห่งพระราชกำหนดนี้ ถ้ามีเหตุจำเป็นและ
สมควร รัฐมนตรีจะขยายระยะเวลาให้ก็ได้ ในการขยายระยะเวลาดังกล่าวรัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขใดๆ ก็ได้
ความในมาตรา 20 (1) หรือมาตรา 54 (1) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ไม่ให้ใช้บังคับแก่การเพิ่มทุนของบริษัทเงินทุน
หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เพื่อดำเนินการตามมาตรา 38 หรือมาตรา 39 แห่งพระราชกำหนดนี้ แล้วแต่กรณี
มาตรา 41 ในกรณีที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ใดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจ
เครดิตฟองซิเอร์อยู่แล้วก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ โดยการออกหุ้นใหม่ ถ้าบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นั้นยังมิได้
จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ให้บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นั้นดำเนินการออกหนังสือชี้ชวนให้ประชาชน
เข้าชื่อซื้อหุ้นได้ ในการออกหนังสือชี้ชวนดังกล่าว ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยหนังสือชี้ชวนในกรณีเพิ่มทุนตามกฎหมายว่าด้วย
บริษัทมหาชนจำกัดมาใช้บังคับโดยอนุโลม
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ห้ามมิให้บริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ชี้ชวน
ประชาชนให้ซื้อหุ้นและบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ มิให้นำมาใช้บังคับแก่การเพิ่มทุนตามมาตรานี้
มาตรา 42 บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ใดไม่ดำเนินการให้มีทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้ว
หรือเงินกองทุนให้ถูกต้องตามมาตรา 38 หรือมาตรา 39 แห่งพระราชกำหนดนี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ความผิดตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มีอำนาจเปรียบเทียบได้ และให้นำความในมาตรา 76
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 43 ให้บริษัทปิดบัญชีทุกงวดการบัญชีในรอบระยะเวลาหกเดือนตามมาตรา 23 ทวิ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชกำหนดนี้ตั้งแต่ปีบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไป
มาตรา 44 ในกรณีที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทใดมีผลขาดทุน ตามมาตรา 26 ทวิ
วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้อยู่ แล้วก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับให้บริษัทดังกล่าวเสนอ
โครงการเพื่อแก้ไขฐานะและการดำเนินงานต่อธนาคารแห่งประเทศไทยภายในสามเดือนนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้
ใช้บังคับ และให้นำความในมาตรา 26 ทวิวรรคสอง และวรรคสาม และมาตรา 65 ทวิแห่งพระราชบัญญัติ
การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชกำหนด
นี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดมาตรการ และเงื่อนไขใน
การดำเนินงานของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามวรรคหนึ่งได้ตามที่เห็นสมควร
มาตรา 45 ให้บริษัทซึ่งดำเนินการอยู่แล้วในวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับดำเนินการขอความห็นชอบในการ
แต่งตั้งกรรมการผู้จัดการหรือพนักงานหรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการหรือ ที่ปรึกษาของบริษัทต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
ตามมาตรา 22 มาตรา 49 หรือมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ
มาตรา 46 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกำหนดนี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป.ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
--ราชกิจจานุเบกษา--
__________________________________________
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มีมาตรการยังไม่เพียงพอในการควบคุมการประกอบ
ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนและรักษาเสถียรภาพ
ทางการเงินของประเทศและขณะนี้สถาบันการเงินหลายแห่งกำลังประสบปัญหา อย่างรุนแรงซึ่งต้องได้รับการควบคุม
กำกับเป็นกรณีเร่งด่วน และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ
ของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้
/1 ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 100 ตอนที่ 195 วันที่ 15 ธันวาคม 2526
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522
พ.ศ.2526
_________________________________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2526
เป็นปีที่ 38 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และ
ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 157 ของรัฐธรรมนูญแห่งพระราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขั้นไว้ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้เรียกว่า "พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 พ.ศ. 2526"
มาตรา 2 พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา /1 เป็นต้นไป
มาตรา 3 ถึง มาตรา 36 (เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งได้กล่าวไว้ ข้างต้นแล้ว)
มาตรา 37 ให้บุคคลซึ่งใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจที่มีคำว่า "การลงทุน" "เครดิต" หรือคำอื่นใดที่มี
ความหมายเช่นเดียวกันอยู่แล้วในวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ซึ่งต้องห้ามมิให้ใช้ มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติ
การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้
เลิกใช้ชื่อ คำแสดงชื่อหรือคำอื่นใดดังกล่าวภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ
มาตรา 38 บริษัทเงินทุนใดมีทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้วไม่ถูกต้องตามมาตรา 14 วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชกำหนดนี้ ให้บริษัทเงินทุนนั้นดำเนินการตาม เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับต้องดำเนินการให้มีทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้ว
หรือเงินกองทุนไม่ต่ำกว่าสามสิบล้านบาท
(2) ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับต้องดำเนินการให้มีทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้ว
หรือเงินกองทุนไม่ต่ำกว่าสี่สิบล้านบาท
(3) ภายในสามปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับต้องดำเนินการให้มีทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้ว
หรือเงินกองทุนไม่ต่ำกว่าห้าสิบล้านบาท
(4) ภายในสี่ปีนับแต่วันที่พระรกำหนดนี้ใช้บังคับ ต้องดำเนินการให้มีทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้วหรือ
เงินกองทนไม่ต่ำกว่าหกสิบล้านบาท
มาตรา 39 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ใด มีทุนจดทะเบียน และทุนซึ่งชำระแล้วธุรกิจหลักทรัพย์ และ
ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์นั้นดำเนินการ
ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ต้องดำเนินการให้มีทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้ว
หรือเงินกองทุนไม่ต่ำกว่าสิบล้านบาท
(2) ภายในกำหนดสองปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับต้องดำเนินการให้มีทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระ
แล้วหรือเงินกองทุนไม่ต่ำกว่ายี่สิบล้านบาท
(3) ภายในกำหนดสามปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดที่ใช้บังคับต้องดำเนินการให้มีทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระ
แล้วหรือเงินกองทุนไม่ต่ำกว่าสามสิบล้านบาท
มาตรา 40 ในการดำเนินการตามมาตรา 38 หรือมาตรา 39 แห่งพระราชกำหนดนี้ ถ้ามีเหตุจำเป็นและ
สมควร รัฐมนตรีจะขยายระยะเวลาให้ก็ได้ ในการขยายระยะเวลาดังกล่าวรัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขใดๆ ก็ได้
ความในมาตรา 20 (1) หรือมาตรา 54 (1) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ไม่ให้ใช้บังคับแก่การเพิ่มทุนของบริษัทเงินทุน
หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เพื่อดำเนินการตามมาตรา 38 หรือมาตรา 39 แห่งพระราชกำหนดนี้ แล้วแต่กรณี
มาตรา 41 ในกรณีที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ใดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจ
เครดิตฟองซิเอร์อยู่แล้วก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ โดยการออกหุ้นใหม่ ถ้าบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นั้นยังมิได้
จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ให้บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นั้นดำเนินการออกหนังสือชี้ชวนให้ประชาชน
เข้าชื่อซื้อหุ้นได้ ในการออกหนังสือชี้ชวนดังกล่าว ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยหนังสือชี้ชวนในกรณีเพิ่มทุนตามกฎหมายว่าด้วย
บริษัทมหาชนจำกัดมาใช้บังคับโดยอนุโลม
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ห้ามมิให้บริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ชี้ชวน
ประชาชนให้ซื้อหุ้นและบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ มิให้นำมาใช้บังคับแก่การเพิ่มทุนตามมาตรานี้
มาตรา 42 บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ใดไม่ดำเนินการให้มีทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้ว
หรือเงินกองทุนให้ถูกต้องตามมาตรา 38 หรือมาตรา 39 แห่งพระราชกำหนดนี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ความผิดตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มีอำนาจเปรียบเทียบได้ และให้นำความในมาตรา 76
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 43 ให้บริษัทปิดบัญชีทุกงวดการบัญชีในรอบระยะเวลาหกเดือนตามมาตรา 23 ทวิ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชกำหนดนี้ตั้งแต่ปีบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไป
มาตรา 44 ในกรณีที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทใดมีผลขาดทุน ตามมาตรา 26 ทวิ
วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้อยู่ แล้วก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับให้บริษัทดังกล่าวเสนอ
โครงการเพื่อแก้ไขฐานะและการดำเนินงานต่อธนาคารแห่งประเทศไทยภายในสามเดือนนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้
ใช้บังคับ และให้นำความในมาตรา 26 ทวิวรรคสอง และวรรคสาม และมาตรา 65 ทวิแห่งพระราชบัญญัติ
การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชกำหนด
นี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดมาตรการ และเงื่อนไขใน
การดำเนินงานของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามวรรคหนึ่งได้ตามที่เห็นสมควร
มาตรา 45 ให้บริษัทซึ่งดำเนินการอยู่แล้วในวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับดำเนินการขอความห็นชอบในการ
แต่งตั้งกรรมการผู้จัดการหรือพนักงานหรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการหรือ ที่ปรึกษาของบริษัทต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
ตามมาตรา 22 มาตรา 49 หรือมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ
มาตรา 46 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกำหนดนี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป.ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
--ราชกิจจานุเบกษา--
__________________________________________
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มีมาตรการยังไม่เพียงพอในการควบคุมการประกอบ
ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนและรักษาเสถียรภาพ
ทางการเงินของประเทศและขณะนี้สถาบันการเงินหลายแห่งกำลังประสบปัญหา อย่างรุนแรงซึ่งต้องได้รับการควบคุม
กำกับเป็นกรณีเร่งด่วน และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ
ของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้
/1 ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 100 ตอนที่ 195 วันที่ 15 ธันวาคม 2526