พระราชกำหนด
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 4)
พ.ศ. 2540
_______________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2540
เป็นปีที่ 52 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 218 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้เรียกว่า "พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2540"
มาตรา 2 พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 57 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 57 ทวิ เมื่อปรากฎหลักฐานต่อธนาคารแห่งประเทศไทยว่า บริษัทใดมีฐานะหรือการดำเนินงานอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน หรือกรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทใด ไม่ปฎิบัติตามคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 57 ตรี ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจสั่งให้บริษัทนั้นถอดถอนกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทผู้เป็นต้นเหตุดังกล่าวออกจากตำแหน่งได้ ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งให้ถอดถอนบุคคลใดให้บริษัทนั้นแต่งตั้งบุคคลอื่นโดยความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าดำรงตำแหน่งแทนภายในสามสิบวันนับแต่วันถอดถอนบริษัทใดไม่ถอดถอนบุคคลหรือถอดถอนแล้วไม่แต่งตั้งบุคคลอื่นเข้าดำรงตำแหน่งแทน ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งดังต่อไปนี้
(1) ถอดถอนกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งบริษัทนั้นไม่ถอดถอน
(2) แต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคนไปดำรงตำแหน่งแทนผู้ซึ่งถูกถอดถอน
ในกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนที่จะต้องแก้ไขฐานะหรือการดำเนินงานของบริษัทใด ซึ่งหากปล่อยเนิ่นช้าอาจเกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งถอดถอนผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้นและแต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคนไปดำรงตำแหน่งแทนได้ทันทีตามที่เห็นสมควร
ให้ผู้ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง (2) หรือวรรคสอง อยู่ในตำแหน่งเป็นเวลาไม่เกินสามปี และมิให้นำความในมาตรา 22 (7) และ (8) มาใช้บังคับ และให้บุคคลดังกล่าวได้รับค่าตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนด โดยให้จ่ายจากทรัพย์สินของบริษัทนั้น และในระหว่างเวลาที่บุคคลดังกล่าวดำรงตำแหน่งอยู่ ผู้ถือหุ้นของบริษัทจะมีมติเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้
บุคคลซึ่งถูกถอดถอนจะเข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการใด ๆ ในบริษัทนั้นไม่ได้ไม่ว่าโดยทางตรงและทางอ้อม และต้องอำนวยความสะดวกและให้ข้อเท็จจริงแก่บุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง (2) หรือวรรคสอง หรือตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้ถือว่าคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยตามมาตรานี้ เป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดแล้วแต่กรณี"
มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา 57 ตรี แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ในการเพิ่มทุนหรือลดทุนตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองหรือการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน มิให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับการกำหนดจำนวนขั้นต่ำของทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้วของบริษัท และมาตรา 1117 มาตรา 1220 มาตรา 1222 มาตรา 1224 มาตรา 1225 และมาตรา 1226 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 50 มาตรา 136 วรรคสอง (2) มาตรา 137 มาตรา 139 และมาตรา 141 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับ"
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
นายกรัฐมนตรี
_______________________
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ เนื่องจากการแก้ไขปัญหาของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ที่ประสบปัญหาด้านฐานะหรือการดำเนินการอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชนตามบทบัญญัติของกฎหมายในปัจจุบันไม่อาจดำเนินการให้ทันต่อความเร่งด่วนของสถานการณ์ได้ ซึ่งความล่าช้าของการดำเนินการจะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางแก่เศรษฐกิจของประเทศโดยรวม สมควรให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าแก้ไขปัญหาของบริษัทดังกล่าวที่ประสบภาวะวิกฤตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้
--ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 114 ตอนที่ 60 ก--
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 4)
พ.ศ. 2540
_______________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2540
เป็นปีที่ 52 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 218 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้เรียกว่า "พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2540"
มาตรา 2 พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 57 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 57 ทวิ เมื่อปรากฎหลักฐานต่อธนาคารแห่งประเทศไทยว่า บริษัทใดมีฐานะหรือการดำเนินงานอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน หรือกรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทใด ไม่ปฎิบัติตามคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 57 ตรี ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจสั่งให้บริษัทนั้นถอดถอนกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทผู้เป็นต้นเหตุดังกล่าวออกจากตำแหน่งได้ ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งให้ถอดถอนบุคคลใดให้บริษัทนั้นแต่งตั้งบุคคลอื่นโดยความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าดำรงตำแหน่งแทนภายในสามสิบวันนับแต่วันถอดถอนบริษัทใดไม่ถอดถอนบุคคลหรือถอดถอนแล้วไม่แต่งตั้งบุคคลอื่นเข้าดำรงตำแหน่งแทน ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งดังต่อไปนี้
(1) ถอดถอนกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งบริษัทนั้นไม่ถอดถอน
(2) แต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคนไปดำรงตำแหน่งแทนผู้ซึ่งถูกถอดถอน
ในกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนที่จะต้องแก้ไขฐานะหรือการดำเนินงานของบริษัทใด ซึ่งหากปล่อยเนิ่นช้าอาจเกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งถอดถอนผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้นและแต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคนไปดำรงตำแหน่งแทนได้ทันทีตามที่เห็นสมควร
ให้ผู้ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง (2) หรือวรรคสอง อยู่ในตำแหน่งเป็นเวลาไม่เกินสามปี และมิให้นำความในมาตรา 22 (7) และ (8) มาใช้บังคับ และให้บุคคลดังกล่าวได้รับค่าตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนด โดยให้จ่ายจากทรัพย์สินของบริษัทนั้น และในระหว่างเวลาที่บุคคลดังกล่าวดำรงตำแหน่งอยู่ ผู้ถือหุ้นของบริษัทจะมีมติเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้
บุคคลซึ่งถูกถอดถอนจะเข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการใด ๆ ในบริษัทนั้นไม่ได้ไม่ว่าโดยทางตรงและทางอ้อม และต้องอำนวยความสะดวกและให้ข้อเท็จจริงแก่บุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง (2) หรือวรรคสอง หรือตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้ถือว่าคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยตามมาตรานี้ เป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดแล้วแต่กรณี"
มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา 57 ตรี แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ในการเพิ่มทุนหรือลดทุนตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองหรือการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน มิให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับการกำหนดจำนวนขั้นต่ำของทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้วของบริษัท และมาตรา 1117 มาตรา 1220 มาตรา 1222 มาตรา 1224 มาตรา 1225 และมาตรา 1226 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 50 มาตรา 136 วรรคสอง (2) มาตรา 137 มาตรา 139 และมาตรา 141 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับ"
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
นายกรัฐมนตรี
_______________________
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ เนื่องจากการแก้ไขปัญหาของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ที่ประสบปัญหาด้านฐานะหรือการดำเนินการอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชนตามบทบัญญัติของกฎหมายในปัจจุบันไม่อาจดำเนินการให้ทันต่อความเร่งด่วนของสถานการณ์ได้ ซึ่งความล่าช้าของการดำเนินการจะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางแก่เศรษฐกิจของประเทศโดยรวม สมควรให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าแก้ไขปัญหาของบริษัทดังกล่าวที่ประสบภาวะวิกฤตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้
--ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 114 ตอนที่ 60 ก--