แท็ก
ธนาคารแห่งประเทศไทย
หมวด 5
การควบคุมบริษัท การเพิกถอนใบอนุญาต และการเลิกบริษัท
มาตรา 57 /1 เมื่อปรากฏหลักฐานต่อธนาคารแห่งประเทศไทยว่า บริษัทใดมีฐานะหรือการดำเนินงาน
อยู่ในลักษณะ อันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจสั่ง
ให้บริษัทนั้นแก้ไขฐานะ หรือการดำเนินงานดังกล่าวได้ภายในระยะเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดในการนี้
จะสั่งให้เพิ่มทุนหรือลดทุนด้วยก็ได้
ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นว่าบริษัทใดมีฐานะ หรือการดำเนินงานอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
อย่างร้ายแรงแก่ประโยชน์ของประชาชน รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งควบคุมบริษัทหรือเพิกถอนใบอนุญาตแต่ในกรณีที่บริษัทดำเนินการ
แก้ไขการบริหารงานให้ถูกต้องหรือดำเนินการอื่นใดตามคำแนะนำของรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนดรัฐมนตรี
จะยังไม่สั่งควบคุมบริษัทนั้นหรือยังไม่สั่งเพิกถอนใบอนุญาตก็ได้ในการนี้รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขใดๆ เพื่อประโยชน์ใน
การแก้ไขฐานะหรือการดำเนินงานของบริษัทนั้น ให้บริษัทต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
ในกรณีที่รัฐมนตรีสั่งควบคุมบริษัทใดตามวรรคสองรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้บริษัทนั้นระงับการดำเนินกิจการทั้งหมด
หรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวภายในระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา 57 ทวิ /2 เมื่อปรากฏหลักฐานต่อธนาคารแห่งประเทศไทยว่าบริษัทใดมีฐานะ หรือการดำเนินงานอยู่
ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน หรือกรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคล ซึ่งรับผิดชอบ
ในการดำเนินงานของบริษัทใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยตามมาตรา 57 วรรคหนึ่งหรือมาตรา 57 ตรี
ธนาคารแห่งประเทศไทย มีอำนาจสั่งให้บริษัทนั้นถอนกรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัท
ผู้เป็นต้นเหตุดังกล่าวออกจากตำแหน่งได้ ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งให้ถอดถอนบุคคลใด ให้บริษัทนั้นแต่งตั้งบุคคล
อื่นโดยความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าดำรงตำแหน่งแทนภายในเวลาสามสิบวันนับแต่วันถอดถอนบุคคล
หรือถอดถอนแล้วไม่แต่งตั้งบุคคลอื่นเข้าดำรงตำแหน่งแทน ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจ
สั่งดังต่อไปนี้
(1) ถอดถอนกรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งบริษัทนั้นไม่ถอดถอน
(2) แต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคนไปดำรงตำแหน่งแทน ผู้ซึ่งถูกถอดถอนเป็นเวลาไม่เกินสามปี และให้
บุคคลนั้นได้รับค่าตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยให้จ่ายจากทรัพย์สินของบริษัทนั้น และในระหว่างเวลาที่บุคคลดังกล่าวดำรง
ตำแหน่งอยู่ ผู้ถือหุ้นของบริษัทจะมีมติเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้
บุคคลซึ่งถูกถอดถอนจะเข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการใดๆ ในบริษัทนั้นไม่ได้ไม่ว่า โดยทางตรงและทางอ้อมและ
ต้องอำนวยความสะดวกและให้ข้อเท็จจริงแก่บุคคลตาม (2) หรือ ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้ถือว่าคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยตามมาตรานี้ เป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดแล้วแต่กรณี
มาตรา 57 ตรี /3 ในกรณีที่บริษัทใดไม่เพิ่มทุนหรือลดทุนภายในกำหนดเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตาม
มาตรา 57 วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาตาม
คำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว
ในกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนที่จะต้องให้บริษัทใดเพิ่มทุน หรือลดทุน เพื่อให้บริษัทนั้น สามารถพยุงฐานะและ
การดำเนินงานต่อไปได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะสั่งให้บริษัทนั้นเพิ่มทุน หรือลดทุนทันทีก็ได้โดยให้ถือว่า คำสั่งของ
ธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวเป็นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ในการเพิ่มทุนหรือลดทุนตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง มิให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับกำหนดจำนวน
ขั้นตอนของทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้วของบริษัท และมาตรา 1220 มาตรา 1224 มาตรา 1225 และมาตรา 1226
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และ มาตรา 149 วรรคสอง (2) มาตรา 152 และมาตรา 154 แห่งพระราชบัญญัติ
บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2521 แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับ
มาตรา 58 ในการสั่งควบคุมบริษัทหรือเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา 57 วรรคสอง ให้รัฐมนตรีแจ้งคำสั่งเป็น
หนังสือให้บริษัทนั้นทราบ และปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานของบริษัทนั้นกับทั้งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
และในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ
มาตรา 59 ในการควบคุมบริษัทให้รัฐมนตรีตั้งคณะกรรมการควบคุมบริษัทขึ้นประกอบด้วยประธานกรรมการ
และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่าสองคน คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการของบริษัทนั้นได้ทุกประการ และ
ให้ประธานกรรมการเป็นผู้แทนของบริษัทนั้น
ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่แทนได้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติ
หน้าที่แทน
คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งและกำหนดอำนาจและหน้าที่พนักงานควบคุมบริษัทคนหนึ่ง หรือหลายคนให้ปฏิบัติการ
อย่างใดอย่างหนึ่งได้
การตั้งคณะกรรมการและการแต่งตั้งกรรมการปฏิบัติหน้าที่แทนประธานกรรมการ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 60 เมื่อรัฐมนตรีได้แจ้งคำสั่งควบคุมแก่บริษัทใด
(1) ห้ามมิให้กรรมการและพนักงานของบริษัทกระทำกิจการของบริษัทนั้นอีกต่อไปเว้นแต่จะได้รับมอบหมาย
จากคณะกรรมการควบคุมบริษัท
(2) ให้กรรมการพนักงานและลูกจ้างของบริษัทนั้น จัดการอันสมควรเพื่อปกปักรักษา ทรัพย์และประโยชน์
ของบริษัทไว้ และรีบรายงานกิจการและมอบทรัพย์สินพร้อมด้วยสมุดบัญชี เอกสาร ดวงตรา และหลักฐานอื่น อันเกี่ยวกับ
กิจการ สินทรัพย์ และหนี้สินของบริษัทให้แก่คณะกรรมการควบคุมบริษัทโดยมิชักช้า
มาตรา 61 เมื่อบริษัทใดถูกควบคุม ให้ผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือเอกสารของบริษัทนั้น แจ้งการครอบครอง
ให้คณะกรรมการควบคุมบริษัททราบโดยมิชักช้า
มาตรา 62 เพื่อประโยชน์แห่งมาตรา 57 ให้คณะกรรมการควบคุมบริษัทหรือพนักงานควบคุมบริษัทที่ได้รับ
มอบอำนาจ มีอำนาจสั่งให้บุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคำหรือให้แสดง หรือส่งสมุด บัญชี เอกสารดวงตราและหลักฐานอื่น
อันเกี่ยวกับกิจการสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทที่ถูกควบคุม
มาตรา 63 เมื่อคณะกรรมการควบคุมบริษัทเห็นว่าบริษัทที่ถูกควบคุมสามารถจะดำเนินกิจการของตนเองได้
ให้รายงานให้รัฐมนตรีทราบ ถ้ารัฐมนตรีเห็นสมควรก็ให้สั่งเลิกการควบคุม และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและ
ในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ
เมื่อคณะกรรมการควบคุมบริษัทเห็นว่า บริษัทที่ถูกควบคุมไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ ให้รายงาน
ให้รัฐมนตรีทราบ ถ้ารัฐมนตรีเห็นสมควรก็ให้สั่งเพิกถอนใบอนุญาต และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และใน
หนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ
มาตรา 64 ในกรณีที่บริษัทใดไม่ประกอบกิจการประเภทที่ได้รับใบอนุญาตตามปริมาณที่รัฐ มนตรี
เห็นสมควรในช่วงระยะเวลาสองปีใดๆ รัฐมนตรีจะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบกิจการทุกประเภทหรือประเภทใด
ประเภทหนึ่งที่ได้รับอนุญาตก็ได้
มาตรา 64 ทวิ /4 ในกรณีที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา 57 วรรคสอง มาตรา 63 วรรคสอง
หรือในกรณีที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนใบอนุญาตทุกประเภทตามมาตรา 64 ให้บริษัทที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวเป็นอัน
เลิกบริษัทจำกัด
มาตรา 65 เมื่อบริษัทใดมีความประสงค์ที่จะเลิกประกอบกิจการตามประเภทที่ได้รับ ใบอนุญาต
ให้ยื่นขออนุญาตเลิกประกอบกิจการต่อรัฐมนตรี ในการอนุญาต รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขใดๆ ก็ได้
มาตรา 65 ทวิ /5 บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ใดมีผลขาดทุนตามมาตรา 26 ทวิ วรรคสอง
ให้บริษัทนั้นเป็นอันเลิกบริษัทจำกัดและให้ถือว่าใบอนุญาตของบริษัทนั้นถูกเพิก ถอน เมื่อมีกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) บริษัทมิได้เสนอโครงการเพื่อแก้ไขฐานะ และการดำเนินงานภายในระยะเวลากำหนดตาม
มาตรา 26 ทวิ วรรคสอง
(2) บริษัทมิได้ปฏิบัติตามโครงการที่ได้รับความเห็นชอบตามมาตรา 26 ทวิ ภายในระยะเวลาตามเงื่อนไข
ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(3) ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ให้ความเห็นชอบด้วยในโครงการตามมาตรา 26 ทวิ วรรคสอง
และบริษัทไม่อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา 26 ทวิ วรรคสาม
(4) รัฐมนตรีคำชี้ขาดยืนตามการไม่ให้ความเห็นชอบด้วยของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 26 ทวิ วรรคสาม
มาตรา 66 /6 เมื่อมีการเลิกบริษัทตามมาตรา 64 ทวิ หรือ มาตรา 65 ทวิ ให้มีการชำระบัญชีและ
ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
การชำระบัญชีให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการชำระบัญชีบริษัทจำกัด
หรือกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดว่าด้วยการชำระบัญชีแล้วแต่กรณี เว้นแต่การใดที่เป็นอำนาจและหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่
ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของรัฐมนตรี
มาตรา 67 กรรมการควบคุมบริษัท พนักงานควบคุมบริษัท และผู้ชำระบัญชีอาจได้รับเงินค่าตอบแทนตาม
ที่รัฐมนตรีกำหนด
ค่าใช้จ่ายและเงินค่าตอบแทนในการควบคุมหรือชำระบัญชีบริษัทใดให้จ่ายจากทรัพย์สินของบริษัทนั้น
--ราชกิจจานุเบกษา--
__________________________________________
/1 ความในวรรคหนึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 11 แห่งพระราชกำหนด (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2528
/2 แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 12 แห่งพระราชกำหนด (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2528
/3 บัญญัติเพิ่มเติมโดย มาตรา 13 แห่งพระราชกำหนด (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2528
/4 บัญญัติเพิ่มเติมโดย มาตรา 24 แห่งพระราชกำหนด พ.ศ.2526
/5 บัญญัติเพิ่มเติมโดย มาตรา 25 แห่งพระราชกำหนด พ.ศ.2526
/6 ความในวรรคหนึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 26 แห่งพระราชกำหนด พ.ศ.2526
การควบคุมบริษัท การเพิกถอนใบอนุญาต และการเลิกบริษัท
มาตรา 57 /1 เมื่อปรากฏหลักฐานต่อธนาคารแห่งประเทศไทยว่า บริษัทใดมีฐานะหรือการดำเนินงาน
อยู่ในลักษณะ อันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจสั่ง
ให้บริษัทนั้นแก้ไขฐานะ หรือการดำเนินงานดังกล่าวได้ภายในระยะเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดในการนี้
จะสั่งให้เพิ่มทุนหรือลดทุนด้วยก็ได้
ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นว่าบริษัทใดมีฐานะ หรือการดำเนินงานอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
อย่างร้ายแรงแก่ประโยชน์ของประชาชน รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งควบคุมบริษัทหรือเพิกถอนใบอนุญาตแต่ในกรณีที่บริษัทดำเนินการ
แก้ไขการบริหารงานให้ถูกต้องหรือดำเนินการอื่นใดตามคำแนะนำของรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนดรัฐมนตรี
จะยังไม่สั่งควบคุมบริษัทนั้นหรือยังไม่สั่งเพิกถอนใบอนุญาตก็ได้ในการนี้รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขใดๆ เพื่อประโยชน์ใน
การแก้ไขฐานะหรือการดำเนินงานของบริษัทนั้น ให้บริษัทต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
ในกรณีที่รัฐมนตรีสั่งควบคุมบริษัทใดตามวรรคสองรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้บริษัทนั้นระงับการดำเนินกิจการทั้งหมด
หรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวภายในระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา 57 ทวิ /2 เมื่อปรากฏหลักฐานต่อธนาคารแห่งประเทศไทยว่าบริษัทใดมีฐานะ หรือการดำเนินงานอยู่
ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน หรือกรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคล ซึ่งรับผิดชอบ
ในการดำเนินงานของบริษัทใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยตามมาตรา 57 วรรคหนึ่งหรือมาตรา 57 ตรี
ธนาคารแห่งประเทศไทย มีอำนาจสั่งให้บริษัทนั้นถอนกรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัท
ผู้เป็นต้นเหตุดังกล่าวออกจากตำแหน่งได้ ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งให้ถอดถอนบุคคลใด ให้บริษัทนั้นแต่งตั้งบุคคล
อื่นโดยความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าดำรงตำแหน่งแทนภายในเวลาสามสิบวันนับแต่วันถอดถอนบุคคล
หรือถอดถอนแล้วไม่แต่งตั้งบุคคลอื่นเข้าดำรงตำแหน่งแทน ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจ
สั่งดังต่อไปนี้
(1) ถอดถอนกรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งบริษัทนั้นไม่ถอดถอน
(2) แต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคนไปดำรงตำแหน่งแทน ผู้ซึ่งถูกถอดถอนเป็นเวลาไม่เกินสามปี และให้
บุคคลนั้นได้รับค่าตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยให้จ่ายจากทรัพย์สินของบริษัทนั้น และในระหว่างเวลาที่บุคคลดังกล่าวดำรง
ตำแหน่งอยู่ ผู้ถือหุ้นของบริษัทจะมีมติเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้
บุคคลซึ่งถูกถอดถอนจะเข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการใดๆ ในบริษัทนั้นไม่ได้ไม่ว่า โดยทางตรงและทางอ้อมและ
ต้องอำนวยความสะดวกและให้ข้อเท็จจริงแก่บุคคลตาม (2) หรือ ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้ถือว่าคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยตามมาตรานี้ เป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดแล้วแต่กรณี
มาตรา 57 ตรี /3 ในกรณีที่บริษัทใดไม่เพิ่มทุนหรือลดทุนภายในกำหนดเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตาม
มาตรา 57 วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาตาม
คำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว
ในกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนที่จะต้องให้บริษัทใดเพิ่มทุน หรือลดทุน เพื่อให้บริษัทนั้น สามารถพยุงฐานะและ
การดำเนินงานต่อไปได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะสั่งให้บริษัทนั้นเพิ่มทุน หรือลดทุนทันทีก็ได้โดยให้ถือว่า คำสั่งของ
ธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวเป็นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ในการเพิ่มทุนหรือลดทุนตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง มิให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับกำหนดจำนวน
ขั้นตอนของทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้วของบริษัท และมาตรา 1220 มาตรา 1224 มาตรา 1225 และมาตรา 1226
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และ มาตรา 149 วรรคสอง (2) มาตรา 152 และมาตรา 154 แห่งพระราชบัญญัติ
บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2521 แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับ
มาตรา 58 ในการสั่งควบคุมบริษัทหรือเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา 57 วรรคสอง ให้รัฐมนตรีแจ้งคำสั่งเป็น
หนังสือให้บริษัทนั้นทราบ และปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานของบริษัทนั้นกับทั้งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
และในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ
มาตรา 59 ในการควบคุมบริษัทให้รัฐมนตรีตั้งคณะกรรมการควบคุมบริษัทขึ้นประกอบด้วยประธานกรรมการ
และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่าสองคน คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการของบริษัทนั้นได้ทุกประการ และ
ให้ประธานกรรมการเป็นผู้แทนของบริษัทนั้น
ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่แทนได้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติ
หน้าที่แทน
คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งและกำหนดอำนาจและหน้าที่พนักงานควบคุมบริษัทคนหนึ่ง หรือหลายคนให้ปฏิบัติการ
อย่างใดอย่างหนึ่งได้
การตั้งคณะกรรมการและการแต่งตั้งกรรมการปฏิบัติหน้าที่แทนประธานกรรมการ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 60 เมื่อรัฐมนตรีได้แจ้งคำสั่งควบคุมแก่บริษัทใด
(1) ห้ามมิให้กรรมการและพนักงานของบริษัทกระทำกิจการของบริษัทนั้นอีกต่อไปเว้นแต่จะได้รับมอบหมาย
จากคณะกรรมการควบคุมบริษัท
(2) ให้กรรมการพนักงานและลูกจ้างของบริษัทนั้น จัดการอันสมควรเพื่อปกปักรักษา ทรัพย์และประโยชน์
ของบริษัทไว้ และรีบรายงานกิจการและมอบทรัพย์สินพร้อมด้วยสมุดบัญชี เอกสาร ดวงตรา และหลักฐานอื่น อันเกี่ยวกับ
กิจการ สินทรัพย์ และหนี้สินของบริษัทให้แก่คณะกรรมการควบคุมบริษัทโดยมิชักช้า
มาตรา 61 เมื่อบริษัทใดถูกควบคุม ให้ผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือเอกสารของบริษัทนั้น แจ้งการครอบครอง
ให้คณะกรรมการควบคุมบริษัททราบโดยมิชักช้า
มาตรา 62 เพื่อประโยชน์แห่งมาตรา 57 ให้คณะกรรมการควบคุมบริษัทหรือพนักงานควบคุมบริษัทที่ได้รับ
มอบอำนาจ มีอำนาจสั่งให้บุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคำหรือให้แสดง หรือส่งสมุด บัญชี เอกสารดวงตราและหลักฐานอื่น
อันเกี่ยวกับกิจการสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทที่ถูกควบคุม
มาตรา 63 เมื่อคณะกรรมการควบคุมบริษัทเห็นว่าบริษัทที่ถูกควบคุมสามารถจะดำเนินกิจการของตนเองได้
ให้รายงานให้รัฐมนตรีทราบ ถ้ารัฐมนตรีเห็นสมควรก็ให้สั่งเลิกการควบคุม และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและ
ในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ
เมื่อคณะกรรมการควบคุมบริษัทเห็นว่า บริษัทที่ถูกควบคุมไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ ให้รายงาน
ให้รัฐมนตรีทราบ ถ้ารัฐมนตรีเห็นสมควรก็ให้สั่งเพิกถอนใบอนุญาต และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และใน
หนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ
มาตรา 64 ในกรณีที่บริษัทใดไม่ประกอบกิจการประเภทที่ได้รับใบอนุญาตตามปริมาณที่รัฐ มนตรี
เห็นสมควรในช่วงระยะเวลาสองปีใดๆ รัฐมนตรีจะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบกิจการทุกประเภทหรือประเภทใด
ประเภทหนึ่งที่ได้รับอนุญาตก็ได้
มาตรา 64 ทวิ /4 ในกรณีที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา 57 วรรคสอง มาตรา 63 วรรคสอง
หรือในกรณีที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนใบอนุญาตทุกประเภทตามมาตรา 64 ให้บริษัทที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวเป็นอัน
เลิกบริษัทจำกัด
มาตรา 65 เมื่อบริษัทใดมีความประสงค์ที่จะเลิกประกอบกิจการตามประเภทที่ได้รับ ใบอนุญาต
ให้ยื่นขออนุญาตเลิกประกอบกิจการต่อรัฐมนตรี ในการอนุญาต รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขใดๆ ก็ได้
มาตรา 65 ทวิ /5 บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ใดมีผลขาดทุนตามมาตรา 26 ทวิ วรรคสอง
ให้บริษัทนั้นเป็นอันเลิกบริษัทจำกัดและให้ถือว่าใบอนุญาตของบริษัทนั้นถูกเพิก ถอน เมื่อมีกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) บริษัทมิได้เสนอโครงการเพื่อแก้ไขฐานะ และการดำเนินงานภายในระยะเวลากำหนดตาม
มาตรา 26 ทวิ วรรคสอง
(2) บริษัทมิได้ปฏิบัติตามโครงการที่ได้รับความเห็นชอบตามมาตรา 26 ทวิ ภายในระยะเวลาตามเงื่อนไข
ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(3) ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ให้ความเห็นชอบด้วยในโครงการตามมาตรา 26 ทวิ วรรคสอง
และบริษัทไม่อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา 26 ทวิ วรรคสาม
(4) รัฐมนตรีคำชี้ขาดยืนตามการไม่ให้ความเห็นชอบด้วยของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 26 ทวิ วรรคสาม
มาตรา 66 /6 เมื่อมีการเลิกบริษัทตามมาตรา 64 ทวิ หรือ มาตรา 65 ทวิ ให้มีการชำระบัญชีและ
ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
การชำระบัญชีให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการชำระบัญชีบริษัทจำกัด
หรือกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดว่าด้วยการชำระบัญชีแล้วแต่กรณี เว้นแต่การใดที่เป็นอำนาจและหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่
ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของรัฐมนตรี
มาตรา 67 กรรมการควบคุมบริษัท พนักงานควบคุมบริษัท และผู้ชำระบัญชีอาจได้รับเงินค่าตอบแทนตาม
ที่รัฐมนตรีกำหนด
ค่าใช้จ่ายและเงินค่าตอบแทนในการควบคุมหรือชำระบัญชีบริษัทใดให้จ่ายจากทรัพย์สินของบริษัทนั้น
--ราชกิจจานุเบกษา--
__________________________________________
/1 ความในวรรคหนึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 11 แห่งพระราชกำหนด (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2528
/2 แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 12 แห่งพระราชกำหนด (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2528
/3 บัญญัติเพิ่มเติมโดย มาตรา 13 แห่งพระราชกำหนด (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2528
/4 บัญญัติเพิ่มเติมโดย มาตรา 24 แห่งพระราชกำหนด พ.ศ.2526
/5 บัญญัติเพิ่มเติมโดย มาตรา 25 แห่งพระราชกำหนด พ.ศ.2526
/6 ความในวรรคหนึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 26 แห่งพระราชกำหนด พ.ศ.2526