การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
พ.ศ. 2522 /1
_____________________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
เป็นปีที่ 34 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา /2 เป็นต้นไป
มาตรา 3 บรรดาบทกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ และประกาศอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
"ธุรกิจเงินทุน" หมายความว่า ธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นในการประกอบกิจการอย่างใด
อย่างหนึ่งซึ่งจำแนกประเภทได้ดังต่อไปนี้
(1) กิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์
(2) กิจการเงินทุนเพื่อการพัฒนา
(3) กิจการเงินทุนเพื่อการจำหน่ายและการบริโภค
(4) กิจการเงินทุนเพื่อการเคหะ
(5) กิจการเงินทุนอื่นตามที่กำหนดในกฏกระทรวง
"กิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์" หมายความว่า กิจการจัดหาเงินทุนจากประชาชน และให้กู้ยืมเงินระยะสั้น
รวมทั้งการเป็นผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้สอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงินเป็นทางค้าปกติ
"กิจการเงินทุนเพื่อการพัฒนา" หมายความว่า กิจการจัดหาเงินทุนจากประชาชน และให้กู้ยืมเงินระยะ
ปานกลางหรือระยะยาวแก่กิจการอุตสาหกรรมเกษตรกรรมหรือพาณิชยกรรมเป็นทางค้าปกติ
"กิจการเงินทุนเพื่อการจำหน่ายและการบริโภค"หมายความว่ากิจการจัดหาเงินทุนจากประชาชน และ
ทำการดังต่อไปนี้ เป็นทางค้าปกติ
(1) ให้กู้ยืมเงินเพื่อให้ใช้เกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าโดยชำระราคาเป็นงวด ๆ หรือโดยให้เช่าซื้อ
(2) ให้กู้ยืมเงินแก่ประชาชน เพื่อให้ใช้ในการซื้อสินค้าจากกิจการที่มิใช่ของตนเอง
(3) ให้ประชาชนเช่าซื้อสินค้าที่รับโอนกรรมสิทธิ์มาจากกิจการซึ่งจำหน่ายสินค้านั้นเมื่อได้ตกลงจะให้เช่าซื้อ
หรือให้ประชาชนเช่าซื้อสินค้าซึ่งยึดได้จากผู้เช่าซื้อรายอื่น
(4) รับโอนโดยมีค่าตอบแทนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการจำหน่ายสินค้า
"กิจการเงินทุนเพื่อการเคหะ"หมายความว่ากิจการจัดหาเงินทุนจากประชาชน และทำการดังต่อไปนี้ เป็นทางค้าปกติ
(1) ให้กู้ยืมเงินแก่ประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินและหรือบ้านที่อยู่อาศัย
(2) ให้กู้ยืมเงินเพื่อใช้ในการจัดหาที่ดินและหรือบ้านที่อยู่อาศัยสำหรับจำหน่ายแก่ประชาชนหรือให้ประชาชนเช่าซื้อ หรือ
(3) จัดหาที่ดินและหรือบ้านที่อยู่อาศัยมาจำหน่ายแก่ประชาชน รวมทั้งให้ประชาชนเช่าซื้อ
"จัดหาเงินทุนจากประชาชน" /3 หมายความรวมถึง กู้ยืมเงินหรือรับฝากเงินจากประชาชนด้วย
"บัตรเงินฝาก" /3 หมายความว่า ตราสารซึ่งเปลี่ยนมือได้ที่บริษัทเงินทุนออกให้แก่ผู้ฝากเงินเพื่อเป็นหลักฐาน
การรับฝากเงินและเพื่อแสดงสิทธิของผู้ทรงตราสารที่จะได้รับเงินฝากคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ โดยจะมีการกำหนด
ดอกเบี้ยไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้
"ให้กู้ยืมเงิน" เฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจเงินทุน หมายความรวมถึงรับซื้อ ซื้อลดหรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน ตราสาร
เปลี่ยนมืออื่น หรือตราสารการเครดิต
"ให้กู้ยืมเงินระยะสั้น" หมายความว่า ให้กู้ยืมเงินมีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนด
ไว้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันให้กู้ยืม
"ให้กู้ยืมเงินระยะปานกลาง" หมายความว่า ให้กู้ยืมเงินมีกำหนดชำระคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้เกินหนึ่งปี
แต่ไม่เกินห้าปีนับแต่วันให้กู้ยืม
"ให้กู้ยืมเงินระยะยาว" หมายความว่าให้กู้ยืมเงินมีกำหนดชำระคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้เกินห้าปีนับแต่วันให้กู้ยืม
"เงินกองทุน" /4 หมายความว่า
(1) ทุนชำระแล้วซึ่งรวมทั้งส่วนล้ำมูลค่าหุ้นที่บริษัทได้รับ และเงินที่บริษัทได้รับจากการออกใบสำคัญแสดงสิทธิ
ที่จะซื้อหุ้นของบริษัทนั้น
(2) ทุนสำรอง
(3) เงินสำรองที่ได้จัดสรรจากกำไรสุทธิเมื่อสิ้นงวดการบัญชีตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นหรือตามข้อบังคับของ
บริษัทแต่ไม่รวมถึงเงินสำรองสำหรับการลดค่าของสินทรัพย์และเงินสำรองเพื่อการชำระหนี้
(4) กำไรสุทธิคงเหลือหลังจาการจัดสรร
(5) เงินสำรองจาการตีราคาสินทรัพย์ เงินสำรองอื่น และ
(6) เงินที่บริษัทได้รับเนื่องจากการออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ระยะยาวเกินห้าปีที่มีสิทธิด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญ
เงินกองทุนตาม (1) (2) (3) และ (4) ให้หักผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกงวดการบัญชีออกก่อน และให้หักค่า
แห่งกู๊ดวิลล์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
ชนิดประเภทและการคำนวณเงินกองทุนตาม (5) หรือ (6) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่
ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
เงินกองทุนตาม (1) (2) (3) (4) (5) และ (6) ให้หักเงินตามตราสารใน (6) ของธนาคารพาณิชย์
และบริษัทอื่นที่บริษัทนั้นถือไว้และสินทรัพย์อื่นใด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
"ธุรกิจหลักทรัพย์" /5
"กิจการนายหน้า ซื้อขายหลักทรัพย์" /5
"กิจการค้าหลักทรัพย์" /5
"กิจการที่ปรึกษาการลงทุน" /5
"กิจการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์" /5
"กิจการจัดการลงทุน" /5
"หลักทรัพย์" /6 หมายความว่า
(1) ตั๋วเงินคลัง
(2) พันธบัตร
(3) หุ้นหรือหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิในหุ้นหรือหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้ หรือใบสำคัญแสดง
การเข้าชื่อซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้
(4) ใบสำคัญแสดงสิทธิในเงินปันผลหรือดอกเบี้ยจากหลักทรัพย์
(5) ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สินของโครงการลงทุน ซึ่งผู้ประกอบกิจการจัดการลงทุนไม่ว่า
ในหรือนอกประเทศเป็นผู้ออก
(6) ตราสารอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
"ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์" หมายความว่า ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ประเภทดังต่อไปนี้
(1) กิจการเครดิตฟองซิเอร์
(2) กิจการรับซื้อฝาก
(3) กิจการอื่นเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
"กิจการเครดิตฟองซิเอร์" หมายความว่ากิจการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าปกติ
"กิจการรับซื้อฝาก" หมายความว่า กิจการรับซื้ออสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาขายฝากเป็นทางค้าปกติ
"บริษัทจำกัด" หมายความว่า บริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือบริษัทมหาชนจำกัดตาม
กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด
"บริษัท" /7 หมายความว่า บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
"บริษัทเงินทุน" หมายความว่า บริษัทจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุน
"บริษัทหลักทรัพย์" /8
"บริษัทเครดิตฟองซิเอร์" หมายความว่าบริษัทจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
"สำนักงานสาขา" หมายความรวมถึง สำนักงานใดๆ ซึ่งแยกออกจากสำนักงานใหญ่ของบริษัทไปประกอบการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของบริษัท
"ใบอนุญาต" /7 หมายความว่าใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
"ผู้จัดการ" /9 หมายความรวมถึงรองผู้จัดการผู้ช่วยผู้จัดการ และผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นด้วย
"สถาบันการเงิน" /9 หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีหรือผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย แต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 5 พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
มาตรา 6 รัฐมนตรีจะมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็น
พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้
การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 6 ทวิ/10 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ
รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรองประธานกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีก
ไม่เกินห้าคนเป็นกรรมการ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นกรรมการและเลขานุการ และ
ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่ให้คำเสนอแนะต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ในการออกข้อกำหนด
และการดำเนินมาตรการใด ๆ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจ
(1) แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
(2) ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
(3) /11 ออกกฎกระทรวงกำหนดกิจการอื่นใดให้เป็นธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(4) ออกกฏกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการหรือแบบบัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่
(5) ออกประกาศตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
ทั้งนี้ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงตาม (3) ให้ระบุความหมายของกิจการที่กำหนดด้วยและจะกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ในการประกอบกิจการนั้นไว้ด้วยก็ได้
กฎกระทรวงและประกาศนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
--ราชกิจจานุเบกษา--
____________________________________________
/1 พระราชบัญญัติฉบับนี้มีการแก้ไขเพิ่มเติม 4 ครั้ง คือ
ครั้งที่หนึ่ง พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2526 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2526
ครั้งที่สอง พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2528
ครั้งที่สาม พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2535 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2535
ครั้งที่สี่ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2535 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2535 เว้นแต่มาตรา 9 และมาตรา 10 มีผลใช้บังคับ
ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2535
/2 ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 96 ตอนที่ 74 วันที่ 9 พฤษภาคม 2522
/3 บัญญัติเพิ่มเติมโดย มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535
/4 แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535
/5 ยกเลิกโดย มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
/6 แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 3 แห่งพระราชกำหนด พ.ศ. 2526
/7 แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
/8 ยกเลิกโดย มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
/9 บัญญัติเพิ่มเติมโดย มาตรา 4 แห่งพระราชกำหนด พ.ศ. 2526
/10 บัญญัติเพิ่มเติมโดย มาตรา 5 แห่งพระราชกำหนด พ.ศ. 2526
/11 แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
พ.ศ. 2522 /1
_____________________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
เป็นปีที่ 34 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา /2 เป็นต้นไป
มาตรา 3 บรรดาบทกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ และประกาศอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
"ธุรกิจเงินทุน" หมายความว่า ธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นในการประกอบกิจการอย่างใด
อย่างหนึ่งซึ่งจำแนกประเภทได้ดังต่อไปนี้
(1) กิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์
(2) กิจการเงินทุนเพื่อการพัฒนา
(3) กิจการเงินทุนเพื่อการจำหน่ายและการบริโภค
(4) กิจการเงินทุนเพื่อการเคหะ
(5) กิจการเงินทุนอื่นตามที่กำหนดในกฏกระทรวง
"กิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์" หมายความว่า กิจการจัดหาเงินทุนจากประชาชน และให้กู้ยืมเงินระยะสั้น
รวมทั้งการเป็นผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้สอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงินเป็นทางค้าปกติ
"กิจการเงินทุนเพื่อการพัฒนา" หมายความว่า กิจการจัดหาเงินทุนจากประชาชน และให้กู้ยืมเงินระยะ
ปานกลางหรือระยะยาวแก่กิจการอุตสาหกรรมเกษตรกรรมหรือพาณิชยกรรมเป็นทางค้าปกติ
"กิจการเงินทุนเพื่อการจำหน่ายและการบริโภค"หมายความว่ากิจการจัดหาเงินทุนจากประชาชน และ
ทำการดังต่อไปนี้ เป็นทางค้าปกติ
(1) ให้กู้ยืมเงินเพื่อให้ใช้เกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าโดยชำระราคาเป็นงวด ๆ หรือโดยให้เช่าซื้อ
(2) ให้กู้ยืมเงินแก่ประชาชน เพื่อให้ใช้ในการซื้อสินค้าจากกิจการที่มิใช่ของตนเอง
(3) ให้ประชาชนเช่าซื้อสินค้าที่รับโอนกรรมสิทธิ์มาจากกิจการซึ่งจำหน่ายสินค้านั้นเมื่อได้ตกลงจะให้เช่าซื้อ
หรือให้ประชาชนเช่าซื้อสินค้าซึ่งยึดได้จากผู้เช่าซื้อรายอื่น
(4) รับโอนโดยมีค่าตอบแทนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการจำหน่ายสินค้า
"กิจการเงินทุนเพื่อการเคหะ"หมายความว่ากิจการจัดหาเงินทุนจากประชาชน และทำการดังต่อไปนี้ เป็นทางค้าปกติ
(1) ให้กู้ยืมเงินแก่ประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินและหรือบ้านที่อยู่อาศัย
(2) ให้กู้ยืมเงินเพื่อใช้ในการจัดหาที่ดินและหรือบ้านที่อยู่อาศัยสำหรับจำหน่ายแก่ประชาชนหรือให้ประชาชนเช่าซื้อ หรือ
(3) จัดหาที่ดินและหรือบ้านที่อยู่อาศัยมาจำหน่ายแก่ประชาชน รวมทั้งให้ประชาชนเช่าซื้อ
"จัดหาเงินทุนจากประชาชน" /3 หมายความรวมถึง กู้ยืมเงินหรือรับฝากเงินจากประชาชนด้วย
"บัตรเงินฝาก" /3 หมายความว่า ตราสารซึ่งเปลี่ยนมือได้ที่บริษัทเงินทุนออกให้แก่ผู้ฝากเงินเพื่อเป็นหลักฐาน
การรับฝากเงินและเพื่อแสดงสิทธิของผู้ทรงตราสารที่จะได้รับเงินฝากคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ โดยจะมีการกำหนด
ดอกเบี้ยไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้
"ให้กู้ยืมเงิน" เฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจเงินทุน หมายความรวมถึงรับซื้อ ซื้อลดหรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน ตราสาร
เปลี่ยนมืออื่น หรือตราสารการเครดิต
"ให้กู้ยืมเงินระยะสั้น" หมายความว่า ให้กู้ยืมเงินมีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนด
ไว้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันให้กู้ยืม
"ให้กู้ยืมเงินระยะปานกลาง" หมายความว่า ให้กู้ยืมเงินมีกำหนดชำระคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้เกินหนึ่งปี
แต่ไม่เกินห้าปีนับแต่วันให้กู้ยืม
"ให้กู้ยืมเงินระยะยาว" หมายความว่าให้กู้ยืมเงินมีกำหนดชำระคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้เกินห้าปีนับแต่วันให้กู้ยืม
"เงินกองทุน" /4 หมายความว่า
(1) ทุนชำระแล้วซึ่งรวมทั้งส่วนล้ำมูลค่าหุ้นที่บริษัทได้รับ และเงินที่บริษัทได้รับจากการออกใบสำคัญแสดงสิทธิ
ที่จะซื้อหุ้นของบริษัทนั้น
(2) ทุนสำรอง
(3) เงินสำรองที่ได้จัดสรรจากกำไรสุทธิเมื่อสิ้นงวดการบัญชีตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นหรือตามข้อบังคับของ
บริษัทแต่ไม่รวมถึงเงินสำรองสำหรับการลดค่าของสินทรัพย์และเงินสำรองเพื่อการชำระหนี้
(4) กำไรสุทธิคงเหลือหลังจาการจัดสรร
(5) เงินสำรองจาการตีราคาสินทรัพย์ เงินสำรองอื่น และ
(6) เงินที่บริษัทได้รับเนื่องจากการออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ระยะยาวเกินห้าปีที่มีสิทธิด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญ
เงินกองทุนตาม (1) (2) (3) และ (4) ให้หักผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกงวดการบัญชีออกก่อน และให้หักค่า
แห่งกู๊ดวิลล์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
ชนิดประเภทและการคำนวณเงินกองทุนตาม (5) หรือ (6) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่
ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
เงินกองทุนตาม (1) (2) (3) (4) (5) และ (6) ให้หักเงินตามตราสารใน (6) ของธนาคารพาณิชย์
และบริษัทอื่นที่บริษัทนั้นถือไว้และสินทรัพย์อื่นใด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
"ธุรกิจหลักทรัพย์" /5
"กิจการนายหน้า ซื้อขายหลักทรัพย์" /5
"กิจการค้าหลักทรัพย์" /5
"กิจการที่ปรึกษาการลงทุน" /5
"กิจการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์" /5
"กิจการจัดการลงทุน" /5
"หลักทรัพย์" /6 หมายความว่า
(1) ตั๋วเงินคลัง
(2) พันธบัตร
(3) หุ้นหรือหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิในหุ้นหรือหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้ หรือใบสำคัญแสดง
การเข้าชื่อซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้
(4) ใบสำคัญแสดงสิทธิในเงินปันผลหรือดอกเบี้ยจากหลักทรัพย์
(5) ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สินของโครงการลงทุน ซึ่งผู้ประกอบกิจการจัดการลงทุนไม่ว่า
ในหรือนอกประเทศเป็นผู้ออก
(6) ตราสารอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
"ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์" หมายความว่า ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ประเภทดังต่อไปนี้
(1) กิจการเครดิตฟองซิเอร์
(2) กิจการรับซื้อฝาก
(3) กิจการอื่นเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
"กิจการเครดิตฟองซิเอร์" หมายความว่ากิจการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าปกติ
"กิจการรับซื้อฝาก" หมายความว่า กิจการรับซื้ออสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาขายฝากเป็นทางค้าปกติ
"บริษัทจำกัด" หมายความว่า บริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือบริษัทมหาชนจำกัดตาม
กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด
"บริษัท" /7 หมายความว่า บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
"บริษัทเงินทุน" หมายความว่า บริษัทจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุน
"บริษัทหลักทรัพย์" /8
"บริษัทเครดิตฟองซิเอร์" หมายความว่าบริษัทจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
"สำนักงานสาขา" หมายความรวมถึง สำนักงานใดๆ ซึ่งแยกออกจากสำนักงานใหญ่ของบริษัทไปประกอบการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของบริษัท
"ใบอนุญาต" /7 หมายความว่าใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
"ผู้จัดการ" /9 หมายความรวมถึงรองผู้จัดการผู้ช่วยผู้จัดการ และผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นด้วย
"สถาบันการเงิน" /9 หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีหรือผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย แต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 5 พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
มาตรา 6 รัฐมนตรีจะมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็น
พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้
การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 6 ทวิ/10 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ
รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรองประธานกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีก
ไม่เกินห้าคนเป็นกรรมการ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นกรรมการและเลขานุการ และ
ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่ให้คำเสนอแนะต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ในการออกข้อกำหนด
และการดำเนินมาตรการใด ๆ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจ
(1) แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
(2) ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
(3) /11 ออกกฎกระทรวงกำหนดกิจการอื่นใดให้เป็นธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(4) ออกกฏกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการหรือแบบบัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่
(5) ออกประกาศตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
ทั้งนี้ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงตาม (3) ให้ระบุความหมายของกิจการที่กำหนดด้วยและจะกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ในการประกอบกิจการนั้นไว้ด้วยก็ได้
กฎกระทรวงและประกาศนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
--ราชกิจจานุเบกษา--
____________________________________________
/1 พระราชบัญญัติฉบับนี้มีการแก้ไขเพิ่มเติม 4 ครั้ง คือ
ครั้งที่หนึ่ง พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2526 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2526
ครั้งที่สอง พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2528
ครั้งที่สาม พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2535 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2535
ครั้งที่สี่ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2535 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2535 เว้นแต่มาตรา 9 และมาตรา 10 มีผลใช้บังคับ
ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2535
/2 ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 96 ตอนที่ 74 วันที่ 9 พฤษภาคม 2522
/3 บัญญัติเพิ่มเติมโดย มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535
/4 แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535
/5 ยกเลิกโดย มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
/6 แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 3 แห่งพระราชกำหนด พ.ศ. 2526
/7 แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
/8 ยกเลิกโดย มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
/9 บัญญัติเพิ่มเติมโดย มาตรา 4 แห่งพระราชกำหนด พ.ศ. 2526
/10 บัญญัติเพิ่มเติมโดย มาตรา 5 แห่งพระราชกำหนด พ.ศ. 2526
/11 แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535