พระราชกำหนด
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 3)
พ.ศ.2540
_________________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2540
เป็นปีที่ 52 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้เรียกว่า "พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบ
ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540"
มาตรา 2 พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในวรรคห้าของมาตรา 26 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 2)
พ.ศ.2528 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ในกรณีที่บริษัทเงินทุนต้องดำเนินการลดทุนหรือเพิ่มทุนตามโครงการที่ได้รับความเห็นชอบตามวรรคสอง
หรือตามคำชี้ขาดตามวรรคสาม มิให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับการกำหนดจำนวนขั้นต่ำของทุน
จดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้วของบริษัทเงินทุน และมาตรา 1222 มาตรา 1224 มาตรา 1225 และมาตรา 1226
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 139 มาตรา 140 และมาตรา 141 แห่งพระราชบัญญัติ
บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 แล้วแต่กรณีมาใช้บังคับ"
มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น หมวด 5 ทวิ การควบกิจการและการโอนกิจการ มาตรา 67 ทวิ
มาตรา 67 ตรี และมาตรา 67 จัตวา แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจ
เครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522
"หมวด 5 ทวิ
การควบกิจการและการโอนกิจการ
มาตรา 67 ทวิ การควบบริษัทเข้าด้วยกันไม่มีผลเป็นการโอนใบอนุญาตของบริษัทเดิมไปเป็นของบริษัทใหม่
มาตรา 67 ตรี การโอนกิจการของบริษัททั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญให้แก่สถาบันการเงินอื่น
ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี
เมื่อได้รับความเห็นชอบการโอนกิจการจากรัฐมนตรีแล้ว ให้ดำเนินการโอนกิจการได้ โดยการโอนสิทธิ
เรียกร้องในการโอนกิจการนี้ ไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
แต่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 308 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ในกรณีที่เป็นการเข้าไปถือหุ้นในบริษัทอื่นเพื่อโอนกิจการ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจผ่อนผัน
ไม่นำมาตรา 22 (4) มาใช้บังคับเป็นเวลาไม่เกินห้าปี
มาตรา 67 จัตวา ในกรณีที่คณะกรรมการของบริษัทใดมีข้อเสนอจะควบกิจการกับสถาบันการเงินอื่นหรือ
โอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญให้แก่สถาบันการเงินอื่นเป็นการเร่งด่วน หรือในกรณีตามมาตรา 26 ทวิ
ที่คณะกรรมการของบริษัทเสนอโครงการเพื่อแก้ไขฐานะและการดำเนินงานโดยการควบกิจการหรือโอนกิจการ
หรือในกรณีตามมาตรา 26 มาตรา 26 ตรี หรือมาตรา 57 ที่คณะกรรมการของบริษัทหรือคณะกรรมการควบคุม
เสนอแก้ไขฐานะหรือการดำเนินงานโดยการควบกิจการหรือโอนกิจการ ถ้ารัฐมนตรีโดยคำแนะนำของธนาคาร
แห่งประเทศไทยเห็นว่ากรณีดังกล่าวมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องควบกิจการหรือโอนกิจการเพื่อรักษาความมั่นคง
ทางการเงินและประโยชน์ของประชาชน ให้มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาอนุญาตให้ดำเนินการได้โดย
จะกำหนดระยะเวลาดำเนินการและเงื่อนไขใดๆ ก็ได้
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องได้รับยกเว้นการใช้บังคับ
บทบัญญัติดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี
(1) บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับการบังคับให้บริษัทเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และการกำหนด
จำนวนขั้นต่ำของทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้วของบริษัท
(2) มาตรา 1240 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(3) มาตรา 52 มาตรา 102 ประกอบกับมาตรา 33 วรรคสอง มาตรา 147 และมาตรา 148
แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535
(4) มาตรา 114 แห่งพระราชบัญญํติลัมละลาย พุทธศักราช 2483 ทั้งนี้ เฉพาะที่เกี่ยวกับการโอน
ทรัพย์สินหรือการกระทำใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินเนื่องในการควบกิจการหรือการโอนกิจการตามวรรคหนึ่ง
ให้บริษัทและสถาบันการเงินที่ควบกิจการหรือโอนหรือรับโอนกิจการตามวรรคหนึ่ง จัดให้มีการประชุม
ผู้ถือหุ้นเพื่อควบกิจการหรือโอนหรือรับโอนกิจการ ในการนี้มิให้นำบทกฎหมายเกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อควบกิจการ
หรือโอนกิจการของบริษัทหรือสถาบันการเงินนั้นมาใช้บังคับ และให้บริษัทและสถาบันการเงินนั้นงดรับลงทะเบียนการโอนหุ้น
เมื่อพ้นเจ็ดวันนับแต่วันมีประกาศอนุญาตให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งจนถึงวันประชุมผู้ถือหุ้น และเรียกประชุมผู้ถือหุ้นโดย
จัดส่งหนังสือนัดให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันแต่ต้องไม่เกินสิบสี่วัน ทั้งนี้ ให้โฆษณาคำบอกกล่าวนัดประชุม
ในหนังสือพิมพ์ไม่น้อยกว่าสามวันก่อนวันประชุมด้วย ในการประชุมถ้ามีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าสามในสี่
ของจำนวนเสียงของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุม ให้ถือว่าการควบกิจการหรือการโอนหรือรับโอนกิจการนั้นเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
ห้ามมิให้บุคคลใดฟ้องบริษัทและสถาบันการเงินตามวรรคหนึ่งเป็นคดีล้มละลายในระหว่างการดำเนินการ
เพื่อควบกิจการหรือโอนกิจการตามที่ได้รับความเห็นชอบตามมาตรานี้
ให้บริษัทและสถาบันการเงินตามวรรคหนึ่งได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษีอากรต่างๆ บรรดาที่
เกิดจากการควบกิจการหรือโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่คณะรัฐมตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
โดยจะกำหนดเป็นการทั่วไปหรือเป็นการเฉพาะรายก็ได้
คณะกรรมการของสถาบันการเงินที่ควบกันแล้วมีสิทธิยื่นขอจดทะเบียนการควบกิจการได้ภายในสิบสี่วัน
นับแต่วันที่รัฐมนตรีอนุญาตให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ในการอนุญาตให้ควบกิจการหรือโอนกิจการตามมาตรานี้ หากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน
การเงินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยจำต้องเข้าไปช่วยเหลือทางการเงินและได้รับความเสียหาย
ให้รัฐบาลช่วยเหลือทางการเงินแก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามควรแก่กรณี"
มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกำหนดนี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
นายกรัฐมนตรี
--ราชกิจจานุเบกษา--
_______________________________________________
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจ
เงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ยังขาดมาตรการส่งเสริมสนับสนุนให้
สถาบันการเงินดำเนินการควบกิจการหรือโอนกิจการ ประกอบกับการควบกิจการหรือโอนกิจการบางกรณี
จำเป็นต้องกระทำโดยเร่งด่วนเพื่อฟื้นฟูฐานะและสร้างความมั่นคงแก่ระบบสถาบันการเงินและคุ้มครอง
ประโยชน์ของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อสนองความจำเป็นดังกล่าว และโดยที่ธุรกิจ
การเงินในปัจจุบันอยู่ในภาวะซบเซาจำต้องแก้ไขโดยเร็ว จึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันที่
จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 3)
พ.ศ.2540
_________________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2540
เป็นปีที่ 52 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้เรียกว่า "พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบ
ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540"
มาตรา 2 พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในวรรคห้าของมาตรา 26 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 2)
พ.ศ.2528 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ในกรณีที่บริษัทเงินทุนต้องดำเนินการลดทุนหรือเพิ่มทุนตามโครงการที่ได้รับความเห็นชอบตามวรรคสอง
หรือตามคำชี้ขาดตามวรรคสาม มิให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับการกำหนดจำนวนขั้นต่ำของทุน
จดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้วของบริษัทเงินทุน และมาตรา 1222 มาตรา 1224 มาตรา 1225 และมาตรา 1226
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 139 มาตรา 140 และมาตรา 141 แห่งพระราชบัญญัติ
บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 แล้วแต่กรณีมาใช้บังคับ"
มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น หมวด 5 ทวิ การควบกิจการและการโอนกิจการ มาตรา 67 ทวิ
มาตรา 67 ตรี และมาตรา 67 จัตวา แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจ
เครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522
"หมวด 5 ทวิ
การควบกิจการและการโอนกิจการ
มาตรา 67 ทวิ การควบบริษัทเข้าด้วยกันไม่มีผลเป็นการโอนใบอนุญาตของบริษัทเดิมไปเป็นของบริษัทใหม่
มาตรา 67 ตรี การโอนกิจการของบริษัททั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญให้แก่สถาบันการเงินอื่น
ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี
เมื่อได้รับความเห็นชอบการโอนกิจการจากรัฐมนตรีแล้ว ให้ดำเนินการโอนกิจการได้ โดยการโอนสิทธิ
เรียกร้องในการโอนกิจการนี้ ไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
แต่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 308 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ในกรณีที่เป็นการเข้าไปถือหุ้นในบริษัทอื่นเพื่อโอนกิจการ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจผ่อนผัน
ไม่นำมาตรา 22 (4) มาใช้บังคับเป็นเวลาไม่เกินห้าปี
มาตรา 67 จัตวา ในกรณีที่คณะกรรมการของบริษัทใดมีข้อเสนอจะควบกิจการกับสถาบันการเงินอื่นหรือ
โอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญให้แก่สถาบันการเงินอื่นเป็นการเร่งด่วน หรือในกรณีตามมาตรา 26 ทวิ
ที่คณะกรรมการของบริษัทเสนอโครงการเพื่อแก้ไขฐานะและการดำเนินงานโดยการควบกิจการหรือโอนกิจการ
หรือในกรณีตามมาตรา 26 มาตรา 26 ตรี หรือมาตรา 57 ที่คณะกรรมการของบริษัทหรือคณะกรรมการควบคุม
เสนอแก้ไขฐานะหรือการดำเนินงานโดยการควบกิจการหรือโอนกิจการ ถ้ารัฐมนตรีโดยคำแนะนำของธนาคาร
แห่งประเทศไทยเห็นว่ากรณีดังกล่าวมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องควบกิจการหรือโอนกิจการเพื่อรักษาความมั่นคง
ทางการเงินและประโยชน์ของประชาชน ให้มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาอนุญาตให้ดำเนินการได้โดย
จะกำหนดระยะเวลาดำเนินการและเงื่อนไขใดๆ ก็ได้
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องได้รับยกเว้นการใช้บังคับ
บทบัญญัติดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี
(1) บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับการบังคับให้บริษัทเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และการกำหนด
จำนวนขั้นต่ำของทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้วของบริษัท
(2) มาตรา 1240 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(3) มาตรา 52 มาตรา 102 ประกอบกับมาตรา 33 วรรคสอง มาตรา 147 และมาตรา 148
แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535
(4) มาตรา 114 แห่งพระราชบัญญํติลัมละลาย พุทธศักราช 2483 ทั้งนี้ เฉพาะที่เกี่ยวกับการโอน
ทรัพย์สินหรือการกระทำใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินเนื่องในการควบกิจการหรือการโอนกิจการตามวรรคหนึ่ง
ให้บริษัทและสถาบันการเงินที่ควบกิจการหรือโอนหรือรับโอนกิจการตามวรรคหนึ่ง จัดให้มีการประชุม
ผู้ถือหุ้นเพื่อควบกิจการหรือโอนหรือรับโอนกิจการ ในการนี้มิให้นำบทกฎหมายเกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อควบกิจการ
หรือโอนกิจการของบริษัทหรือสถาบันการเงินนั้นมาใช้บังคับ และให้บริษัทและสถาบันการเงินนั้นงดรับลงทะเบียนการโอนหุ้น
เมื่อพ้นเจ็ดวันนับแต่วันมีประกาศอนุญาตให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งจนถึงวันประชุมผู้ถือหุ้น และเรียกประชุมผู้ถือหุ้นโดย
จัดส่งหนังสือนัดให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันแต่ต้องไม่เกินสิบสี่วัน ทั้งนี้ ให้โฆษณาคำบอกกล่าวนัดประชุม
ในหนังสือพิมพ์ไม่น้อยกว่าสามวันก่อนวันประชุมด้วย ในการประชุมถ้ามีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าสามในสี่
ของจำนวนเสียงของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุม ให้ถือว่าการควบกิจการหรือการโอนหรือรับโอนกิจการนั้นเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
ห้ามมิให้บุคคลใดฟ้องบริษัทและสถาบันการเงินตามวรรคหนึ่งเป็นคดีล้มละลายในระหว่างการดำเนินการ
เพื่อควบกิจการหรือโอนกิจการตามที่ได้รับความเห็นชอบตามมาตรานี้
ให้บริษัทและสถาบันการเงินตามวรรคหนึ่งได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษีอากรต่างๆ บรรดาที่
เกิดจากการควบกิจการหรือโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่คณะรัฐมตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
โดยจะกำหนดเป็นการทั่วไปหรือเป็นการเฉพาะรายก็ได้
คณะกรรมการของสถาบันการเงินที่ควบกันแล้วมีสิทธิยื่นขอจดทะเบียนการควบกิจการได้ภายในสิบสี่วัน
นับแต่วันที่รัฐมนตรีอนุญาตให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ในการอนุญาตให้ควบกิจการหรือโอนกิจการตามมาตรานี้ หากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน
การเงินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยจำต้องเข้าไปช่วยเหลือทางการเงินและได้รับความเสียหาย
ให้รัฐบาลช่วยเหลือทางการเงินแก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามควรแก่กรณี"
มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกำหนดนี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
นายกรัฐมนตรี
--ราชกิจจานุเบกษา--
_______________________________________________
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจ
เงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ยังขาดมาตรการส่งเสริมสนับสนุนให้
สถาบันการเงินดำเนินการควบกิจการหรือโอนกิจการ ประกอบกับการควบกิจการหรือโอนกิจการบางกรณี
จำเป็นต้องกระทำโดยเร่งด่วนเพื่อฟื้นฟูฐานะและสร้างความมั่นคงแก่ระบบสถาบันการเงินและคุ้มครอง
ประโยชน์ของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อสนองความจำเป็นดังกล่าว และโดยที่ธุรกิจ
การเงินในปัจจุบันอยู่ในภาวะซบเซาจำต้องแก้ไขโดยเร็ว จึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันที่
จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้