พระราชบัญญัติ
การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2535
________________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 25350
เป็นปีที่ 47 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอม ของสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
เว้นแต่มาตรา 9 และมาตรา 10 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา /1
มาตรา 3 ถึง มาตรา 10 (เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ซึ่งได้กล่าวไว้ ข้างต้นแล้ว)
มาตรา 11 ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยยังมิได้ออกประกาศตามมาตรา 29 หรือมาตรา 35
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบการธุรกิจเงิน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไข
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ หรือออกประกาศแล้วแต่ประกาศดังกล่าว ยังไม่มีผลใช้บังคับให้บริษัทเงินทุนและ
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ถือปฏิบัติตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกตามมาตรา 29 หรือมาตรา 35
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไข
เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจ
เครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2526 ไปพลางก่อน
มาตรา 12 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรี
--ราชกิจจานุเบกษา--
__________________________________________
เหตุผลในการประกาศในพระราชบัญญัติฉบับนี้คือโดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฏหมาย
ว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจ เครดิตฟองซิเอร์ และเพิ่มเติมบทบัญญัติใหม่เพื่อขยาย
ขอบเขตการประกอบธุรกิจเงินทุน โดยให้ บริษัทเงินทุนสามารถรับฝากเงินจากประชาชน โดยการออกสมุดคู่ฝาก
หรือออกบัตรเงินฝากได้ นอกจากนี้ได้ยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับการกระจายหุ้นให้บุคคลธรรมดารายย่อย
เพื่อให้สอดคล้อง กับกฏหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด และปรับปรุงข้อกำหนดในเรื่องเงินกองทุนของบริษัทเงินทุน
และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางสากลตามข้อเสนอของ BANK FOR INTERNATIONAL
SETTLEMENTS (BIS) ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศที่ช่วยพัฒนาและกำ กับสถาบันการเงินที่ดำเนินกิจการ
ในตลาดต่างประเทศให้มีความมั่นคงเป็นมาตรฐานเดียวกันจึงจำ เป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
/1 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 44 ลงวันที่ 9 เมษายน 2535
การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2535
________________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 25350
เป็นปีที่ 47 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอม ของสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
เว้นแต่มาตรา 9 และมาตรา 10 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา /1
มาตรา 3 ถึง มาตรา 10 (เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ซึ่งได้กล่าวไว้ ข้างต้นแล้ว)
มาตรา 11 ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยยังมิได้ออกประกาศตามมาตรา 29 หรือมาตรา 35
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบการธุรกิจเงิน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไข
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ หรือออกประกาศแล้วแต่ประกาศดังกล่าว ยังไม่มีผลใช้บังคับให้บริษัทเงินทุนและ
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ถือปฏิบัติตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกตามมาตรา 29 หรือมาตรา 35
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไข
เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจ
เครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2526 ไปพลางก่อน
มาตรา 12 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรี
--ราชกิจจานุเบกษา--
__________________________________________
เหตุผลในการประกาศในพระราชบัญญัติฉบับนี้คือโดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฏหมาย
ว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจ เครดิตฟองซิเอร์ และเพิ่มเติมบทบัญญัติใหม่เพื่อขยาย
ขอบเขตการประกอบธุรกิจเงินทุน โดยให้ บริษัทเงินทุนสามารถรับฝากเงินจากประชาชน โดยการออกสมุดคู่ฝาก
หรือออกบัตรเงินฝากได้ นอกจากนี้ได้ยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับการกระจายหุ้นให้บุคคลธรรมดารายย่อย
เพื่อให้สอดคล้อง กับกฏหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด และปรับปรุงข้อกำหนดในเรื่องเงินกองทุนของบริษัทเงินทุน
และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางสากลตามข้อเสนอของ BANK FOR INTERNATIONAL
SETTLEMENTS (BIS) ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศที่ช่วยพัฒนาและกำ กับสถาบันการเงินที่ดำเนินกิจการ
ในตลาดต่างประเทศให้มีความมั่นคงเป็นมาตรฐานเดียวกันจึงจำ เป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
/1 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 44 ลงวันที่ 9 เมษายน 2535