พระราชกำหนด
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2538
______________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
เป็นปีที่ 50 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้เรียกว่า "พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2538"
มาตรา 2 พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 6 เมื่อได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เกณฑ์การคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ถ้าการเลือกตั้งนั้นเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งเรื่องดังต่อไปนี้
(1) จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่จะพึงมีในการเลือกตั้งครั้งนั้น
(2) จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี
(3) จำนวนเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด และจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละเขต
(4) จำนวนราษฎรของแต่ละเขตเลือกตั้ง และ
(5) จำนวนอำเภอและตำบลรวมเป็นเขตเลือกตั้งแต่ละเขต"
มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 21 ในกรณีที่พรรคการเมืองใดส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งในเขตใด พรรคการเมืองนั้นต้องส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งให้ครบจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น และจะส่งได้คณะเดียวในเขตเลือกตั้งหนึ่งเขต"
มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 22 ผู้สมัครแต่ละพรรคการเมืองต้องยื่นใบสมัครด้วยตนเองต่อหน้าผู้ว่าราชการจังหวัด ในกรณีที่จังหวัดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกินหนึ่งคน ให้ยื่นเป็นคณะ ทั้งนี้ ตามชื่อหรือรายชื่อในหนังสือของหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ณ ศาลากลางจังหวัดแห่งจังหวัดที่เขตเลือกตั้งที่ตนสมัครนั้นตั้งอยู่ภายในระยะเวลาที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา พร้อมกับหนังสือของหัวหน้าพรรคการเมืองรับรองว่าพรรคการเมืองนั้นส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งทั้งหมดรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่จะพึงมีในการเลือกตั้งครั้งนั้น และค่าธรรมเนียมคนละหนึ่งหมื่นบาท หลักฐานการสมัครและรูปถ่ายหรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนเหมือนรูปถ่ายของตนเอง ขนาดกว้างประมาณ 8.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13.5 เซนติเมตร มีจำนวนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนด และต้องปฏิบัติตามวิธีการเกี่ยวกับการสมัครรับเลือกตั้งที่กำหนดในกฎกระทรวง
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับใบสมัครแล้ว ให้ลงบันทึกการรับใบสมัครไว้เป็นหลักฐานและออกใบรับให้แก่ผู้สมัครในวันนี้ และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตรวจสอบหลักฐานคุณสมบัติของผู้สมัคร และสอบสวนว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งได้หรือให้เสร็จภายในเจ็ดวันนับแต่วันปิดการรับสมัคร ถ้าได้ก็ให้ประกาศรับสมัครไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งสำเนาหนังสือของหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งรับรองการสมัครรับเลือกตั้งไปให้กระทรวงมหาดไทยทราบ และแจ้งการรับสมัครหรือไม่รับสมัครให้ผู้สมัครและพรรคการเมืองทราบโดยเร็ว
ประกาศตามวรรคสอง ให้มีชื่อผู้สมัครและเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัครอันประกอบด้วยเลขหมายประจำตัวผู้สมัครและจำนวนจุดเท่ากับเลขหมายซึ่งจะใช้ในการลงคะแนนและรูปผู้สมัคร ทั้งนี้ให้ปิดไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ และที่เลือกตั้งหรือบริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งซึ่งผู้นั้นสมัครโดยเร็ว วิธีการใช้เลขหมายประจำตัวผู้สมัครให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ถ้าพรรคการเมืองใดส่งผู้สมัครน้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่จะพึงมีในการเลือกตั้งครั้งนั้น ให้กระทรวงมหาดไทยประกาศถอนการสมัครรับเลือกตั้งของสมาชิกพรรคการเมืองนั้น"
มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2523 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ในการคัดรายชื่อผู้เลือกตั้งตามวรรคสอง ถ้าปรากฏว่ามีบุคคลสัญชาติไทยผู้ใดได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ และมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง ให้เป็นหน้าที่ของนายอำเภอหรือเทศบาลแล้วแต่กรณี ทำการตรวจสอบว่าบุคคลนั้นเป็นผู้เลือกตั้งหรือไม่ ถ้าเป็น ก็ให้บันทึกไว้เป็นหลักฐานและคัดชื่อลงในบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้ง ในกรณีมีความจำเป็นต้องสอบถามบุคคลดังกล่าวให้นายอำเภอหรือเทศบาล แล้วแต่กรณี ส่งเจ้าหน้าที่ไปสอบถามบุคคลนั้น ณ ที่บ้านที่ปรากฏตามทะเบียน"
มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2523 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"กรรมการตรวจคะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งแต่ละหน่วยให้แต่งตั้งจากผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 47 และเป็นผู้ที่พรรคการเมืองที่ส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเสนอชื่อต่อนายอำเภอก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบวัน"
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
--ราชกิจจานุเบกษา--
____________________________
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 มาตรา 106 ได้บัญญัติให้คำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีตามเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละจังหวัดหนึ่งแสนห้าหมื่นคนต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคนแทนการให้คำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีตามเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน โดยเฉลี่ยจำนวนราษฎรทั้งประเทศด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามร้อยหกสิบคน และมาตรา 112 ได้บัญญัติให้พรรคการเมืองส่งสมาชิกเข้ารับเลือกตั้งได้คณะเดียวในเขตเลือกตั้งหนึ่งเขตและต้องส่งสมาชิกเข้ารับเลือกตั้งทั้งหมดรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่จะพึงมีในการเลือกตั้งครั้งนั้น ประกอบกับมาตรา 109 ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในส่วนที่เกี่ยวกับอายุโดยบัญญัติให้ผู้มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง นอกจากนี้มาตรา 117 และมาตรา 118 ยังได้กำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการทั่วไปในกรณีที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง และในกรณีที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเสียใหม่ โดยกำหนดระยะเวลาที่จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปให้รวดเร็วยิ่งขึ้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ในส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2538
______________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
เป็นปีที่ 50 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้เรียกว่า "พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2538"
มาตรา 2 พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 6 เมื่อได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เกณฑ์การคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ถ้าการเลือกตั้งนั้นเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งเรื่องดังต่อไปนี้
(1) จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่จะพึงมีในการเลือกตั้งครั้งนั้น
(2) จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี
(3) จำนวนเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด และจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละเขต
(4) จำนวนราษฎรของแต่ละเขตเลือกตั้ง และ
(5) จำนวนอำเภอและตำบลรวมเป็นเขตเลือกตั้งแต่ละเขต"
มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 21 ในกรณีที่พรรคการเมืองใดส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งในเขตใด พรรคการเมืองนั้นต้องส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งให้ครบจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น และจะส่งได้คณะเดียวในเขตเลือกตั้งหนึ่งเขต"
มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 22 ผู้สมัครแต่ละพรรคการเมืองต้องยื่นใบสมัครด้วยตนเองต่อหน้าผู้ว่าราชการจังหวัด ในกรณีที่จังหวัดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกินหนึ่งคน ให้ยื่นเป็นคณะ ทั้งนี้ ตามชื่อหรือรายชื่อในหนังสือของหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ณ ศาลากลางจังหวัดแห่งจังหวัดที่เขตเลือกตั้งที่ตนสมัครนั้นตั้งอยู่ภายในระยะเวลาที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา พร้อมกับหนังสือของหัวหน้าพรรคการเมืองรับรองว่าพรรคการเมืองนั้นส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งทั้งหมดรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่จะพึงมีในการเลือกตั้งครั้งนั้น และค่าธรรมเนียมคนละหนึ่งหมื่นบาท หลักฐานการสมัครและรูปถ่ายหรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนเหมือนรูปถ่ายของตนเอง ขนาดกว้างประมาณ 8.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13.5 เซนติเมตร มีจำนวนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนด และต้องปฏิบัติตามวิธีการเกี่ยวกับการสมัครรับเลือกตั้งที่กำหนดในกฎกระทรวง
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับใบสมัครแล้ว ให้ลงบันทึกการรับใบสมัครไว้เป็นหลักฐานและออกใบรับให้แก่ผู้สมัครในวันนี้ และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตรวจสอบหลักฐานคุณสมบัติของผู้สมัคร และสอบสวนว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งได้หรือให้เสร็จภายในเจ็ดวันนับแต่วันปิดการรับสมัคร ถ้าได้ก็ให้ประกาศรับสมัครไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งสำเนาหนังสือของหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งรับรองการสมัครรับเลือกตั้งไปให้กระทรวงมหาดไทยทราบ และแจ้งการรับสมัครหรือไม่รับสมัครให้ผู้สมัครและพรรคการเมืองทราบโดยเร็ว
ประกาศตามวรรคสอง ให้มีชื่อผู้สมัครและเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัครอันประกอบด้วยเลขหมายประจำตัวผู้สมัครและจำนวนจุดเท่ากับเลขหมายซึ่งจะใช้ในการลงคะแนนและรูปผู้สมัคร ทั้งนี้ให้ปิดไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ และที่เลือกตั้งหรือบริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งซึ่งผู้นั้นสมัครโดยเร็ว วิธีการใช้เลขหมายประจำตัวผู้สมัครให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ถ้าพรรคการเมืองใดส่งผู้สมัครน้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่จะพึงมีในการเลือกตั้งครั้งนั้น ให้กระทรวงมหาดไทยประกาศถอนการสมัครรับเลือกตั้งของสมาชิกพรรคการเมืองนั้น"
มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2523 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ในการคัดรายชื่อผู้เลือกตั้งตามวรรคสอง ถ้าปรากฏว่ามีบุคคลสัญชาติไทยผู้ใดได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ และมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง ให้เป็นหน้าที่ของนายอำเภอหรือเทศบาลแล้วแต่กรณี ทำการตรวจสอบว่าบุคคลนั้นเป็นผู้เลือกตั้งหรือไม่ ถ้าเป็น ก็ให้บันทึกไว้เป็นหลักฐานและคัดชื่อลงในบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้ง ในกรณีมีความจำเป็นต้องสอบถามบุคคลดังกล่าวให้นายอำเภอหรือเทศบาล แล้วแต่กรณี ส่งเจ้าหน้าที่ไปสอบถามบุคคลนั้น ณ ที่บ้านที่ปรากฏตามทะเบียน"
มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2523 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"กรรมการตรวจคะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งแต่ละหน่วยให้แต่งตั้งจากผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 47 และเป็นผู้ที่พรรคการเมืองที่ส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเสนอชื่อต่อนายอำเภอก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบวัน"
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
--ราชกิจจานุเบกษา--
____________________________
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 มาตรา 106 ได้บัญญัติให้คำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีตามเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละจังหวัดหนึ่งแสนห้าหมื่นคนต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคนแทนการให้คำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีตามเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน โดยเฉลี่ยจำนวนราษฎรทั้งประเทศด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามร้อยหกสิบคน และมาตรา 112 ได้บัญญัติให้พรรคการเมืองส่งสมาชิกเข้ารับเลือกตั้งได้คณะเดียวในเขตเลือกตั้งหนึ่งเขตและต้องส่งสมาชิกเข้ารับเลือกตั้งทั้งหมดรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่จะพึงมีในการเลือกตั้งครั้งนั้น ประกอบกับมาตรา 109 ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในส่วนที่เกี่ยวกับอายุโดยบัญญัติให้ผู้มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง นอกจากนี้มาตรา 117 และมาตรา 118 ยังได้กำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการทั่วไปในกรณีที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง และในกรณีที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเสียใหม่ โดยกำหนดระยะเวลาที่จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปให้รวดเร็วยิ่งขึ้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ในส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้