มาตรา 86 เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในราชกิจานุเบกษา ซึ่งต้องกำหนดให้มีการเริ่มรับสมัครไม่เกินห้าวันนับจากวันที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาใช้บังคับและต้องกำหนดวันรับสมัครไม่น้อยกว่าห้าวัน
มาตรา 87 บุคคลซึ่งจะมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
มาตรา 88 การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
เมื่อได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่จะพึงมีแต่ละจังหวัดในราชกิจจานุเบกษา โดยใช้เกณฑ์การคำนวณตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนหนึ่งมีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภาในจังหวัดที่ตนมีสิทธิลงคะแนนได้เพียงคนเดียว
มาตรา 89 การสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ให้นำความในมาตรา 31 มาตรา 32 และมาตรา 34 เว้นแต่บทบัญญัติที่เกี่ยวกับพรรคการเมือง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ชำระค่าธรรมเนียมการสมัครคนละหนึ่งหมื่นบาทและเมื่อได้ออกใบรับแล้ว ห้ามมิให้ผู้สมัครถอนการสมัครรับเลือกตั้ง และให้ค่าธรรมเนียมการสมัครรับเลือกตั้งตกเป็นของรัฐ
มาตรา 90 ให้นำบทบัญญัติในส่วนที่ 2 เขตเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้ง และที่เลือกตั้ง ส่วนที่ 3 เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง ส่วนที่ 4 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส่วนที่ 6 ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งและวิธีการหาเสียงเลือกตั้งเฉพาะมาตรา 44 มาตรา 45 และมาตรา 47 ส่วนที่ 7 การลงคะแนนเลือกตั้ง และส่วนที่ 9 การลงคะแนนเลือกตั้งสำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่นอกเขตเลือกตั้งของหมวด 1 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เฉพาะกรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เว้นแต่บทบัญญัติเกี่ยวกับพรรคการเมืองมาใช้บังคับกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในหมวดนี้
การแต่งตั้งกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกดังนั้นเป็นประธานกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งหนึ่งคน และกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจำนวนหกคน แต่มิให้นำความในมาตรา 15 ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิการเสนอชื่อผู้แทนของพรรคการเมืองมาใช้บังคับ และให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเป็นกรรมการนับคะแนนเลือกตั้งด้วย
การนับคะแนนเลือกตั้งให้กระทำ ณ ที่เลือกตั้ง และให้นำบทบัญญัติในส่วนที่ 8 การนับคะแนนและการประกาศผลการเลือกตั้ง เฉพาะกรณีการนับคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เว้นแต่บทบัญญัติที่เกี่ยวกับพรรคการเมืองมาใช้บังคับการนับคะแนน และการประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในหมวดนี้
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามมาตรานี้ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรานี้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
บรรดาบทบัญญัติใด ๆ ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่นำมาใช้บังคับกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาด้วย ถ้าบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้การกระทำใด ๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นความผิดและมีบทกำหนดโทษสำหรับความผิดนั้น ให้นำมาใช้บังคับกับการกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาด้วย โดยให้ถืออัตราโทษอย่างเดียวกัน
มาตรา 91 ภายใต้บังคับมาตรา 92 ห้ามมิให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือบุคคลใดดำเนินการหาเสียงเลือกตั้ง เว้นแต่การแนะนำตัวผู้สมัคร
การแนะนำตัวผู้สมัครให้กระทำได้เฉพาะการจัดพิมพ์เอกสารเพื่อแนะนำตัวผู้สมัคร ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด และในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้สมัครทุกคนอาจกำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายไว้ด้วยก็ได้
การแนะนำตัวผู้สมัครตามวรรคหนึ่งหมายความถึง การแสดงข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา และประวัติการทำงาน หรือประสบการณ์ในการทำงาน
มาตรา 92 เพื่อประโยชน์ในการแนะนำตัวผู้สมัครโดยเท่าเทียมกัน ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประสานงานกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีการประกาศและติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้ง ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ หรือที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือในที่ชุมชนหนาแน่นที่เห็นสมควร
(2) พิมพ์และจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้งไปให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
(3) จัดหาสถานที่เพื่อแนะนำตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง
(4) จัดสรรเวลาการออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อแนะนำตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง
(5) กิจการอื่นที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด
มาตรา 93 จังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาได้หนึ่งคน ให้ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนมากที่สุดเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง
จังหวัดใดมีจำนวนสมาชิกวุฒิสภาได้มากกว่าหนึ่งคน ให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนมากที่สุดตามลำดับลงมาตามจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่จังหวัดนั้นจะพึงมีเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง
ในกรณีที่ผู้สมัครมีคะแนนเท่ากันอันเป็นเหตุให้มีสมาชิกวุฒิสภาเกินจำนวนที่จังหวัดนั้นจะพึงมี ให้ผู้สมัครที่มีคะแนนเท่ากันจับสลากเพื่อให้ได้ผู้สมัครตามจำนวนที่จะพึงมีในจังหวัดนั้น การจับสลากให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
ในกรณีที่จังหวัดใดมีผู้สมัครเท่ากับหรือน้อยกว่าจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่จะพึงมีในจังหวัดนั้น ผู้สมัครที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของจำนวนสมาชิกผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง และในกรณีเช่นว่านี้ถ้าไม่มีผู้ได้รับเลือกตั้งหรือมีผู้ได้รับเลือกตั้งน้อยกว่าจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่จะพึงมีในจังหวัดนั้น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในจังหวัดนั้น เพื่อให้ได้สมาชิกวุฒิสภาตามจำนวนที่จะพึงมี
--ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 35 ก--
มาตรา 87 บุคคลซึ่งจะมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
มาตรา 88 การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
เมื่อได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่จะพึงมีแต่ละจังหวัดในราชกิจจานุเบกษา โดยใช้เกณฑ์การคำนวณตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนหนึ่งมีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภาในจังหวัดที่ตนมีสิทธิลงคะแนนได้เพียงคนเดียว
มาตรา 89 การสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ให้นำความในมาตรา 31 มาตรา 32 และมาตรา 34 เว้นแต่บทบัญญัติที่เกี่ยวกับพรรคการเมือง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ชำระค่าธรรมเนียมการสมัครคนละหนึ่งหมื่นบาทและเมื่อได้ออกใบรับแล้ว ห้ามมิให้ผู้สมัครถอนการสมัครรับเลือกตั้ง และให้ค่าธรรมเนียมการสมัครรับเลือกตั้งตกเป็นของรัฐ
มาตรา 90 ให้นำบทบัญญัติในส่วนที่ 2 เขตเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้ง และที่เลือกตั้ง ส่วนที่ 3 เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง ส่วนที่ 4 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส่วนที่ 6 ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งและวิธีการหาเสียงเลือกตั้งเฉพาะมาตรา 44 มาตรา 45 และมาตรา 47 ส่วนที่ 7 การลงคะแนนเลือกตั้ง และส่วนที่ 9 การลงคะแนนเลือกตั้งสำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่นอกเขตเลือกตั้งของหมวด 1 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เฉพาะกรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เว้นแต่บทบัญญัติเกี่ยวกับพรรคการเมืองมาใช้บังคับกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในหมวดนี้
การแต่งตั้งกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกดังนั้นเป็นประธานกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งหนึ่งคน และกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจำนวนหกคน แต่มิให้นำความในมาตรา 15 ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิการเสนอชื่อผู้แทนของพรรคการเมืองมาใช้บังคับ และให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเป็นกรรมการนับคะแนนเลือกตั้งด้วย
การนับคะแนนเลือกตั้งให้กระทำ ณ ที่เลือกตั้ง และให้นำบทบัญญัติในส่วนที่ 8 การนับคะแนนและการประกาศผลการเลือกตั้ง เฉพาะกรณีการนับคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เว้นแต่บทบัญญัติที่เกี่ยวกับพรรคการเมืองมาใช้บังคับการนับคะแนน และการประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในหมวดนี้
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามมาตรานี้ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรานี้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
บรรดาบทบัญญัติใด ๆ ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่นำมาใช้บังคับกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาด้วย ถ้าบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้การกระทำใด ๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นความผิดและมีบทกำหนดโทษสำหรับความผิดนั้น ให้นำมาใช้บังคับกับการกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาด้วย โดยให้ถืออัตราโทษอย่างเดียวกัน
มาตรา 91 ภายใต้บังคับมาตรา 92 ห้ามมิให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือบุคคลใดดำเนินการหาเสียงเลือกตั้ง เว้นแต่การแนะนำตัวผู้สมัคร
การแนะนำตัวผู้สมัครให้กระทำได้เฉพาะการจัดพิมพ์เอกสารเพื่อแนะนำตัวผู้สมัคร ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด และในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้สมัครทุกคนอาจกำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายไว้ด้วยก็ได้
การแนะนำตัวผู้สมัครตามวรรคหนึ่งหมายความถึง การแสดงข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา และประวัติการทำงาน หรือประสบการณ์ในการทำงาน
มาตรา 92 เพื่อประโยชน์ในการแนะนำตัวผู้สมัครโดยเท่าเทียมกัน ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประสานงานกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีการประกาศและติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้ง ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ หรือที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือในที่ชุมชนหนาแน่นที่เห็นสมควร
(2) พิมพ์และจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้งไปให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
(3) จัดหาสถานที่เพื่อแนะนำตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง
(4) จัดสรรเวลาการออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อแนะนำตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง
(5) กิจการอื่นที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด
มาตรา 93 จังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาได้หนึ่งคน ให้ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนมากที่สุดเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง
จังหวัดใดมีจำนวนสมาชิกวุฒิสภาได้มากกว่าหนึ่งคน ให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนมากที่สุดตามลำดับลงมาตามจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่จังหวัดนั้นจะพึงมีเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง
ในกรณีที่ผู้สมัครมีคะแนนเท่ากันอันเป็นเหตุให้มีสมาชิกวุฒิสภาเกินจำนวนที่จังหวัดนั้นจะพึงมี ให้ผู้สมัครที่มีคะแนนเท่ากันจับสลากเพื่อให้ได้ผู้สมัครตามจำนวนที่จะพึงมีในจังหวัดนั้น การจับสลากให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
ในกรณีที่จังหวัดใดมีผู้สมัครเท่ากับหรือน้อยกว่าจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่จะพึงมีในจังหวัดนั้น ผู้สมัครที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของจำนวนสมาชิกผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง และในกรณีเช่นว่านี้ถ้าไม่มีผู้ได้รับเลือกตั้งหรือมีผู้ได้รับเลือกตั้งน้อยกว่าจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่จะพึงมีในจังหวัดนั้น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในจังหวัดนั้น เพื่อให้ได้สมาชิกวุฒิสภาตามจำนวนที่จะพึงมี
--ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 35 ก--