มาตรา ๕ ให้จัดตั้งองค์การของรัฐขึ้นเรียกว่า "องค์การเพื่อการปฎิรูประบบสถาบันการเงิน" เรียกโดยย่อว่า "ปรส." และให้เป็นนิติบุคคล
มาตรา ๖ ให้องค์การตั้งสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๗ ให้องค์การมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการกับบริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งสั่งโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ดังต่อไปนี้
(๑) แก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ
(๒) ช่วยเหลือผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ที่สุจริตของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ
(๓) ชำระบัญชีบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินการในกรณีที่บริษัทดังกล่าวไม่อาจดำเนินการต่อไปได้
มาตรา ๘ ให้องค์การมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบวัตถุประสงค์ขององค์การตามมาตรา ๗ อำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑) ถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองหรือมีทรัพย์สิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหา ขาย จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับจำนอง แลกเปลี่ยน โอน รับโอน หรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้
(๒) มีเงินฝากไว้ในสถาบันการเงินตามที่คณะกรรมการองค์การเห็นว่าจำเป็นและสมควร
(๓) ซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือรับโอนสิทธิเรียกร้อง
(๔) กู้หรือยืมเงิน ออกตั๋วเงิน หรือตราสารแห่งหนี้
(๕) ออกพันธบัตร
(๖) ให้กู้ยืมเงินหรือลงทุนในหลักทรัพย์ของรัฐบาลหรือองค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
(๗) ทำกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ
มาตรา ๙ ทุนขององค์การประกอบด้วย
(๑) ทุนประเดิมที่รัฐจ่ายให้เป็นการอุดหนุน
(๒) เงินและทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้
(๓) เงินและทรัพย์สินขององค์การ
(๔) ดอกผลของทรัพย์สินขององค์การ
มาตรา ๑๐ ให้กำหนดทุนประเดิมขององค์การเป็นจำนวนห้าร้อยล้านบาท และองค์การจะได้รับเงินจำนวนนี้เป็นการอุดหนุนจากรัฐบาล
ในแต่ละงวดการบัญชีหากปรากฎว่าองค์การมีผลขาดทุน ให้รัฐบาลช่วยเหลือทางการเงินแก่องค์การตามควรแก่กรณี
--ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔--
มาตรา ๖ ให้องค์การตั้งสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๗ ให้องค์การมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการกับบริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งสั่งโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ดังต่อไปนี้
(๑) แก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ
(๒) ช่วยเหลือผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ที่สุจริตของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ
(๓) ชำระบัญชีบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินการในกรณีที่บริษัทดังกล่าวไม่อาจดำเนินการต่อไปได้
มาตรา ๘ ให้องค์การมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบวัตถุประสงค์ขององค์การตามมาตรา ๗ อำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑) ถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองหรือมีทรัพย์สิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหา ขาย จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับจำนอง แลกเปลี่ยน โอน รับโอน หรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้
(๒) มีเงินฝากไว้ในสถาบันการเงินตามที่คณะกรรมการองค์การเห็นว่าจำเป็นและสมควร
(๓) ซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือรับโอนสิทธิเรียกร้อง
(๔) กู้หรือยืมเงิน ออกตั๋วเงิน หรือตราสารแห่งหนี้
(๕) ออกพันธบัตร
(๖) ให้กู้ยืมเงินหรือลงทุนในหลักทรัพย์ของรัฐบาลหรือองค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
(๗) ทำกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ
มาตรา ๙ ทุนขององค์การประกอบด้วย
(๑) ทุนประเดิมที่รัฐจ่ายให้เป็นการอุดหนุน
(๒) เงินและทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้
(๓) เงินและทรัพย์สินขององค์การ
(๔) ดอกผลของทรัพย์สินขององค์การ
มาตรา ๑๐ ให้กำหนดทุนประเดิมขององค์การเป็นจำนวนห้าร้อยล้านบาท และองค์การจะได้รับเงินจำนวนนี้เป็นการอุดหนุนจากรัฐบาล
ในแต่ละงวดการบัญชีหากปรากฎว่าองค์การมีผลขาดทุน ให้รัฐบาลช่วยเหลือทางการเงินแก่องค์การตามควรแก่กรณี
--ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔--