แท็ก
พระราชกำหนด
มาตรา ๕ ให้จัดตั้งบรรษัทขึ้นเรียกว่า "บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน" เรียกโดยย่อว่า "บบส." และให้เป็นนิติบุคคล
มาตรา ๖ ให้บรรษัทตั้งสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๗ วัตถุประสงค์ของบรรษัทมีดังต่อไปนี้
(๑) ประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ทุกประเภทของบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งสั่งโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ที่องค์การเห็นว่าไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินการได้ หรือที่ อบส. เป็นผู้จำหน่าย รวมตลอดจนหลักประกันของสินทรัพย์นั้น เพื่อนำมาบริหารและจำหน่ายจ่ายโอนต่อไป
(๒) ประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีการค้างชำระดอกเบี้ยตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปของสถาบันการเงินอื่นที่กองทุนเข้าถือหุ้นและมีอำนาจในการจัดการ
มาตรา ๘ ให้บรรษัทมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบวัตถุประสงค์ของบรรษัทตามมาตรา ๗ อำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑) ถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองหรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหา ขาย จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับจำนอง แลกเปลี่ยน โอน รับโอน หรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้
(๒) ค้ำประกันหรือรับรอง รับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงิน
(๓) เรียกเก็บดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม และค่าบริการทางการเงินอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๔) กู้หรือยืมเงินในหรือนอกราชอาณาจักร
(๕) ออกหุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือตราสารแห่งหนี้
(๖) ลงทุนในหลักทรัพย์ของรัฐบาล หรือองค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
(๗) มีเงินฝากไว้ในสถาบันการเงินตามที่คณะกรรมการเห็นว่าจำเป็นและสมควร
(๘) กระทำการอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของบรรษัท
มาตรา ๙ ให้กำหนดทุนของบรรษัทเป็นจำนวนหุ้นสามัญสิบล้านหุ้นมีมูลค่าหุ้นละหนึ่งร้อยบาทรวมเป็นทุนหนึ่งพันล้านบาท โดยบรรษัทจะได้รับทุนประเดิมจำนวนนี้จากรัฐบาล และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น
มาตรา ๑๐ ในกรณีที่บรรษัทมีผลขาดทุนถึงจำนวนที่ทำให้เงินกองทุนของบรรษัทลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละสิบของสินทรัพย์ทั้งสิ้น ให้บรรษัทดำเนินการเพิ่มทุน
การเพิ่มทุนของบรรษัทให้ทำได้โดยการออกหุ้นสามัญใหม่ ทั้งนี้ โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี
ให้บรรษัทเสนอต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ตามแต่บรรษัทจะกำหนดให้เข้าชื่อซื้อหุ้นที่ระบุในวรรคสอง ตามเวลา วิธีการ และจำนวนที่บรรษัทกำหนด และให้บรรษัทจัดออกหุ้นเหล่านั้นได้
มาตรา ๑๑ เงินที่ใช้หมุนเวียนในการดำเนินกิจการประกอบด้วย
(๑) เงินกองทุนของบรรษัท
(๒) เงินกู้ยืมจากในและนอกราชอาณาจักร
(๓) รายได้ของบรรษัท
(๔) เงินที่มีผู้มอบให้
--ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔--
มาตรา ๖ ให้บรรษัทตั้งสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๗ วัตถุประสงค์ของบรรษัทมีดังต่อไปนี้
(๑) ประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ทุกประเภทของบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งสั่งโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ที่องค์การเห็นว่าไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินการได้ หรือที่ อบส. เป็นผู้จำหน่าย รวมตลอดจนหลักประกันของสินทรัพย์นั้น เพื่อนำมาบริหารและจำหน่ายจ่ายโอนต่อไป
(๒) ประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีการค้างชำระดอกเบี้ยตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปของสถาบันการเงินอื่นที่กองทุนเข้าถือหุ้นและมีอำนาจในการจัดการ
มาตรา ๘ ให้บรรษัทมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบวัตถุประสงค์ของบรรษัทตามมาตรา ๗ อำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑) ถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองหรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหา ขาย จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับจำนอง แลกเปลี่ยน โอน รับโอน หรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้
(๒) ค้ำประกันหรือรับรอง รับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงิน
(๓) เรียกเก็บดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม และค่าบริการทางการเงินอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๔) กู้หรือยืมเงินในหรือนอกราชอาณาจักร
(๕) ออกหุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือตราสารแห่งหนี้
(๖) ลงทุนในหลักทรัพย์ของรัฐบาล หรือองค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
(๗) มีเงินฝากไว้ในสถาบันการเงินตามที่คณะกรรมการเห็นว่าจำเป็นและสมควร
(๘) กระทำการอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของบรรษัท
มาตรา ๙ ให้กำหนดทุนของบรรษัทเป็นจำนวนหุ้นสามัญสิบล้านหุ้นมีมูลค่าหุ้นละหนึ่งร้อยบาทรวมเป็นทุนหนึ่งพันล้านบาท โดยบรรษัทจะได้รับทุนประเดิมจำนวนนี้จากรัฐบาล และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น
มาตรา ๑๐ ในกรณีที่บรรษัทมีผลขาดทุนถึงจำนวนที่ทำให้เงินกองทุนของบรรษัทลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละสิบของสินทรัพย์ทั้งสิ้น ให้บรรษัทดำเนินการเพิ่มทุน
การเพิ่มทุนของบรรษัทให้ทำได้โดยการออกหุ้นสามัญใหม่ ทั้งนี้ โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี
ให้บรรษัทเสนอต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ตามแต่บรรษัทจะกำหนดให้เข้าชื่อซื้อหุ้นที่ระบุในวรรคสอง ตามเวลา วิธีการ และจำนวนที่บรรษัทกำหนด และให้บรรษัทจัดออกหุ้นเหล่านั้นได้
มาตรา ๑๑ เงินที่ใช้หมุนเวียนในการดำเนินกิจการประกอบด้วย
(๑) เงินกองทุนของบรรษัท
(๒) เงินกู้ยืมจากในและนอกราชอาณาจักร
(๓) รายได้ของบรรษัท
(๔) เงินที่มีผู้มอบให้
--ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔--