มาตรา ๑๒ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน" ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกหกคนซึ่งรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และผู้จัดการเป็นกรรมการและเลขานุการ
ในกรณีที่มีการนำหุ้นออกมาขายแก่ประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
มิให้นำมาตรา ๕ (๒) แห่งพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ และกรรมการอื่น
มาตรา ๑๓ ผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องห้ามมิให้เป็นกรรมการ
(๑) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(๒) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๓) เป็นข้าราชการการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(๔) เป็นกรรมการหรือผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน
(๕) เป็นหรือเคยเป็นลูกหนี้ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้
มาตรา ๑๔ กรรมการมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี
ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งไว้แล้ว
เมื่อครบกำหนดตามวาระดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่ง เพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
มาตรา ๑๕ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๔ กรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถ
(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖) ได้รับโทษจำคุกโดยพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๑๖ การประชุมคณะกรรการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๑๗ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของบรรษัทภายในกรอบวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๗ อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑) กำหนดข้องบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เงินตอบแทน และค่าใช้จ่าย
(๒) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง การเงิน ทรัพย์สิน และการบัญชี รวมทั้งการตรวจสอบและสอบบัญชีภายใน
(๓) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานและการดำเนินกิจการ
(๔) ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินราคาสินทรัพย์และหลักประกันที่บรรษัทจะรับซื้อหรือรับโอน
(๕) พิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณของบรรษัท
มาตรา ๑๘ คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนผู้จัดการด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
ผู้จัดการต้องสามารถปฎิบัติงานเต็มเวลาให้แก่บรรษัทและไม่มีลักษณะต้องห้ามมาตรา ๑๓
การแต่งตั้งและถอดถอนผู้จัดการตามวรรคหนึ่งต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของกรรมการทั้งหมด
มิให้นำมาตรา ๙ (๑) แห่งพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่งผู้จัดการ
มาตรา ๑๙ ผู้จัดกามีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของบรรษัทให้เป็ฯไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของบรรษัท และตามนโยบายหรือข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
ในกิจการของบรรษัทที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้จัดการเป็นผู้แทนของบรรษัท และเพื่อการนี้ผู้จัดการจะมอบอำนาจให้ตัวแทนหรือบุคคลใดกระทำกิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๐ ให้กรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๑ ในการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน บรรษัทอาจจัดให้มีการประเมินราคาสินทรัพย์นั้นโดยนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการประเมินราคาอิสระหรือผู้มีวิชาชีพที่ปรึกษาทางการเงิน ในการนี้ให้คำนึงถึงกระแสรายรับที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย และการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ดังกล่าวต้องไม่เกินราคาตลาดหรือราคาประเมินกลาง
มาตรา ๒๒ การโอนและการรับโอนสินทรัพย์ ตลอดจนสิทธิจำนองสิทธิจำนำ หรือหลักประกันอย่างอื่น ให้บรรษัทและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องบรรดาที่เกิดขึ้นเนื่องในการโอนและรับโอนสินทรัพย์หรือหลักประกันของสินทรัพย์ดังกล่าว
มาตรา ๒๓ การโอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดหรือบางส่วนของสถาบันการเงิน องค์การหรือ อบส. ไปยังบรรษัท และการโอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดหรือบางส่วนของบรรษัทไปยังสถาบันการเงิน องค์การ หรือ อบส. ให้กระทำได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวโอนไปยังลูกหนี้ตามมาตรา ๓๐๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ตามมาตรา ๓๐๘ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์
--ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔--
ในกรณีที่มีการนำหุ้นออกมาขายแก่ประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
มิให้นำมาตรา ๕ (๒) แห่งพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ และกรรมการอื่น
มาตรา ๑๓ ผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องห้ามมิให้เป็นกรรมการ
(๑) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(๒) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๓) เป็นข้าราชการการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(๔) เป็นกรรมการหรือผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน
(๕) เป็นหรือเคยเป็นลูกหนี้ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้
มาตรา ๑๔ กรรมการมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี
ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งไว้แล้ว
เมื่อครบกำหนดตามวาระดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่ง เพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
มาตรา ๑๕ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๔ กรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถ
(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖) ได้รับโทษจำคุกโดยพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๑๖ การประชุมคณะกรรการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๑๗ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของบรรษัทภายในกรอบวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๗ อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑) กำหนดข้องบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เงินตอบแทน และค่าใช้จ่าย
(๒) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง การเงิน ทรัพย์สิน และการบัญชี รวมทั้งการตรวจสอบและสอบบัญชีภายใน
(๓) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานและการดำเนินกิจการ
(๔) ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินราคาสินทรัพย์และหลักประกันที่บรรษัทจะรับซื้อหรือรับโอน
(๕) พิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณของบรรษัท
มาตรา ๑๘ คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนผู้จัดการด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
ผู้จัดการต้องสามารถปฎิบัติงานเต็มเวลาให้แก่บรรษัทและไม่มีลักษณะต้องห้ามมาตรา ๑๓
การแต่งตั้งและถอดถอนผู้จัดการตามวรรคหนึ่งต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของกรรมการทั้งหมด
มิให้นำมาตรา ๙ (๑) แห่งพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่งผู้จัดการ
มาตรา ๑๙ ผู้จัดกามีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของบรรษัทให้เป็ฯไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของบรรษัท และตามนโยบายหรือข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
ในกิจการของบรรษัทที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้จัดการเป็นผู้แทนของบรรษัท และเพื่อการนี้ผู้จัดการจะมอบอำนาจให้ตัวแทนหรือบุคคลใดกระทำกิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๐ ให้กรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๑ ในการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน บรรษัทอาจจัดให้มีการประเมินราคาสินทรัพย์นั้นโดยนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการประเมินราคาอิสระหรือผู้มีวิชาชีพที่ปรึกษาทางการเงิน ในการนี้ให้คำนึงถึงกระแสรายรับที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย และการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ดังกล่าวต้องไม่เกินราคาตลาดหรือราคาประเมินกลาง
มาตรา ๒๒ การโอนและการรับโอนสินทรัพย์ ตลอดจนสิทธิจำนองสิทธิจำนำ หรือหลักประกันอย่างอื่น ให้บรรษัทและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องบรรดาที่เกิดขึ้นเนื่องในการโอนและรับโอนสินทรัพย์หรือหลักประกันของสินทรัพย์ดังกล่าว
มาตรา ๒๓ การโอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดหรือบางส่วนของสถาบันการเงิน องค์การหรือ อบส. ไปยังบรรษัท และการโอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดหรือบางส่วนของบรรษัทไปยังสถาบันการเงิน องค์การ หรือ อบส. ให้กระทำได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวโอนไปยังลูกหนี้ตามมาตรา ๓๐๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ตามมาตรา ๓๐๘ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์
--ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔--