"หมวด ๔
คณะกรรมการ
_____________
มาตรา ๑๗ ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของ ธปท. ตามมาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการดังต่อไปนี้
(๑) คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย เรียกโดยย่อว่า "คณะกรรมการ ธปท." เพื่อควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งการบริหารงานของ ธปท.
(๒) คณะกรรมการนโยบายการเงิน เพื่อกำหนดและติดตามการดำเนินการตามนโยบายการเงินของประเทศ
(๓) คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน เพื่อกำหนดและติดตามการดำเนินการตามนโยบายเกี่ยวกับการกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(๔) คณะกรรมการระบบการชำระเงิน เพื่อกำหนดและติดตามการดำเนินการตามนโยบายเกี่ยวกับระบบการชำระเงินที่ ธปท. กำกับดูแล และระบบการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงิน
กรรมการในคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้ประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามที่บัญญัติในหมวดนี้ในส่วนที่ว่าด้วยคณะกรรมการแต่ละคณะ
ทั้งนี้ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นผู้ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์สำหรับการดำรงตำแหน่งคณะกรรมการนั้น ๆ
มาตรา ๑๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการตามมาตรา ๑๗ ต้องมีสัญชาติไทย และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๒) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๓) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๔) เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้ว ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(๕) เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(๖) เป็นกรรมการหรือดำรงตำแหน่งใดในสถาบันการเงิน เว้นแต่เป็นการดำรงตำแหน่งเนื่องจากมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ
(๗) เป็นกรรมการหรือผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือมีส่วนได้เสียอย่างมีนัยสำคัญในนิติบุคคลซึ่งมีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกับกิจการของ ธปท.
มาตรา ๑๙ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการตามมาตรา ๑๗ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการจะเหลือน้อยกว่าเก้าสิบวัน และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
มาตรา ๒๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการตามมาตรา ๑๗ พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) อายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๘
(๕) ขาดการประชุมคณะกรรมการเกินสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(๖) รัฐมนตรีให้ออกตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ธปท. เนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรงหรือบกพร่องในหน้าที่อย่างร้ายแรง โดยต้องแสดงเหตุผลในการให้ออกอย่างชัดแจ้ง มาตรา ๒๑ การประชุมคณะกรรมการตามมาตรา ๑๗ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้ามีรองประธานมากกว่าหนึ่งคน ให้รองประธานที่มีอาวุโสสูงสุดในที่ประชุมเป็นประธานในที่ประชุม แต่ถ้าทั้งประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่มาประชุม ให้เลื่อนการประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๒๒ ในการประชุมคณะกรรมการตามมาตรา ๑๗ ประธานกรรมการหรือกรรมการ ผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่คณะกรรมการพิจารณา ให้แจ้งให้ที่ประชุมคณะกรรมการ ธปท. คณะกรรมการ นโยบายการเงิน คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน หรือคณะกรรมการระบบการชำระเงิน แล้วแต่กรณี ทราบ การแจ้ง การพิจารณา และการมีคำสั่งเกี่ยวกับการมีส่วนได้เสียของประธานกรรมการหรือกรรมการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อบังคับที่คณะกรรมการ ธปท. กำหนด มาตรา ๒๓ ให้ประธานกรรมการและกรรมการได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนด และให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ ธปท.
ส่วนที่ ๑
คณะกรรมการ ธปท.
โดยระเบียบดังกล่าวอย่างน้อยต้องกำหนดให้มีการระบุข้อมูลเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิอันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ และลักษณะการมีส่วนได้เสียของผู้ทรงคุณวุฒิที่อาจขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ธปท. อย่างเพียงพอ เพื่อที่คณะกรรมการคัดเลือกจะดำเนินการพิจารณาคัดเลือกได้
ระเบียบตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลใช้บังคับต่อไปแม้คณะกรรมการคัดเลือกที่กำหนดระเบียบดังกล่าวจะพ้นจากตำแหน่งแล้ว
การแก้ไขเพิ่มเติม การยกเลิก หรือการกำหนดระเบียบขึ้นใหม่ จะกระทำได้ก็แต่โดยคณะกรรมการคัดเลือกมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด ให้คณะกรรมการคัดเลือกเปิดเผยระเบียบที่กำหนดขึ้นตามมาตรานี้ในลักษณะที่ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้
มาตรา ๒๘/๓ การประชุมของคณะกรรมการคัดเลือกต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าสองในสามของกรรมการคัดเลือกทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
มาตรา ๒๘/๔ คณะกรรมการคัดเลือกทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อการดำเนินการคัดเลือกและแต่งตั้งบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วแต่กรณีเสร็จสิ้น
มาตรา ๒๘/๕ ให้ผู้ว่าการและปลัดกระทรวงการคลังพิจารณาเสนอรายชื่อบุคคลซึ่งมี สัญชาติไทยและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๘ และมีความรู้ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์สำหรับการดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการ ธปท. ต่อคณะกรรมการคัดเลือก เพื่อพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ธปท.แล้วแต่กรณี โดยให้ผู้ว่าการเสนอเป็นจำนวนไม่เกินสองเท่า และปลัดกระทรวงการคลังเสนอเป็นจำนวนไม่เกินหนึ่งเท่าของจำนวนกรรมการที่จะได้รับแต่งตั้งตามลำดับ
เมื่อคณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งแล้ว ในกรณีประธานกรรมการ ให้เสนอชื่อต่อรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาและเมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบแล้วให้ทูลเกล้า ฯ เพื่อทรงแต่งตั้ง ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เสนอชื่อต่อรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแต่งตั้ง
ส่วนที่ ๒
คณะกรรมการนโยบายการเงิน
มาตรา ๒๘/๖ ให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน ประกอบด้วย ผู้ว่าการเป็นประธานกรรมการรองผู้ว่าการซึ่งผู้ว่าการกำหนด จำนวนสองคน โดยให้รองผู้ว่าการคนหนึ่งซึ่งผู้ว่าการมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์หรือด้านการเงินการธนาคารซึ่งคณะกรรมการ ธปท. แต่งตั้งจำนวนสี่คน เป็นกรรมการ
ให้ผู้ว่าการแต่งตั้งพนักงานคนหนึ่งเป็นเลขานุการ
มาตรา ๒๘/๗ ให้คณะกรรมการนโยบายการเงินมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินของประเทศ โดยคำนึงถึงแนวนโยบายแห่งรัฐ สภาวะทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ
(๒) กำหนดนโยบายการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา
(๓) กำหนดมาตรการที่จำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายและนโยบายตาม (๑) และ (๒)
(๔) ติดตามการดำเนินมาตรการของ ธปท. ตาม (๓) ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ให้คณะกรรมการนโยบายการเงินรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีทุกหกเดือน
มาตรา ๒๘/๘ ภายในเดือนธันวาคมของทุกปี ให้คณะกรรมการนโยบายการเงินจัดทำเป้าหมายของนโยบายการเงินของปีถัดไป เพื่อเป็นแนวทางให้แก่รัฐและ ธปท. ในการดำเนินการใด ๆ เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพด้านราคา โดยทำความตกลงร่วมกับรัฐมนตรี และให้รัฐมนตรีเสนอเป้าหมายของนโยบายการเงินที่ได้ทำความตกลงร่วมนั้นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจาก
คณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรหรือจำเป็น คณะกรรมการนโยบายการเงินอาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมเป้าหมายของนโยบายการเงินได้ โดยต้องดำเนินการตามที่กำหนดในวรรคหนึ่ง
ส่วนที่ ๓
คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน
ส่วนที่ ๔
คณะกรรมการระบบการชำระเงิน
มาตรา ๒๘/๑๑ ให้คณะกรรมการระบบการชำระเงิน ประกอบด้วย ผู้ว่าการเป็นประธานกรรมการ รองผู้ว่าการซึ่งผู้ว่าการกำหนด จำนวนสองคน โดยให้รองผู้ว่าการคนหนึ่งซึ่งผู้ว่าการมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการ ประธานสมาคมธนาคารไทย และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะกรรมการ ธปท. แต่งตั้ง จำนวนสามคน เป็นกรรมการ
ให้ผู้ว่าการแต่งตั้งพนักงานคนหนึ่งเป็นเลขานุการ
มาตรา ๒๘/๑๒ คณะกรรมการระบบการชำระเงินมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับระบบการชำระเงินที่ ธปท. กำกับดูแลและระบบการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงิน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยตลอดจนดำเนินไปด้วยดีอย่างมีประสิทธิภาพ และติดตามการดำเนินงานของ ธปท. ตามมาตรา ๘ (๖)
ให้คณะกรรมการระบบการชำระเงินรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการ ธปท. ตามระยะเวลาที่คณะกรรมการ ธปท. กำหนด