พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ "หมวด ๖ การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของ ธปท.

ข่าวการเมือง Monday March 3, 2008 15:35 —พรบ.ธนาคารแห่งประเทศไทย

"หมวด ๖

การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของ ธปท.

_____________

ส่วนที่ ๑

การออกธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร

มาตรา ๓๐ ให้ ธปท. เป็นผู้ออกธนบัตรของรัฐบาล โดยอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยเงินตรา

มาตรา ๓๑ ให้ ธปท. มีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะออกบัตรธนาคารในราชอาณาจักร

ให้ถือว่าบัตรธนาคารที่ ธปท. ออกตามวรรคหนึ่ง เป็นธนบัตรตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา และให้การออกและจัดการบัตรธนาคารอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวด้วย

มาตรา ๓๒ ให้ถือว่าบัตรธนาคารเป็นเงินตราตามประมวลกฎหมายอาญา

ส่วนที่ ๒

การดำเนินนโยบายการเงิน

มาตรา ๓๓ ให้ ธปท. ดำเนินนโยบายการเงินตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินกำหนด โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) รับเงินฝากประจำหรือกระแสรายวันตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายการเงินกำหนด
(๒) กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินตามมาตรา ๔๑ (๑)
(๓) ซื้อขายและแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคต ซึ่งเงินตราต่างประเทศกับสถาบันการเงิน สถาบันการเงินต่างประเทศ หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(๔) กู้ยืมเงินตราต่างประเทศเพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพแห่งค่าของเงินตรา โดยวิธีออกตั๋วเงินที่กำหนดระยะเวลาใช้เงิน หรือพันธบัตร หรือวิธีการอื่นใด และจัดให้มีหลักประกันสำหรับเงินกู้ยืมนั้นด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
(๕) กู้ยืมเงินเพื่อการดำเนินนโยบายการเงินโดยจัดให้มีหลักประกันสำหรับเงินกู้ยืมนั้น
(๖) เข้าชื่อซื้อ ซื้อขาย และแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคต ซึ่งหลักทรัพย์เท่าที่จำเป็นเพื่อควบคุมปริมาณเงินในระบบการเงินของประเทศ ดังต่อไปนี้

(ก) หลักทรัพย์ของรัฐบาลไทยหรือหลักทรัพย์ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้น และดอกเบี้ย

(ข) หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่ ธปท. กำหนด

(ค) ตั๋วเงิน พันธบัตร หรือตราสารหนี้ที่ ธปท. เป็นผู้ออก

(ง) ตราสารหนี้อื่นใดตามที่คณะกรรมการ ธปท. กำหนด (๗) ยืมหรือให้ยืมโดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทนซึ่งหลักทรัพย์ตาม (๖) โดยในกรณีที่เป็นการให้ยืมต้องมีสินทรัพย์หลักประกันชั้นหนึ่งตามที่ ธปท. กำหนดเป็นหลักประกัน (๘) ขายและจำหน่ายทรัพย์สินซึ่งอยู่ในความครอบครองของ ธปท. เพื่อบังคับสิทธิเรียกร้องของ ธปท. ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน (๙) ดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินนโยบายการเงินตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินกำหนด ซื้อขายตามวรรคหนึ่ง (๓) และ (๖) อาจมีข้อกำหนดอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ก็ได้ (๑) กำหนดให้ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินและผู้ซื้อชำระราคาทันทีภายในเวลาที่กำหนดไว้ (๒) กำหนดให้ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินและผู้ซื้อชำระราคา ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต เป็นจำนวนและราคาตามที่กำหนดไว้ (๓) กำหนดให้สิทธิแก่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งที่จะเรียกให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเข้าทำสัญญาซื้อขาย ภายในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต เป็นจำนวนและราคาตามที่กำหนดไว้ (๔) กำหนดให้ผู้ซื้อขายคืนและผู้ขายซื้อคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต เป็นจำนวนและราคาที่กำหนดไว้ (๕) ข้อกำหนดอื่น ๆ ตามที่ ธปท. กำหนด แลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคตตามวรรคหนึ่ง (๓) และ (๖) ได้แก่ สัญญา ซึ่งคู่สัญญาตกลงแลกเปลี่ยนภาระการรับจ่ายดอกเบี้ยหรือแลกเปลี่ยนภาระการรับจ่ายเงินตราต่างสกุล ทั้งนี้ ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ มาตรา ๓๔ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินนโยบายการเงิน ธปท. อาจกำหนดให้สถาบันการเงินดำรงเงินฝากไว้ที่ ธปท. นอกจากการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงินที่ ธปท. กำหนดตามกฎหมายอื่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราดอกเบี้ยที่ ธปท. ประกาศกำหนด

ส่วนที่ ๓

การบริหารจัดการสินทรัพย์ของ ธปท.

มาตรา ๓๕ ให้ ธปท. มีอำนาจหน้าที่บริหารจัดการสินทรัพย์ของ ธปท. ซึ่งรวมถึงการนำสินทรัพย์นั้นไปลงทุนหาประโยชน์ด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ธปท. กำหนด โดยต้องคำนึงถึงความมั่นคง สภาพคล่อง และผลประโยชน์ตอบแทนของสินทรัพย์ ตลอดจนความเสี่ยงในการบริหารจัดการเป็นสำคัญ
สินทรัพย์ตามวรรคหนึ่งไม่หมายความรวมถึง สินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตราตามกฎหมาย ว่าด้วยเงินตรา
มาตรา ๓๖ ในการบริหารจัดการสินทรัพย์ตามมาตรา ๓๕ หากเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ ให้กระทำได้เฉพาะสินทรัพย์ต่อไปนี้

(๑) ทองคำ

(๒) เงินตราต่างประเทศอันเป็นเงินตราของประเทศที่รับปฏิบัติตามพันธะที่ตั้งไว้ตามหมวด ๘ แห่งข้อตกลงว่าด้วยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งต้องอยู่ในรูปเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ นอกราชอาณาจักร สถาบันการเงินต่างประเทศนอกราชอาณาจักร สถาบันการเงินระหว่างประเทศ หรือต้องอยู่ในรูปเงินที่เก็บรักษาในสถาบันผู้เก็บรักษาหลักทรัพย์นอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตามลักษณะหรือคุณสมบัติที่คณะกรรมการ ธปท. กำหนด

(๓) หลักทรัพย์ต่างประเทศที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศที่ระบุไว้ใน (๒) เฉพาะหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้

(ก) หลักทรัพย์ของรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ

(ข) หลักทรัพย์ที่รัฐบาลต่างประเทศ หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศค้ำประกันการชำระหนี้ตามหลักทรัพย์นั้น

(ค) ตราสารที่สถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกออกให้เป็นหลักฐานว่า ผู้ถือตราสารได้มีส่วนร่วมกับสถาบันการเงินระหว่างประเทศดังกล่าว ในการให้กู้ยืมเงินแก่รัฐบาลสมาชิกหรือองค์การของรัฐบาลสมาชิกของสถาบันการเงินระหว่างประเทศดังกล่าว ตามจำนวนดังที่ระบุไว้ในตราสารนั้น

(ง) หลักทรัพย์ที่ออกโดยองค์การหรือนิติบุคคลต่างประเทศอื่นตามที่คณะกรรมการ ธปท.กำหนด

(๔) สิทธิซื้อส่วนสำรองตามกฎหมายว่าด้วยการให้อำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับกองทุนการเงินและธนาคารระหว่างประเทศ

(๕) สิทธิพิเศษถอนเงินตามกฎหมายว่าด้วยการให้อำนาจและกำหนดการปฏิบัติบางประการเกี่ยวกับสิทธิพิเศษถอนเงินในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

(๖) สินทรัพย์อื่นใดที่ ธปท. นำส่งสมทบกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และมิได้นับเป็นสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตราตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา

(๗) สินทรัพย์อื่นตามที่คณะกรรมการ ธปท. กำหนด

มาตรา ๓๗ ให้ ธปท. รายงานผลการบริหารจัดการสินทรัพย์ของ ธปท. ต่อคณะกรรมการ ธปท. เพื่อทราบเป็นรายไตรมาส

ส่วนที่ ๔

การเป็นนายธนาคารและนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล

มาตรา ๓๘ ให้ ธปท. เป็นนายธนาคารของรัฐบาล โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) รับเงินเพื่อเข้าบัญชีฝากของกระทรวงการคลัง และจ่ายเงินจำนวนต่าง ๆ ไม่เกินจำนวนลัพธ์ของบัญชีนั้น โดยกระทรวงการคลังไม่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาบัญชีดังกล่าว และ ธปท. ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยตามบัญชีฝากให้แก่กระทรวงการคลัง

(๒) รับเก็บรักษาเงิน หลักทรัพย์ หรือของมีค่าอย่างอื่น รวมทั้งผลประโยชน์ในหลักทรัพย์นั้นไม่ว่าจะเป็นเงินต้นหรือดอกเบี้ย เพื่อประโยชน์ของรัฐบาล

(๓) แลกเปลี่ยนเงิน ส่งเงินไปต่างประเทศ และกิจการธนาคารบรรดาที่เป็นของรัฐบาล

(๔) เป็นตัวแทนของรัฐบาลในกิจการ ดังต่อไปนี้

(ก) การซื้อและขายโลหะทองคำและเงิน

(ข) การซื้อ ขาย และโอนตั๋วแลกเงิน หลักทรัพย์ และใบหุ้น

(ค) การควบคุมและการรวมไว้ในแหล่งกลางซึ่งเงินปริวรรตต่างประเทศ

(ง) การทำกิจการอื่นใดของรัฐบาลตามที่ได้รับมอบหมาย

มาตรา ๓๙ ธปท. อาจเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาลก็ได้ และให้มีอำนาจกระทำการ ในเรื่องดังต่อไปนี้

(๑) จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ของรัฐบาล

(๒) จ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยตามเงื่อนไขของหลักทรัพย์ที่จัดจำหน่ายตาม (๑)

(๓) กระทำการอื่นใดที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินการตาม (๑) และ (๒)

มาตรา ๔๐ ธปท. อาจเป็นนายธนาคารของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรืออาจเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐก็ได้ โดยให้นำความในมาตรา ๓๘ หรือมาตรา ๓๙ แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับ โดยอนุโลม

ส่วนที่ ๕

การเป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน

มาตรา ๔๑ ให้ ธปท. เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินโดยมีกำหนดระยะเวลาไม่เกินหกเดือน และต้องมีสินทรัพย์หลักประกันชั้นหนึ่งที่ ธปท. กำหนดตามมาตรา ๓๓ (๗) เป็นประกัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ธปท. กำหนด
(๒) รับเก็บรักษาเงิน หลักทรัพย์ หรือของมีค่าอย่างอื่นของสถาบันการเงิน รวมทั้งผลประโยชน์ในหลักทรัพย์นั้นไม่ว่าจะเป็นเงินต้นหรือดอกเบี้ย
(๓) สั่งให้สถาบันการเงินใดส่งรายงานเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน ภาระผูกพันตามที่ ธปท. กำหนด และอาจเรียกให้สถาบันการเงินชี้แจงเพื่ออธิบายหรือขยายความในรายงานนั้นได้
การให้กู้ยืมเงินตาม (๑) ให้หมายความรวมถึงการซื้อสินทรัพย์หลักประกันชั้นหนึ่ง ตามมาตรา ๓๓ (๗) จากสถาบันการเงินโดยมีสัญญาขายคืนแก่สถาบันการเงินนั้นด้วย
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่สถาบันการเงินใดประสบปัญหาสภาพคล่องอันอาจมีผลกระทบกระเทือนอย่างร้ายแรงต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและระบบการเงินเป็นส่วนรวม และ ธปท. เห็นว่า การให้กู้ยืมเงินหรือการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงินนั้น อาจช่วยรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ และระบบการเงินได้ ธปท. โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบาย สถาบันการเงิน และได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี จะให้กู้ยืมเงินหรือให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ในลักษณะอื่นใดแก่สถาบันการเงินดังกล่าวก็ได้
หากสถาบันการเงินนั้นมีหุ้นหรือทรัพย์สินของสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นใดซึ่งอาจนำมาเป็นประกันได้ ให้นำหุ้นหรือทรัพย์สินนั้นมาเป็นประกันการให้กู้ยืมเงิน หรือการให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการ
นโยบายสถาบันการเงินกำหนด
การให้กู้ยืมเงินหรือการให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึง การซื้อ การซื้อโดยมีสัญญาขายคืน ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงินตราสารเปลี่ยนมือ และการก่อภาระผูกพันเพื่อประโยชน์ของสถาบันการเงินด้วย

มาตรา ๔๓ ให้ ธปท. เป็นผู้ทรงบุริมสิทธิพิเศษในลำดับก่อนบุริมสิทธิอื่นสำหรับมูลหนี้ที่เกิดจากการให้กู้ยืมเงินหรือการให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามมาตรา ๔๒ และมีอยู่เหนือ เงินหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินของสถาบันการเงิน และหุ้นหรือทรัพย์สินของนิติบุคคลอื่นใดที่นำมาเป็นประกันหนี้นั้น ทั้งนี้ เฉพาะที่อยู่ในความครอบครองของ ธปท.

ส่วนที่ ๖

การจัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงิน

มาตรา ๔๔ ให้ ธปท. จัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงิน ซึ่งรวมถึงระบบการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงินและการบริหารจัดการระบบดังกล่าว เพื่อให้ระบบการชำระเงิน เกิดความปลอดภัยตลอดจนดำเนินไปด้วยดีอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ธปท. ประกาศกำหนด
มาตรา ๔๕ ในการดำเนินการระบบการชำระเงินที่ ธปท. จัดตั้งตามมาตรา ๔๔ หาก ธปท. จำเป็นต้องให้กู้ยืมเงิน ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการระบบการชำระเงินกำหนด ในกรณีที่เป็นการให้กู้ยืมเงินที่เป็นการให้สภาพคล่องระหว่างวัน ธปท. จะเรียกดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนหรือกำหนดให้วางหลักประกันหรือไม่ก็ได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ