แท็ก
ล้มละลาย
มาตรา 140 ในการเป็นคู่ความในศาลก็ดี ในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ดี หรือในการกระทำการอื่นเพื่อให้เป็นไปตามหน้าที่ก็ดี ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใช้นามตำแหน่งว่า "เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของ......ลูกหนี้" หรือ "เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของ.....ผู้ล้มละลาย" โดยกรอกนามของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลายลงในช่องว่างแล้วแต่กรณี
มาตรา 141 ในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจ้างทนายความเข้าทำการแทนได้
มาตรา 142 นอกจากที่มีบัญญัติไว้ในบทมาตราอื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ ดั่งต่อไปนี้
(1) รายงานข้อความเกี่ยวกับกิจการ ทรัพย์สิน หรือความประพฤติของลูกหนี้ตามที่ศาลต้องการ
(2) ช่วยซักถามลูกหนี้หรือบุคคลอื่นในการที่ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 143 ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจมีคำขอให้ศาลมีคำสั่งเกี่ยวกับการใดที่เป็นปัญหาได้
มาตรา 144 ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นเป็นการจำเป็นที่จะต้องกู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์แห่งการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้วให้กู้ยืมได้
มาตรา 145 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกระทำการดั่งต่อไปนี้ได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้แล้ว
(1) ถอนการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย
(2) โอนทรัพย์สินใดๆ นอจากโดยวิธีขายทอดตลาด
(3) สละสิทธิ
(4) ฟ้อง หรือ ถอนฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินในคดีล้มละลายหรือฟ้องหรือถอนฟ้องคดีล้มละลาย
(5) ปราณีประนอมยอมความหรือมอบคดีให้อนุญาตโตตุลาการวินิจฉัย
มาตรา 146 ถ้าบุคคลล้มละลาย เจ้าหนี้ หรือ บุคคลใดได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ บุคคลนั้นอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้ทราบการกระทำหรือคำวินิจฉัยนั้น ศาลมีอำนาจสั่งยืนตาม กลับหรือแก้ไข หรือสั่งประการใดตามที่เห็นสมควร
มาตรา 147 ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เว้นแต่จะได้กระทำโดยเจตนาร้าย หรือโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
มาตรา 148 การฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือเจ้าพนักงานอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ ในการที่ได้กระทำหรือละเว้นกระทำการตามที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ถ้ามิได้ฟ้องภายในกำหนดเวลาหกเดือนนับแต่วันที่เกิดอำนาจฟ้องให้ถือว่าขาดอายุความ
--ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 57--
มาตรา 141 ในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจ้างทนายความเข้าทำการแทนได้
มาตรา 142 นอกจากที่มีบัญญัติไว้ในบทมาตราอื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ ดั่งต่อไปนี้
(1) รายงานข้อความเกี่ยวกับกิจการ ทรัพย์สิน หรือความประพฤติของลูกหนี้ตามที่ศาลต้องการ
(2) ช่วยซักถามลูกหนี้หรือบุคคลอื่นในการที่ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 143 ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจมีคำขอให้ศาลมีคำสั่งเกี่ยวกับการใดที่เป็นปัญหาได้
มาตรา 144 ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นเป็นการจำเป็นที่จะต้องกู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์แห่งการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้วให้กู้ยืมได้
มาตรา 145 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกระทำการดั่งต่อไปนี้ได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้แล้ว
(1) ถอนการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย
(2) โอนทรัพย์สินใดๆ นอจากโดยวิธีขายทอดตลาด
(3) สละสิทธิ
(4) ฟ้อง หรือ ถอนฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินในคดีล้มละลายหรือฟ้องหรือถอนฟ้องคดีล้มละลาย
(5) ปราณีประนอมยอมความหรือมอบคดีให้อนุญาตโตตุลาการวินิจฉัย
มาตรา 146 ถ้าบุคคลล้มละลาย เจ้าหนี้ หรือ บุคคลใดได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ บุคคลนั้นอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้ทราบการกระทำหรือคำวินิจฉัยนั้น ศาลมีอำนาจสั่งยืนตาม กลับหรือแก้ไข หรือสั่งประการใดตามที่เห็นสมควร
มาตรา 147 ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เว้นแต่จะได้กระทำโดยเจตนาร้าย หรือโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
มาตรา 148 การฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือเจ้าพนักงานอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ ในการที่ได้กระทำหรือละเว้นกระทำการตามที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ถ้ามิได้ฟ้องภายในกำหนดเวลาหกเดือนนับแต่วันที่เกิดอำนาจฟ้องให้ถือว่าขาดอายุความ
--ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 57--