หมวด 3 การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้แก่ บสท. ส่วนที่ 1 หลักเกณฑ์การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ

ข่าวกฏหมายและประกาศ Friday June 8, 2001 13:21 —พรก.บริษัทบริหารสินทรัพย์

                                                     หมวด 3
การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้แก่ บสท.
_____________
ส่วนที่ 1
หลักเกณฑ์การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ
______________
มาตรา 30 ให้สถาบันการเงินหรือ บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีกองทุนฟื้นฟู หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจแห่งใดแห่วหนึ่งหรือรวมกับเป็นผู้ถือหุ้นเกินร้อยละห้าสิบของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วโอนสินทรัพย์ที่จัดเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 ทั้งหมดได้แก่ บสท.ภายในเวลาที่ บสท.กำหนด
สินทรัยย์ด้อยคุณภาพที่ต้องโอนมาตามวรรคหนึ่ง ได้แก่สินทรัพย์ดังต่อไปนี้
(1) สินทรัพย์จัดชั้นสูญ
(2) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ
(3) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัย
(4) สินทรัพย์จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพตาม (1) และ (2) คณะกรรมการบริหารโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ จะดำหนดให้โอนมาแต่เฉพาะสินทรัพย์ที่มีเจ้าหนี้เกินหนึ่งรายก็ได้ แต่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้หรือผู้รับโอนจากสถาบันการเงิน แล้วแต่กรณี ต้องรายงานการดำเนินการเกี่ยวกับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่เหลือให้ บสท. ทราบตามเวลาที่ บสท. กำหนด และ บสท. จะสั่งให้สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ดังกล่าวโอนสินทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือบางรายให้แก่ บสท.เมื่อใดก็ได้
ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นสมควรจะกำหนดให้สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามวรรคหนึ่งโอนสินทรัพย์ตาม (3) และ (4) เฉพาะบางส่วน และโอนสินทรัพย์จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษเฉพาะรายให้แก่ บสท.ก็ได้
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพตาม (1) ที่โอนมา หากเป็นสินทรัพย์จัดชั้นสูญที่ตัดออกจากบัญชีแล้วหรือที่ไม่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน ให้ถือว่าไม่มีมูลค่า และให้ บสท. ตรวจสอบการดำเนินการของสถาบันการเงินที่โอนสินทรัพย์เช่นว่านั้นว่าได้ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับของสถาบันการเงินนั้นหรือของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ เพื่อรายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินคดีต่อผู้รับผิดชอบต่อไป
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ต้องโอนมาตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงสินทรัพย์ที่มีการฟ้องคดีอยู่ในศาลโดยศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษาด้วย โดยให้ศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เว้นแต่ บสท. จะยื่นคำร้องขอเป็นอย่างอื่น แต่ไม่รวมถึงสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวหรือเด็ดขาดหรือให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้ว
สินทรัพย์ด้วยคุณภาพที่ลูกหนี้ถูกศาลล้มละลายสั่งฟื้นฟูกิจการแต่ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการนั้น ถ้าลูกหนี้และผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการร่วมกันร้องขอโดยมีเหตุอันสมควร ศาลจะสั่งให้ดำเนินการฟื้นฟูกิจการต่อไปโดยไม่สั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความก็ได้ แต่ต้องยื่นคำร้องขอเสียภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ
คดีที่ศาลสั่งจำหน่ายออกจากสารบบความตามวรรคหก ถ้าอายุความฟ้องร้องยังเหลืออยู่ไม่ถึงห้าปีนับแต่วันจำหน่ายคดี ให้ขยายอายุความออกไปเป็นห้าปีนับแต่วันที่ศาลสั่งจำหน่ายคดี
มาตรา 31 บสท. จะรับโอนสินทรัพย์จากสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์อื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 ก็ได้ แต่ต้องเป็นสินทรัพย์ที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) สินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) (2) (3) หรือ (4) ที่มีอยู่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 เฉพาะที่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกันกาาชำระหนี้
(2) เป็นสินทรัพย์ที่มีลูกหนี้เป็นนิติบุคคลและมีเจ้าหนี้เป็นสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ตั้งแต่สองรายขึ้นไป ไม่ว่าจะมีบุคคลธรรมดาเป็นลูกหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันด้วยหรือไม่ก็ตาม
(3) มูลค่าของสินทรัพย์ด้วยคุณภาพตามบัญชีของทุกสถาบันการเงิน และบริษัทบริหารสินทรัพย์รวมกันสำหรับลูกหนี้แต่ละรายเป็นจำนวนเงินตั้งแต่ ห้าล้านบาทขึ้นไป และ
(4) สินทรัพย์ด้วยคุณภาพนั้นยังมิได้มีความตกลงเป็นหนังสือปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และมิได้เป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ลุกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายแล้วก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ
ในการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการจะกำหนดให้รับโอนเฉพาะสินทรัพย์ด้วยคุณภาพตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) หรือ (2) หรือสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามมาตรา 30 (1) หรือ (2) ซึ่งเปลี่ยนไปเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) หรือ (2) ในวันหรือก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับก็ได้
มาตรา 32 สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ใดประสงค์จะโอนสินทรัพย์ตามมาตรา 31 ให้แก่ บสท. ต้องมีหนังสือแจ้งให้บสท. ทราบและโอนสินทรัพย์ บสท. ภายในเวลาที่คณะกรรมการกำหนด
เมื่อแจ้งความประสงค์การโอนสินทรัพย์ตามวรรคหนึ่งแล้ว จะเพิกถอนมิได้
การโอนสินทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง สถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องโอนสินทรัพย์ที่มีลักษณะตามมาตรา 31 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี ทั้งหมดให้แก่ บสท. และให้นำความในมาตร 30 วรรคหก วรรคเจ็ด และวรรคแปด มาใช้บังคับสินทรัพย์ที่ต้องโอนมาด้วยโดยอนุโลม
สินทรัพย์ด้วยคุณภาพที่ต้องโอนมาตามวรรคสาม ให้รวมถึงหนี้ของนิติบุคคลอื่นที่นิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ตามมาตรา 31 (2) หรือผู้ถือหุ้นส่วนข้างมากของนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ดังกล่าวที่มีหุ้นอยู่เกินร้อยละห้าสิบ และหนี้ที่ผู้บริหารของลูกหนี้หรือบุคคลอื่นยอมตนเข้าเป็นหนี้เพื่อประโยชน์ของลูกหนี้หรือนิติบุคคลอื่นนั้น หรือเพื่อชำระหนี้หรือดอกเบี้ยของลูกหนี้หรือของนิติบุคคลอื่นนั้นด้วย
มาตรา 33 ลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ผู้ใดเห็นว่า หนี้ที่ตนมีอยู่ถับสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์มีลักษณะตามาตรา 31 และสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ซึ่งโอนสินทรัพย์มาให้ บสท. มิได้โอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพรายของตนมาด้วย ให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาสั่งการให้ บสท.ดำเนินการแจ้งให้สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์โอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพดังกล่าวมาภายในเวลา ที่บสท.กำหนด
สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ใดไม่โอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามคำสั่งของ บสท. ตามวรรคหนึ่ง ให้จ่ายค่าชดเชยเป็นรายวันๆ ละห้าแสนบาท เงินจำนวน ดังกล่าวให้นำมาลดหย่อนหนี้ของลูกหนี้นั้น
มาตรา 34 การโอนสินทรัพย์ให้แก่ บสท. ตามมาตรา 30 ไม่ทำให้ความผิดที่ผู้บริหารของสถาบันการเงินที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ให้แจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบ เพื่อดำเนินการสอบสวนและดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่
มาตรา 35 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งข้อมูลที่มีอยู่เกี่ยวกับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 และมาตรา 31 ให้แก่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ทราบโดยไม่ชักช้า
มาตรา 36 เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลตามมาตรา 32 วรรคหนึ่งแล้ว ให้ธนาคารแห่งระเทศไทยสั่งการให้สถาบันการเงินที่มิได้โอนสินทรัพย์ให้แก่ บสท. ตามมาตรา 31 ดำเนินการประเมินราคาหลักประกันที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพโดยผู้ประเมินราคาอิสระที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว และดำเนินการให้สถาบันการเงิน กันเงินสำรองไว้สำหรับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพทุกประเภทตามมาตรา 30 ให้ครบร้อยละของมูลค่าสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามบัญชีเมื่อหักราคาหลักประกันดังกล่าวออกแล้ว ทั้งนี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาการประเมินราคาใหม่ก็ได้
ในกรณีที่หลักประกันรายใดได้รับการประเมินราคามาไม่ถึงหนึ่งปี ธนาคารแห่งประเทศไทยจะผ่อนผันให้ไม่ต้องประเมินราคาใหม่ก็ได้
ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับบริษัทสินทรัพย์ ในส่วนที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่บริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นรับโอนมาภายหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2543 ด้วย โดยอนุโลม เว้นแต่เป็นบริษัทสินทรัพย์ที่กองทุนฟื้นฟูมีสัญญาร่วมรับผิดชอบในผลกำไรหรือขาดทุนของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น ก่อนปี พ.ศ. 2543
มาตรา 37 ในการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้แก่ บสท. ให้สิทธิเรียกร้อง สิทธิหรือภาระผูกพันอื่นใดทั้งหมดที่สถาบันการเงินหรือบริษัท บริหารสินทรัพย์มีต่อลูกหนี้ โอนไปเป็นของ บสท. ด้วย โดยสถาบันการเงินหรือบริษัท บริหารสินทรัพย์ต้องแจ้งข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสิทธิเรียกร้อง สิทธิหรือภาระผูกพัน อื่นใดให้ บสท. ทราบโดยละเอียด
ถ้าข้อมูลที่แจ้งตามวรรคหนึ่งไม่ครบถ้วยและเป็นเหตุให้ บสท.ได้รับความเสียหายในภายหลังสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสิทรัพย์จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายดังกล่าวตามสัดส่วนแห่งการกระทำ โดย บสท. จะหัดกลบลบหนี้จากเงินกำไรที่จัดสรรให้แก่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ในส่วนของสินทรัพย์นั้นก็ได้
มาตรา 38 ก่อนที่จะมีการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพใดให้แก่ บสท. ให้ บสท. ลงโฆษณารายการหรือรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อยหนึ่งฉบับ เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามวันหรือ จะบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้แต่ระรายก็ได้ และให้ถือว่าการบอกกล่าวการโอนตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว
มาตรา 39 เมื่อมีการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพใดให้แก่ บสท. แล้ว ให้ บสท.ออกหลักฐานการรับโอนสินทรัพย์ด้วยคุณภาพให้แก่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ และให้ถือว่าการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมีผลผูกพันบุคคลภายนอก ผู้จำนอง ผู้จำนำและผู้ค้ำประกัน นับแต่วันที่ บสท.ออกหลักฐานดังกล่าว
ในการโอนสินทรัพย์ด้วยคุณภาพ บสท.จะดำเนินการรับโอนโดยทำเป็นเอกสารการโอน พร้อมทั้งรายละเอียดแห่งสินทรัพย์ที่โอนและรายการเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งปวง ตามแบบที่ บสท. กำหนด โดยมอบหมายให้สถาบันการเงินผู้โอนยังคงเก็บรักษาเอกสารที่เกี่ยวข้องดังกล่าวไว้ที่สถาบันการเงินนั้นก็ได้
ในกรณีที่สถาบันการเงินหรือบริษัทสินทรัพย์ได้รับมอบหมายให้เก็บรักษาเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้ สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องดูแลรักษาเอกสารดังกล่าวให้เรียบร้อยในสภาพที่ดีตามวิสัยของวิญญูชนพึงกระทำกับทรัพย์สินของตน และในกรณีที่ บสท.จ่ายค่าดูแลรักษาเอกสารให้สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องรับผิดชอบในความสูญหายหรือเสียหายของเอกสารเหล่านั้น และหนี้ที่ไม่อาจเรียกเก็บได้อันเนื่องมาจากการสูญหายหรือ เสียหายของเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยเต็มจำนวน
มาตรา 40 สิทธิเรียกร้องเหนือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียน เมื่อ บสท. แสดงสำเนาหลักฐานการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามมาตรา 39 ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียนให้แก่ บสท. ทันที และให้ถือว่ามีผลผูกพันบุคคลภายนอกนับแต่วันที่ มีการเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียน ทั้งนี้ โดยให้ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนดังกล่าว
มาตรา 41 ภายใต้บังคับมาตรา 30 ในคดีที่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ฟ้องเป็นคดีต่อศาลเกี่ยวกับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ บสท. รับโอนมาตามพระราชกำหนดนี้ ให้ บสท.เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน ในการนี้ บสท. อาจคัดค้านเอกสารที่ได้ยื่นไว้แล้ว ถามค้านหรือคัดค้านพยานที่สืบไปแล้วได้
มาตรา 42 ทรัพย์สินของลูกหนี้ที่จำนองหรือจำนำไว้เป็นประกันหนี้ในสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ บสท. รับโอนมา ลูกหนี้และ บสท. อาจตกลงตีราคาโอนชำระหนี้ให้แก่ บสท. โดยไม่ต้องมีการฟ้องบังคับคดีก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ในกรณีเช่นนี้ให้ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันเป็นอันหลุดพ้นความรับผิดชอบจากหนี้รายนั้น
มาตรา 43 ให้การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ การโอนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันสำหรับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และการโอนทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการปรับโครงสร้างหนี้หรือการปรับโครงสร้างกิจการตรามพระราชกำหนดนี้ ที่ บสท. เป็นผู้รับโอนหรือเป็นผู้โอน ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษีอากรตามกฎหมายทั้งปวง
มาตรร 44 บสท. จะมอบหมายให้สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เดิมเป็นตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้หรือที่มีการปรับโครงสร้างกิจการแล้วได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
ในกรณีที่ตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้เป็นบุคคลอื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้เดิม ให้ บสท. แจ้งให้ลูกหนี้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้มีการแต่งตั้งตัวแทนดังกล่าว ถ้าลูกหนี้ได้ชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เดิมไปแล้วก่อนได้รับแจ้ง ให้ถือว่า บสท. ได้รับชำระหนี้แล้ว และให้ บสท. ดำเนินการเรียกเงินคืนจากเจ้าหนี้เดิมต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ