หมวด 4
การเงิน การบัญชีและการตรวจสอบ
________
มาตรา 33 ให้ ททท. จัดทำงบประมาณประจำปีโดยจำแนกเงินที่จะได้รับในปีหนึ่ง ๆ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการให้แยกเป็นงบลงทุนและงบทำการงบลงทุนนั้นให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ส่วนงบทำการให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
มาตรา 34 ให้ ททท. วางและรักษาไว้ซึ่งระบบการบัญชีอันถูกต้องแยกตามประเภทงานส่วนที่สำคัญ มีการตรวจสอบบัญชีภายในเป็นประจำและมีสมุดบัญชีลงรายการ
(1) รายรับและรายจ่ายเงิน
(2) สินทรัพย์และหนี้สิน
ซึ่งแสดงการงานที่เป็นอยู่จริงและตามที่ควร ตามประเภทงาน พร้อมด้วยข้อความแสดงที่มาของรายการนั้น ๆ
มาตรา 35 ให้ผู้ว่าการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีภายในคนหนึ่งหรือหลายคนทำการตรวจสอบบัญชีและหลักฐานต่าง ๆ ของทุกหน่วยงานของ ททท. ได้ทุกเวลา ในระหว่างเวลาทำการ แล้วรายงานโดยตรงต่อผู้ว่าการเป็นประจำทุกเดือน
มาตรา 36 ทุกปี ททท. ต้องจัดทำงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนให้เสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
มาตรา 37 ทุกปีให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชี ทำการตรวจสอบรับรองบัญชี และการเงินทุกประเภทของ ททท.
มาตรา 38 ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุด บัญชีและเอกสารหลักฐานของ ททท. เพื่อการนี้ ให้มีอำนาจสอบถามประธานกรรมการ กรรมการ ผู้ว่าการ รองผู้ว่าการพนักงานหรือลูกจ้างของ ททท.
มาตรา 39 ผู้สอบบัญชีต้องทำรายงานผลการสอบบัญชีและการเงินเสนอต่อคณะกรรมการภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
มาตรา 40 ให้คณะกรรมการทำรายงานปีละครั้งเสนอต่อคณะรัฐมนตรี รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานของ ททท.ในปีที่ล่วงมาพร้อมทั้งคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการโครงการและแผนงานที่จะจัดทำในภายหน้า
ให้ ททท. โฆษณารายงานประจำปีที่สิ้นไป โดยแสดงงบดุลบัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชีรับรองว่าถูกต้อง รวมทั้งรายงานสรุปผลงานในปีที่ล่วงมาภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของ ททท.
บทเฉพาะกาล
______
มาตรา 41 ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และความรับผิดขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว พ.ศ. 2502 ที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ไปเป็นของททท. ทั้งนี้ ภายในเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา 42 ให้โอนงบประมาณรายจ่ายขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว พ.ศ. 2502 ที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ไปเป็นของ ททท. ทั้งนี้ ภายในเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา 43 ให้ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และบรรดาพนักงานหรือลูกจ้างขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว พ.ศ.2502 ซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นผู้ว่าการรองผู้ว่าการ และพนักงานหรือลูกจ้างของ ททท. แล้วแต่กรณี กับให้ถือว่าเวลาการทำงานของบุคคลดังกล่าวในองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นเวลาการทำงานใน ททท.นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา 44 บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา คงใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ จนกว่าจะได้มีการออกข้อบังคับระเบียบ หรือคำสั่งตามพระราชบัญญัตินี้
รับสนองพระบรมราชโองการ
ส. โหตระกิตย์
รองนายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อจัดตั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยขึ้นแทนองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว และให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและดำเนินกิจการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวได้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
--คณะกรรมการกฤษฎีกา--
-สส-
การเงิน การบัญชีและการตรวจสอบ
________
มาตรา 33 ให้ ททท. จัดทำงบประมาณประจำปีโดยจำแนกเงินที่จะได้รับในปีหนึ่ง ๆ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการให้แยกเป็นงบลงทุนและงบทำการงบลงทุนนั้นให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ส่วนงบทำการให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
มาตรา 34 ให้ ททท. วางและรักษาไว้ซึ่งระบบการบัญชีอันถูกต้องแยกตามประเภทงานส่วนที่สำคัญ มีการตรวจสอบบัญชีภายในเป็นประจำและมีสมุดบัญชีลงรายการ
(1) รายรับและรายจ่ายเงิน
(2) สินทรัพย์และหนี้สิน
ซึ่งแสดงการงานที่เป็นอยู่จริงและตามที่ควร ตามประเภทงาน พร้อมด้วยข้อความแสดงที่มาของรายการนั้น ๆ
มาตรา 35 ให้ผู้ว่าการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีภายในคนหนึ่งหรือหลายคนทำการตรวจสอบบัญชีและหลักฐานต่าง ๆ ของทุกหน่วยงานของ ททท. ได้ทุกเวลา ในระหว่างเวลาทำการ แล้วรายงานโดยตรงต่อผู้ว่าการเป็นประจำทุกเดือน
มาตรา 36 ทุกปี ททท. ต้องจัดทำงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนให้เสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
มาตรา 37 ทุกปีให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชี ทำการตรวจสอบรับรองบัญชี และการเงินทุกประเภทของ ททท.
มาตรา 38 ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุด บัญชีและเอกสารหลักฐานของ ททท. เพื่อการนี้ ให้มีอำนาจสอบถามประธานกรรมการ กรรมการ ผู้ว่าการ รองผู้ว่าการพนักงานหรือลูกจ้างของ ททท.
มาตรา 39 ผู้สอบบัญชีต้องทำรายงานผลการสอบบัญชีและการเงินเสนอต่อคณะกรรมการภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
มาตรา 40 ให้คณะกรรมการทำรายงานปีละครั้งเสนอต่อคณะรัฐมนตรี รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานของ ททท.ในปีที่ล่วงมาพร้อมทั้งคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการโครงการและแผนงานที่จะจัดทำในภายหน้า
ให้ ททท. โฆษณารายงานประจำปีที่สิ้นไป โดยแสดงงบดุลบัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชีรับรองว่าถูกต้อง รวมทั้งรายงานสรุปผลงานในปีที่ล่วงมาภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของ ททท.
บทเฉพาะกาล
______
มาตรา 41 ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และความรับผิดขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว พ.ศ. 2502 ที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ไปเป็นของททท. ทั้งนี้ ภายในเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา 42 ให้โอนงบประมาณรายจ่ายขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว พ.ศ. 2502 ที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ไปเป็นของ ททท. ทั้งนี้ ภายในเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา 43 ให้ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และบรรดาพนักงานหรือลูกจ้างขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว พ.ศ.2502 ซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นผู้ว่าการรองผู้ว่าการ และพนักงานหรือลูกจ้างของ ททท. แล้วแต่กรณี กับให้ถือว่าเวลาการทำงานของบุคคลดังกล่าวในองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นเวลาการทำงานใน ททท.นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา 44 บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา คงใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ จนกว่าจะได้มีการออกข้อบังคับระเบียบ หรือคำสั่งตามพระราชบัญญัตินี้
รับสนองพระบรมราชโองการ
ส. โหตระกิตย์
รองนายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อจัดตั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยขึ้นแทนองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว และให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและดำเนินกิจการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวได้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
--คณะกรรมการกฤษฎีกา--
-สส-