บทเฉพาะกาล
______
มาตรา 40 ให้ผู้ทำการค้าโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ หรือแสดง โบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุให้บุคคลชมโดยเรียกเก็บค่าชมเป็นปกติธุระอยู่แล้ว ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากอธิบดีให้ทำการค้า โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ หรือแสดงโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุให้บุคคลชมภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ความในมาตรา 19 และมาตรา 20 มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ทำการค้า โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ หรือแสดงโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุให้บุคคลชมโดย เรียกเก็บค่าชมเป็นปกติธุระ ซึ่งได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตโดยถูกต้องตามความ ในวรรคก่อน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนถึงวันที่ได้รับใบอนุญาต
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ส.ธนะรัชต์
นายกรัฐมนตรี
อัตราค่าธรรมเนียม*
_______
(1) ใบอนุญาตตามมาตรา 19 ฉบับละ 20,000 บาท
(2) ใบอนุญาตตามมาตรา 22
(ก) โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุซึ่งกรมศิลปากรเห็นว่า
มีอายุตั้งแต่สมัยอยุธยาขึ้นไป ชิ้นละไม่เกิน 2,000 บาท
(ข) โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุซึ่งกรมศิลปากรเห็นว่า
มีอายุต่ำกว่าสมัยอยุธยา ชิ้นละไม่เกิน 1,000 บาท
(3) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 100 บาท
(4) การต่ออายุใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมใบอนุญาตน
*[อัตราค่าธรรมเนียมแก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535
]
________________ หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจาก กฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ นอกจากมีบทกำหนดโทษผู้กระทำความผิดต่ำกว่าที่ควรอยู่ มาก เป็นเหตุให้มีการลักลอบนำโบราณวัตถุและศิลปวัตถุออกนอกประเทศซึ่ง เป็นภัยต่อการสงวนวัตถุเช่นว่านั้นแล้ว ยังมีบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมแก่การ ปฏิบัติจัดการเกี่ยวแก่การพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและการโบราณคดีให้เป็นไป ด้วยดีอีกหลายประการ จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวแก่การนี้ เสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (หน้า 25/26) ไปที่หน้า:
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 308 [ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515
]
โดยที่คณะปฏิวัติพิจารณาเห็นว่า โบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ทั้งมีคุณค่าใน ทางศิลปะ อันเป็นทรัพย์มรดกที่มีค่ายิ่งของชาติได้ถูกทอดทิ้ง ทำลาย สูญหายไป เป็นจำนวนมาก สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ให้รัดกุมยิ่งขึ้น หัวหน้า คณะปฏิวัติจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
[รก.2515/190/28 พ./13 ธันวาคม 2515
]
__________________ พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจาก กฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมและไม่รัดกุม เพียงพอในด้านการคุ้มครองดูแลรักษา การบูรณะและการซ่อมแซมโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ และกำหนดอัตราโทษไว้ต่ำมาก ทำให้มีผู้กระทำผิด เกี่ยวกับการลักลอบบุกรุก ขุดค้น และทำลายโบราณสถาน ลักลอบนำหรือส่ง โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่มีคุณค่าทางศิลป ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดีออกนอก ราชอาณาจักรมากขึ้น นอกจากนี้ ปรากฏว่าในปัจจุบันมีการผลิตและการค้า สิ่งเทียมโบราณวัตถุและสิ่งเทียมศิลปวัตถุเป็นจำนวนมาก สมควรแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ให้เหมาะสมเพื่อให้การคุ้มครองดูแลรักษา การบูรณะ การซ่อมแซมโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และการควบคุมการผลิตและ
พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (หน้า 26/26) ไปที่หน้า:
การค้าสิ่งเทียมโบราณวัตถุหรือสิ่งเทียมศิลปวัตถุให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสมควรปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับใบอนุญาตและหนังสืออนุญาต อัตราโทษ และอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติให้เหมาะสมยิ่งขึ้น รวมทั้งแก้ไข บทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกันด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
[รก.2535/38/12/5 เมษายน 2535
]
--คณะกรรมการกฤษฎีกา--
-สส-
______
มาตรา 40 ให้ผู้ทำการค้าโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ หรือแสดง โบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุให้บุคคลชมโดยเรียกเก็บค่าชมเป็นปกติธุระอยู่แล้ว ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากอธิบดีให้ทำการค้า โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ หรือแสดงโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุให้บุคคลชมภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ความในมาตรา 19 และมาตรา 20 มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ทำการค้า โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ หรือแสดงโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุให้บุคคลชมโดย เรียกเก็บค่าชมเป็นปกติธุระ ซึ่งได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตโดยถูกต้องตามความ ในวรรคก่อน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนถึงวันที่ได้รับใบอนุญาต
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ส.ธนะรัชต์
นายกรัฐมนตรี
อัตราค่าธรรมเนียม*
_______
(1) ใบอนุญาตตามมาตรา 19 ฉบับละ 20,000 บาท
(2) ใบอนุญาตตามมาตรา 22
(ก) โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุซึ่งกรมศิลปากรเห็นว่า
มีอายุตั้งแต่สมัยอยุธยาขึ้นไป ชิ้นละไม่เกิน 2,000 บาท
(ข) โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุซึ่งกรมศิลปากรเห็นว่า
มีอายุต่ำกว่าสมัยอยุธยา ชิ้นละไม่เกิน 1,000 บาท
(3) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 100 บาท
(4) การต่ออายุใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมใบอนุญาตน
*[อัตราค่าธรรมเนียมแก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535
]
________________ หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจาก กฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ นอกจากมีบทกำหนดโทษผู้กระทำความผิดต่ำกว่าที่ควรอยู่ มาก เป็นเหตุให้มีการลักลอบนำโบราณวัตถุและศิลปวัตถุออกนอกประเทศซึ่ง เป็นภัยต่อการสงวนวัตถุเช่นว่านั้นแล้ว ยังมีบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมแก่การ ปฏิบัติจัดการเกี่ยวแก่การพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและการโบราณคดีให้เป็นไป ด้วยดีอีกหลายประการ จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวแก่การนี้ เสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (หน้า 25/26) ไปที่หน้า:
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 308 [ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515
]
โดยที่คณะปฏิวัติพิจารณาเห็นว่า โบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ทั้งมีคุณค่าใน ทางศิลปะ อันเป็นทรัพย์มรดกที่มีค่ายิ่งของชาติได้ถูกทอดทิ้ง ทำลาย สูญหายไป เป็นจำนวนมาก สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ให้รัดกุมยิ่งขึ้น หัวหน้า คณะปฏิวัติจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
[รก.2515/190/28 พ./13 ธันวาคม 2515
]
__________________ พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจาก กฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมและไม่รัดกุม เพียงพอในด้านการคุ้มครองดูแลรักษา การบูรณะและการซ่อมแซมโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ และกำหนดอัตราโทษไว้ต่ำมาก ทำให้มีผู้กระทำผิด เกี่ยวกับการลักลอบบุกรุก ขุดค้น และทำลายโบราณสถาน ลักลอบนำหรือส่ง โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่มีคุณค่าทางศิลป ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดีออกนอก ราชอาณาจักรมากขึ้น นอกจากนี้ ปรากฏว่าในปัจจุบันมีการผลิตและการค้า สิ่งเทียมโบราณวัตถุและสิ่งเทียมศิลปวัตถุเป็นจำนวนมาก สมควรแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ให้เหมาะสมเพื่อให้การคุ้มครองดูแลรักษา การบูรณะ การซ่อมแซมโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และการควบคุมการผลิตและ
พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (หน้า 26/26) ไปที่หน้า:
การค้าสิ่งเทียมโบราณวัตถุหรือสิ่งเทียมศิลปวัตถุให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสมควรปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับใบอนุญาตและหนังสืออนุญาต อัตราโทษ และอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติให้เหมาะสมยิ่งขึ้น รวมทั้งแก้ไข บทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกันด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
[รก.2535/38/12/5 เมษายน 2535
]
--คณะกรรมการกฤษฎีกา--
-สส-