กฎกระทรวง
กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตทำงาน
และการออกใบอนุญาตทำงาน สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า
ลาว และกัมพูชา ที่หลบหนีเข้าเมือง
พ.ศ. 2547
----------------------
อาศัยอำนวจตามความในมาตรา 16 และมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตทำงาน และการออกใบอนุญาตทำงาน สำหรับคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองเฉพาะสัญชาติพม่า ลาวและกัมพูชา พ.ศ. 2545
ข้อ 2 คนต่างด้าวที่เขัมาอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและอยู่ในระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งประสงค์จะขอรับใบอนุญาตทำงาน ให้ยื่นคำขอตามแบบ ตท. 13 ท้ายกฎกระทรวงนี้ พร้อมเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(ก) สำเนาบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย หรือสำเนาทะเบียนบ้านสำหรับบุคคลที่เข้าเมืองได้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามแบบ ท.ร. 13 หรือเอกสารทะเบียนประวัติ หรือเอกสารรับรองรายการทะเบียนประวัติจากสำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
(ข) ใบรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากสถานพยาบาล ซึ่งรับรองว่าคนต่างด้าวนั้นไม่มีโรคต้องห้ามตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
(ค) สำเนาเอกสารหลักฐานของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแสดงว่านายจ้างได้รับการจัดสรรจำนวนคนต่างด้าวเข้าทำงาน
(ง) แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ทำงาน
ข้อ 3 ผู้รับใบอนุญาต ซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ให้ยื่นคำขอตามแบบตท. 13 ท้ายกฎหระทรวงนี้ พร้อมใบอนุญาตทำงาน และเอกสารหลักฐานตามข้อ 2(ก) และ (ค) เว้นแต่การต่ออายุใบอนุญาตในกรณีที่ทำงานมาแล้วหนึ่งปีให้ยื่นเอกสารหลักฐานตามข้อ 2 (ข) ด้วย
ข้อ 4 ผู้รับใบอนุญาต ซึ่งประสงค์จะเปลี่ยนทำงานโดยขอทำงานอื่นนอกจากงานที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอตามแบบ ตท. 13 ท้ายกฎกระทรวงนี้ พร้อมใบอนุญาตทำงาน และเอกสารหลักฐานตามข้อ 2 (ก) และ (ค)
ผู้รับใบอนุญาต ซึ่งประสงค์จะเปลี่ยนท้องที่หรือสถานที่ในการทำงาน ให้ยื่นเอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่ง พร้อมเอกสารหลักฐานตามข้อ 2 (ง) และสำเนาหนังสืออนุญาตให้คนต่างด้าวออกนอกเขตจังหวัดที่ได้จัดทำทะเบียนประวัติไว้ เว้นแต่กรณีเปลี่ยนสถานที่ในการทำงานที่อยู่ในเขตท้องที่เดียวกัน
ข้อ 5 ผู้รับใบอนุญาติ ซึ่งประสงค์จะขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงาน ให้ยื่นคำขอตามแบบตท.13 ท้ายกฎกระทรวงนี้ พร้อมแนนใบอนุญาตทำงานซึ่งชำรุดในสาระสำคัญ หรือหลักฐานการรับแจ้งความของเจ้าพนักงานตำรวจในกรณีใบอนุญาตทำงานสูญหาย
ข้อ 6 การยื่นคำขอของคนต่างด้าวตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 ให้ยื่น ณ ท้องที่ที่เป็นสถานที่ ทำงานดังต่อไปนี้
(1) ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ กรมการจัดหางาน หรือสถานที่ที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนด
(2) ในจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสถานที่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด
ข้อ 7 ใบอนุญาตทำงานให้ใช้แบบ ตท. 14 ท้ายกฎกระทรวงนี้
ใบแทนใบอนุญาตทำงานให้ใช้แบบ ตท. 14 ท้ายกฎหระทรวงนี้ โดยให้เปลี่ยนคำว่า"ใบอนุญาตทำงาน"เป็น"ใบอนุญาตทำงาน(ใบแทน)"
ข้อ 8 การยื่นคำขอของคนต่างด้าวตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 หากคนต่างด้าวไม่สามารถมายื่นคำขอได้ด้วยตัวเอง ให้ทำหนังสือมอบอำนวจให้ผู้อื่นมายื่นคำขอแทนได้ และในการยื่นคำขอแทน ให้ผู้รับมอบอำนาจนำหลักฐานแสดงตนมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอด้วย
การรับอนุญาตที่ได้ยื่นคำขอไว้ตามวรรคหนึ่ง คนต่างด้าวอาจทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นมารับแทนได้ โดยให้ผู้รับมอบอำนาจนำหลักฐานแสดงตนมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย
ข้อ 9 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
อุไรวรรณ เทียนทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
หมายเหตุ:-เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตร 16 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมีอำนาจออกกฎหมายกำหนดแบบหลักเกณฑ์ และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการต่ออายุใบอนุญาตการขอรับใบแทนและออกใบแทนใบอนุญาต กาขออนุญาตและการอนุญาตให้เปลี่ยนการทำงานหรือเปลี่ยนท้องที่หรือสถานที่ในการทำงาน สำหรับคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประกอบกับกระทรวงแรงงานได้จ้ดระบบบริหารจัดการให้คนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่หลบหนีเข้าเมืองซึ่งอยู่ระหว่างรอการส่งกลับทำงานในราชอาณาจักรได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตทำงาน
และการออกใบอนุญาตทำงาน สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า
ลาว และกัมพูชา ที่หลบหนีเข้าเมือง
พ.ศ. 2547
----------------------
อาศัยอำนวจตามความในมาตรา 16 และมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตทำงาน และการออกใบอนุญาตทำงาน สำหรับคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองเฉพาะสัญชาติพม่า ลาวและกัมพูชา พ.ศ. 2545
ข้อ 2 คนต่างด้าวที่เขัมาอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและอยู่ในระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งประสงค์จะขอรับใบอนุญาตทำงาน ให้ยื่นคำขอตามแบบ ตท. 13 ท้ายกฎกระทรวงนี้ พร้อมเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(ก) สำเนาบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย หรือสำเนาทะเบียนบ้านสำหรับบุคคลที่เข้าเมืองได้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามแบบ ท.ร. 13 หรือเอกสารทะเบียนประวัติ หรือเอกสารรับรองรายการทะเบียนประวัติจากสำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
(ข) ใบรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากสถานพยาบาล ซึ่งรับรองว่าคนต่างด้าวนั้นไม่มีโรคต้องห้ามตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
(ค) สำเนาเอกสารหลักฐานของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแสดงว่านายจ้างได้รับการจัดสรรจำนวนคนต่างด้าวเข้าทำงาน
(ง) แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ทำงาน
ข้อ 3 ผู้รับใบอนุญาต ซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ให้ยื่นคำขอตามแบบตท. 13 ท้ายกฎหระทรวงนี้ พร้อมใบอนุญาตทำงาน และเอกสารหลักฐานตามข้อ 2(ก) และ (ค) เว้นแต่การต่ออายุใบอนุญาตในกรณีที่ทำงานมาแล้วหนึ่งปีให้ยื่นเอกสารหลักฐานตามข้อ 2 (ข) ด้วย
ข้อ 4 ผู้รับใบอนุญาต ซึ่งประสงค์จะเปลี่ยนทำงานโดยขอทำงานอื่นนอกจากงานที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอตามแบบ ตท. 13 ท้ายกฎกระทรวงนี้ พร้อมใบอนุญาตทำงาน และเอกสารหลักฐานตามข้อ 2 (ก) และ (ค)
ผู้รับใบอนุญาต ซึ่งประสงค์จะเปลี่ยนท้องที่หรือสถานที่ในการทำงาน ให้ยื่นเอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่ง พร้อมเอกสารหลักฐานตามข้อ 2 (ง) และสำเนาหนังสืออนุญาตให้คนต่างด้าวออกนอกเขตจังหวัดที่ได้จัดทำทะเบียนประวัติไว้ เว้นแต่กรณีเปลี่ยนสถานที่ในการทำงานที่อยู่ในเขตท้องที่เดียวกัน
ข้อ 5 ผู้รับใบอนุญาติ ซึ่งประสงค์จะขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงาน ให้ยื่นคำขอตามแบบตท.13 ท้ายกฎกระทรวงนี้ พร้อมแนนใบอนุญาตทำงานซึ่งชำรุดในสาระสำคัญ หรือหลักฐานการรับแจ้งความของเจ้าพนักงานตำรวจในกรณีใบอนุญาตทำงานสูญหาย
ข้อ 6 การยื่นคำขอของคนต่างด้าวตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 ให้ยื่น ณ ท้องที่ที่เป็นสถานที่ ทำงานดังต่อไปนี้
(1) ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ กรมการจัดหางาน หรือสถานที่ที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนด
(2) ในจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสถานที่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด
ข้อ 7 ใบอนุญาตทำงานให้ใช้แบบ ตท. 14 ท้ายกฎกระทรวงนี้
ใบแทนใบอนุญาตทำงานให้ใช้แบบ ตท. 14 ท้ายกฎหระทรวงนี้ โดยให้เปลี่ยนคำว่า"ใบอนุญาตทำงาน"เป็น"ใบอนุญาตทำงาน(ใบแทน)"
ข้อ 8 การยื่นคำขอของคนต่างด้าวตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 หากคนต่างด้าวไม่สามารถมายื่นคำขอได้ด้วยตัวเอง ให้ทำหนังสือมอบอำนวจให้ผู้อื่นมายื่นคำขอแทนได้ และในการยื่นคำขอแทน ให้ผู้รับมอบอำนาจนำหลักฐานแสดงตนมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอด้วย
การรับอนุญาตที่ได้ยื่นคำขอไว้ตามวรรคหนึ่ง คนต่างด้าวอาจทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นมารับแทนได้ โดยให้ผู้รับมอบอำนาจนำหลักฐานแสดงตนมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย
ข้อ 9 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
อุไรวรรณ เทียนทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
หมายเหตุ:-เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตร 16 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมีอำนาจออกกฎหมายกำหนดแบบหลักเกณฑ์ และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการต่ออายุใบอนุญาตการขอรับใบแทนและออกใบแทนใบอนุญาต กาขออนุญาตและการอนุญาตให้เปลี่ยนการทำงานหรือเปลี่ยนท้องที่หรือสถานที่ในการทำงาน สำหรับคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประกอบกับกระทรวงแรงงานได้จ้ดระบบบริหารจัดการให้คนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่หลบหนีเข้าเมืองซึ่งอยู่ระหว่างรอการส่งกลับทำงานในราชอาณาจักรได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้