มาตรา 29 ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 20 หรือมาตรา 21 ต้องทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นให้เป็นไปตามมาตรฐาน หรือนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานเข้ามา แล้วแต่กรณี
มาตรา 30 ให้รัฐมนตรีกำหนดเครื่องหมายมาตรฐานขึ้นไว้สำหรับแสดงกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตามมาตรา 16 มาตรา 20 และมาตรา 21
ลักษณะของเครื่องหมายมาตรฐาน การทำเครื่องหมายมาตรฐานและวิธีแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 31 ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 16 มาตรา 20 หรือมาตรา 21 ใช้เครื่องหมายมาตรฐาน
มาตรา 32 ห้ามมิให้ผู้ใดเลียนเครื่องหมายมาตรฐานเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายมาตรฐาน
มาตรา 33* ให้ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 20 และมาตรา 21 แสดงเครื่องหมายมาตรฐานก่อนนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมออกจากสถานที่ผลิตหรือรับมอบไปจากเจ้าพนักงานศุลกากร ในกรณีหลังนี้รัฐมนตรีจะอนุญาตให้ทำภายหลังตามเงื่อนไขที่กำหนดก็ได้
ในกรณีที่มีการอนุญาตให้ทำหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่แตกต่างไปจากมาตรฐานที่กำหนดตามมาตรา 20 ทวิ หรือมาตรา 21 ทวิ แล้วแต่กรณี ให้ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับอนุญาตแสดงเครื่องหมายหรือข้อความว่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานตามพระราชบัญญัตินี้ตามความในวรรคหนึ่ง สำหรับเครื่องหมายหรือข้อความดังกล่าวนั้นให้คณะกรรมการกำหนด
ในกรณีที่มีหลักฐานว่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่นำเข้าเป็นไปตามมาตรฐานของต่างประเทศที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานตามพระราชบัญญัตินี้ และมีเครื่องหมายมาตรฐานของต่างประเทศแสดงแล้วคณะกรรมการอาจยกเว้นให้ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับอนุญาตไม่ต้องแสดงเครื่องหมายมาตรฐานตามวรรคหนึ่งหรือเครื่องหมายหรือข้อความตามวรรคสอง แล้วแต่กรณี
*[มาตรา 33 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522
]
มาตรา 34 ในการใช้เครื่องหมายมาตรฐาน ผู้รับใบอนุญาตต้องแสดงชื่อผู้รับใบอนุญาตหรือเครื่องหมายการค้าของผู้รับใบอนุญาตที่จดทะเบียนแล้วตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 35 ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 16 มาตรา 20 หรือมาตรา 21แสดงเครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
มาตรา 36* ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณา จำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยรู้อยู่ว่าไม่เป็นไปตามมาตรา 16 มาตรา 20 มาตรา 20 ทวิ มาตรา 21 มาตรา 21ทวิ มาตรา 29 หรือมาตรา 33 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หรือโดยรู้อยู่ว่าเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ใช้หรือแสดงเครื่องหมายมาตรฐานอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31 มาตรา 32 หรือมาตรา 35
*[มาตรา 36 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522
]
มาตรา 37* คณะกรรมการมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ไม่เกินครั้งละสามเดือนเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 24 มาตรา 25 มาตรา 29 มาตรา 33วรรคหนึ่ง มาตรา 34 มาตรา 35 หรือกฎกระทรวงซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 25 ทวิ
*[มาตรา 37 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 38 ถ้าผู้ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ปฏิบัติการถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว คณะกรรมการอาจสั่งถอนคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตนั้นก่อนถึงกำหนดได้
มาตรา 39 คณะกรรมการมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตเคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตแล้วมากระทำผิดในเหตุอย่างเดียวกันอีกภายในห้าปี
มาตรา 39 ทวิ* รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตตามมาตรา 20 ทวิ หรือมาตรา 21 ทวิ เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับอนุญาต แล้วแต่กรณี ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33วรรคสอง หรือหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
*[มาตรา 39 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522
]
มาตรา 40 ก่อนสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามมาตรา 37 หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา 39 ให้คณะกรรมการสั่งให้สำนักงานเตือนเป็นหนังสือให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติการให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด แต่ทั้งนี้ไม่เป็นเหตุลบล้างความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้รับใบอนุญาตดังกล่าว ให้ปิดหนังสือเตือนไว้ ณ สถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้ทราบคำเตือนนั้นแล้วตั้งแต่วันปิดหนังสือเตือน
มาตรา 41* คำสั่งตามมาตรา 37 มาตรา 39 หรือมาตรา 39 ทวิ ให้สำนักงานแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต เพิกถอนใบอนุญาต หรือเพิกถอนการอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้ถูกสั่งดังกล่าว ให้ปิดหนังสือไว้ ณ สถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาต แล้วแต่กรณี และให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันปิดหนังสือ
*[มาตรา 41 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522
]
มาตรา 42 เมื่อคณะกรรมการมีคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตผู้ถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง
คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
ในระหว่างอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์อาจร้องขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตต่อรัฐมนตรีได้
มาตรา 43 ผู้ใดถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชนิดใดแล้ว จะขอใบอนุญาตสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชนิดนั้นใหม่อีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นหกเดือนนับแต่วันทราบคำสั่ง
มาตรา 44* ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ
(1) เข้าไปในสถานที่ผลิต เก็บ หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำการหรือยานพาหนะที่บรรทุกผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อตรวจสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือการทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่และนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม วัตถุที่นำมาทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือวัตถุที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะนำมาทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ
(2) เข้าไปในสถานที่หรือที่อื่นใดในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำการ หรือยานพาหนะใดเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ และนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม วัตถุที่นำมาทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือวัตถุที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะนำมาทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ
(3) ยึดหรืออายัดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีเหตุอันควรเชื่อว่า
(ก) ไม่เป็นไปตามมาตรา 16 มาตรา 20 มาตรา 20 ทวิ มาตรา 21 มาตรา 21ทวิ มาตรา 29 หรือมาตรา 33 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
(ข) ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 20 ทวิ วรรคสอง หรือมาตรา 21 ทวิ วรรคสอง หรือ
(ค) เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ใช้หรือแสดงเครื่องหมายมาตรฐานอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31 มาตรา 32 หรือมาตรา 35
*[มาตรา 44 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 45 พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 44 พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
มาตรา 46* ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ยึดหรืออายัดไว้ตามมาตรา 44 (3) นั้น ให้คณะกรรมการมีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 16 ฝ่าฝืนมาตรา 35 หรือเป็นกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 16 อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31 คณะกรรมการอาจสั่งให้แก้ไข หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้เป็นไปตามมาตรฐาน หรือสั่งให้ทำลายเครื่องหมายมาตรฐาน หรือทำให้เครื่องหมายมาตรฐานหลุดพ้นจากผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นด้วยก็ได้ หากไม่สามารถทำลายเครื่องหมายมาตรฐานหรือทำให้เครื่องหมายมาตรฐานหลุดพ้นจากผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้ ก็อาจสั่งให้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นให้สิ้นสภาพ
(2) ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 20 หรือมาตรา 21 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 20 ทวิ วรรคสอง หรือมาตรา 21 ทวิวรรคสอง คณะกรรมการอาจสั่งให้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้สิ้นสภาพ หรือในกรณีที่นำเข้าอาจสั่งให้ส่งกลับคืนไป ถ้าไม่ส่งกลับคืนไปก็อาจสั่งให้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นให้สิ้นสภาพ หรืออาจสั่งให้รอไว้เพื่อให้ผู้ทำหรือผู้นำเข้าขอรับใบอนุญาต หรือขอรับอนุญาตก่อนได้
(3) ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติตามมาตรา 29 คณะกรรมการอาจสั่งให้แก้ไขหรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้เป็นไปตามมาตรฐานหรือสั่งให้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้สิ้นสภาพ หรือในกรณีที่นำเข้าอาจสั่งให้ส่งกลับคืนไป และอาจสั่งให้ทำลายเครื่องหมายมาตรฐาน หรือทำให้เครื่องหมายมาตรฐานหลุดพ้นจากผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นด้วยก็ได้ ถ้าไม่ส่งกลับคืนไป หรือไม่ทำลายเครื่องหมายมาตรฐาน หรือไม่ทำให้เครื่องหมายมาตรฐานหลุดพ้นจากผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ก็อาจสั่งให้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นให้สิ้นสภาพ
(4) ในกรณีที่ผู้โฆษณา ผู้จำหน่าย หรือผู้มีไว้เพื่อจำหน่ายฝ่าฝืนมาตรา 36คณะกรรมการอาจสั่งให้แก้ไขหรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้เป็นไปตามมาตรฐาน หรืออาจสั่งให้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นให้สิ้นสภาพ
ทั้งนี้ โดยให้ผู้รับใบอนุญาต ผู้รับอนุญาต ผู้ทำ ผู้นำเข้า ผู้โฆษณา ผู้จำหน่าย หรือผู้มีไว้เพื่อจำหน่าย แล้วแต่กรณี เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการแก้ไข การปรับปรุง การทำให้สิ้นสภาพ หรือการส่งกลับคืนไปซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือการรอไว้เพื่อขอรับใบอนุญาตหรือขอรับอนุญาต หรือการทำลายเครื่องหมายมาตรฐาน หรือการทำให้เครื่องหมายมาตรฐานหลุดพ้นจากผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
*[มาตรา 46 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 46 ทวิ* สิ่งที่ยึดหรืออายัดไว้ตามมาตรา 44 (3) ถ้าภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ยึดหรืออายัด ไม่ปรากฏเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้ตกเป็นของแผ่นดิน และให้สำนักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ตามที่เห็นสมควร
ถ้าสิ่งที่ยึดหรืออายัดไว้ตามมาตรา 44 (3) นั้นเป็นของเสียง่ายหรือถ้าเก็บไว้จะเป็นการเสี่ยงต่อความเสียหายหรือจะเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาเกินค่าของสิ่งนั้น สำนักงานจะจัดการขายทอดตลาดสิ่งนั้นเสียก่อนคดีถึงที่สุด หรือก่อนที่สิ่งนั้นจะตกเป็นของแผ่นดินก็ได้ เงินค่าขายสิ่งนั้นเมื่อหักค่าใช้จ่ายและค่าภาระติดพันทั้งปวงแล้วเหลือเงินจำนวนสุทธิเท่าใดให้ถือไว้แทนสิ่งนั้น
*[มาตรา 46 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 47 ให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ หรือให้คำชี้แจงแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ขอร้อง
มาตรา 48* ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 20 หรือมาตรา 21 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
*[มาตรา 48 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 48 ทวิ* ผู้ใดได้รับอนุญาตให้ทำหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตามมาตรา 20 ทวิ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 21 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้วฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 20 ทวิ วรรคสอง หรือมาตรา 21 ทวิ วรรคสอง แล้วแต่กรณี หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
*[มาตรา 48 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 49* ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 22 หรือมาตรา 23 วรรคหนึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
*[มาตรา 49 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 50* ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 24 มาตรา 25 หรือมาตรา 28ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
*[มาตรา 50 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 51* ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 29 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
*[มาตรา 51 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 52 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 31 หรือมาตรา 32 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 53 ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 34ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 54* ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 35 ต้องระวางโทษ ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เป็นผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 16 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(2) ในกรณีที่เป็นผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 20 หรือมาตรา 21 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
*[มาตรา 54 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 55 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 36 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 56* ผู้ใดขัดขวางพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 44 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
*[มาตรา 56 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 56 ทวิ* ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามที่คณะกรรมการสั่งตามมาตรา 46 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
*[มาตรา 56 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 57* ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวก ไม่ช่วยเหลือหรือไม่ให้คำชี้แจงแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 47 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
*[มาตรา 57 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 57 ทวิ* ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่าผู้แทนนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ และบุคคลอื่นใดซึ่งกระทำการแทนนิติบุคคล เป็นผู้กระทำความผิดและต้องระวางโทษเช่นเดียวกับนิติบุคคลนั้นด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
*[มาตรา 57 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 57 ตรี* ความผิดตามมาตรา 49 มาตรา 50 มาตรา 53 มาตรา 55 หรือมาตรา 57 ให้เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบได้
เมื่อผู้กระทำความผิดได้เสียค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
*[มาตรา 57 ตรี เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 58 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ถนอม กิตติขจร
นายกรัฐมนตรี
อัตราค่าธรรมเนียม
_________
(1) คำขอ ฉบับละ 10 บาท
(2) ใบอนุญาตตามมาตรา 16 ฉบับละ 1,000 บาท
(3) ใบอนุญาตตามมาตรา 20 ฉบับละ 1,000 บาท
(4) ในอนุญาตตามมาตรา 21 ฉบับละ 1,000 บาท
(5) ใบอนุญาตตามมาตรา 24 ฉบับละ 500 บาท
(6) ใบอนุญาตตามมาตรา 25 ฉบับละ 500 บาท
(7) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 100 บาท
______________________________
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากประเทศไทยกำลังเร่งรัดพัฒนากิจการอุตสาหกรรม มีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลายชนิดที่ผลิตขึ้นได้ภายในประเทศ แต่ยังมิได้มีการกำหนดมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้เป็นที่แน่นอนและเหมาะสม ทำให้มีการแข่งขันกันลดราคา โดยทำคุณภาพให้ต่ำลง เป็นเหตุให้ประชาชนขาดความนิยมเชื่อถือนอกจากนี้ยังอาจเกิดอันตรายแก่ประชาชน และก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในการประกอบกิจการอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผลเสียหายแก่เศรษฐกิจของประเทศจึงเป็นการสมควรตรากฎหมายฉบับนี้กำหนดมาตรฐานเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อความปลอดภัย หรือเพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดแก่ประชาชนหรือแก่กิจการอุตสาหกรรมหรือเศรษฐกิจของประเทศ
--คณะกรรมการกฤษฎีกา--
-สส-
มาตรา 30 ให้รัฐมนตรีกำหนดเครื่องหมายมาตรฐานขึ้นไว้สำหรับแสดงกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตามมาตรา 16 มาตรา 20 และมาตรา 21
ลักษณะของเครื่องหมายมาตรฐาน การทำเครื่องหมายมาตรฐานและวิธีแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 31 ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 16 มาตรา 20 หรือมาตรา 21 ใช้เครื่องหมายมาตรฐาน
มาตรา 32 ห้ามมิให้ผู้ใดเลียนเครื่องหมายมาตรฐานเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายมาตรฐาน
มาตรา 33* ให้ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 20 และมาตรา 21 แสดงเครื่องหมายมาตรฐานก่อนนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมออกจากสถานที่ผลิตหรือรับมอบไปจากเจ้าพนักงานศุลกากร ในกรณีหลังนี้รัฐมนตรีจะอนุญาตให้ทำภายหลังตามเงื่อนไขที่กำหนดก็ได้
ในกรณีที่มีการอนุญาตให้ทำหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่แตกต่างไปจากมาตรฐานที่กำหนดตามมาตรา 20 ทวิ หรือมาตรา 21 ทวิ แล้วแต่กรณี ให้ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับอนุญาตแสดงเครื่องหมายหรือข้อความว่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานตามพระราชบัญญัตินี้ตามความในวรรคหนึ่ง สำหรับเครื่องหมายหรือข้อความดังกล่าวนั้นให้คณะกรรมการกำหนด
ในกรณีที่มีหลักฐานว่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่นำเข้าเป็นไปตามมาตรฐานของต่างประเทศที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานตามพระราชบัญญัตินี้ และมีเครื่องหมายมาตรฐานของต่างประเทศแสดงแล้วคณะกรรมการอาจยกเว้นให้ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับอนุญาตไม่ต้องแสดงเครื่องหมายมาตรฐานตามวรรคหนึ่งหรือเครื่องหมายหรือข้อความตามวรรคสอง แล้วแต่กรณี
*[มาตรา 33 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522
]
มาตรา 34 ในการใช้เครื่องหมายมาตรฐาน ผู้รับใบอนุญาตต้องแสดงชื่อผู้รับใบอนุญาตหรือเครื่องหมายการค้าของผู้รับใบอนุญาตที่จดทะเบียนแล้วตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 35 ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 16 มาตรา 20 หรือมาตรา 21แสดงเครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
มาตรา 36* ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณา จำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยรู้อยู่ว่าไม่เป็นไปตามมาตรา 16 มาตรา 20 มาตรา 20 ทวิ มาตรา 21 มาตรา 21ทวิ มาตรา 29 หรือมาตรา 33 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หรือโดยรู้อยู่ว่าเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ใช้หรือแสดงเครื่องหมายมาตรฐานอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31 มาตรา 32 หรือมาตรา 35
*[มาตรา 36 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522
]
มาตรา 37* คณะกรรมการมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ไม่เกินครั้งละสามเดือนเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 24 มาตรา 25 มาตรา 29 มาตรา 33วรรคหนึ่ง มาตรา 34 มาตรา 35 หรือกฎกระทรวงซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 25 ทวิ
*[มาตรา 37 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 38 ถ้าผู้ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ปฏิบัติการถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว คณะกรรมการอาจสั่งถอนคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตนั้นก่อนถึงกำหนดได้
มาตรา 39 คณะกรรมการมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตเคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตแล้วมากระทำผิดในเหตุอย่างเดียวกันอีกภายในห้าปี
มาตรา 39 ทวิ* รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตตามมาตรา 20 ทวิ หรือมาตรา 21 ทวิ เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับอนุญาต แล้วแต่กรณี ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33วรรคสอง หรือหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
*[มาตรา 39 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522
]
มาตรา 40 ก่อนสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามมาตรา 37 หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา 39 ให้คณะกรรมการสั่งให้สำนักงานเตือนเป็นหนังสือให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติการให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด แต่ทั้งนี้ไม่เป็นเหตุลบล้างความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้รับใบอนุญาตดังกล่าว ให้ปิดหนังสือเตือนไว้ ณ สถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้ทราบคำเตือนนั้นแล้วตั้งแต่วันปิดหนังสือเตือน
มาตรา 41* คำสั่งตามมาตรา 37 มาตรา 39 หรือมาตรา 39 ทวิ ให้สำนักงานแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต เพิกถอนใบอนุญาต หรือเพิกถอนการอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้ถูกสั่งดังกล่าว ให้ปิดหนังสือไว้ ณ สถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาต แล้วแต่กรณี และให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันปิดหนังสือ
*[มาตรา 41 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522
]
มาตรา 42 เมื่อคณะกรรมการมีคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตผู้ถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง
คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
ในระหว่างอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์อาจร้องขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตต่อรัฐมนตรีได้
มาตรา 43 ผู้ใดถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชนิดใดแล้ว จะขอใบอนุญาตสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชนิดนั้นใหม่อีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นหกเดือนนับแต่วันทราบคำสั่ง
มาตรา 44* ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ
(1) เข้าไปในสถานที่ผลิต เก็บ หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำการหรือยานพาหนะที่บรรทุกผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อตรวจสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือการทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่และนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม วัตถุที่นำมาทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือวัตถุที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะนำมาทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ
(2) เข้าไปในสถานที่หรือที่อื่นใดในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำการ หรือยานพาหนะใดเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ และนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม วัตถุที่นำมาทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือวัตถุที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะนำมาทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ
(3) ยึดหรืออายัดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีเหตุอันควรเชื่อว่า
(ก) ไม่เป็นไปตามมาตรา 16 มาตรา 20 มาตรา 20 ทวิ มาตรา 21 มาตรา 21ทวิ มาตรา 29 หรือมาตรา 33 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
(ข) ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 20 ทวิ วรรคสอง หรือมาตรา 21 ทวิ วรรคสอง หรือ
(ค) เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ใช้หรือแสดงเครื่องหมายมาตรฐานอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31 มาตรา 32 หรือมาตรา 35
*[มาตรา 44 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 45 พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 44 พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
มาตรา 46* ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ยึดหรืออายัดไว้ตามมาตรา 44 (3) นั้น ให้คณะกรรมการมีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 16 ฝ่าฝืนมาตรา 35 หรือเป็นกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 16 อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31 คณะกรรมการอาจสั่งให้แก้ไข หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้เป็นไปตามมาตรฐาน หรือสั่งให้ทำลายเครื่องหมายมาตรฐาน หรือทำให้เครื่องหมายมาตรฐานหลุดพ้นจากผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นด้วยก็ได้ หากไม่สามารถทำลายเครื่องหมายมาตรฐานหรือทำให้เครื่องหมายมาตรฐานหลุดพ้นจากผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้ ก็อาจสั่งให้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นให้สิ้นสภาพ
(2) ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 20 หรือมาตรา 21 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 20 ทวิ วรรคสอง หรือมาตรา 21 ทวิวรรคสอง คณะกรรมการอาจสั่งให้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้สิ้นสภาพ หรือในกรณีที่นำเข้าอาจสั่งให้ส่งกลับคืนไป ถ้าไม่ส่งกลับคืนไปก็อาจสั่งให้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นให้สิ้นสภาพ หรืออาจสั่งให้รอไว้เพื่อให้ผู้ทำหรือผู้นำเข้าขอรับใบอนุญาต หรือขอรับอนุญาตก่อนได้
(3) ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติตามมาตรา 29 คณะกรรมการอาจสั่งให้แก้ไขหรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้เป็นไปตามมาตรฐานหรือสั่งให้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้สิ้นสภาพ หรือในกรณีที่นำเข้าอาจสั่งให้ส่งกลับคืนไป และอาจสั่งให้ทำลายเครื่องหมายมาตรฐาน หรือทำให้เครื่องหมายมาตรฐานหลุดพ้นจากผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นด้วยก็ได้ ถ้าไม่ส่งกลับคืนไป หรือไม่ทำลายเครื่องหมายมาตรฐาน หรือไม่ทำให้เครื่องหมายมาตรฐานหลุดพ้นจากผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ก็อาจสั่งให้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นให้สิ้นสภาพ
(4) ในกรณีที่ผู้โฆษณา ผู้จำหน่าย หรือผู้มีไว้เพื่อจำหน่ายฝ่าฝืนมาตรา 36คณะกรรมการอาจสั่งให้แก้ไขหรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้เป็นไปตามมาตรฐาน หรืออาจสั่งให้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นให้สิ้นสภาพ
ทั้งนี้ โดยให้ผู้รับใบอนุญาต ผู้รับอนุญาต ผู้ทำ ผู้นำเข้า ผู้โฆษณา ผู้จำหน่าย หรือผู้มีไว้เพื่อจำหน่าย แล้วแต่กรณี เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการแก้ไข การปรับปรุง การทำให้สิ้นสภาพ หรือการส่งกลับคืนไปซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือการรอไว้เพื่อขอรับใบอนุญาตหรือขอรับอนุญาต หรือการทำลายเครื่องหมายมาตรฐาน หรือการทำให้เครื่องหมายมาตรฐานหลุดพ้นจากผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
*[มาตรา 46 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 46 ทวิ* สิ่งที่ยึดหรืออายัดไว้ตามมาตรา 44 (3) ถ้าภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ยึดหรืออายัด ไม่ปรากฏเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้ตกเป็นของแผ่นดิน และให้สำนักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ตามที่เห็นสมควร
ถ้าสิ่งที่ยึดหรืออายัดไว้ตามมาตรา 44 (3) นั้นเป็นของเสียง่ายหรือถ้าเก็บไว้จะเป็นการเสี่ยงต่อความเสียหายหรือจะเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาเกินค่าของสิ่งนั้น สำนักงานจะจัดการขายทอดตลาดสิ่งนั้นเสียก่อนคดีถึงที่สุด หรือก่อนที่สิ่งนั้นจะตกเป็นของแผ่นดินก็ได้ เงินค่าขายสิ่งนั้นเมื่อหักค่าใช้จ่ายและค่าภาระติดพันทั้งปวงแล้วเหลือเงินจำนวนสุทธิเท่าใดให้ถือไว้แทนสิ่งนั้น
*[มาตรา 46 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 47 ให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ หรือให้คำชี้แจงแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ขอร้อง
มาตรา 48* ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 20 หรือมาตรา 21 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
*[มาตรา 48 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 48 ทวิ* ผู้ใดได้รับอนุญาตให้ทำหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตามมาตรา 20 ทวิ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 21 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้วฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 20 ทวิ วรรคสอง หรือมาตรา 21 ทวิ วรรคสอง แล้วแต่กรณี หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
*[มาตรา 48 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 49* ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 22 หรือมาตรา 23 วรรคหนึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
*[มาตรา 49 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 50* ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 24 มาตรา 25 หรือมาตรา 28ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
*[มาตรา 50 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 51* ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 29 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
*[มาตรา 51 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 52 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 31 หรือมาตรา 32 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 53 ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 34ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 54* ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 35 ต้องระวางโทษ ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เป็นผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 16 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(2) ในกรณีที่เป็นผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 20 หรือมาตรา 21 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
*[มาตรา 54 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 55 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 36 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 56* ผู้ใดขัดขวางพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 44 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
*[มาตรา 56 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 56 ทวิ* ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามที่คณะกรรมการสั่งตามมาตรา 46 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
*[มาตรา 56 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 57* ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวก ไม่ช่วยเหลือหรือไม่ให้คำชี้แจงแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 47 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
*[มาตรา 57 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 57 ทวิ* ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่าผู้แทนนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ และบุคคลอื่นใดซึ่งกระทำการแทนนิติบุคคล เป็นผู้กระทำความผิดและต้องระวางโทษเช่นเดียวกับนิติบุคคลนั้นด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
*[มาตรา 57 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 57 ตรี* ความผิดตามมาตรา 49 มาตรา 50 มาตรา 53 มาตรา 55 หรือมาตรา 57 ให้เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบได้
เมื่อผู้กระทำความผิดได้เสียค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
*[มาตรา 57 ตรี เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
]
มาตรา 58 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ถนอม กิตติขจร
นายกรัฐมนตรี
อัตราค่าธรรมเนียม
_________
(1) คำขอ ฉบับละ 10 บาท
(2) ใบอนุญาตตามมาตรา 16 ฉบับละ 1,000 บาท
(3) ใบอนุญาตตามมาตรา 20 ฉบับละ 1,000 บาท
(4) ในอนุญาตตามมาตรา 21 ฉบับละ 1,000 บาท
(5) ใบอนุญาตตามมาตรา 24 ฉบับละ 500 บาท
(6) ใบอนุญาตตามมาตรา 25 ฉบับละ 500 บาท
(7) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 100 บาท
______________________________
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากประเทศไทยกำลังเร่งรัดพัฒนากิจการอุตสาหกรรม มีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลายชนิดที่ผลิตขึ้นได้ภายในประเทศ แต่ยังมิได้มีการกำหนดมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้เป็นที่แน่นอนและเหมาะสม ทำให้มีการแข่งขันกันลดราคา โดยทำคุณภาพให้ต่ำลง เป็นเหตุให้ประชาชนขาดความนิยมเชื่อถือนอกจากนี้ยังอาจเกิดอันตรายแก่ประชาชน และก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในการประกอบกิจการอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผลเสียหายแก่เศรษฐกิจของประเทศจึงเป็นการสมควรตรากฎหมายฉบับนี้กำหนดมาตรฐานเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อความปลอดภัย หรือเพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดแก่ประชาชนหรือแก่กิจการอุตสาหกรรมหรือเศรษฐกิจของประเทศ
--คณะกรรมการกฤษฎีกา--
-สส-