๑. การให้ความช่วยเหลือคนไทยและรัฐบาลญี่ปุ่น
๑.๑ ยังไม่มีรายงานคนไทยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
๑.๒ คนไทยที่เดินทางกลับไทยระหว่างวันที่ ๑๒ — ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๔ มีจำนวน ๑๒,๔๗๔ คน
๑.๓ คนไทยซึ่งอยู่ในพื้นที่ประสบภัย ๓ จังหวัด ได้แก่ อิวาเตะ มิยากิ และฟุกุชิม่า มีจำนวน ๔๘๘ คน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว สามารถติดต่อได้แล้ว ๒๔๗ คน เหลือ ๒๔๑ คน อยู่ระหว่างการติดตามต่อไป
๑.๔ สถานเอกอัครราชทูตฯ และกระทรวงการต่างประเทศได้รับคำร้องขอให้ติดตามคนไทยในญี่ปุ่น ๓,๘๗๗ คน ซึ่งสามารถติดต่อได้แล้ว ๓,๗๑๐ คน เหลือ ๑๖๗ คน อยู่ระหว่างการติดตามต่อไป
๑.๕ ยอดเงินบริจาคให้แก่ผู้ประสบภัยในญี่ปุ่นในบัญชีกระทรวงการต่างประเทศ ๑๒๘,๙๒๖,๒๙๘ บาท (ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม / ๑๔.๐๐ น.)
๒. ปัญหาโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
๒.๑ สถานการณ์ด้านกัมมันตภาพรังสีในภาพรวมยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โดยปริมาณรังสีที่วัดได้ในพื้นที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ยังมีระดับคงที่
๒.๒ ปริมาณรังสีที่วัดได้ที่กรุงโตเกียวมีปริมาณอยู่ในค่าเฉลี่ยที่ไม่เป็นอันตราย และมีแนวโน้มลดลง
๒.๓ ระดับความรุนแรงของวิกฤตการณ์โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในญี่ปุ่นยังคงอยู่ที่ระดับ ๕
๒.๔ ต่อข้อเป็นกังวลเกี่ยวกับการแพร่กระจายของสารพลูโทเนียมซึ่งเป็นสารที่มีพิษ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติแจ้งว่า สารดังกล่าวเป็นสารหนักจึงมีแนวโน้มที่กระจายตัวอยู่ในบริเวณใกล้โรงงานฯ และไม่ฟุ้งกระจายออกไปบริเวณรอบนอก
๒.๕ กระทรวงสาธารณสุขยังคงมาตรการสุ่มตรวจการปนเปื้อนในอาหารทะเลที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งตรวจผัก ผลไม้ และธัญพืช ทุกรายการที่นำเข้าจากเกาะฮอนชูของประเทศญี่ปุ่น
๒.๖ ยังไม่พบคนไทยได้รับผลกระทบจากสารกัมมันตภาพรังสี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--