กรุงเทพ--15 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2550 นายวรเดช วีระเวคิน รองอธิบดีกรมสารนิเทศและรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ มีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟัง และซักถามในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. โครงการนำกลุ่มเพื่อนไทย (Friends of Thailand) จากรัฐกลันตันและตรังกานูเยือนไทย
กระทรวงการต่างประเทศ ได้รับแจ้งจากสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู ว่า สถานกงสุลใหญ่ฯ จะนำ กลุ่มเพื่อนไทย (Friends of Thailand) จากรัฐกลันตันและตรังกานู ประเทศมาเลเซีย จำนวนประมาณ 120 คน เดินทางเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 21 -25 พฤศจิกายน 2550
โครงการดังกล่าวเป็นความริเริ่มของสถานกงสุลใหญ่ฯ ซึ่งได้รับการติดต่อประสานจากกลุ่มชาวรัฐกลันตันและตรังกานูจำนวนประมาณ 120 คน ซึ่งเรียกตนเองว่า “กลุ่มเพื่อนไทยจากรัฐกลันตันและตรังกานู (Friends of Thailand from Kelantan and Terangganu)” ถึงความประสงค์ที่จะเดินทางมาเยือนกรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ 1) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเชื่อมั่น (confidence building) ต่อสาธารณะให้กับจังหวัดนราธิวาส ซึ่งได้สูญหายไปนับตั้งแต่การเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการรื้อฟื้นการเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างประชาชนตามแนวชายแดนของ ทั้งสองประเทศ (people-to-people contacts) ซึ่งเกิดภาวะชงักงันอันเนื่องจากเหตุการณ์ ความไม่สงบในสามจังหวัดภาคใต้ และ 3) เพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้เห็นว่าแม้รัฐกลันตันและตรังกานู จะเป็นที่แคลือบแคลงสงสัยของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้บางคนบางกลุ่มว่า เป็นแหล่งที่หลบซ่อนและเป็นที่พักพิงของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ แต่ก็มีกลุ่มคนในมาเลเซียที่เป็นเพื่อนของประเทศไทยที่พร้อมจะให้การสนับสนุนความพยายามและความร่วมมือของรัฐบาลไทยและรัฐบาลมาเลเซียในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ย่อมส่งผลกระทบทางลบต่อการไปมาหาสู่ของประชาชน รวมทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวในพื้นที่ชายแดน ของประเทศทั้งสองอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นกอปรกับการที่ปัญหาการก่อความไม่สงบในสามจังหวัดภาคใต้ยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศอย่างมิอาจปฏิเสธได้ สถานกงสุลใหญ่ฯ ในฐานะหน่วยงานของรัฐซึ่งตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้ดำเนินโครงการดังกล่าวเพื่อสนองตอบต่อนโยบายของรัฐบาลซึ่งได้ยกเรื่องนี้ขึ้นเป็นวาระแห่งชาติ ดังนั้น เมื่อปรากฏมีกลุ่มบุคคลที่มีความหวังดีต่อประเทศไทยและต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและมาเลเซีย สถานกงสุลใหญ่ฯ จึงยินดีที่จะช่วยประสานสานในการอำนวยความสะดวกแก่คณะฯ อาทิ การติดต่อขอเช่าเครื่องบินเหมาลำ การจองโรงแรมที่พัก การเช่ายานพาหนะรับ-ส่ง และการประสานสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญต่างๆ และได้ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศประสานกับหน่วยงานต่างๆ ในการจัดกำหนดการเยือนของคณะในครั้งนี้ให้สมบูรณ์ อาทิ การเข้าเยี่ยมคารวะปลัดกระทรวงการต่างประเทศและผู้บริหารของกระทรวงฯ การ เข้าชมพระบรมมหาราชวังและพระที่นั่งบางปะอิน และการเยี่ยมชมศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) นอกจากนี้ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จะเป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยงอาหารเพื่อเป็นเกียรติแก่คณะฯ อีกด้วย
2. การดำเนินการให้ความช่วยเหลือและการแก้ไขปัญหากรณีคนงานไทยของบริษัท Kharafi National W.L.L. ในคูเวตถูกคนงานอียิปต์ของบริษัทเดียวกันทำร้าย
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์คนงานอียิปต์ของบริษัท Kharafi National W.L.L. ในเขต Shu’ aibah Industrial Area ของคูเวต ทำร้ายคนงานไทยของบริษัทเดียวกันในแคมป์ที่พักเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 นั้น กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากกรมการกงสุล และสถานเอกอัครราชทูต ณ คูเวตว่า เมื่อวันที่ 8-12 พฤศจิกายน 2550 นายปกรณ์ อมรชีวิน ผู้ตรวจราชการ ระดับ 9 กระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนายชาญชัย เจียมบุญศรี เจ้าหน้าที่การทูต 8 กองคุ้มครองดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ และคณะเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานได้เดินทางไปคูเวต เพื่อประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูต ณ คูเวต และบริษัทนายจ้าง รวมทั้งพบปะ/เยี่ยมคนงานไทยฯ เพื่อให้ความช่วยเหลือและหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว ผลการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรณีคนงานไทยฯ ที่ได้รับผู้บาดเจ็บ
2.1.1 จากการที่คณะฯ เดินทางไปเยี่ยมคนงานไทยฯ ตามแคมป์ที่พักต่าง ๆ ปรากฏว่า คนงานไทยฯ ที่ได้รับบาดเจ็บได้ร้องขอให้ส่งตัวกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทยมีจำนวน 4 คน คือ
- นายสมบัติ ปราบนอก
- นายธีรศักดิ์ ภู่เรียนคู่
- นายสุนทร ดีเลิศ และ
- นายภมรชัย วงษ์เป็ง
2.1.2 สำหรับผู้บาดเจ็บที่เหลือ คณะฯ และสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ขอให้บริษัทนายจ้างแยกตัวออกจากคนงานปกติ เพื่อให้ได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นกรณีพิเศษ รายใดที่บาดเจ็บมากก็ขอให้หยุดพักงานจนกว่าอาการจะทุเลา โดยขอให้นายจ้างรายงานผลคืบหน้าให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ทราบเป็นระยะ
2.1.3 ผู้บาดเจ็บที่มีอาการค่อนข้างหนัก (อาทิ ศรีษะแตกและเย็บหลายข็มมีบาดแผลจากการถูกตีด้วยตะปู และได้รับความบอบช้ำ ) จำนวนหลายคนสมัครใจขอรักษาตัวเพื่อเข้าทำงานต่อ โดยให้เหตุผลว่าต้องการรายได้เพื่อชดใช้หนี้สินในประเทศไทย ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้กำชับให้นายจ้างให้การดูแลบุคคลเหล่านี้เป็นกรณีพิเศษแล้ว
นอกจากสถานเอกอัครราชทูตฯ จะกำชับนายจ้างเพื่อให้การดูแลคนงานไทยที่ได้รับบาดเจ็บเป็นพิเศษแล้ว
กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนเพิ่มเติมเพื่อช่วยคลายความห่วงกังวลของญาติพี่น้องรวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยว่า กระทรวงฯ และสถานเอกอัครราชทูตฯ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จะหมั่นคอยติดตาม/สอดส่อง เอาใจใส่และดูแลสวัสดิภาพของคนงานไทยฯ ให้อย่างเต็มที่
2.2 กรณีคนงานไทยฯ ที่ถูกควบคุมตัว
2.2.1 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 คนงานไทยฯ จำนวน 19 คน ที่ถูกควบคุมตัวในข้อหาดื่มสุราได้ขึ้นศาลเพื่อพิจารณาคดี โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปเป็นล่ามระหว่างการพิจารณาคดี แต่เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นช่วงสุดสัปดาห์ ศาลจึงยังไม่มีคำพิพากษาตัดสินและให้ควบคุมตัวไว้ก่อน
2.2.2 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2550 นายดุสิต จันตะเสน เอกอัครราชทูต ณ คูเวต ได้เดินทางไปเยี่ยมคนงานไทยฯ ทั้ง 19 คน ที่ถูกควบคุมตัวและพบว่าบุคคลเหล่านั้นไม่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกรุมทำร้ายแต่อย่างใด และส่วนใหญ่ถูกควบคุมตัวจากห้องพักคนงานฯ ซึ่งจากการพูดคุยสอบถามคนงานเหล่านี้ต่างยินดีจะอยู่ทำงานต่อในคูเวต
2.2.3 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2550 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับแจ้งจากศาลว่า คนงานไทยที่ถูกควบคุมจะได้รับปล่อยตัว สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ติดต่อเพื่อขอรับตัวคนงานไทยจากเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อไป
2.3 มาตรการในการป้องกันรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกแก่คนงานไทยฯ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2550 สถานเอกอัครราชทูตฯ และคณะผู้แทนไทยได้ร่วมประชุมหารือกับฝ่ายบริหารของบริษัท Kharafi National W.L.L ได้รับทราบแนวทางในป้องกันรักษาความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกแก่คนงานไทยฯ ดังนี้
2.3.1 บริษัทฯ กำลังดำเนินการจัดหาแคมป์ที่พักพิเศษสำหรับแรงงานไทยทั้งหมด เพื่อมิให้ปะปนกับคนงานชาติอื่นๆ โดยในชั้นแรก กำหนดจะจัดให้พักที่แคมป์ Al-Muntasser เพียงแห่งเดียว แต่ภายหลังการสำรวจโดยละเอียดแล้ว พบว่าไม่สามารถจัดให้คนงานไทยฯ จำนวนกว่า 1,000 คน พักรวมอยู่ด้วยกันทั้งหมด โดยจำเป็นต้องจัดแบ่งออกเป็น 2 แคมป์ คือ 1) Al-Muntasser Camp จำนวนประมาณ 800 คน และ 2) Mahbula Camp จำนวนประมาณ 200 คน ซึ่งทั้งสองแคมป์มีสภาพและที่ตั้งโดยทั่วไปเหมาะสมและปลอดภัย
2.3.2 บริษัทฯ ได้รับที่จะดำเนินการให้คนงานไทยฯ อยู่อย่างปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้อยู่สุขสบายขึ้น โดยจะจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ดังนี้
(1) จัดหาผู้ประสานงาน (Camp Boss) เป็นคนไทยให้มาดูแลทุกข์สุข และเป็นคนกลางในการสื่อสารระหว่างคนงานไทยฯ กับผู้บริหารของบริษัทฯ
(2) จัดหาบุรุษพยาบาล หรือบุคคลที่เคยเป็นทหารเสนารักษ์มาประจำเพื่อทำหน้าที่ดูแลสุขภาพเบื้องต้นสำหรับ คนงานไทยฯ และเพื่อแก้ไขปัญหากรณีที่คนงานฯ เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยแล้ว ไม่สามารถบอกกล่าวหรือสื่อสารกับนายจ้างได้
(3) จัดรถรับ-ส่งให้แรงงานไทยเป็นกรณีพิเศษ มิให้ปะปนกับแรงงานชาติอื่น รวมทั้งจะพยายามจัดสถานที่ทำงานให้แยกจากชาติอื่น โดยเฉพาะคนงานชาติคู่กรณีนอกจากนั้นในช่วงนอกเวลาทำงานที่คนงานไทยฯ อาจต้องไปทำธุระส่วนตัวในเมืองนอกแคมป์ที่พัก บริษัทฯ จะพยายามจัดรถรับ-ส่งให้เป็นการเฉพาะ เพื่อไม่ให้ปะปนกับคนงานชาติอื่นๆ ด้วย
2.4. กรณีคนงานไทยฯ ที่ยังร้องขอเดินทางกลับประเทศไทย
2.4.1 บริษัทฯ ได้พยายามสร้างแรงจูงใจให้คนงานไทยฯ ทำงานต่อไปหลายประการตามมาตรการข้างต้นรวมทั้งบริษัทฯ ยังยินดีที่จะจ่ายค่าจ้างย้อนหลังตั้งแต่วันเกิดเหตุจนถึงปัจจุบัน ให้แก่คนงานฯ ทุกคนที่กลับไปทำงานภายในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้ว คนงานรายใดไม่ยอมกลับเข้าทำงานก็จะต้องถูกตัดค่าจ้างตามระเบียบของบริษัทฯ นับตั้งแต่วันที่เกิดเหตุเป็นต้นมา
2.4.2 หลังจากที่เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ และคณะฯ ได้เดินทางไปพบปะเยี่ยมคนงานฯ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้คนงานฯ ตามแคมป์ต่างๆ พบว่าคนงานฯ ส่วนใหญ่มีขวัญและกำลังใจดีขึ้นและมีคนงานฯ กลับเข้าทำงานแล้วกว่าร้อยละ 90 แต่ก็มีคนงานฯ ที่เหลืออีกประมาณ 150 คน ที่ยังมีความต้องการจะกลับประเทศไทย ทั้งนี้ กรณีคนงานฯ ที่ต้องการกลับประเทศไทย บริษัทนายจ้างแจ้งว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาจ้างก่อนกำหนด บริษัทฯ จึงมีสิทธิที่จะเรียกค่าใช้จ่ายที่บริษัทฯ ใช้จ่ายไปในการนำคนงานฯ มาทำงานจากคนงานฯ ซึ่งมีตั้งแต่รายละ 250-350 คูเวตดีน่าร์ (ประมาณ 30,000—42,000 บาท) อย่างไรก็ดี มีคนงานฯ หลายรายยืนกรานที่จะให้นายจ้างหรือผู้ที่เกี่ยวข้องส่งกลับประเทศไทยโดยไม่มีเงื่อนไข โดยอ้างเหตุผลเรื่องความปลอดภัยในชีวิต ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตและบริษัทนายจ้างจะได้ร่วมกันทำความเข้าใจกับคนงานฯ กลุ่มนี้เป็นราย ๆ ต่อไป
3. โครงการเวทีผู้นำเยาวชนเอเชียตะวันออก ( East Asia Youth Leadership Forum)
กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการได้เชิญผู้นำเยาวชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออก อายุระหว่าง 15—22 ปี จาก 13 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ บรูไนฯ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย รวมทั้งประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกอีก 3 ประเทศ (จีน สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น) จำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 200 คน เข้าร่วมโครงการเวทีผู้นำเยาวชนเอเชียตะวันออก ซึ่งกำหนดจะจัดขึ้นในประเทศไทยระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน—1 ธันวาคม 2550 โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ 1) เพื่อสร้างความรู้สึกความเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออก 2) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพภาวะผู้นำ และความรักในสันติภาพแก่เยาวชนอันจะนำไปสู่การสร้างประชาคมเอเชียตะวันออกที่เจริญรุ่งเรืองและอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก
โครงการดังกล่าวจัดทำขึ้นตามมติความเห็นชอบของที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนบวกสาม (ASEAN +3) ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่ประเทศลาว รวมทั้งเป็นโครงการเพื่อการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของจัดตั้งกรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสาม และในโอกาสครอบรอบ 40 ปี ของการก่อตั้งอาเซียน ในปี 2550 ด้วย ทั้งนี้ กิจกรรมของโครงการเวทีผู้นำเยาวชนเอเชียตะวันออก ประกอบด้วย
3.1 พิธีเปิดโครงการฯ จัดขึ้นในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2550 ณ กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการฯ และศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเปิดโครงการฯ
3.2 การสัมมนาทางวิชาการ
- การบรรยายพิเศษเรื่อง “10 ปี อาเซียน + 3 การก้าวสู่ประชาคมเอเชียตะวันออก” ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2550 โดย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ซึ่งจะดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนในวันที่ 1 มกราคม 2551) ณ กระทรวงการต่างประเทศ
- การอภิปรายกลุ่มโดยผู้แทนเยาวชนอาเซียน + 3 เรื่อง “บทบาทของเยาวชนกับการพัฒนาภูมิภาคเอเชียตะวันออกอย่างยั่งยืน” ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2550 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ
- การบรรยายเรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 โดย ดร. สนิท อักษรแก้ว ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และ ดร. ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้ช่วยประธานสถาบันฯ ณ โรงเรียนคลองพิทยา ลงกรณ์ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ
- การบรรยายเรื่อง เยาวชนเอเชียตะวันออก : การขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 โดย ดร. ปรียานุช พิบูลสราวุธ หัวหน้าโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ณ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
3.3 การประชุมกลุ่มย่อย
- การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำข้อเสนอ “เสียงจากเยาวชนเพื่อการขับเคลื่อนประชาคมเอเชียตะวันออก” เพื่อนำเสนอต่อการประชุมสุดยอดอาเซียน +3 ในอนาคต ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2550
3.4 การศึกษาดูงานด้านวิชาการ /ศิลปวัฒนธรรม/ การเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์/ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา/ โครงการก่อสร้างศิลปาชีพเกาะเกิด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กิจกรรมปลูกป่าชายเลน (โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ) และนาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก “โจหลุยส์”
3.5 การเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี ณ ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550
3.6 พิธีปิดการประชุม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เขตพระนคร ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มความร่วมมือต่างประเทศ 2 สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2281-0565 ต่อ 106-108 และ 0 2628-8764 หมายเลขโทรสาร 0 2281-0953 หรือที่อีเมล์: kanittha_ha@yahoo.com phim_ot@yahoo.com และ iamtomja@yahoo.com
4. ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการ Heart to Heart Partnership ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
กระทรวงการต่างประเทศ และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ได้ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการให้การสนับสนุน โครงการ Heart to Heart Partnership ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการศึกษาเพื่อการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก กรุงปักปิ่ง 2551 ซึ่งมีคำขวัญว่า “One World One Dream” โดยเป็นโครงการความร่วมมือที่ใช้วิธีการจับคู่ระหว่างโรงเรียนประถมและมัธยมของกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีนกับโรงเรียนต่างๆ ของประเทศสมาชิกกีฬาโอลิมปิกจำนวน 205 ประเทศรวมทั้งไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดจิตวิญญาณของกีฬาโอลิมปิก เสริมสร้างความเข้าใจอันดี และส่งเสริมมิตรภาพระหว่างเยาวชนจีนกับต่างประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งในส่วนของไทย กระทรวงศึกษาธิการได้เลือกโรงเรียนปากเกร็ด (Pakkred Secondary School) จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นศูนย์เครือข่ายส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนและจัดการสอนภาษาจีน (ระดับเข้ม) ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 เป็นตัวแทนประเทศ เพื่อจับคู่กับโรงเรียนมัธยมรถไฟปักกิ่งที่ 2 (Beijing No.2 Railway Middle School)
เกี่ยวกับเรื่องนี้ กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ได้ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณและประสานงานในการนำผู้อำนวยการโรงเรียนปากเกร็ด พร้อมด้วยคณาจารย์และนักเรียน รวม 16 คน เดินทางไปเยือนกรุงปักกิ่งระหว่างวันที่ 21 - 25 พฤศจิกายน 2550 เพื่อพบปะหารือกับผู้บริหารของโรงเรียนมัธยมรถไฟปักกิ่งที่ 2 เกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการฯ ที่จะดำเนินงานร่วมกันในอนาคตตลอดจนคณะดังกล่าวมีกำหนดที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับโรงเรียนฝ่ายจีน อาทิ การจัดแสดงทางวัฒนธรรมของโรงเรียนไทย การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประเทศไทยการพบปะระหว่างนักเรียนไทยกับจีนที่เรียนภาษาไทย และการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนจีนเกี่ยวกับการเข้าร่วมของโรงเรียนฝ่ายไทยใน โครงการ ฯ
ทั้งนี้ ในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคระหว่างวันที่ 8-24 สิงหาคม 2551 อาจารย์และนักเรียนของโรงเรียนมัธยมรถไฟปักกิ่งที่ 2 จะเข้าร่วมในพิธีต้อนรับ ตลอดจนเป็นกองเชียร์ให้กับคณะนักกีฬาไทยและเป็นผู้เชิญนักกีฬาไทยเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนด้วย
โครงการ Heart to Heart Partnership ดังกล่าว จะช่วยสร้างความสามัคคีระหว่างเยาวชนของสองประเทศ ทั้งการสร้างเครือข่ายในการติดต่อและการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่างๆ ในอนาคต อีกทั้งยังช่วยในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมไทยให้กว้างขวางยิ่งขึ้นในหมู่นักเรียนของสาธารณรัฐประชาชนจีน และยังช่วยเสริมสร้างโลกทัศน์และประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ให้แก่นักเรียนจากโรงเรียนปากเกร็ดที่เข้าร่วมโครงการฯ นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสอันดีที่คณะนักเรียนฯ จะสามารถนำความรู้ภาษาจีนที่เรียนไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง การเข้าร่วมโครงการฯ ยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชนโดยใช้กีฬาและวัฒนธรรมเป็นสื่อ
5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมอบเงินสนับสนุนสมาคมมิตรภาพไทย -ไนจีเรีย
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นประธานในพิธีมอบเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่นายพจน์ อินทุวงศ์ อดีตเอกอัครราชทูต ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550 เวลา 14.30 น. ณ กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อนำไปสมทบให้การสนับสนุนการดำเนินงานของสมาคมมิตรภาพฯ
กระทรวงการต่างประเทศได้มอบเงินจำนวนดังกล่าวแก่สมาคมฯ เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญของไนจีเรียในฐานะประเทศยุทธศาสตร์สำคัญในภูมิภาคแอฟริกา ที่มีบทบาทนำทางด้านการเมือง ความมั่นคงและเศรษฐกิจ รวมทั้งมีประชากรมากที่สุดในภูมิภาค นอกจากนี้ ไนจีเรียยังเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก กอปรกับการที่ไทยได้ทำการเปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจาเมื่อเดือนธันวาคม 2549 การดำเนินงานของสมาคมฯ จะมีส่วนสำคัญในการเกื้อหนุนการดำเนินการของกระทรวงฯ ในการส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศให้มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
สมาคมมิตรภาพไทย-ไนจีเรีย (Thai-Nigerian Friendship Association) ได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2547 โดย ศจ.นพ. กระแส ชนะวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ เป็นคนแรก ทั้งนี้ การริเริ่มจัดตั้งสมาคมดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่เมื่อเดือนสิงหาคม 2546 ศจ.นพ. กระแสฯ ขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษา นายกรัฐมนตรี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พล.อ. มนตรี ศุภาพร รองปลัดกระทรวงกลาโหม และคณะผู้แทนภาครัฐและเอกชน เดินทางไปเยือนไนจีเรีย ซึ่งบุคคลทั้งสองได้เห็นถึงความสำคัญของไนจีเรียจึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดตั้งสมาคมดังกล่าว การจัดตั้งสมาคมฯ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญประกอบด้วย 1) เพื่อส่งเสริมมิตรภาพและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยและไนจีเรีย 2) เพื่อส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิกสมาคมฯ 3) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว การกีฬา การเผยแพร่วัฒนธรรมระหว่างไทยและไนจีเรียและกลุ่มพันธมิตร 4) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและสังคมระหว่างไทยและไนจีเรีย 5) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และงานวิชาการระหว่างไทยและไนจีเรีย 6) เพื่อดำเนินการหารือร่วมกันในการประกอบกิจกรรมการกุศลและสาธารณประโยชน์ระหว่างไทยและไนจีเรีย 7) เพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ ความคิดเห็น ประสบการณ์ และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับไทยและไนจีเรีย และ 8) เพื่อประสานประโยชน์ระหว่างองค์กรของภาครัฐและเอกชนของทั้งสองประเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ในส่วนของสมาคมฯ นั้น นายพจน์ อินทุวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกสมาคมฯ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2550 โดยมี พล.ร.ท. นิทัศน์ เพชรน้อย และพล.ต. วิสูตร เกิดเกรียงบุญ ทำหน้าที่อุปนายกและเลขาธิการสมาคมฯ ตามลำดับ โดยมีสมาชิกของสมาคมฯ จำนวนรวมทั้งสิ้น 45 คน และได้กำหนดเป้าหมายสำคัญในการดำเนินงานในอนาคต ได้แก่ 1) การส่งเสริมและผลักดันให้ภาครัฐและเอกชนของไทยและไนจีเรียมีปฏิสัมพันธ์และเดินทางไปมาหาสู่กันมากขึ้น 2) การส่งเสริมให้ไทยขยายการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ฝ่ายไนจีเรียให้มากขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และช่วยให้ชาวไนเจียพ้นจากความยากจน และ 3) การส่งเสริมให้มีการจับคู่ทางธุรกิจระหว่าง
นักธุรกิจและไนจีเรีย โดยอาศัยเครือข่ายของสมาชิกสมาคมฯ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2550 นายวรเดช วีระเวคิน รองอธิบดีกรมสารนิเทศและรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ มีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟัง และซักถามในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. โครงการนำกลุ่มเพื่อนไทย (Friends of Thailand) จากรัฐกลันตันและตรังกานูเยือนไทย
กระทรวงการต่างประเทศ ได้รับแจ้งจากสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู ว่า สถานกงสุลใหญ่ฯ จะนำ กลุ่มเพื่อนไทย (Friends of Thailand) จากรัฐกลันตันและตรังกานู ประเทศมาเลเซีย จำนวนประมาณ 120 คน เดินทางเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 21 -25 พฤศจิกายน 2550
โครงการดังกล่าวเป็นความริเริ่มของสถานกงสุลใหญ่ฯ ซึ่งได้รับการติดต่อประสานจากกลุ่มชาวรัฐกลันตันและตรังกานูจำนวนประมาณ 120 คน ซึ่งเรียกตนเองว่า “กลุ่มเพื่อนไทยจากรัฐกลันตันและตรังกานู (Friends of Thailand from Kelantan and Terangganu)” ถึงความประสงค์ที่จะเดินทางมาเยือนกรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ 1) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเชื่อมั่น (confidence building) ต่อสาธารณะให้กับจังหวัดนราธิวาส ซึ่งได้สูญหายไปนับตั้งแต่การเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการรื้อฟื้นการเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างประชาชนตามแนวชายแดนของ ทั้งสองประเทศ (people-to-people contacts) ซึ่งเกิดภาวะชงักงันอันเนื่องจากเหตุการณ์ ความไม่สงบในสามจังหวัดภาคใต้ และ 3) เพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้เห็นว่าแม้รัฐกลันตันและตรังกานู จะเป็นที่แคลือบแคลงสงสัยของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้บางคนบางกลุ่มว่า เป็นแหล่งที่หลบซ่อนและเป็นที่พักพิงของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ แต่ก็มีกลุ่มคนในมาเลเซียที่เป็นเพื่อนของประเทศไทยที่พร้อมจะให้การสนับสนุนความพยายามและความร่วมมือของรัฐบาลไทยและรัฐบาลมาเลเซียในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ย่อมส่งผลกระทบทางลบต่อการไปมาหาสู่ของประชาชน รวมทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวในพื้นที่ชายแดน ของประเทศทั้งสองอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นกอปรกับการที่ปัญหาการก่อความไม่สงบในสามจังหวัดภาคใต้ยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศอย่างมิอาจปฏิเสธได้ สถานกงสุลใหญ่ฯ ในฐานะหน่วยงานของรัฐซึ่งตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้ดำเนินโครงการดังกล่าวเพื่อสนองตอบต่อนโยบายของรัฐบาลซึ่งได้ยกเรื่องนี้ขึ้นเป็นวาระแห่งชาติ ดังนั้น เมื่อปรากฏมีกลุ่มบุคคลที่มีความหวังดีต่อประเทศไทยและต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและมาเลเซีย สถานกงสุลใหญ่ฯ จึงยินดีที่จะช่วยประสานสานในการอำนวยความสะดวกแก่คณะฯ อาทิ การติดต่อขอเช่าเครื่องบินเหมาลำ การจองโรงแรมที่พัก การเช่ายานพาหนะรับ-ส่ง และการประสานสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญต่างๆ และได้ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศประสานกับหน่วยงานต่างๆ ในการจัดกำหนดการเยือนของคณะในครั้งนี้ให้สมบูรณ์ อาทิ การเข้าเยี่ยมคารวะปลัดกระทรวงการต่างประเทศและผู้บริหารของกระทรวงฯ การ เข้าชมพระบรมมหาราชวังและพระที่นั่งบางปะอิน และการเยี่ยมชมศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) นอกจากนี้ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จะเป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยงอาหารเพื่อเป็นเกียรติแก่คณะฯ อีกด้วย
2. การดำเนินการให้ความช่วยเหลือและการแก้ไขปัญหากรณีคนงานไทยของบริษัท Kharafi National W.L.L. ในคูเวตถูกคนงานอียิปต์ของบริษัทเดียวกันทำร้าย
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์คนงานอียิปต์ของบริษัท Kharafi National W.L.L. ในเขต Shu’ aibah Industrial Area ของคูเวต ทำร้ายคนงานไทยของบริษัทเดียวกันในแคมป์ที่พักเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 นั้น กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากกรมการกงสุล และสถานเอกอัครราชทูต ณ คูเวตว่า เมื่อวันที่ 8-12 พฤศจิกายน 2550 นายปกรณ์ อมรชีวิน ผู้ตรวจราชการ ระดับ 9 กระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนายชาญชัย เจียมบุญศรี เจ้าหน้าที่การทูต 8 กองคุ้มครองดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ และคณะเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานได้เดินทางไปคูเวต เพื่อประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูต ณ คูเวต และบริษัทนายจ้าง รวมทั้งพบปะ/เยี่ยมคนงานไทยฯ เพื่อให้ความช่วยเหลือและหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว ผลการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรณีคนงานไทยฯ ที่ได้รับผู้บาดเจ็บ
2.1.1 จากการที่คณะฯ เดินทางไปเยี่ยมคนงานไทยฯ ตามแคมป์ที่พักต่าง ๆ ปรากฏว่า คนงานไทยฯ ที่ได้รับบาดเจ็บได้ร้องขอให้ส่งตัวกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทยมีจำนวน 4 คน คือ
- นายสมบัติ ปราบนอก
- นายธีรศักดิ์ ภู่เรียนคู่
- นายสุนทร ดีเลิศ และ
- นายภมรชัย วงษ์เป็ง
2.1.2 สำหรับผู้บาดเจ็บที่เหลือ คณะฯ และสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ขอให้บริษัทนายจ้างแยกตัวออกจากคนงานปกติ เพื่อให้ได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นกรณีพิเศษ รายใดที่บาดเจ็บมากก็ขอให้หยุดพักงานจนกว่าอาการจะทุเลา โดยขอให้นายจ้างรายงานผลคืบหน้าให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ทราบเป็นระยะ
2.1.3 ผู้บาดเจ็บที่มีอาการค่อนข้างหนัก (อาทิ ศรีษะแตกและเย็บหลายข็มมีบาดแผลจากการถูกตีด้วยตะปู และได้รับความบอบช้ำ ) จำนวนหลายคนสมัครใจขอรักษาตัวเพื่อเข้าทำงานต่อ โดยให้เหตุผลว่าต้องการรายได้เพื่อชดใช้หนี้สินในประเทศไทย ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้กำชับให้นายจ้างให้การดูแลบุคคลเหล่านี้เป็นกรณีพิเศษแล้ว
นอกจากสถานเอกอัครราชทูตฯ จะกำชับนายจ้างเพื่อให้การดูแลคนงานไทยที่ได้รับบาดเจ็บเป็นพิเศษแล้ว
กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนเพิ่มเติมเพื่อช่วยคลายความห่วงกังวลของญาติพี่น้องรวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยว่า กระทรวงฯ และสถานเอกอัครราชทูตฯ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จะหมั่นคอยติดตาม/สอดส่อง เอาใจใส่และดูแลสวัสดิภาพของคนงานไทยฯ ให้อย่างเต็มที่
2.2 กรณีคนงานไทยฯ ที่ถูกควบคุมตัว
2.2.1 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 คนงานไทยฯ จำนวน 19 คน ที่ถูกควบคุมตัวในข้อหาดื่มสุราได้ขึ้นศาลเพื่อพิจารณาคดี โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปเป็นล่ามระหว่างการพิจารณาคดี แต่เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นช่วงสุดสัปดาห์ ศาลจึงยังไม่มีคำพิพากษาตัดสินและให้ควบคุมตัวไว้ก่อน
2.2.2 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2550 นายดุสิต จันตะเสน เอกอัครราชทูต ณ คูเวต ได้เดินทางไปเยี่ยมคนงานไทยฯ ทั้ง 19 คน ที่ถูกควบคุมตัวและพบว่าบุคคลเหล่านั้นไม่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกรุมทำร้ายแต่อย่างใด และส่วนใหญ่ถูกควบคุมตัวจากห้องพักคนงานฯ ซึ่งจากการพูดคุยสอบถามคนงานเหล่านี้ต่างยินดีจะอยู่ทำงานต่อในคูเวต
2.2.3 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2550 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับแจ้งจากศาลว่า คนงานไทยที่ถูกควบคุมจะได้รับปล่อยตัว สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ติดต่อเพื่อขอรับตัวคนงานไทยจากเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อไป
2.3 มาตรการในการป้องกันรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกแก่คนงานไทยฯ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2550 สถานเอกอัครราชทูตฯ และคณะผู้แทนไทยได้ร่วมประชุมหารือกับฝ่ายบริหารของบริษัท Kharafi National W.L.L ได้รับทราบแนวทางในป้องกันรักษาความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกแก่คนงานไทยฯ ดังนี้
2.3.1 บริษัทฯ กำลังดำเนินการจัดหาแคมป์ที่พักพิเศษสำหรับแรงงานไทยทั้งหมด เพื่อมิให้ปะปนกับคนงานชาติอื่นๆ โดยในชั้นแรก กำหนดจะจัดให้พักที่แคมป์ Al-Muntasser เพียงแห่งเดียว แต่ภายหลังการสำรวจโดยละเอียดแล้ว พบว่าไม่สามารถจัดให้คนงานไทยฯ จำนวนกว่า 1,000 คน พักรวมอยู่ด้วยกันทั้งหมด โดยจำเป็นต้องจัดแบ่งออกเป็น 2 แคมป์ คือ 1) Al-Muntasser Camp จำนวนประมาณ 800 คน และ 2) Mahbula Camp จำนวนประมาณ 200 คน ซึ่งทั้งสองแคมป์มีสภาพและที่ตั้งโดยทั่วไปเหมาะสมและปลอดภัย
2.3.2 บริษัทฯ ได้รับที่จะดำเนินการให้คนงานไทยฯ อยู่อย่างปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้อยู่สุขสบายขึ้น โดยจะจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ดังนี้
(1) จัดหาผู้ประสานงาน (Camp Boss) เป็นคนไทยให้มาดูแลทุกข์สุข และเป็นคนกลางในการสื่อสารระหว่างคนงานไทยฯ กับผู้บริหารของบริษัทฯ
(2) จัดหาบุรุษพยาบาล หรือบุคคลที่เคยเป็นทหารเสนารักษ์มาประจำเพื่อทำหน้าที่ดูแลสุขภาพเบื้องต้นสำหรับ คนงานไทยฯ และเพื่อแก้ไขปัญหากรณีที่คนงานฯ เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยแล้ว ไม่สามารถบอกกล่าวหรือสื่อสารกับนายจ้างได้
(3) จัดรถรับ-ส่งให้แรงงานไทยเป็นกรณีพิเศษ มิให้ปะปนกับแรงงานชาติอื่น รวมทั้งจะพยายามจัดสถานที่ทำงานให้แยกจากชาติอื่น โดยเฉพาะคนงานชาติคู่กรณีนอกจากนั้นในช่วงนอกเวลาทำงานที่คนงานไทยฯ อาจต้องไปทำธุระส่วนตัวในเมืองนอกแคมป์ที่พัก บริษัทฯ จะพยายามจัดรถรับ-ส่งให้เป็นการเฉพาะ เพื่อไม่ให้ปะปนกับคนงานชาติอื่นๆ ด้วย
2.4. กรณีคนงานไทยฯ ที่ยังร้องขอเดินทางกลับประเทศไทย
2.4.1 บริษัทฯ ได้พยายามสร้างแรงจูงใจให้คนงานไทยฯ ทำงานต่อไปหลายประการตามมาตรการข้างต้นรวมทั้งบริษัทฯ ยังยินดีที่จะจ่ายค่าจ้างย้อนหลังตั้งแต่วันเกิดเหตุจนถึงปัจจุบัน ให้แก่คนงานฯ ทุกคนที่กลับไปทำงานภายในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้ว คนงานรายใดไม่ยอมกลับเข้าทำงานก็จะต้องถูกตัดค่าจ้างตามระเบียบของบริษัทฯ นับตั้งแต่วันที่เกิดเหตุเป็นต้นมา
2.4.2 หลังจากที่เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ และคณะฯ ได้เดินทางไปพบปะเยี่ยมคนงานฯ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้คนงานฯ ตามแคมป์ต่างๆ พบว่าคนงานฯ ส่วนใหญ่มีขวัญและกำลังใจดีขึ้นและมีคนงานฯ กลับเข้าทำงานแล้วกว่าร้อยละ 90 แต่ก็มีคนงานฯ ที่เหลืออีกประมาณ 150 คน ที่ยังมีความต้องการจะกลับประเทศไทย ทั้งนี้ กรณีคนงานฯ ที่ต้องการกลับประเทศไทย บริษัทนายจ้างแจ้งว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาจ้างก่อนกำหนด บริษัทฯ จึงมีสิทธิที่จะเรียกค่าใช้จ่ายที่บริษัทฯ ใช้จ่ายไปในการนำคนงานฯ มาทำงานจากคนงานฯ ซึ่งมีตั้งแต่รายละ 250-350 คูเวตดีน่าร์ (ประมาณ 30,000—42,000 บาท) อย่างไรก็ดี มีคนงานฯ หลายรายยืนกรานที่จะให้นายจ้างหรือผู้ที่เกี่ยวข้องส่งกลับประเทศไทยโดยไม่มีเงื่อนไข โดยอ้างเหตุผลเรื่องความปลอดภัยในชีวิต ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตและบริษัทนายจ้างจะได้ร่วมกันทำความเข้าใจกับคนงานฯ กลุ่มนี้เป็นราย ๆ ต่อไป
3. โครงการเวทีผู้นำเยาวชนเอเชียตะวันออก ( East Asia Youth Leadership Forum)
กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการได้เชิญผู้นำเยาวชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออก อายุระหว่าง 15—22 ปี จาก 13 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ บรูไนฯ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย รวมทั้งประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกอีก 3 ประเทศ (จีน สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น) จำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 200 คน เข้าร่วมโครงการเวทีผู้นำเยาวชนเอเชียตะวันออก ซึ่งกำหนดจะจัดขึ้นในประเทศไทยระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน—1 ธันวาคม 2550 โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ 1) เพื่อสร้างความรู้สึกความเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออก 2) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพภาวะผู้นำ และความรักในสันติภาพแก่เยาวชนอันจะนำไปสู่การสร้างประชาคมเอเชียตะวันออกที่เจริญรุ่งเรืองและอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก
โครงการดังกล่าวจัดทำขึ้นตามมติความเห็นชอบของที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนบวกสาม (ASEAN +3) ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่ประเทศลาว รวมทั้งเป็นโครงการเพื่อการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของจัดตั้งกรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสาม และในโอกาสครอบรอบ 40 ปี ของการก่อตั้งอาเซียน ในปี 2550 ด้วย ทั้งนี้ กิจกรรมของโครงการเวทีผู้นำเยาวชนเอเชียตะวันออก ประกอบด้วย
3.1 พิธีเปิดโครงการฯ จัดขึ้นในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2550 ณ กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการฯ และศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเปิดโครงการฯ
3.2 การสัมมนาทางวิชาการ
- การบรรยายพิเศษเรื่อง “10 ปี อาเซียน + 3 การก้าวสู่ประชาคมเอเชียตะวันออก” ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2550 โดย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ซึ่งจะดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนในวันที่ 1 มกราคม 2551) ณ กระทรวงการต่างประเทศ
- การอภิปรายกลุ่มโดยผู้แทนเยาวชนอาเซียน + 3 เรื่อง “บทบาทของเยาวชนกับการพัฒนาภูมิภาคเอเชียตะวันออกอย่างยั่งยืน” ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2550 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ
- การบรรยายเรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 โดย ดร. สนิท อักษรแก้ว ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และ ดร. ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้ช่วยประธานสถาบันฯ ณ โรงเรียนคลองพิทยา ลงกรณ์ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ
- การบรรยายเรื่อง เยาวชนเอเชียตะวันออก : การขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 โดย ดร. ปรียานุช พิบูลสราวุธ หัวหน้าโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ณ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
3.3 การประชุมกลุ่มย่อย
- การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำข้อเสนอ “เสียงจากเยาวชนเพื่อการขับเคลื่อนประชาคมเอเชียตะวันออก” เพื่อนำเสนอต่อการประชุมสุดยอดอาเซียน +3 ในอนาคต ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2550
3.4 การศึกษาดูงานด้านวิชาการ /ศิลปวัฒนธรรม/ การเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์/ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา/ โครงการก่อสร้างศิลปาชีพเกาะเกิด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กิจกรรมปลูกป่าชายเลน (โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ) และนาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก “โจหลุยส์”
3.5 การเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี ณ ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550
3.6 พิธีปิดการประชุม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เขตพระนคร ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มความร่วมมือต่างประเทศ 2 สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2281-0565 ต่อ 106-108 และ 0 2628-8764 หมายเลขโทรสาร 0 2281-0953 หรือที่อีเมล์: kanittha_ha@yahoo.com phim_ot@yahoo.com และ iamtomja@yahoo.com
4. ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการ Heart to Heart Partnership ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
กระทรวงการต่างประเทศ และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ได้ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการให้การสนับสนุน โครงการ Heart to Heart Partnership ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการศึกษาเพื่อการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก กรุงปักปิ่ง 2551 ซึ่งมีคำขวัญว่า “One World One Dream” โดยเป็นโครงการความร่วมมือที่ใช้วิธีการจับคู่ระหว่างโรงเรียนประถมและมัธยมของกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีนกับโรงเรียนต่างๆ ของประเทศสมาชิกกีฬาโอลิมปิกจำนวน 205 ประเทศรวมทั้งไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดจิตวิญญาณของกีฬาโอลิมปิก เสริมสร้างความเข้าใจอันดี และส่งเสริมมิตรภาพระหว่างเยาวชนจีนกับต่างประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งในส่วนของไทย กระทรวงศึกษาธิการได้เลือกโรงเรียนปากเกร็ด (Pakkred Secondary School) จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นศูนย์เครือข่ายส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนและจัดการสอนภาษาจีน (ระดับเข้ม) ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 เป็นตัวแทนประเทศ เพื่อจับคู่กับโรงเรียนมัธยมรถไฟปักกิ่งที่ 2 (Beijing No.2 Railway Middle School)
เกี่ยวกับเรื่องนี้ กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ได้ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณและประสานงานในการนำผู้อำนวยการโรงเรียนปากเกร็ด พร้อมด้วยคณาจารย์และนักเรียน รวม 16 คน เดินทางไปเยือนกรุงปักกิ่งระหว่างวันที่ 21 - 25 พฤศจิกายน 2550 เพื่อพบปะหารือกับผู้บริหารของโรงเรียนมัธยมรถไฟปักกิ่งที่ 2 เกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการฯ ที่จะดำเนินงานร่วมกันในอนาคตตลอดจนคณะดังกล่าวมีกำหนดที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับโรงเรียนฝ่ายจีน อาทิ การจัดแสดงทางวัฒนธรรมของโรงเรียนไทย การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประเทศไทยการพบปะระหว่างนักเรียนไทยกับจีนที่เรียนภาษาไทย และการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนจีนเกี่ยวกับการเข้าร่วมของโรงเรียนฝ่ายไทยใน โครงการ ฯ
ทั้งนี้ ในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคระหว่างวันที่ 8-24 สิงหาคม 2551 อาจารย์และนักเรียนของโรงเรียนมัธยมรถไฟปักกิ่งที่ 2 จะเข้าร่วมในพิธีต้อนรับ ตลอดจนเป็นกองเชียร์ให้กับคณะนักกีฬาไทยและเป็นผู้เชิญนักกีฬาไทยเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนด้วย
โครงการ Heart to Heart Partnership ดังกล่าว จะช่วยสร้างความสามัคคีระหว่างเยาวชนของสองประเทศ ทั้งการสร้างเครือข่ายในการติดต่อและการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่างๆ ในอนาคต อีกทั้งยังช่วยในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมไทยให้กว้างขวางยิ่งขึ้นในหมู่นักเรียนของสาธารณรัฐประชาชนจีน และยังช่วยเสริมสร้างโลกทัศน์และประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ให้แก่นักเรียนจากโรงเรียนปากเกร็ดที่เข้าร่วมโครงการฯ นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสอันดีที่คณะนักเรียนฯ จะสามารถนำความรู้ภาษาจีนที่เรียนไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง การเข้าร่วมโครงการฯ ยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชนโดยใช้กีฬาและวัฒนธรรมเป็นสื่อ
5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมอบเงินสนับสนุนสมาคมมิตรภาพไทย -ไนจีเรีย
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นประธานในพิธีมอบเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่นายพจน์ อินทุวงศ์ อดีตเอกอัครราชทูต ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550 เวลา 14.30 น. ณ กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อนำไปสมทบให้การสนับสนุนการดำเนินงานของสมาคมมิตรภาพฯ
กระทรวงการต่างประเทศได้มอบเงินจำนวนดังกล่าวแก่สมาคมฯ เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญของไนจีเรียในฐานะประเทศยุทธศาสตร์สำคัญในภูมิภาคแอฟริกา ที่มีบทบาทนำทางด้านการเมือง ความมั่นคงและเศรษฐกิจ รวมทั้งมีประชากรมากที่สุดในภูมิภาค นอกจากนี้ ไนจีเรียยังเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก กอปรกับการที่ไทยได้ทำการเปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจาเมื่อเดือนธันวาคม 2549 การดำเนินงานของสมาคมฯ จะมีส่วนสำคัญในการเกื้อหนุนการดำเนินการของกระทรวงฯ ในการส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศให้มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
สมาคมมิตรภาพไทย-ไนจีเรีย (Thai-Nigerian Friendship Association) ได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2547 โดย ศจ.นพ. กระแส ชนะวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ เป็นคนแรก ทั้งนี้ การริเริ่มจัดตั้งสมาคมดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่เมื่อเดือนสิงหาคม 2546 ศจ.นพ. กระแสฯ ขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษา นายกรัฐมนตรี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พล.อ. มนตรี ศุภาพร รองปลัดกระทรวงกลาโหม และคณะผู้แทนภาครัฐและเอกชน เดินทางไปเยือนไนจีเรีย ซึ่งบุคคลทั้งสองได้เห็นถึงความสำคัญของไนจีเรียจึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดตั้งสมาคมดังกล่าว การจัดตั้งสมาคมฯ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญประกอบด้วย 1) เพื่อส่งเสริมมิตรภาพและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยและไนจีเรีย 2) เพื่อส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิกสมาคมฯ 3) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว การกีฬา การเผยแพร่วัฒนธรรมระหว่างไทยและไนจีเรียและกลุ่มพันธมิตร 4) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและสังคมระหว่างไทยและไนจีเรีย 5) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และงานวิชาการระหว่างไทยและไนจีเรีย 6) เพื่อดำเนินการหารือร่วมกันในการประกอบกิจกรรมการกุศลและสาธารณประโยชน์ระหว่างไทยและไนจีเรีย 7) เพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ ความคิดเห็น ประสบการณ์ และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับไทยและไนจีเรีย และ 8) เพื่อประสานประโยชน์ระหว่างองค์กรของภาครัฐและเอกชนของทั้งสองประเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ในส่วนของสมาคมฯ นั้น นายพจน์ อินทุวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกสมาคมฯ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2550 โดยมี พล.ร.ท. นิทัศน์ เพชรน้อย และพล.ต. วิสูตร เกิดเกรียงบุญ ทำหน้าที่อุปนายกและเลขาธิการสมาคมฯ ตามลำดับ โดยมีสมาชิกของสมาคมฯ จำนวนรวมทั้งสิ้น 45 คน และได้กำหนดเป้าหมายสำคัญในการดำเนินงานในอนาคต ได้แก่ 1) การส่งเสริมและผลักดันให้ภาครัฐและเอกชนของไทยและไนจีเรียมีปฏิสัมพันธ์และเดินทางไปมาหาสู่กันมากขึ้น 2) การส่งเสริมให้ไทยขยายการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ฝ่ายไนจีเรียให้มากขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และช่วยให้ชาวไนเจียพ้นจากความยากจน และ 3) การส่งเสริมให้มีการจับคู่ทางธุรกิจระหว่าง
นักธุรกิจและไนจีเรีย โดยอาศัยเครือข่ายของสมาชิกสมาคมฯ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-