กรุงเทพ--15 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. กฎบัตรอาเซียน
(ASEAN Charter)
มีสาระสำคัญเป็นเครื่องมือในการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ ทั้งนี้ ร่างกฎบัตรอาเซียนมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ด้าน ได้แก่
(1) ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่เคารพกฎกติกาในการดำเนินงาน (rule-based organization) โดยสร้างกลไกสอคส่องดูแลการปฏิบัติตามพันธกรณีและข้อตกลงต่างๆ ของอาเซียนโดยประเทศสมาชิก และให้ผู้นำมีอำนาจตัดสินใจดำเนินมาตรการใดๆ ในกรณีที่มีการละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรอย่างร้ายแรง เป็นต้น
(2) ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (people-oriented organization) โดยสร้างค่านิยมร่วมกัน เช่น การส่งเสริมประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล สิทธิมนุษยชน การให้ประชาชนเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาและการลดความยากจน รวมทั้งจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียนและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
(3) ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการ (ก) กำหนดให้การตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานของหลักฉันทามติต่อไปแต่เพิ่มความยืดหยุ่นโดยผู้นำสามารถตัดสินใจโดยวิธีการอื่นได้ในกรณีที่ไม่สามารถมีฉันทามติ โดยเฉพาะในกรณีที่มีการละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตร หรือการกระทำใดที่ก่อให้ เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่ออาเซียน (ข) ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการสร้างความยืดหยุ่นในการตีความหลักการห้ามแทรกแซงกิจการภายใน และ (ค) การให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียน
2. ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม
(ASEAN Declaration on Sustainable Environment)
มีสาระสำคัญแสดงถึงเจตนารมณ์ของผู้นำอาเซียนและแผนการดำเนินงานในด้านสิ่งแวดล้อม โดยย้ำว่า อาเซียนตระหนักถึงความห่วงกังวลของประชาคมโลกเรื่องปัญหาสภาวะโลกร้อน และพร้อมสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องนี้ ซึ่งรวมถึงปฏิญญาผู้นำเอเปคว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ (UNFCCC) ครั้งที่ 13 และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต ครั้งที่ 3 ทั้งนี้ ปฏิญญาฯ จะเน้นความร่วมมือในการจัดการปัญหาและการส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ที่ยั่งยืนใน 3 ด้านหลักๆ คือ การอนุรักษ์และบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การเตรียมการรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
3. ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการประชุมของรัฐภาคีในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 13 และการประชุมของรัฐภาคีว่าด้วยพิธีสารเกียวโต ครั้งที่ 3
(ASEAN Declaration on the 13th Session of the Conference of Parties to the United Nations Framework Convention on Climate Change and the 3rd Meeting of the Parties to the Kyoto Protocol)
มีสาระสำคัญย้ำถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการปฏิบัติในกรอบอาเซียนตามพันธกรณีของ UNFCCC และ พิธีสารเกียวโตที่จะดำเนินการเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบนพื้นฐานความสามารถของแต่ละประเทศ รวมทั้งผลักดันให้การประชุมรัฐภาคีของ UNFCCC ครั้งที่ 13 และการประชุมรัฐภาคีของพิธีสารเกียวโตครั้งที่ 3 ให้ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ ร่างปฏิญญาฯ คำนึงถึงการมีส่วนร่วมรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างกันในการดำเนินการของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะการผลักดันให้ประเทศในภาคผนวกที่ 1 ของ UNFCCC ให้ปฏิบัติตามพันธกรณีในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเสริมสร้างขีดความสามารถ รวมทั้งเน้นความร่วมมือในระดับ ทวิภาคี ระดับภูมิภาค และระดับโลกเพื่อส่งเสริมการพัฒนา การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ
4. ปฏิญญาสิงคโปร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม
(Singapore Declaration on Climate Change, Energy and the Environment)
มีสาระสำคัญระบุถึงความต้องการร่วมกันของประเทศที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกในการจัดการผลกระทบอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาพลังงานทางเลือกและการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงป่าไม้ แหล่งน้ำ และการป้องกันภัยพิบัติ โดยยึดแนวข้อตกลงในกรอบ UNFCCC และได้ระบุแนวทางความร่วมมือ อาทิ การร่วมลงทุนด้านเทคโนโลยีสะอาด การถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนการส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัย ค้นคว้าและพัฒนา
5. ปฏิญญาร่วมว่าด้วยการประชุมสุดยอดสมัยพิเศษอาเซียน-สหภาพยุโรป
(Joint Declaration of the ASEAN-EU Commemorative Summit)
มีสาระสำคัญมอบหมายให้รัฐมนตรีต่างประเทศและเจ้าหน้าที่อาวุโสดำเนินการให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการภายใต้ปฏิญญานูเร็มเบิร์กว่าด้วยการเสริมสร้างพันธมิตรระหว่างอาเซียน-สหภาพยุโรป และเห็นว่าการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียน-สหภาพยุโรปที่ได้เริ่มการเจรจาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 จะส่งผลให้มีการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน นอกจากนี้ ยังได้ย้ำถึงความสำคัญของสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค โดยแสดงความคาดหวังว่า สหภาพยุโรปจะสามารถเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาฯ ได้โดยเร็ว
6. ปฏิญญาสิงค์โปร์ว่าด้วยกฎบัตรอาเซียน
(Singapore Declaration on the ASEAN Charter)
มีสาระสำคัญเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกเคารพสิทธิและปฏิบัติตามพันธกรณีที่ระบุในกฎบัตรอาเซียน รวมทั้งให้ประเทศสมาชิกให้สัตยาบันกฎบัตรโดยเร็วเพื่อให้มีผลบังคับใช้ ตลอดจนดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อนำข้อบทของกฎบัตรไปบังคับใช้
7. แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกฉบับที่ 2
(2nd Joint Statement on East Asia Cooperation)
จัดทำขึ้นในโอกาสครบรอบ 10 ปีของกรอบอาเซียน+3 โดยย้ำถึงเป้าหมายระยะยาว คือ การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก และกำหนดทิศทางความร่วมมือในอนาคตของกรอบอาเซียน+3 ในช่วง 10 ปีข้างหน้า (2550-2560) รวมทั้งกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนความร่วมมืออาเซียน+3 เพื่อดำเนินกิจกรรมในกรอบดังกล่าว
8. แผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียน+3
(ASEAN Plus Three Cooperation Work Plan)
มีสาระสำคัญกำหนดแนวทางความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อให้บรรลุตามวัตถุปรสงค์ที่ระบุไว้ในร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออก ฉบับที่ 2 ซึ่งระบุสาขาความร่วมมือหลัก 4 ด้าน ได้แก่ การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจและการเงิน พลังงานและการพัฒนาที่ยั่งยืน สังคมและวัฒนธรรม
9. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์อาเซียน-จีน
(Memorandum of Understanding on Establishing ASEAN-China Centre)
มีสาระสำคัญให้จัดตั้งศูนย์อาเซียน-จีนที่กรุงปักกิ่ง เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการแบบครบวงจร ที่ให้ข้อมูล แนะนำ และกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษาและวัฒนธรรมระหว่างอาเซียนและจีน โดยได้กำหนดขอบเขตของภาระหน้าที่และกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งโครงสร้างการดำเนินงานของศูนย์ฯ ทั้งนี้ จีนและอาเซียนจะร่วมกันรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ในการดำเนินงานของศูนย์ฯ ซึ่งในชั้นนี้ ยังอยู่ระหว่างการเจรจาถึงสัดส่วนของการสนับสนุนทางการเงินที่เป็นที่ยอมรับได้ของทั้งสองฝ่ายอยู่
10. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์อาเซียน-เกาหลี
(Memorandum of Understanding on Establishing ASEAN-Korea Centre)
มีสาระสำคัญให้มีการจัดตั้งศูนย์อาเซียน-เกาหลีที่กรุงโซล เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลี โดยสาธารณรัฐเกาหลีจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของศูนย์ฯ ในขณะที่ไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการส่งเจ้าหน้าที่ไปประจำการที่ศูนย์ฯ ประเทศละ 4 คน
11. แผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามปฏิญญาร่วมว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วน อย่างรอบด้านระหว่างอาเซียน-ออสเตรเลีย
(Plan of Action to Implement the Joint Declaration on ASEAN-Australia Comprehensive Partnership)
มีสาระสำคัญให้เพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียกับประเทศในภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียในทุก ๆ ด้าน ได้แก่ ความมั่นคง เศรษฐกิจ การพัฒนา สาธารณสุข ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียน ตลอดจนลดช่องว่างการพัฒนาเพื่อบรรลุเป้าหมาย การจัดตั้งประชาคมอาเซียน
12. แผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามปฏิญญานูเร็มเบิร์กว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างอาเซียน-สหภาพยุโรป
(Plan of Action to Implement the Nuremberg Declaration on an ASEAN-EU Enhanced Partnership)
มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแผนแม่บทในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป และความร่วมมืออย่างรอบด้านที่ส่งเสริมผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ได้แก่ ความร่วมมือด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ พลังงาน การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนความร่วมมือเพื่อการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อสนับสนุนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
1. กฎบัตรอาเซียน
(ASEAN Charter)
มีสาระสำคัญเป็นเครื่องมือในการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ ทั้งนี้ ร่างกฎบัตรอาเซียนมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ด้าน ได้แก่
(1) ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่เคารพกฎกติกาในการดำเนินงาน (rule-based organization) โดยสร้างกลไกสอคส่องดูแลการปฏิบัติตามพันธกรณีและข้อตกลงต่างๆ ของอาเซียนโดยประเทศสมาชิก และให้ผู้นำมีอำนาจตัดสินใจดำเนินมาตรการใดๆ ในกรณีที่มีการละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรอย่างร้ายแรง เป็นต้น
(2) ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (people-oriented organization) โดยสร้างค่านิยมร่วมกัน เช่น การส่งเสริมประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล สิทธิมนุษยชน การให้ประชาชนเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาและการลดความยากจน รวมทั้งจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียนและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
(3) ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการ (ก) กำหนดให้การตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานของหลักฉันทามติต่อไปแต่เพิ่มความยืดหยุ่นโดยผู้นำสามารถตัดสินใจโดยวิธีการอื่นได้ในกรณีที่ไม่สามารถมีฉันทามติ โดยเฉพาะในกรณีที่มีการละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตร หรือการกระทำใดที่ก่อให้ เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่ออาเซียน (ข) ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการสร้างความยืดหยุ่นในการตีความหลักการห้ามแทรกแซงกิจการภายใน และ (ค) การให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียน
2. ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม
(ASEAN Declaration on Sustainable Environment)
มีสาระสำคัญแสดงถึงเจตนารมณ์ของผู้นำอาเซียนและแผนการดำเนินงานในด้านสิ่งแวดล้อม โดยย้ำว่า อาเซียนตระหนักถึงความห่วงกังวลของประชาคมโลกเรื่องปัญหาสภาวะโลกร้อน และพร้อมสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องนี้ ซึ่งรวมถึงปฏิญญาผู้นำเอเปคว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ (UNFCCC) ครั้งที่ 13 และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต ครั้งที่ 3 ทั้งนี้ ปฏิญญาฯ จะเน้นความร่วมมือในการจัดการปัญหาและการส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ที่ยั่งยืนใน 3 ด้านหลักๆ คือ การอนุรักษ์และบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การเตรียมการรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
3. ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการประชุมของรัฐภาคีในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 13 และการประชุมของรัฐภาคีว่าด้วยพิธีสารเกียวโต ครั้งที่ 3
(ASEAN Declaration on the 13th Session of the Conference of Parties to the United Nations Framework Convention on Climate Change and the 3rd Meeting of the Parties to the Kyoto Protocol)
มีสาระสำคัญย้ำถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการปฏิบัติในกรอบอาเซียนตามพันธกรณีของ UNFCCC และ พิธีสารเกียวโตที่จะดำเนินการเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบนพื้นฐานความสามารถของแต่ละประเทศ รวมทั้งผลักดันให้การประชุมรัฐภาคีของ UNFCCC ครั้งที่ 13 และการประชุมรัฐภาคีของพิธีสารเกียวโตครั้งที่ 3 ให้ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ ร่างปฏิญญาฯ คำนึงถึงการมีส่วนร่วมรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างกันในการดำเนินการของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะการผลักดันให้ประเทศในภาคผนวกที่ 1 ของ UNFCCC ให้ปฏิบัติตามพันธกรณีในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเสริมสร้างขีดความสามารถ รวมทั้งเน้นความร่วมมือในระดับ ทวิภาคี ระดับภูมิภาค และระดับโลกเพื่อส่งเสริมการพัฒนา การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ
4. ปฏิญญาสิงคโปร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม
(Singapore Declaration on Climate Change, Energy and the Environment)
มีสาระสำคัญระบุถึงความต้องการร่วมกันของประเทศที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกในการจัดการผลกระทบอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาพลังงานทางเลือกและการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงป่าไม้ แหล่งน้ำ และการป้องกันภัยพิบัติ โดยยึดแนวข้อตกลงในกรอบ UNFCCC และได้ระบุแนวทางความร่วมมือ อาทิ การร่วมลงทุนด้านเทคโนโลยีสะอาด การถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนการส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัย ค้นคว้าและพัฒนา
5. ปฏิญญาร่วมว่าด้วยการประชุมสุดยอดสมัยพิเศษอาเซียน-สหภาพยุโรป
(Joint Declaration of the ASEAN-EU Commemorative Summit)
มีสาระสำคัญมอบหมายให้รัฐมนตรีต่างประเทศและเจ้าหน้าที่อาวุโสดำเนินการให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการภายใต้ปฏิญญานูเร็มเบิร์กว่าด้วยการเสริมสร้างพันธมิตรระหว่างอาเซียน-สหภาพยุโรป และเห็นว่าการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียน-สหภาพยุโรปที่ได้เริ่มการเจรจาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 จะส่งผลให้มีการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน นอกจากนี้ ยังได้ย้ำถึงความสำคัญของสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค โดยแสดงความคาดหวังว่า สหภาพยุโรปจะสามารถเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาฯ ได้โดยเร็ว
6. ปฏิญญาสิงค์โปร์ว่าด้วยกฎบัตรอาเซียน
(Singapore Declaration on the ASEAN Charter)
มีสาระสำคัญเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกเคารพสิทธิและปฏิบัติตามพันธกรณีที่ระบุในกฎบัตรอาเซียน รวมทั้งให้ประเทศสมาชิกให้สัตยาบันกฎบัตรโดยเร็วเพื่อให้มีผลบังคับใช้ ตลอดจนดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อนำข้อบทของกฎบัตรไปบังคับใช้
7. แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกฉบับที่ 2
(2nd Joint Statement on East Asia Cooperation)
จัดทำขึ้นในโอกาสครบรอบ 10 ปีของกรอบอาเซียน+3 โดยย้ำถึงเป้าหมายระยะยาว คือ การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก และกำหนดทิศทางความร่วมมือในอนาคตของกรอบอาเซียน+3 ในช่วง 10 ปีข้างหน้า (2550-2560) รวมทั้งกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนความร่วมมืออาเซียน+3 เพื่อดำเนินกิจกรรมในกรอบดังกล่าว
8. แผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียน+3
(ASEAN Plus Three Cooperation Work Plan)
มีสาระสำคัญกำหนดแนวทางความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อให้บรรลุตามวัตถุปรสงค์ที่ระบุไว้ในร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออก ฉบับที่ 2 ซึ่งระบุสาขาความร่วมมือหลัก 4 ด้าน ได้แก่ การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจและการเงิน พลังงานและการพัฒนาที่ยั่งยืน สังคมและวัฒนธรรม
9. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์อาเซียน-จีน
(Memorandum of Understanding on Establishing ASEAN-China Centre)
มีสาระสำคัญให้จัดตั้งศูนย์อาเซียน-จีนที่กรุงปักกิ่ง เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการแบบครบวงจร ที่ให้ข้อมูล แนะนำ และกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษาและวัฒนธรรมระหว่างอาเซียนและจีน โดยได้กำหนดขอบเขตของภาระหน้าที่และกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งโครงสร้างการดำเนินงานของศูนย์ฯ ทั้งนี้ จีนและอาเซียนจะร่วมกันรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ในการดำเนินงานของศูนย์ฯ ซึ่งในชั้นนี้ ยังอยู่ระหว่างการเจรจาถึงสัดส่วนของการสนับสนุนทางการเงินที่เป็นที่ยอมรับได้ของทั้งสองฝ่ายอยู่
10. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์อาเซียน-เกาหลี
(Memorandum of Understanding on Establishing ASEAN-Korea Centre)
มีสาระสำคัญให้มีการจัดตั้งศูนย์อาเซียน-เกาหลีที่กรุงโซล เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลี โดยสาธารณรัฐเกาหลีจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของศูนย์ฯ ในขณะที่ไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการส่งเจ้าหน้าที่ไปประจำการที่ศูนย์ฯ ประเทศละ 4 คน
11. แผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามปฏิญญาร่วมว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วน อย่างรอบด้านระหว่างอาเซียน-ออสเตรเลีย
(Plan of Action to Implement the Joint Declaration on ASEAN-Australia Comprehensive Partnership)
มีสาระสำคัญให้เพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียกับประเทศในภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียในทุก ๆ ด้าน ได้แก่ ความมั่นคง เศรษฐกิจ การพัฒนา สาธารณสุข ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียน ตลอดจนลดช่องว่างการพัฒนาเพื่อบรรลุเป้าหมาย การจัดตั้งประชาคมอาเซียน
12. แผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามปฏิญญานูเร็มเบิร์กว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างอาเซียน-สหภาพยุโรป
(Plan of Action to Implement the Nuremberg Declaration on an ASEAN-EU Enhanced Partnership)
มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแผนแม่บทในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป และความร่วมมืออย่างรอบด้านที่ส่งเสริมผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ได้แก่ ความร่วมมือด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ พลังงาน การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนความร่วมมือเพื่อการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อสนับสนุนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-