กรุงเทพ--15 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์คนงานอียิปต์ของบริษัท Kharafi National W.L.L. ในเขต Shu’ aibah Industrial Area ของคูเวต ทำร้ายคนงานไทยของบริษัทเดียวกันในแคมป์ที่พักเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 นั้น กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากกรมการกงสุล และสถานเอกอัครราชทูต ณ คูเวตว่า เมื่อวันที่ 8-12 พฤศจิกายน 2550 นายปกรณ์ อมรชีวิน ผู้ตรวจราชการ ระดับ 9 กระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนายชาญชัย เจียมบุญศรี เจ้าหน้าที่การทูต 8 กองคุ้มครองดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ และคณะเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานได้เดินทางไปคูเวต เพื่อประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูต ณ คูเวต และบริษัทนายจ้าง รวมทั้งพบปะ/เยี่ยมคนงานไทยฯ เพื่อให้ความช่วยเหลือและหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว ผลการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้
1. กรณีคนงานไทยฯ ที่ได้รับผู้บาดเจ็บ
1.1 จากการที่คณะฯ เดินทางไปเยี่ยมคนงานไทยฯ ตามแคมป์ที่พักต่างๆ ปรากฏว่า คนงานไทยฯ ที่ได้รับ บาดเจ็บได้ร้องขอให้ส่งตัวกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทยมีจำนวน 4 คน คือ
- นายสมบัติ ปราบนอก
- นายธีรศักดิ์ ภู่เรียนคู่
- นายสุนทร ดีเลิศ และ
- นายภมรชัย วงษ์เป็ง
1.2 สำหรับผู้บาดเจ็บที่เหลือ คณะฯ และสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ขอให้บริษัทนายจ้างแยกตัวออกจากคนงานปกติ เพื่อให้ได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นกรณีพิเศษ รายใดที่บาดเจ็บมากก็ขอให้หยุดพักงานจนกว่าอาการจะทุเลา โดยขอให้นายจ้างรายงานผลคืบหน้าให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ทราบเป็นระยะ
1.3 ผู้บาดเจ็บที่มีอาการค่อนข้างหนัก (อาทิ ศรีษะแตกและเย็บหลายข็ม มีบาดแผลจากการถูกตีด้วยตะปู และได้รับความบอบช้ำ ) จำนวนหลายคนสมัครใจขอรักษาตัวเพื่อเข้าทำงานต่อ โดยให้เหตุผลว่าต้องการรายได้ เพื่อชดใช้หนี้สินในประเทศไทย ซึ่งสถานเอกอัคราชทูตฯ ได้กำชับให้นายจ้างให้การดูแลบุคคลเหล่านี้เป็นกรณีพิเศษ
นอกจากสถานเอกอัครราชทูตฯ จะกำชับนายจ้างเพื่อให้การดูแลคนงานไทยที่ได้รับบาดเจ็บเป็นพิเศษแล้ว กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนเพิ่มเติมเพื่อช่วยคลายความห่วงกังวลของญาติพี่น้องรวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยว่า กระทรวงฯ และสถานเอกอัครราชทูตฯ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จะหมั่นคอยติดตาม/สอดส่อง เอาใจใส่และดูแลสวัสดิภาพของคนงานไทยฯ ให้อย่างเต็มที่
2. กรณีคนงานไทยฯ ที่ถูกควบคุมตัว
2.1 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 คนงานไทยฯ จำนวน 19 คน ที่ถูกควบคุมตัวในข้อหาดื่มสุราได้ขึ้นศาล เพื่อพิจารณาคดี โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปเป็นล่ามระหว่างการพิจารณาคดี แต่เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นช่วงสุดสัปดาห์ ศาลจึงยังไม่มีคำพิพากษาตัดสินและให้ควบคุมตัวไว้ก่อน
2.2 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2550 นายดุสิต จันตะเสน เอกอัครราชทูต ณ คูเวต ได้เดินทางไปเยี่ยมคนงานไทยฯ ทั้ง 19 คน ที่ถูกควบคุมตัวและพบว่าบุคคลเหล่านั้นไม่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกรุมทำร้ายแต่อย่างใด และส่วนใหญ่ถูกควบคุมตัวจากห้องพักคนงานฯ ซึ่งจากการพูดคุยสอบถามคนงานเหล่านี้ต่างยินดีจะอยู่ทำงานต่อในคูเวต
2.3 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2550 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับแจ้งจากศาลว่า คนงานไทยที่ถูกควบคุม จะได้รับปล่อยตัว สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ติดต่อเพื่อขอรับตัวคนงานไทยจากเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อไป
3. มาตรการในการป้องกันรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกแก่คนงานไทยฯ
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2550 สถานเอกอัครราชทูตฯ และคณะผู้แทนไทยได้ร่วมประชุมหารือกับฝ่ายบริหารของบริษัท Kharafi National W.L.L ได้รับทราบแนวทางในการป้องกันรักษาความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกแก่คนงานไทยฯ ดังนี้
3.1 บริษัทฯ กำลังดำเนินการจัดหาแคมป์ที่พักพิเศษสำหรับแรงงานไทยทั้งหมด เพื่อมิให้ปะปนกับคนงานชาติอื่นๆ โดยในชั้นแรก กำหนดจะจัดให้พักที่แคมป์ Al-Muntasser เพียงแห่งเดียว แต่ภายหลังการสำรวจโดยละเอียดแล้ว พบว่าไม่สามารถจัดให้คนงานไทยฯ จำนวนกว่า 1,000 คน พักรวมอยู่ด้วยกันทั้งหมด โดยจำเป็นต้องจัดแบ่งออกเป็น 2 แคมป์ คือ 1) Al-Muntasser Camp จำนวนประมาณ 800 คน และ 2) Mahbula Camp จำนวนประมาณ 200 คน ซึ่งทั้งสองแคมป์มีสภาพและที่ตั้งโดยทั่วไปเหมาะสมและปลอดภัย
3.2 บริษัทฯ ได้รับที่จะดำเนินการให้คนงานไทยฯ อยู่อย่างปลอดภัยและอำนวย ความสะดวกให้อยู่สุขสบายขึ้น โดยจะจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ดังนี้
(1) จัดหาผู้ประสานงาน (Camp Boss) เป็นคนไทยให้มาดูแลทุกข์สุข และเป็นคนกลางในการสื่อสารระหว่างคนงานไทยฯ กับผู้บริหารของบริษัทฯ
(2) จัดหาบุรุษพยาบาล หรือบุคคลที่เคยเป็นทหารเสนารักษ์มาประจำเพื่อทำหน้าที่ดูแลสุขภาพเบื้องต้นสำหรับคนงานไทยฯ และเพื่อแก้ไขปัญหากรณีที่คนงานฯ เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยแล้ว ไม่สามารถบอกกล่าวหรือสื่อสารกับนายจ้างได้
(3) จัดรถรับ-ส่งให้แรงงานไทยเป็นกรณีพิเศษ มิให้ปะปนกับแรงงานชาติอื่น รวมทั้งจะพยายามจัดสถานที่ทำงานให้แยกจากชาติอื่น โดยเฉพาะคนงานชาติคู่กรณี นอกจากนั้นในช่วงนอกเวลาทำงานที่คนงานไทยฯ อาจต้องไปทำธุระส่วนตัวในเมืองนอกแคมป์ที่พัก บริษัทฯ จะพยายามจัดรถรับ-ส่งให้เป็นการเฉพาะ เพื่อไม่ให้ปะปนกับคนงานชาติอื่นๆ ด้วย
4. กรณีคนงานไทยฯ ที่ยังร้องขอเดินทางกลับประเทศไทย
4.1 บริษัทฯ ได้พยายามสร้างแรงจูงใจให้คนงานไทยฯ ทำงานต่อไปหลายประการตามมาตรการข้างต้นรวมทั้งบริษัทฯ ยังยินดีที่จะจ่ายค่าจ้างย้อนหลังตั้งแต่วันเกิดเหตุจนถึงปัจจุบัน ให้แก่คนงานฯ ทุกคนที่กลับไปทำงานภายในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้ว คนงานรายใดไม่ยอมกลับเข้าทำงานก็จะต้องถูกตัดค่าจ้างตามระเบียบของบริษัทฯ นับตั้งแต่วันที่เกิดเหตุเป็นต้นมา
4.2 หลังจากที่เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ และคณะฯ ได้เดินทางไปพบปะเยี่ยมคนงานฯ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้คนงานฯ ตามแคมป์ต่างๆ พบว่าคนงานฯ ส่วนใหญ่มีขวัญและกำลังใจดีขึ้นและมีคนงานฯ กลับเข้าทำงานแล้วกว่าร้อยละ 90 แต่ก็มีคนงานฯ ที่เหลืออีกประมาณ 150 คน ที่ยังมีความต้องการจะกลับประเทศไทย ทั้งนี้ กรณีคนงานฯ ที่ต้องการกลับประเทศไทย บริษัทนายจ้างแจ้งว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาจ้างก่อนกำหนด บริษัทฯ จึงมีสิทธิที่จะเรียกค่าใช้จ่ายที่บริษัทฯ ใช้จ่ายไปในการนำคนงานฯ มาทำงานจากคนงานฯ ซึ่งมีตั้งแต่รายละ 250-350 คูเวต ดีน่าร์ (ประมาณ 30,000—42,000 บาท) อย่างไรก็ดี มีคนงานฯ หลายรายยืนกรานที่จะให้นายจ้างหรือผู้ที่เกี่ยวข้องส่งกลับประเทศไทยโดยไม่มีเงื่อนไข โดยอ้างเหตุผลเรื่องความปลอดภัยในชีวิต ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตและบริษัทนายจ้างจะได้ร่วมกันทำความเข้าใจกับคนงานฯ กลุ่มนี้เป็นราย ๆ ต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์คนงานอียิปต์ของบริษัท Kharafi National W.L.L. ในเขต Shu’ aibah Industrial Area ของคูเวต ทำร้ายคนงานไทยของบริษัทเดียวกันในแคมป์ที่พักเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 นั้น กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากกรมการกงสุล และสถานเอกอัครราชทูต ณ คูเวตว่า เมื่อวันที่ 8-12 พฤศจิกายน 2550 นายปกรณ์ อมรชีวิน ผู้ตรวจราชการ ระดับ 9 กระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนายชาญชัย เจียมบุญศรี เจ้าหน้าที่การทูต 8 กองคุ้มครองดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ และคณะเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานได้เดินทางไปคูเวต เพื่อประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูต ณ คูเวต และบริษัทนายจ้าง รวมทั้งพบปะ/เยี่ยมคนงานไทยฯ เพื่อให้ความช่วยเหลือและหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว ผลการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้
1. กรณีคนงานไทยฯ ที่ได้รับผู้บาดเจ็บ
1.1 จากการที่คณะฯ เดินทางไปเยี่ยมคนงานไทยฯ ตามแคมป์ที่พักต่างๆ ปรากฏว่า คนงานไทยฯ ที่ได้รับ บาดเจ็บได้ร้องขอให้ส่งตัวกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทยมีจำนวน 4 คน คือ
- นายสมบัติ ปราบนอก
- นายธีรศักดิ์ ภู่เรียนคู่
- นายสุนทร ดีเลิศ และ
- นายภมรชัย วงษ์เป็ง
1.2 สำหรับผู้บาดเจ็บที่เหลือ คณะฯ และสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ขอให้บริษัทนายจ้างแยกตัวออกจากคนงานปกติ เพื่อให้ได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นกรณีพิเศษ รายใดที่บาดเจ็บมากก็ขอให้หยุดพักงานจนกว่าอาการจะทุเลา โดยขอให้นายจ้างรายงานผลคืบหน้าให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ทราบเป็นระยะ
1.3 ผู้บาดเจ็บที่มีอาการค่อนข้างหนัก (อาทิ ศรีษะแตกและเย็บหลายข็ม มีบาดแผลจากการถูกตีด้วยตะปู และได้รับความบอบช้ำ ) จำนวนหลายคนสมัครใจขอรักษาตัวเพื่อเข้าทำงานต่อ โดยให้เหตุผลว่าต้องการรายได้ เพื่อชดใช้หนี้สินในประเทศไทย ซึ่งสถานเอกอัคราชทูตฯ ได้กำชับให้นายจ้างให้การดูแลบุคคลเหล่านี้เป็นกรณีพิเศษ
นอกจากสถานเอกอัครราชทูตฯ จะกำชับนายจ้างเพื่อให้การดูแลคนงานไทยที่ได้รับบาดเจ็บเป็นพิเศษแล้ว กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนเพิ่มเติมเพื่อช่วยคลายความห่วงกังวลของญาติพี่น้องรวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยว่า กระทรวงฯ และสถานเอกอัครราชทูตฯ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จะหมั่นคอยติดตาม/สอดส่อง เอาใจใส่และดูแลสวัสดิภาพของคนงานไทยฯ ให้อย่างเต็มที่
2. กรณีคนงานไทยฯ ที่ถูกควบคุมตัว
2.1 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 คนงานไทยฯ จำนวน 19 คน ที่ถูกควบคุมตัวในข้อหาดื่มสุราได้ขึ้นศาล เพื่อพิจารณาคดี โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปเป็นล่ามระหว่างการพิจารณาคดี แต่เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นช่วงสุดสัปดาห์ ศาลจึงยังไม่มีคำพิพากษาตัดสินและให้ควบคุมตัวไว้ก่อน
2.2 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2550 นายดุสิต จันตะเสน เอกอัครราชทูต ณ คูเวต ได้เดินทางไปเยี่ยมคนงานไทยฯ ทั้ง 19 คน ที่ถูกควบคุมตัวและพบว่าบุคคลเหล่านั้นไม่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกรุมทำร้ายแต่อย่างใด และส่วนใหญ่ถูกควบคุมตัวจากห้องพักคนงานฯ ซึ่งจากการพูดคุยสอบถามคนงานเหล่านี้ต่างยินดีจะอยู่ทำงานต่อในคูเวต
2.3 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2550 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับแจ้งจากศาลว่า คนงานไทยที่ถูกควบคุม จะได้รับปล่อยตัว สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ติดต่อเพื่อขอรับตัวคนงานไทยจากเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อไป
3. มาตรการในการป้องกันรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกแก่คนงานไทยฯ
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2550 สถานเอกอัครราชทูตฯ และคณะผู้แทนไทยได้ร่วมประชุมหารือกับฝ่ายบริหารของบริษัท Kharafi National W.L.L ได้รับทราบแนวทางในการป้องกันรักษาความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกแก่คนงานไทยฯ ดังนี้
3.1 บริษัทฯ กำลังดำเนินการจัดหาแคมป์ที่พักพิเศษสำหรับแรงงานไทยทั้งหมด เพื่อมิให้ปะปนกับคนงานชาติอื่นๆ โดยในชั้นแรก กำหนดจะจัดให้พักที่แคมป์ Al-Muntasser เพียงแห่งเดียว แต่ภายหลังการสำรวจโดยละเอียดแล้ว พบว่าไม่สามารถจัดให้คนงานไทยฯ จำนวนกว่า 1,000 คน พักรวมอยู่ด้วยกันทั้งหมด โดยจำเป็นต้องจัดแบ่งออกเป็น 2 แคมป์ คือ 1) Al-Muntasser Camp จำนวนประมาณ 800 คน และ 2) Mahbula Camp จำนวนประมาณ 200 คน ซึ่งทั้งสองแคมป์มีสภาพและที่ตั้งโดยทั่วไปเหมาะสมและปลอดภัย
3.2 บริษัทฯ ได้รับที่จะดำเนินการให้คนงานไทยฯ อยู่อย่างปลอดภัยและอำนวย ความสะดวกให้อยู่สุขสบายขึ้น โดยจะจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ดังนี้
(1) จัดหาผู้ประสานงาน (Camp Boss) เป็นคนไทยให้มาดูแลทุกข์สุข และเป็นคนกลางในการสื่อสารระหว่างคนงานไทยฯ กับผู้บริหารของบริษัทฯ
(2) จัดหาบุรุษพยาบาล หรือบุคคลที่เคยเป็นทหารเสนารักษ์มาประจำเพื่อทำหน้าที่ดูแลสุขภาพเบื้องต้นสำหรับคนงานไทยฯ และเพื่อแก้ไขปัญหากรณีที่คนงานฯ เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยแล้ว ไม่สามารถบอกกล่าวหรือสื่อสารกับนายจ้างได้
(3) จัดรถรับ-ส่งให้แรงงานไทยเป็นกรณีพิเศษ มิให้ปะปนกับแรงงานชาติอื่น รวมทั้งจะพยายามจัดสถานที่ทำงานให้แยกจากชาติอื่น โดยเฉพาะคนงานชาติคู่กรณี นอกจากนั้นในช่วงนอกเวลาทำงานที่คนงานไทยฯ อาจต้องไปทำธุระส่วนตัวในเมืองนอกแคมป์ที่พัก บริษัทฯ จะพยายามจัดรถรับ-ส่งให้เป็นการเฉพาะ เพื่อไม่ให้ปะปนกับคนงานชาติอื่นๆ ด้วย
4. กรณีคนงานไทยฯ ที่ยังร้องขอเดินทางกลับประเทศไทย
4.1 บริษัทฯ ได้พยายามสร้างแรงจูงใจให้คนงานไทยฯ ทำงานต่อไปหลายประการตามมาตรการข้างต้นรวมทั้งบริษัทฯ ยังยินดีที่จะจ่ายค่าจ้างย้อนหลังตั้งแต่วันเกิดเหตุจนถึงปัจจุบัน ให้แก่คนงานฯ ทุกคนที่กลับไปทำงานภายในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้ว คนงานรายใดไม่ยอมกลับเข้าทำงานก็จะต้องถูกตัดค่าจ้างตามระเบียบของบริษัทฯ นับตั้งแต่วันที่เกิดเหตุเป็นต้นมา
4.2 หลังจากที่เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ และคณะฯ ได้เดินทางไปพบปะเยี่ยมคนงานฯ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้คนงานฯ ตามแคมป์ต่างๆ พบว่าคนงานฯ ส่วนใหญ่มีขวัญและกำลังใจดีขึ้นและมีคนงานฯ กลับเข้าทำงานแล้วกว่าร้อยละ 90 แต่ก็มีคนงานฯ ที่เหลืออีกประมาณ 150 คน ที่ยังมีความต้องการจะกลับประเทศไทย ทั้งนี้ กรณีคนงานฯ ที่ต้องการกลับประเทศไทย บริษัทนายจ้างแจ้งว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาจ้างก่อนกำหนด บริษัทฯ จึงมีสิทธิที่จะเรียกค่าใช้จ่ายที่บริษัทฯ ใช้จ่ายไปในการนำคนงานฯ มาทำงานจากคนงานฯ ซึ่งมีตั้งแต่รายละ 250-350 คูเวต ดีน่าร์ (ประมาณ 30,000—42,000 บาท) อย่างไรก็ดี มีคนงานฯ หลายรายยืนกรานที่จะให้นายจ้างหรือผู้ที่เกี่ยวข้องส่งกลับประเทศไทยโดยไม่มีเงื่อนไข โดยอ้างเหตุผลเรื่องความปลอดภัยในชีวิต ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตและบริษัทนายจ้างจะได้ร่วมกันทำความเข้าใจกับคนงานฯ กลุ่มนี้เป็นราย ๆ ต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-