กรุงเทพ--19 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะร่วมคณะผู้แทนไทย ซึ่งนำโดยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 18-22 พฤศจิกายน 2550
การประชุมครั้งนี้มีความพิเศษหลายประการกล่าวคือ ประการแรก เป็นวาระครบรอบ 40 ปีการสถาปนาอาเซียน การครบรอบ 10 ปีความสัมพันธ์อาเซียน +3 (จีน สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น) และการครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-สหภาพยุโรป (EU) ประการที่ 2 จะมีการลงนามร่างกฎบัตรอาเซียนซึ่งถือเป็นเหตุการณ์สำคัญ (highlight) ของการประชุม โดยกฎบัตรฯ จะเป็นเครื่องมือในการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนอันประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม-วัฒนธรรมภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ และประการที่ 3 จะมีให้การรับรองและแต่งตั้งให้ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนคนใหม่ (คนที่ 12) สืบแทนนาย Ong Keng Yong โดย ดร.สุรินทร์ฯ จะเข้ารับหน้าที่อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2551 (ดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555)
สิงคโปร์กำหนดหัวข้อหลัก (Theme) สำหรับการประชุมฯ คือเรื่อง “พลังงาน สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Energy, Environment, Climate Change and Sustainable Development) ซึ่งจะปรากฏอยู่ในการหารือทุกการประชุม รวมทั้งจะสะท้อนในเอกสารสำคัญของการประชุมที่ผู้นำจะมีการลงนามหรือรับรอง เพื่อเป็นการปูทางไปสู่การประชุมรัฐภาคีของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (UN Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ที่บาหลี ในเดือนธันวาคม 2550
ในระหว่างการประชุมฯ นายกรัฐมนตรีมีกำหนดเข้าร่วมการประชุมสุดยอด 9 รายการ ได้แก่ (1) การประชุมสุดยอดแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย (IMT-GT) ครั้งที่ 3 (2) การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 (3) การประชุมสุดยอดอาเซียน+3 ครั้งที่ 11 (4) การประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 11 (5) การประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 11 (6) การประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 11(7) การประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 6 (8) การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 3 และ (9) การประชุมสุดยอดสมัยพิเศษอาเซียน-EU
การลงนามร่างกฎบัตรอาเซียนจะมีขึ้นในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญของการประชุมฯ โดยกฎบัตรฯ จะเป็นเครื่องมือในการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน อันประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม-วัฒนธรรมภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้
ในส่วนของไทยนั้นพร้อมที่จะไปร่วมลงนามในร่างกฎบัตรฯ โดยคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบร่างกฎบัตรฯ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2550 รวมทั้งได้นำเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญฯ ฉบับปี พ.ศ. 2550 โดย สนช. ได้พิจารณาและให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2550
นายกรัฐมนตรีจะใช้โอกาสในการประชุมฯ ครั้งนี้ สร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการฟื้นฟูกระบวนการประชาธิปไตยในไทย ผลักดันการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียน ซึ่งรวมถึงการเร่งรัดการให้สัตยาบันเพื่อให้กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้โดยเร็ว (ทันการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งต่อไป ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพในฐานะประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์) การยกร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ของกลไกสิทธิมนุษยชน และกลไกอื่น ๆ ที่จะจัดตั้งขึ้นตามโครงสร้างใหม่ภายใต้กฎบัตรฯ
นอกจากนี้ ไทยจะสนับสนุนให้มีการยกร่างแผนแม่บทสำหรับประชาคมการเมืองความมั่นคง และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน ในลักษณะเดียวกับแผนแม่บทสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ได้ดำเนินการยกร่างเสร็จแล้ว และจะมีการลงนามในระหว่างการประชุมสุดยอดครั้งนี้ ทั้งนี้ ไทยจะย้ำความสำคัญของการเสริมสร้างความมั่นคง การวางรากฐานทางด้านสังคมวัฒนธรรม และการลดช่องว่างการพัฒนาเพื่อรองรับการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนในอนาคต
สำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหลักของการประชุมฯ ไทยจะเน้นความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ โดยผลักดันความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในการใช้พลังงานถ่านหิน อย่างสะอาด และ พลังงานทดแทน
ในด้านความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจาได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพยุโรปนั้น ไทยจะส่งเสริมความร่วมมือในลักษณะของหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (partnership fordevelopment) เพื่อให้ประเทศเหล่านี้มีส่วนร่วมสนับสนุนกระบวนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะร่วมคณะผู้แทนไทย ซึ่งนำโดยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 18-22 พฤศจิกายน 2550
การประชุมครั้งนี้มีความพิเศษหลายประการกล่าวคือ ประการแรก เป็นวาระครบรอบ 40 ปีการสถาปนาอาเซียน การครบรอบ 10 ปีความสัมพันธ์อาเซียน +3 (จีน สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น) และการครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-สหภาพยุโรป (EU) ประการที่ 2 จะมีการลงนามร่างกฎบัตรอาเซียนซึ่งถือเป็นเหตุการณ์สำคัญ (highlight) ของการประชุม โดยกฎบัตรฯ จะเป็นเครื่องมือในการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนอันประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม-วัฒนธรรมภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ และประการที่ 3 จะมีให้การรับรองและแต่งตั้งให้ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนคนใหม่ (คนที่ 12) สืบแทนนาย Ong Keng Yong โดย ดร.สุรินทร์ฯ จะเข้ารับหน้าที่อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2551 (ดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555)
สิงคโปร์กำหนดหัวข้อหลัก (Theme) สำหรับการประชุมฯ คือเรื่อง “พลังงาน สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Energy, Environment, Climate Change and Sustainable Development) ซึ่งจะปรากฏอยู่ในการหารือทุกการประชุม รวมทั้งจะสะท้อนในเอกสารสำคัญของการประชุมที่ผู้นำจะมีการลงนามหรือรับรอง เพื่อเป็นการปูทางไปสู่การประชุมรัฐภาคีของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (UN Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ที่บาหลี ในเดือนธันวาคม 2550
ในระหว่างการประชุมฯ นายกรัฐมนตรีมีกำหนดเข้าร่วมการประชุมสุดยอด 9 รายการ ได้แก่ (1) การประชุมสุดยอดแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย (IMT-GT) ครั้งที่ 3 (2) การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 (3) การประชุมสุดยอดอาเซียน+3 ครั้งที่ 11 (4) การประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 11 (5) การประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 11 (6) การประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 11(7) การประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 6 (8) การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 3 และ (9) การประชุมสุดยอดสมัยพิเศษอาเซียน-EU
การลงนามร่างกฎบัตรอาเซียนจะมีขึ้นในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญของการประชุมฯ โดยกฎบัตรฯ จะเป็นเครื่องมือในการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน อันประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม-วัฒนธรรมภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้
ในส่วนของไทยนั้นพร้อมที่จะไปร่วมลงนามในร่างกฎบัตรฯ โดยคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบร่างกฎบัตรฯ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2550 รวมทั้งได้นำเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญฯ ฉบับปี พ.ศ. 2550 โดย สนช. ได้พิจารณาและให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2550
นายกรัฐมนตรีจะใช้โอกาสในการประชุมฯ ครั้งนี้ สร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการฟื้นฟูกระบวนการประชาธิปไตยในไทย ผลักดันการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียน ซึ่งรวมถึงการเร่งรัดการให้สัตยาบันเพื่อให้กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้โดยเร็ว (ทันการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งต่อไป ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพในฐานะประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์) การยกร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ของกลไกสิทธิมนุษยชน และกลไกอื่น ๆ ที่จะจัดตั้งขึ้นตามโครงสร้างใหม่ภายใต้กฎบัตรฯ
นอกจากนี้ ไทยจะสนับสนุนให้มีการยกร่างแผนแม่บทสำหรับประชาคมการเมืองความมั่นคง และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน ในลักษณะเดียวกับแผนแม่บทสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ได้ดำเนินการยกร่างเสร็จแล้ว และจะมีการลงนามในระหว่างการประชุมสุดยอดครั้งนี้ ทั้งนี้ ไทยจะย้ำความสำคัญของการเสริมสร้างความมั่นคง การวางรากฐานทางด้านสังคมวัฒนธรรม และการลดช่องว่างการพัฒนาเพื่อรองรับการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนในอนาคต
สำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหลักของการประชุมฯ ไทยจะเน้นความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ โดยผลักดันความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในการใช้พลังงานถ่านหิน อย่างสะอาด และ พลังงานทดแทน
ในด้านความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจาได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพยุโรปนั้น ไทยจะส่งเสริมความร่วมมือในลักษณะของหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (partnership fordevelopment) เพื่อให้ประเทศเหล่านี้มีส่วนร่วมสนับสนุนกระบวนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-