เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ที่กรุงพนมเปญ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่าง ประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ๕ ประเทศ จาก ๑๐ ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา จีน สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้๑.
๑. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน — ออสเตรเลีย
รัฐมนตรี ว่าการฯ ได้หารือแนวทางในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน — ออสเตรเลียให้ แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นภายใต้กรอบความเป็นหุ้นส่วนรอบด้านอาเซียน — ออสเตรเลีย พร้อมทั้งได้ผลักดันความร่วมมือกับออสเตรเลียด้านความเชื่อมโยงในภูมิภาค โดยเฉพาะด้านสร้างศักยภาพและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในประเด็นเรื่องการจัดการภัยพิบัติ รัฐมนตรีว่าการฯ เสนอให้อาเซียนและออสเตรเลียมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อเสริมสร้างเครือ ข่ายการบริหารจัดการภัยพิบัติในภูมิภาค ตลอดจนสนับสนุนการเชื่อมโยงระหว่างความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัย พิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินกับแผนงานบริหารจัดการภัยพิบัติภายใต้ กรอบ EAS นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการฯ ยังได้ย้ำความสำคัญของความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย- นิวซีแลนด์พร้อมทั้งได้ชักชวนให้ภาคเอกชนใช้ประโยชน์จากความตกลงดังกล่าว เพิ่มขึ้น รวมทั้งได้เสนอให้ออสเตรเลียพิจารณาให้การสนับสนุนอาเซียนในด้านการพัฒนา มาตรฐานสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตรซึ่งออสเตรเลียมีความเชี่ยวชาญ
๒. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน — แคนาดา
ในฐานะประเทศผู้ประสานงานอาเซียน — แคนาดา และประธานร่วมในการประชุม รัฐมนตรีว่าการฯ ได้กล่าวว่าความเป็นหุ้นส่วนระหว่างอาเซียน — แคนาดาได้พัฒนาก้าวหน้าในหลายมิติ และเห็นว่าแคนาดามีศักยภาพในการสนับสนุนการสร้างประชาคม และความเชื่อมโยงในอาเซียน นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการฯ ยังได้เชิญชวนให้แคนาดาใช้ประโยชน์จากเขตการค้าเสรีอาเซียน ขณะที่อาเซียนก็สามารถแสวงหาโอกาสจากทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ของแคนาดา ได้ รัฐมนตรีว่าการฯ ยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงในระดับประชาชนเพื่อส่งเสริมให้ ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน — แคนาดาแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นฃ
๓. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน — จีน
ในฐานะที่ไทยจะเข้ารับหน้าที่ประเทศผู้ ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน — จีน รัฐมนตรีว่าการฯ ได้กล่าวว่าไทยจะมุ่งเน้น ๓ ประเด็นหลัก (3Cs) ได้แก่ การสร้างประชาคม (Community) การส่งเสริมความเชื่อมโยง (Connectivity) และการจัดทำแนวปฏิบัติทะเลจีนใต้ (Code of Conduct in the South China Sea) โดยไทยจะทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถในการผลักดันความเป็นหุ้นส่วนเชิง ยุทธศาสตร์อาเซียน-จีน ให้ก้าวหน้า พร้อมทั้งได้แสดงความพร้อมของไทยที่จะทำงานร่วมกับจีนในการส่งเสริมการพัฒนา ตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ สำหรับเรื่องทะเลจีนใต้ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้กล่าวสนับสนุนข้อเสนอที่จะให้เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนเริ่มหารือเกี่ยว กับการจัดทำแนวปฏิบัติทะเลจีนใต้ (COC) ซึ่งควรดำเนินการควบคู่ไปกับการปฏิบัติตามปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีใน ทะเลจีนใต้ (DOC) เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน
๔. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน — สหรัฐฯ
ไทยมีความยินดีที่สหรัฐฯ ได้เพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์กับภูมิภาคนี้ โดยหวังที่จะเห็นบทบาทของสหรัฐฯ ในการดำเนินความสัมพันธ์ระยะยาวที่สร้างสรรค์และเน้นความสัมพันธ์ในมิติ ต่างๆ อย่างรอบด้าน และดำเนินไปควบคู่กับการสร้างประชาคมอาเซียนและประชาคมเอเชียตะวันออก ไทยมองว่าสหรัฐฯ สามารถมีบทบาทในการเสริมสร้างการเชื่อมโยงในภูมิภาคและลดช่องว่างการพัฒนา ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการรวมตัวกันในภูมิภาค ไทยส่งเสริมให้สหรัฐฯ ได้เข้ามาถ่ายทอดประสบการณ์ในด้านการสร้างศักยภาพ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการฝึกอบรมภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ ยังได้แสดงความหวังว่าอาเซียนและสหรัฐฯ จะร่วมกันส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชนอีกด้วย
๕. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน — สหภาพยุโรป
รัฐมนตรีว่าการแสดงความยินดีที่สหภาพยุโรปจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไมตรี และความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเห็นว่าอาเซียนสามารถเรียนรู้จากสหภาพยุโรปและองค์การว่าด้วยความมั่นคง และความร่วมมือในยุโรป (OSCE) ในเรื่องมาตรการสร้างความเชื่อมั่นและการทูตเชิงป้องกันได้ รัฐมนตรีว่าการฯ สนับสนุนให้มีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพตามระเบียบวาระเรื่องการค้าและ การลงทุนอาเซียน-สหภาพยุโรป และแผนงานด้านการค้าและการลงทุนอาเซียน —สหภาพยุโรป นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เรียกร้องให้มีการร่วมมือระหว่างกันอย่างใกล้ชิดในด้านการอำนวยความสะดวก ทางการค้าซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี ๒๕๕๘ โดยภาคเอกชนจากสหภาพยุโรปสามารถสนับสนุนการรวมตัวในภูมิภาค และการเชื่อมโยงในอาเซียนได้ ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้แสดงความหวังว่าสหภาพยุโรปจะส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ในระดับประชาชน ตลอดจนช่วยลดระดับช่องว่างการพัฒนาในอาเซียน และยังหวังอีกว่าสหภาพยุโรปจะยังคงมีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับอาเซียน ต่อไป และจะมีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของการเป็น หุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างอาเซียน — สหภาพยุโรป ปี ๒๕๕๖ — ๒๕๖๐ เพื่อ เร่งพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--