การจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายการวิจัยระหว่างหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของไทยกับศูนย์ความเป็นเลิศในภูมิภาคอเมริกาและแปซิฟิกใต้ ซึ่งจะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดี การวิจัยร่วมกัน นวัตกรรมใหม่ ๆ และในที่สุดจะก่อให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์จากการวิจัยร่วมกันต่อท้องถิ่น ผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง นอกจากนี้ ยังเป็นการพัฒนาทักษะและความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อการรับมือกับความท้าทายระดับโลก รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงด้านอาหาร วิกฤตพลังงานและวิกฤตเศรษฐกิจ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้ด้านวิทยาการและนวัตกรรมจากต่างประเทศโดยใช้การดำเนินการทางการทูต โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะถูกนำมาใช้ในการเสริมสร้างความร่วมมือระดับทวิภาคีระหว่างประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคอเมริกาและแปซิฟิกใต้ให้มากยิงขึน อันจะนำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือระดับไตรภาคีอืนๆ ซึ่งรวมถึงกับประเทศเพื่อนบ้านของไทยด้วย
การประชุมหารือฯ แบ่งออกเป็น 2 วัน โดยในวันแรกเป็นการประชุมที่เปิดโอกาสให้บุคลากรวิจัยจากมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยและบริษัท/อุตสาหกรรมที่มีหน่วยวิจัยและพัฒนาที่สนใจเข้าร่วมประชุมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพื่อ ให้ผู้เข้าร่วมประชุมตระหนักในเรื่องทิศทางของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์และอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ กฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ทั้งใน ปัจจุบันและในอนาคต รวมถึงบทบาทของหน่วยงานที่ให้ทุนการศึกษาวิจัยในต่างประเทศในการสนับสนุนการวิจัยระดับทวิภาคีและพหุภาคีกับประเทศต่าง ๆ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้แก่ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม และการผลักดันให้เกิดธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์และอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ
สำหรับในวันที่สองเป็นการหารือระหว่างหน่วยงานของผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศและผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศกับหน่วยงานของไทยทั้งภาครัฐและเอกชนในการที่จะผลักดันให้เกิดการวิจัยร่วมกันผ่านฐานความร่วมมือที่มีอยู่ เช่น การสนับสนุนนักศึกษาระดับปริญญาเอกของ สกว. และการขยายความร่วมมือด้านการสนับสนุนการวิจัยระยะสั้นสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ การสนับสนุนทุนวิจัยร่วมระหว่างประเทศต่างๆ ในการใช้งานวิจัยให้เกิดประโยชน์และช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ
ศ.นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ประธานกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า “การหารือและแลกเปลี่ยนความเห็นระดับผู้เชี่ยวชาญระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล และนิวซีแลนด์ในเรื่องทิศทางการวิจัยและอุตสาหกรรมการผลิตที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์และอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำก่อนจะถึงมือผู้บริโภคนี้ จะช่วยพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ผ่านการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงองค์ความรู้จากต่างประเทศกับประเทศไทยเพื่อก่อให้เกิดนวัตกรรมโดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเสนอแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศซึ่งจะขยายผลไปยังอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์และอุตสาหกรรมอาหาร โดยมุ่งเน้นการเพิ่มคุณค่าตลอดห่วงโซ่อาหารทั้งระบบ เพราะภาคการผลิตทั้งด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอาหารเป็นตัวแปรที่สำคัญประการหนึงในการเสริมสร้าง ความร่วมมือ และเป็นการขยายโอกาสทางการค้าของไทยให้มากยิ่งขึ้น
--กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ--