กรุงเทพ--28 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ\
เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิธีแถลงข่าวผลการตัดสินผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2550 ณ ห้องสมเด็จพระบรมราชชนก ตึกสยามินทร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล โดยมีผู้ร่วมแถลงข่าว ได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ในฐานะรองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ และประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิชาการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ศาสตราจารย์นายแพทย์สุพัฒน์ วาณิชย์การ เลขาธิการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ นาย William Paterson เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำ ประเทศไทย นาย Arjun Kant Mainali อุปทูต สถานเอกอัครราชทูตเนปาล ประจำประเทศไทย และ ดร. Michael-Johannes Banzhaf อัครราชทูต ที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจำประเทศไทย
ที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธานเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ได้พิจารณาผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2550 จำนวน 69 ราย จาก 35 ประเทศ โดยคณะกรรมการมูลนิธิฯ มีมติตัดสินให้ ศาสตราจารย์ ดร.อักเซล อูลล์ริช (Professor Dr. Axel Ullrich) ผู้อำนวยการสถาบันชีวเคมีมักซ์พลั้งค์ (Max Planck Institute of Biochemistry) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2550 สาขาการแพทย์ และศาสตราจารย์นายแพทย์ เบซิล สจ๊วต เฮทเซล (Professor Basil Stuart Hetzel) ประธานเกียรติคุณ สภาการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนนานาชาติ ประเทศออสเตรเลีย และนายแพทย์ ซานดุ๊ก รูอิท (Dr. Sanduk Ruit) ผู้อำนวยการศูนย์จักษุทิลกานกา (Tilganga Eye Centre) กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล เข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2550 สาขาการสาธารณสุข
สาขาการแพทย์
ศาสตราจารย์ ดร.อักเซล อูลล์ริช (Professor Axel Ullrich) เป็นผู้นำด้านการศึกษากลไกหลัก ของการเกิดเซลล์มะเร็งและที่สำคัญเป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาวิธีการรักษาโรคมะเร็งแบบมุ่งเป้า (Targeted cancer therapy) เป็นการเปิดศักราชใหม่ของการรักษาโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากยารักษานี้ไม่ส่งผลร้ายต่อเซลล์ปกติ ทำให้ผลข้างเคียงของการรักษาโรคมะเร็งลดลง
ศาสตราจารย์ ดร. อักเซล อูลล์ ริช ได้ค้นพบและศึกษาลักษณะทางอณูชีววิทยาของยีนมะเร็งในโรคมะเร็งเต้านม ที่เรียกว่า เฮอร์ 2 (HER2/c-erbB2) พบว่าผู้ป่วยที่มียีนนี้จะมีความรุนแรงของโรคสูงและแพร่กระจายได้ง่าย ศาสตราจารย์ ดร. อักเซล อูลล์ ริช ได้สังเคราะห์แอนติบอดี้หรือโปรตีนต่อต้านเฮอร์ 2 ได้ ซึ่งได้ถูกนำไปพัฒนาเป็นยาใหม่ ที่เรียกว่า เฮอร์เซพติน หรือทราสตูซูแม็บ (Herceptin or Trastuzumab) และพบว่ายานี้สามารถใช้ได้ผลดีมากในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมที่มียีนดังกล่าว ต่อมาผู้วิจัยกลุ่มอื่น ๆ ได้ใช้แนวทางที่คล้ายคลึงกันนี้ของ ศาสตราจารย์ ดร. อักเซล อูลล์ ริช ทำการศึกษาเป้าหมายจำเพาะของโรคมะเร็งอื่น ๆ และพยายามพัฒนาวิธีการรักษาแบบมุ่งเป้านี้ด้วย
มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในสตรี มีผู้ป่วยใหม่ประมาณปีละ 1.2 ล้านคน และมี ผู้เสียชีวิตปีละมากกว่า 500,000 คน ผลงานของ ศาสตราจารย์ ดร.อักเซล อูลล์ ริช ในการพัฒนาวิธีการรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า และยาต้านยีนมะเร็งเต้านม นับเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการรักษาโรคมะเร็งทั้งปวง และเป็นต้นแบบของการวิจัยและพัฒนาการรักษาโรคมะเร็งอื่น ๆ ก่อประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัยของมวลมนุษย์หลายร้อยล้าน
คนทั่วโลก
สาขาการสาธารณสุข
ศาสตราจารย์นายแพทย์ เบซิล สจ๊วต เฮทเซล (Professor Basil Stuart Hetzel) ประธานเกียรติคุณ สภาการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนนานาชาติ ประเทศออสเตรเลีย ศาสตราจารย์นายแพทย์ เบซิล เฮทเซล เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจถึงผลของการขาดสารไอโอดีนที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยเฉพาะต่อการพัฒนาของสมอง รวมทั้งมีบทบาทสำคัญในการผลักดันโครงการรณรงค์แก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนระดับโลกระหว่างปี พ.ศ.2519-2528 ศาสตราจารย์นายแพทย์ เบซิล เฮทเซล และคณะได้พิสูจน์ว่าการขาดสารไอโอดีนมีผลกระทบต่อการพัฒนาการของสมองและระบบประสาทส่วนกลาง พบว่าการขาดสารไอโอดีนอย่างรุนแรงในมารดาและทารกในครรภ์ทำให้เกิดโรคเอ๋อ คือมีสติปัญญาต่ำ, หูหนวก, เป็นใบ้, การทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติ เป็นความพิการอย่างถาวร โดยเด็กที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีการขาดสารไอโอดีนจะมีระดับเชาวน์
ปัญญาหรือไอคิวต่ำกว่าเด็กวัยเดียวกันที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีสารไอโอดีนพอเพียงถึง 13.5 จุด ความพิการเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการให้สารไอโอดีนให้พอเพียงแก่สตรีวัยเจริญพันธ์ก่อนที่จะตั้งครรภ์
ศาสตราจารย์นายแพทย์ เบซิล เฮทเซล ยังได้เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งและเป็นผู้อำนวยการคนแรกของสภาการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนนานาชาติ หรือ ICCIDD ผลักดันให้มีการใช้เกลือเสริมไอโอดีนอย่างเต็มรูปแบบในราว 100 ประเทศทั่วโลก ทั้งในการบริโภค อุตสาหกรรมอาหาร และในการปศุสัตว์อย่างเข้มแข็ง มีผลต่อพัฒนาการของประชากรโลกกว่า 2 พันล้านคน
ผลงานของ ศาสตราจารย์นายแพทย์ เบซิล เฮทเซล ที่ทำให้ความหมายของ “โรคขาดสารไอโอดีน”เป็นที่ยอมรับมากกว่าโรคคอพอก ตลอดจนการรณรงค์ป้องกันและแก้ไข โรคขาดสารไอโอดีนก่อให้เกิดคุณูปการ อย่างใหญ่หลวงต่อเชาว์ปัญญาและสุขภาพอนามัยของประชากรจำนวนนับพันล้านคนทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย
นายแพทย์ ซานดุ๊ก รูอิท (Dr. Sanduk Ruit) ผู้อำนวยการศูนย์จักษุทิลกานกา (Tilganga Eye Centre) กรุงกาฎมาณฑุ ประเทศเนปาล นายแพทย์ ซานดุ๊ก รูอิท ได้พัฒนาวิธีการผ่าตัดต้อกระจกแบบที่ไม่ต้องเย็บ (suture-less operation) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง ใช้เวลาการผ่าตัดน้อย ทำให้สามารถรักษาผู้ป่วยต้อกระจกในพื้นที่ห่างไกลได้จำนวนมาก นายแพทย์ ซานดุ๊ก รูอิท ยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการผลิตเลนส์ตาเทียม (intraocular lens) ซึ่งมีคุณภาพสูงขึ้นได้ในประเทศกำลังพัฒนา โดยเริ่มที่ประเทศเนปาล เลนส์ที่ผลิตขึ้นนี้มีราคาถูกกว่าเลนส์ตาเทียมที่นำเข้าถึง 50 เท่า ทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากสามารถเข้าถึงการรักษาโดยวิธีการดังกล่าวได้ นายแพทย์ ซานดุ๊ก รูอิท ยังได้จัดตั้งหน่วยผ่าตัดตาเคลื่อนที่ทำการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยต้อกระจกในพื้นที่ห่างไกลของประเทศเนปาลและแถบเทือกเขาหิลามัย โดยพัฒนาวิธีการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพแต่สามารถทำได้ในหน่วยผ่าตัดเคลื่อนที่ ต่อมาได้ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ขยายหน่วยผ่าตัดตาเคลื่อนที่นี้ไปสู่ประเทศอื่น ๆ เช่น จีน อินเดีย บังคลาเทศ กัมพูชา เวียดนาม และเกาหลีเหนือ
นอกจากนี้ นายแพทย์ ซานดุ๊ก รูอิท และคณะ ยังได้ฝึกอบรมและถ่ายทอดวิธีการผ่าตัดและวิธีการจัดการนี้ให้แก่จักษุแพทย์ และบุคลากรจากประเทศต่าง ๆ กว่า 500 คน ทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและกำลัง
พัฒนาจากทวีปเอเซีย อเมริกาเหนือ ยุโรป และออสเตรเลีย ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ได้นำวิธีการนี้ไปรักษาผู้ป่วยโรคต้อกระจกแล้ว จำนวนมากกว่า 35 ล้านคนทั่วโลก
ผลงานของ นายแพทย์ ซานดุ๊ก รูอิท ซึ่งเป็นจักษุแพทย์ในประเทศกำลังพัฒนา ได้รับการยอมรับ ในระดับโลก เป็นผลงานการแก้ไขความผิดปกติทางสายตาให้แก่ผู้ป่วยต้อกระจกในประเทศยากจนจำนวนมากด้วยวิธีที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ประหยัดค่าใช้จ่าย และสามารถทำได้แบบครบวงจร ทั้งในส่วนวิธีการผ่าตัด วัสดุทางการแพทย์ และระบบบริการทางสาธารณสุข ก่อประโยชน์ทั้งในด้านสุขภาพอนามัยและสุขภาพจิตของมวลมนุษย์หลายสิบล้านคนทั่วโลก
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจะเสด็จ พระราชดำเนินไปพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2550 ในวันพุธที่ 30 มกราคม 2551 เวลา 17.30 น. ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ แทนพระองค์ในการพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลพร้อมคู่สมรสในวันเดียวกัน ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร เวลา 20.00 น.
มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ก่อตั้งขึ้นในวโรกาสเฉลิมฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ครบ 100 ปี ในวันที่ 1 มกราคม 2535 ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน มอบรางวัลให้แก่บุคคลหรือองค์กรทั่วโลกที่มีผลงานดีเด่นเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ บุคคลหรือสถาบันทั่วไปสามารถเสนอชื่อและผลงานของบุคคลหรือองค์กรให้คณะกรรมการรางวัลนานาชาติมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลคัดเลือกเพื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลประจำปี ซึ่งมี 2 รางวัลคือด้านการแพทย์ และการสาธารณสุข โดยรางวัลประกอบด้วย เหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล รางวัลละ 50,000 เหรียญสหรัฐ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิธีแถลงข่าวผลการตัดสินผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2550 ณ ห้องสมเด็จพระบรมราชชนก ตึกสยามินทร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล โดยมีผู้ร่วมแถลงข่าว ได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ในฐานะรองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ และประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิชาการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ศาสตราจารย์นายแพทย์สุพัฒน์ วาณิชย์การ เลขาธิการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ นาย William Paterson เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำ ประเทศไทย นาย Arjun Kant Mainali อุปทูต สถานเอกอัครราชทูตเนปาล ประจำประเทศไทย และ ดร. Michael-Johannes Banzhaf อัครราชทูต ที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจำประเทศไทย
ที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธานเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ได้พิจารณาผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2550 จำนวน 69 ราย จาก 35 ประเทศ โดยคณะกรรมการมูลนิธิฯ มีมติตัดสินให้ ศาสตราจารย์ ดร.อักเซล อูลล์ริช (Professor Dr. Axel Ullrich) ผู้อำนวยการสถาบันชีวเคมีมักซ์พลั้งค์ (Max Planck Institute of Biochemistry) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2550 สาขาการแพทย์ และศาสตราจารย์นายแพทย์ เบซิล สจ๊วต เฮทเซล (Professor Basil Stuart Hetzel) ประธานเกียรติคุณ สภาการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนนานาชาติ ประเทศออสเตรเลีย และนายแพทย์ ซานดุ๊ก รูอิท (Dr. Sanduk Ruit) ผู้อำนวยการศูนย์จักษุทิลกานกา (Tilganga Eye Centre) กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล เข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2550 สาขาการสาธารณสุข
สาขาการแพทย์
ศาสตราจารย์ ดร.อักเซล อูลล์ริช (Professor Axel Ullrich) เป็นผู้นำด้านการศึกษากลไกหลัก ของการเกิดเซลล์มะเร็งและที่สำคัญเป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาวิธีการรักษาโรคมะเร็งแบบมุ่งเป้า (Targeted cancer therapy) เป็นการเปิดศักราชใหม่ของการรักษาโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากยารักษานี้ไม่ส่งผลร้ายต่อเซลล์ปกติ ทำให้ผลข้างเคียงของการรักษาโรคมะเร็งลดลง
ศาสตราจารย์ ดร. อักเซล อูลล์ ริช ได้ค้นพบและศึกษาลักษณะทางอณูชีววิทยาของยีนมะเร็งในโรคมะเร็งเต้านม ที่เรียกว่า เฮอร์ 2 (HER2/c-erbB2) พบว่าผู้ป่วยที่มียีนนี้จะมีความรุนแรงของโรคสูงและแพร่กระจายได้ง่าย ศาสตราจารย์ ดร. อักเซล อูลล์ ริช ได้สังเคราะห์แอนติบอดี้หรือโปรตีนต่อต้านเฮอร์ 2 ได้ ซึ่งได้ถูกนำไปพัฒนาเป็นยาใหม่ ที่เรียกว่า เฮอร์เซพติน หรือทราสตูซูแม็บ (Herceptin or Trastuzumab) และพบว่ายานี้สามารถใช้ได้ผลดีมากในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมที่มียีนดังกล่าว ต่อมาผู้วิจัยกลุ่มอื่น ๆ ได้ใช้แนวทางที่คล้ายคลึงกันนี้ของ ศาสตราจารย์ ดร. อักเซล อูลล์ ริช ทำการศึกษาเป้าหมายจำเพาะของโรคมะเร็งอื่น ๆ และพยายามพัฒนาวิธีการรักษาแบบมุ่งเป้านี้ด้วย
มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในสตรี มีผู้ป่วยใหม่ประมาณปีละ 1.2 ล้านคน และมี ผู้เสียชีวิตปีละมากกว่า 500,000 คน ผลงานของ ศาสตราจารย์ ดร.อักเซล อูลล์ ริช ในการพัฒนาวิธีการรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า และยาต้านยีนมะเร็งเต้านม นับเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการรักษาโรคมะเร็งทั้งปวง และเป็นต้นแบบของการวิจัยและพัฒนาการรักษาโรคมะเร็งอื่น ๆ ก่อประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัยของมวลมนุษย์หลายร้อยล้าน
คนทั่วโลก
สาขาการสาธารณสุข
ศาสตราจารย์นายแพทย์ เบซิล สจ๊วต เฮทเซล (Professor Basil Stuart Hetzel) ประธานเกียรติคุณ สภาการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนนานาชาติ ประเทศออสเตรเลีย ศาสตราจารย์นายแพทย์ เบซิล เฮทเซล เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจถึงผลของการขาดสารไอโอดีนที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยเฉพาะต่อการพัฒนาของสมอง รวมทั้งมีบทบาทสำคัญในการผลักดันโครงการรณรงค์แก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนระดับโลกระหว่างปี พ.ศ.2519-2528 ศาสตราจารย์นายแพทย์ เบซิล เฮทเซล และคณะได้พิสูจน์ว่าการขาดสารไอโอดีนมีผลกระทบต่อการพัฒนาการของสมองและระบบประสาทส่วนกลาง พบว่าการขาดสารไอโอดีนอย่างรุนแรงในมารดาและทารกในครรภ์ทำให้เกิดโรคเอ๋อ คือมีสติปัญญาต่ำ, หูหนวก, เป็นใบ้, การทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติ เป็นความพิการอย่างถาวร โดยเด็กที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีการขาดสารไอโอดีนจะมีระดับเชาวน์
ปัญญาหรือไอคิวต่ำกว่าเด็กวัยเดียวกันที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีสารไอโอดีนพอเพียงถึง 13.5 จุด ความพิการเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการให้สารไอโอดีนให้พอเพียงแก่สตรีวัยเจริญพันธ์ก่อนที่จะตั้งครรภ์
ศาสตราจารย์นายแพทย์ เบซิล เฮทเซล ยังได้เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งและเป็นผู้อำนวยการคนแรกของสภาการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนนานาชาติ หรือ ICCIDD ผลักดันให้มีการใช้เกลือเสริมไอโอดีนอย่างเต็มรูปแบบในราว 100 ประเทศทั่วโลก ทั้งในการบริโภค อุตสาหกรรมอาหาร และในการปศุสัตว์อย่างเข้มแข็ง มีผลต่อพัฒนาการของประชากรโลกกว่า 2 พันล้านคน
ผลงานของ ศาสตราจารย์นายแพทย์ เบซิล เฮทเซล ที่ทำให้ความหมายของ “โรคขาดสารไอโอดีน”เป็นที่ยอมรับมากกว่าโรคคอพอก ตลอดจนการรณรงค์ป้องกันและแก้ไข โรคขาดสารไอโอดีนก่อให้เกิดคุณูปการ อย่างใหญ่หลวงต่อเชาว์ปัญญาและสุขภาพอนามัยของประชากรจำนวนนับพันล้านคนทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย
นายแพทย์ ซานดุ๊ก รูอิท (Dr. Sanduk Ruit) ผู้อำนวยการศูนย์จักษุทิลกานกา (Tilganga Eye Centre) กรุงกาฎมาณฑุ ประเทศเนปาล นายแพทย์ ซานดุ๊ก รูอิท ได้พัฒนาวิธีการผ่าตัดต้อกระจกแบบที่ไม่ต้องเย็บ (suture-less operation) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง ใช้เวลาการผ่าตัดน้อย ทำให้สามารถรักษาผู้ป่วยต้อกระจกในพื้นที่ห่างไกลได้จำนวนมาก นายแพทย์ ซานดุ๊ก รูอิท ยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการผลิตเลนส์ตาเทียม (intraocular lens) ซึ่งมีคุณภาพสูงขึ้นได้ในประเทศกำลังพัฒนา โดยเริ่มที่ประเทศเนปาล เลนส์ที่ผลิตขึ้นนี้มีราคาถูกกว่าเลนส์ตาเทียมที่นำเข้าถึง 50 เท่า ทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากสามารถเข้าถึงการรักษาโดยวิธีการดังกล่าวได้ นายแพทย์ ซานดุ๊ก รูอิท ยังได้จัดตั้งหน่วยผ่าตัดตาเคลื่อนที่ทำการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยต้อกระจกในพื้นที่ห่างไกลของประเทศเนปาลและแถบเทือกเขาหิลามัย โดยพัฒนาวิธีการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพแต่สามารถทำได้ในหน่วยผ่าตัดเคลื่อนที่ ต่อมาได้ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ขยายหน่วยผ่าตัดตาเคลื่อนที่นี้ไปสู่ประเทศอื่น ๆ เช่น จีน อินเดีย บังคลาเทศ กัมพูชา เวียดนาม และเกาหลีเหนือ
นอกจากนี้ นายแพทย์ ซานดุ๊ก รูอิท และคณะ ยังได้ฝึกอบรมและถ่ายทอดวิธีการผ่าตัดและวิธีการจัดการนี้ให้แก่จักษุแพทย์ และบุคลากรจากประเทศต่าง ๆ กว่า 500 คน ทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและกำลัง
พัฒนาจากทวีปเอเซีย อเมริกาเหนือ ยุโรป และออสเตรเลีย ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ได้นำวิธีการนี้ไปรักษาผู้ป่วยโรคต้อกระจกแล้ว จำนวนมากกว่า 35 ล้านคนทั่วโลก
ผลงานของ นายแพทย์ ซานดุ๊ก รูอิท ซึ่งเป็นจักษุแพทย์ในประเทศกำลังพัฒนา ได้รับการยอมรับ ในระดับโลก เป็นผลงานการแก้ไขความผิดปกติทางสายตาให้แก่ผู้ป่วยต้อกระจกในประเทศยากจนจำนวนมากด้วยวิธีที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ประหยัดค่าใช้จ่าย และสามารถทำได้แบบครบวงจร ทั้งในส่วนวิธีการผ่าตัด วัสดุทางการแพทย์ และระบบบริการทางสาธารณสุข ก่อประโยชน์ทั้งในด้านสุขภาพอนามัยและสุขภาพจิตของมวลมนุษย์หลายสิบล้านคนทั่วโลก
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจะเสด็จ พระราชดำเนินไปพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2550 ในวันพุธที่ 30 มกราคม 2551 เวลา 17.30 น. ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ แทนพระองค์ในการพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลพร้อมคู่สมรสในวันเดียวกัน ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร เวลา 20.00 น.
มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ก่อตั้งขึ้นในวโรกาสเฉลิมฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ครบ 100 ปี ในวันที่ 1 มกราคม 2535 ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน มอบรางวัลให้แก่บุคคลหรือองค์กรทั่วโลกที่มีผลงานดีเด่นเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ บุคคลหรือสถาบันทั่วไปสามารถเสนอชื่อและผลงานของบุคคลหรือองค์กรให้คณะกรรมการรางวัลนานาชาติมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลคัดเลือกเพื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลประจำปี ซึ่งมี 2 รางวัลคือด้านการแพทย์ และการสาธารณสุข โดยรางวัลประกอบด้วย เหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล รางวัลละ 50,000 เหรียญสหรัฐ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-