กรุงเทพ--29 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
สถิติผู้ขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม — 22 พฤศจิกายน 2550 มีจำนวน 79,186 ราย เมืองที่มีผู้ขอลงทะเบียนขอใช้สิทธิมากใน 10 อันดับแรกคือ สิงคโปร์ ลอสแอนแจลิส เทลอาวีฟ เจดดาห์ แฟรงก์เฟิร์ต ฮ่องกง ไทเป คูเวต โดฮา และดูไบ
การลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิในครั้งนี้จัดทำขึ้นใหม่ เนื่องจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเดิมถูกยกเลิกไปตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 บัญชีรายชื่อใหม่ที่จัดทำขึ้นครั้งนี้มีจำนวนสูงขึ้นมาก เมื่อเปรียบเทียบกับบัญชีที่จัดทำครั้งแรกในการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรในปี 2543 ซึ่งมีจำนวน 26,058 ราย แสดงให้เห็นว่า ประชาชนมีความตื่นตัวและสนใจที่จะขอใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งนี้มากขึ้น
สำหรับบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีอยู่ในปี 2549 จำนวน 144,028 ราย เป็นตัวเลขสะสมต่อเนื่องมาตั้งแต่การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร รวม 5 ครั้ง (ตั้งแต่ปี 2543-2549) และแทบไม่มีการถอนชื่อผู้ใดออกจากบัญชีเดิม จึงไม่ได้สะท้อนตัวเลขของผู้ที่ขอใช้สิทธิอย่างแท้จริง เป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งที่ทำให้สัดส่วนของผู้ไปลงคะแนนในการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรครั้งที่ผ่านมาอยู่ในอัตราเฉลี่ยที่ต่ำคือร้อยละ 35 เมื่อเปรียบเทียบกับบัญชีรายชื่อผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้ง
นอกจากสาเหตุจากบัญชีเดิมที่ไม่สะท้อนความเป็นจริงแล้ว ยังมีสาเหตุที่มีผู้ไปลงคะแนนฯ จำนวนน้อยในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ได้แก่
- คนไทยในต่างประเทศยังมองว่าการเลือกตั้งเป็นเรื่องไกลตัว
- ไม่มีบรรยากาศของการหาเสียงและไม่มีสื่อในต่างประเทศที่ช่วยกระตุ้นให้ไปใช้สิทธิเช่นใน ประเทศไทย
- ขาดความสะดวกในการไปใช้สิทธิ โดยเฉพาะแรงงาน ซึ่งต้องทำงานในวันอาทิตย์ด้วยหรือไม่อยากขาดเงินายได้สำหรับการทำงานในวันหยุด
กระทรวงการต่างประเทศรวมทั้งสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ได้เร่งเชิญชวนให้คนไทยในต่างประเทศไปลงทะเบียนใช้สิทธิ โดยสร้างความตื่นตัวในหมู่ชุมชนไทยผ่านการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ และพยายามชี้ให้เห็นว่า การใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของคนไทย ทุกเสียงมีความสำคัญต่ออนาคตของประเทศและการพัฒนา ประชาธิปไตย ซึ่งเมื่อพิจารณาจากตัวเลขของผู้ขอลงทะเบียนใช้สิทธิในปีนี้ นับว่าการประชาสัมพันธ์ของสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ และกระทรวงการต่างประเทศได้ผลดี
อนึ่ง กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่เกี่ยวกับกำหนดการและวิธีการจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ดังนี้
- สถานเอกอัครราชทุต/สถานกงสุลใหญ่ จำนวน 90 แห่ง ใน 65 ประเทศ (ครอบคลุม 88 ประเทศ)
มีจำนวนจุดเลือกตั้ง (ทั้งหน่วยเลือกตั้งและวิธีอื่นที่ไม่ใช่หน่วยเลือกตั้ง) รวมทั้งสิ้น 172 จุด ประกอบด้วย
(1) การใช้คูหา รวม 55 แห่ง (42 ประเทศ)
(2) การใช้วิธีการทางไปรษณีย์ รวม 47 แห่ง (37 ประเทศ)
(3) การใช้วิธีอื่นๆ รวม 21 แห่ง (19 ประเทศ)
(4) การใช้มากกว่า 1 วิธี รวม 30 แห่ง (30 ประเทศ)
(5) การใช้คูหาอย่างเดียว 26 แห่ง (14ประเทศ)
(6) การใช้วิธีการทางไปรษณีย์อย่างเดียว รวม 28 แห่ง (19ประเทศ)
(7) การใช้ทั้ง 3 วิธี (ทั้งคูหา ไปรษณีย์ และวิธีอื่นๆ) รวม 2 แห่ง (3 ประเทศ)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
สถิติผู้ขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม — 22 พฤศจิกายน 2550 มีจำนวน 79,186 ราย เมืองที่มีผู้ขอลงทะเบียนขอใช้สิทธิมากใน 10 อันดับแรกคือ สิงคโปร์ ลอสแอนแจลิส เทลอาวีฟ เจดดาห์ แฟรงก์เฟิร์ต ฮ่องกง ไทเป คูเวต โดฮา และดูไบ
การลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิในครั้งนี้จัดทำขึ้นใหม่ เนื่องจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเดิมถูกยกเลิกไปตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 บัญชีรายชื่อใหม่ที่จัดทำขึ้นครั้งนี้มีจำนวนสูงขึ้นมาก เมื่อเปรียบเทียบกับบัญชีที่จัดทำครั้งแรกในการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรในปี 2543 ซึ่งมีจำนวน 26,058 ราย แสดงให้เห็นว่า ประชาชนมีความตื่นตัวและสนใจที่จะขอใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งนี้มากขึ้น
สำหรับบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีอยู่ในปี 2549 จำนวน 144,028 ราย เป็นตัวเลขสะสมต่อเนื่องมาตั้งแต่การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร รวม 5 ครั้ง (ตั้งแต่ปี 2543-2549) และแทบไม่มีการถอนชื่อผู้ใดออกจากบัญชีเดิม จึงไม่ได้สะท้อนตัวเลขของผู้ที่ขอใช้สิทธิอย่างแท้จริง เป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งที่ทำให้สัดส่วนของผู้ไปลงคะแนนในการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรครั้งที่ผ่านมาอยู่ในอัตราเฉลี่ยที่ต่ำคือร้อยละ 35 เมื่อเปรียบเทียบกับบัญชีรายชื่อผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้ง
นอกจากสาเหตุจากบัญชีเดิมที่ไม่สะท้อนความเป็นจริงแล้ว ยังมีสาเหตุที่มีผู้ไปลงคะแนนฯ จำนวนน้อยในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ได้แก่
- คนไทยในต่างประเทศยังมองว่าการเลือกตั้งเป็นเรื่องไกลตัว
- ไม่มีบรรยากาศของการหาเสียงและไม่มีสื่อในต่างประเทศที่ช่วยกระตุ้นให้ไปใช้สิทธิเช่นใน ประเทศไทย
- ขาดความสะดวกในการไปใช้สิทธิ โดยเฉพาะแรงงาน ซึ่งต้องทำงานในวันอาทิตย์ด้วยหรือไม่อยากขาดเงินายได้สำหรับการทำงานในวันหยุด
กระทรวงการต่างประเทศรวมทั้งสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ได้เร่งเชิญชวนให้คนไทยในต่างประเทศไปลงทะเบียนใช้สิทธิ โดยสร้างความตื่นตัวในหมู่ชุมชนไทยผ่านการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ และพยายามชี้ให้เห็นว่า การใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของคนไทย ทุกเสียงมีความสำคัญต่ออนาคตของประเทศและการพัฒนา ประชาธิปไตย ซึ่งเมื่อพิจารณาจากตัวเลขของผู้ขอลงทะเบียนใช้สิทธิในปีนี้ นับว่าการประชาสัมพันธ์ของสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ และกระทรวงการต่างประเทศได้ผลดี
อนึ่ง กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่เกี่ยวกับกำหนดการและวิธีการจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ดังนี้
- สถานเอกอัครราชทุต/สถานกงสุลใหญ่ จำนวน 90 แห่ง ใน 65 ประเทศ (ครอบคลุม 88 ประเทศ)
มีจำนวนจุดเลือกตั้ง (ทั้งหน่วยเลือกตั้งและวิธีอื่นที่ไม่ใช่หน่วยเลือกตั้ง) รวมทั้งสิ้น 172 จุด ประกอบด้วย
(1) การใช้คูหา รวม 55 แห่ง (42 ประเทศ)
(2) การใช้วิธีการทางไปรษณีย์ รวม 47 แห่ง (37 ประเทศ)
(3) การใช้วิธีอื่นๆ รวม 21 แห่ง (19 ประเทศ)
(4) การใช้มากกว่า 1 วิธี รวม 30 แห่ง (30 ประเทศ)
(5) การใช้คูหาอย่างเดียว 26 แห่ง (14ประเทศ)
(6) การใช้วิธีการทางไปรษณีย์อย่างเดียว รวม 28 แห่ง (19ประเทศ)
(7) การใช้ทั้ง 3 วิธี (ทั้งคูหา ไปรษณีย์ และวิธีอื่นๆ) รวม 2 แห่ง (3 ประเทศ)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-