กรุงเทพ--29 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องประชุมกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ มีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์
เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็น ต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. พิธีลงนามความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางธรรมดาไทย- มองโกเลีย
กระทรวงการต่างประเทศจะจัดพิธีลงนามความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจ ลงตราของผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา ระหว่างราชอาณาจักรไทยและมองโกเลีย ในวันที่ 14 ธันวาคม 2550 โดยมีนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย และนายไยชิล บัทซูริ (H.E. Mr. Yachil Butsuuri) เอกอัครราชทูตมองโกเลียประจำประเทศไทยเป็นผู้ลงนามฝ่ายมองโกเลีย
ความตกลงดังกล่าว จะเป็นรากฐานอันสำคัญในการส่งเสริมการไปมาหาสู่และการกระชับความสัมพันธ์ระดับประชาชน - ประชาชน ซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจตลอดจนสนับสนุนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และไปสู่การมีปฎิสัมพันธ์ในด้านอื่น ๆ ต่อไป เช่น การค้า/การลงทุน ธุรกิจท่องเที่ยว เป็นต้น ความตกลงนี้จะทำให้ผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของไทยและมองโกเลียสามารถเดินทางเข้าประเทศทั้งสองได้โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา (วีซ่า) และสามารถพำนักอยู่ได้ไม่เกิน 30 วัน โดยความตกลงจะมีผลบังคับใช้หลังจากลงนามแล้ว 30 วัน
ไทยและมองโกเลียสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2517 มีความสัมพันธ์ที่ราบรื่น และก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ในระยะ 2 ปี ที่ผ่านมา มูลค่าการค้าไทย - มองโกเลีย เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว คือเพิ่มขึ้นร้อยละ 136 จาก 9.5 แสนดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2548 เป็น 2.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2549 นอกจากนี้ ชาวมองโกเลียยังนิยมเดินทางมา ประเทศไทยเพื่อการท่องเที่ยวและใช้บริการด้านการแพทย์ โดยมีนักท่องเที่ยวชาวมองโกเลียเดินทางเข้ามาประเทศไทยเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยในปี 2549 มีนักท่องเที่ยวชาวมองโกเลียเดินทางมาเยือนประเทศไทย 2,772 คน ขณะที่ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปมองโกเลียมีจำนวนไม่มากนัก
2. กระทรวงการต่างประเทศซาอุดีอาระเบียห้ามคณะผู้แสวงบุญที่จะไปประกอบพิธีฮัจย์ ประจำปี 2550 เผยแพร่เอกสารหรือ สิ่งพิมพ์ที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงวัฒนธรรมและสารนิเทศของซาอุดีอาระเบีย
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงริยาด ว่า กระทรวงการต่างประเทศซาอุดีอาระเบียได้ประกาศห้ามคณะผู้แสวงบุญที่จะไปประกอบพิธีฮัจย์ประจำปี 2550 ณ นครมักกะห์ ทำการเผยแพร่เอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใดๆ ที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงวัฒนธรรมและสารนิเทศซาอุดีอาระเบียในช่วงการเดินทางไปร่วมการประกอบพิธีฮัจย์ประจำปีนี้ ซึ่งเป็นมาตรการด้านความมั่นคงและรักษาความปลอดภัยแก่ผู้แสวงบุญที่ถือปฏิบัติมาในการตรวจและยึดสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาต
3. การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ Doing Business in Africa”
กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology- AIT) จะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ Doing Business in Africa “ ขึ้นในระหว่างวันที่ 3-4 ธันวาคม 2550 ณ โรงแรมสยามซิตี้ ถนนศรีอยุธยา โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วมเป็นวิทยากร อาทิ New Partnership for Africa’ s Development (NEPAD) United Nations Economic Commission for Africa (UNECA) และ African Development Bank Group นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้เชิญเอกอัครราชทูตและผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตแอฟริกา และผู้ที่สนใจจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง อาทิ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันการศึกษาไทย เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
วัตถุประสงค์สำคัญของการจัดการประชุมดังกล่าว เพื่อสนับสนุนนโยบายหลักของรัฐบาล ในการส่งเสริมและเพิ่มพูนโอกาสทางการค้าและการลงทุนของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแสวงหาตลาดใหม่ โดยเน้นเป้าหมายไปที่ภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งในด้านทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ อาทิ วัตถุดิบทางการเกษตร แร่ธาตุที่สำคัญ ตลอดจนแหล่งพลังงานน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมของไทย ตลอดจนเป็นภูมิภาคที่มีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 700 ล้านคน จึงสามารถเป็นตลาดใหม่ทางการค้าที่สำคัญตลาดหนึ่งของไทยต่อไปในอนาคต
เนื้อหาของการประชุมฯ มุ่งเน้นการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโอกาสในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการของแอฟริกา โดยเฉพาะใน 8 สาขา ที่สำคัญ ได้แก่ 1) การค้าการลงทุน 2) การธนาคารและระบบการเงิน 3) กฎหมายและระเบียบปฏิบัติทางการค้า 4) พลังงาน-น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ 5) อุตสาหกรรมการเกษตร 6) การก่อสร้างและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 7) การศึกษาและวัฒนธรรม และ 8) การท่องเที่ยว บริการ และการดูแลสุขภาพ
ทั้งนี้ โดยจะมีการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภาพรวมของสภาวะทางเศรษฐกิจ และบรรยายการการค้าการลงทุนของแอฟริกาในปัจจุบันรวมทั้งการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติและกฎหมายการค้า และการลงทุนของของประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกา
เพื่อเป็นการให้ข้อมูลและเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคเอกชนไทย อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนข้อมูลให้แก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอทิศทางในการกำหนดนโยบายการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทยโดยให้ความสำคัญต่อภูมิภาคแอฟริกา
การประชุมดังกล่าวเป็นการยืนยันถึงความสนใจของไทยที่มีต่อแอฟริกา โดยได้พยายามสนับสนุนเอกชนที่สนใจเข้าไปลงทุนและแสวงหาตลาดใหม่ในแอฟริกา และการประชุมครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสที่สำคัญยิ่งในการสร้างเครือข่าย ตลอดจนเป็นสัญญาณให้ภูมิภาคแอฟริกาได้รับทราบถึงความสนใจของไทยในการที่จะส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ของภูมิภาคแอฟริกาอีกด้วย
4. การลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
สถิติผู้ขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม — 22 พฤศจิกายน 2550 มีจำนวน 79,186 ราย เมืองที่มีผู้ขอลงทะเบียนขอใช้สิทธิมากใน 10 อันดับแรก คือ สิงคโปร์ ลอสแอนแจลิส เทลอาวีฟ เจดดาห์ แฟรงก์เฟิร์ต ฮ่องกง ไทเป คูเวต โดฮา และดูไบ
การลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิในครั้งนี้จัดทำขึ้นใหม่ เนื่องจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเดิมถูกยกเลิกไปตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 บัญชีรายชื่อใหม่ที่จัดทำขึ้นครั้งนี้มีจำนวนสูงขึ้นมาก เมื่อเปรียบเทียบกับบัญชีที่จัดทำครั้งแรกในการเลือกตั้ง
นอกราชอาณาจักรในปี 2543 ซึ่งมีจำนวน 26,058 ราย แสดงให้เห็นว่า ประชาชนมีความตื่นตัวและสนใจที่จะขอใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งนี้มากขึ้น
สำหรับบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีอยู่ในปี 2549 จำนวน 144,028 ราย เป็นตัวเลขสะสมต่อเนื่องมาตั้งแต่การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร รวม 5 ครั้ง (ตั้งแต่ปี 2543-2549) และแทบไม่มีการถอนชื่อผู้ใดออกจากบัญชีเดิม จึงไม่ได้สะท้อนตัวเลขของผู้ที่ขอใช้สิทธิอย่างแท้จริง เป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งที่ทำให้สัดส่วนของผู้ไปลงคะแนนในการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรครั้งที่ผ่านมาอยู่ในอัตราเฉลี่ยที่ต่ำคือร้อยละ 35 เมื่อเปรียบเทียบกับบัญชีรายชื่อผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้ง
นอกจากสาเหตุจากบัญชีเดิมที่ไม่สะท้อนความเป็นจริงแล้ว ยังมีสาเหตุที่มีผู้ไปลงคะแนนฯ จำนวนน้อยในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ได้แก่
- คนไทยในต่างประเทศยังมองว่าการเลือกตั้งเป็นเรื่องไกลตัว
- ไม่มีบรรยากาศของการหาเสียงและไม่มีสื่อในต่างประเทศที่ช่วยกระตุ้น ให้ไปใช้สิทธิเช่นในประเทศไทย
- ขาดความสะดวกในการไปใช้สิทธิ โดยเฉพาะแรงงาน ซึ่งต้องทำงานในวันอาทิตย์ด้วยหรือไม่อยากขาดเงินายได้สำหรับการทำงานในวันหยุด
กระทรวงการต่างประเทศรวมทั้งสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ได้เร่งเชิญชวนให้คนไทยในต่างประเทศไปลงทะเบียนใช้สิทธิ โดยสร้างความตื่นตัวในหมู่ชุมชนไทยผ่านการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ และพยายามชี้ให้เห็นว่า
การใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของคนไทย ทุกเสียงมีความสำคัญต่ออนาคตของประเทศและการพัฒนา ประชาธิปไตย ซึ่งเมื่อพิจารณาจากตัวเลขของผู้ขอลงทะเบียนใช้สิทธิในปีนี้ นับว่าการประชาสัมพันธ์ของสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ และกระทรวงการต่างประเทศได้ผลดี
อนึ่ง กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่เกี่ยวกับกำหนดการและวิธีการจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ดังนี้
- สถานเอกอัครราชทุต/สถานกงสุลใหญ่ จำนวน 90 แห่ง ใน 65 ประเทศ (ครอบคลุม 88 ประเทศ)มีจำนวนจุดเลือกตั้ง (ทั้งหน่วยเลือกตั้งและวิธีอื่นที่ไม่ใช่หน่วยเลือกตั้ง) รวมทั้งสิ้น 172 จุด ประกอบด้วย
(1) การใช้คูหา รวม 55 แห่ง (42 ประเทศ)
(2) การใช้วิธีการทางไปรษณีย์ รวม 47 แห่ง (37 ประเทศ)
(3) การใช้วิธีอื่นๆ รวม 21 แห่ง (19 ประเทศ)
(4) การใช้มากกว่า 1 วิธี รวม 30 แห่ง (30 ประเทศ)
(5) การใช้คูหาอย่างเดียว 26 แห่ง (14ประเทศ)
(6) การใช้วิธีการทางไปรษณีย์อย่างเดียว รวม 28 แห่ง (19ประเทศ)
(7) การใช้ทั้ง 3 วิธี (ทั้งคูหา ไปรษณีย์ และวิธีอื่นๆ) รวม 2 แห่ง (3 ประเทศ)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องประชุมกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ มีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์
เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็น ต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. พิธีลงนามความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางธรรมดาไทย- มองโกเลีย
กระทรวงการต่างประเทศจะจัดพิธีลงนามความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจ ลงตราของผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา ระหว่างราชอาณาจักรไทยและมองโกเลีย ในวันที่ 14 ธันวาคม 2550 โดยมีนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย และนายไยชิล บัทซูริ (H.E. Mr. Yachil Butsuuri) เอกอัครราชทูตมองโกเลียประจำประเทศไทยเป็นผู้ลงนามฝ่ายมองโกเลีย
ความตกลงดังกล่าว จะเป็นรากฐานอันสำคัญในการส่งเสริมการไปมาหาสู่และการกระชับความสัมพันธ์ระดับประชาชน - ประชาชน ซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจตลอดจนสนับสนุนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และไปสู่การมีปฎิสัมพันธ์ในด้านอื่น ๆ ต่อไป เช่น การค้า/การลงทุน ธุรกิจท่องเที่ยว เป็นต้น ความตกลงนี้จะทำให้ผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของไทยและมองโกเลียสามารถเดินทางเข้าประเทศทั้งสองได้โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา (วีซ่า) และสามารถพำนักอยู่ได้ไม่เกิน 30 วัน โดยความตกลงจะมีผลบังคับใช้หลังจากลงนามแล้ว 30 วัน
ไทยและมองโกเลียสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2517 มีความสัมพันธ์ที่ราบรื่น และก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ในระยะ 2 ปี ที่ผ่านมา มูลค่าการค้าไทย - มองโกเลีย เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว คือเพิ่มขึ้นร้อยละ 136 จาก 9.5 แสนดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2548 เป็น 2.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2549 นอกจากนี้ ชาวมองโกเลียยังนิยมเดินทางมา ประเทศไทยเพื่อการท่องเที่ยวและใช้บริการด้านการแพทย์ โดยมีนักท่องเที่ยวชาวมองโกเลียเดินทางเข้ามาประเทศไทยเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยในปี 2549 มีนักท่องเที่ยวชาวมองโกเลียเดินทางมาเยือนประเทศไทย 2,772 คน ขณะที่ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปมองโกเลียมีจำนวนไม่มากนัก
2. กระทรวงการต่างประเทศซาอุดีอาระเบียห้ามคณะผู้แสวงบุญที่จะไปประกอบพิธีฮัจย์ ประจำปี 2550 เผยแพร่เอกสารหรือ สิ่งพิมพ์ที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงวัฒนธรรมและสารนิเทศของซาอุดีอาระเบีย
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงริยาด ว่า กระทรวงการต่างประเทศซาอุดีอาระเบียได้ประกาศห้ามคณะผู้แสวงบุญที่จะไปประกอบพิธีฮัจย์ประจำปี 2550 ณ นครมักกะห์ ทำการเผยแพร่เอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใดๆ ที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงวัฒนธรรมและสารนิเทศซาอุดีอาระเบียในช่วงการเดินทางไปร่วมการประกอบพิธีฮัจย์ประจำปีนี้ ซึ่งเป็นมาตรการด้านความมั่นคงและรักษาความปลอดภัยแก่ผู้แสวงบุญที่ถือปฏิบัติมาในการตรวจและยึดสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาต
3. การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ Doing Business in Africa”
กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology- AIT) จะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ Doing Business in Africa “ ขึ้นในระหว่างวันที่ 3-4 ธันวาคม 2550 ณ โรงแรมสยามซิตี้ ถนนศรีอยุธยา โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วมเป็นวิทยากร อาทิ New Partnership for Africa’ s Development (NEPAD) United Nations Economic Commission for Africa (UNECA) และ African Development Bank Group นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้เชิญเอกอัครราชทูตและผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตแอฟริกา และผู้ที่สนใจจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง อาทิ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันการศึกษาไทย เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
วัตถุประสงค์สำคัญของการจัดการประชุมดังกล่าว เพื่อสนับสนุนนโยบายหลักของรัฐบาล ในการส่งเสริมและเพิ่มพูนโอกาสทางการค้าและการลงทุนของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแสวงหาตลาดใหม่ โดยเน้นเป้าหมายไปที่ภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งในด้านทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ อาทิ วัตถุดิบทางการเกษตร แร่ธาตุที่สำคัญ ตลอดจนแหล่งพลังงานน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมของไทย ตลอดจนเป็นภูมิภาคที่มีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 700 ล้านคน จึงสามารถเป็นตลาดใหม่ทางการค้าที่สำคัญตลาดหนึ่งของไทยต่อไปในอนาคต
เนื้อหาของการประชุมฯ มุ่งเน้นการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโอกาสในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการของแอฟริกา โดยเฉพาะใน 8 สาขา ที่สำคัญ ได้แก่ 1) การค้าการลงทุน 2) การธนาคารและระบบการเงิน 3) กฎหมายและระเบียบปฏิบัติทางการค้า 4) พลังงาน-น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ 5) อุตสาหกรรมการเกษตร 6) การก่อสร้างและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 7) การศึกษาและวัฒนธรรม และ 8) การท่องเที่ยว บริการ และการดูแลสุขภาพ
ทั้งนี้ โดยจะมีการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภาพรวมของสภาวะทางเศรษฐกิจ และบรรยายการการค้าการลงทุนของแอฟริกาในปัจจุบันรวมทั้งการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติและกฎหมายการค้า และการลงทุนของของประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกา
เพื่อเป็นการให้ข้อมูลและเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคเอกชนไทย อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนข้อมูลให้แก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอทิศทางในการกำหนดนโยบายการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทยโดยให้ความสำคัญต่อภูมิภาคแอฟริกา
การประชุมดังกล่าวเป็นการยืนยันถึงความสนใจของไทยที่มีต่อแอฟริกา โดยได้พยายามสนับสนุนเอกชนที่สนใจเข้าไปลงทุนและแสวงหาตลาดใหม่ในแอฟริกา และการประชุมครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสที่สำคัญยิ่งในการสร้างเครือข่าย ตลอดจนเป็นสัญญาณให้ภูมิภาคแอฟริกาได้รับทราบถึงความสนใจของไทยในการที่จะส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ของภูมิภาคแอฟริกาอีกด้วย
4. การลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
สถิติผู้ขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม — 22 พฤศจิกายน 2550 มีจำนวน 79,186 ราย เมืองที่มีผู้ขอลงทะเบียนขอใช้สิทธิมากใน 10 อันดับแรก คือ สิงคโปร์ ลอสแอนแจลิส เทลอาวีฟ เจดดาห์ แฟรงก์เฟิร์ต ฮ่องกง ไทเป คูเวต โดฮา และดูไบ
การลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิในครั้งนี้จัดทำขึ้นใหม่ เนื่องจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเดิมถูกยกเลิกไปตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 บัญชีรายชื่อใหม่ที่จัดทำขึ้นครั้งนี้มีจำนวนสูงขึ้นมาก เมื่อเปรียบเทียบกับบัญชีที่จัดทำครั้งแรกในการเลือกตั้ง
นอกราชอาณาจักรในปี 2543 ซึ่งมีจำนวน 26,058 ราย แสดงให้เห็นว่า ประชาชนมีความตื่นตัวและสนใจที่จะขอใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งนี้มากขึ้น
สำหรับบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีอยู่ในปี 2549 จำนวน 144,028 ราย เป็นตัวเลขสะสมต่อเนื่องมาตั้งแต่การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร รวม 5 ครั้ง (ตั้งแต่ปี 2543-2549) และแทบไม่มีการถอนชื่อผู้ใดออกจากบัญชีเดิม จึงไม่ได้สะท้อนตัวเลขของผู้ที่ขอใช้สิทธิอย่างแท้จริง เป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งที่ทำให้สัดส่วนของผู้ไปลงคะแนนในการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรครั้งที่ผ่านมาอยู่ในอัตราเฉลี่ยที่ต่ำคือร้อยละ 35 เมื่อเปรียบเทียบกับบัญชีรายชื่อผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้ง
นอกจากสาเหตุจากบัญชีเดิมที่ไม่สะท้อนความเป็นจริงแล้ว ยังมีสาเหตุที่มีผู้ไปลงคะแนนฯ จำนวนน้อยในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ได้แก่
- คนไทยในต่างประเทศยังมองว่าการเลือกตั้งเป็นเรื่องไกลตัว
- ไม่มีบรรยากาศของการหาเสียงและไม่มีสื่อในต่างประเทศที่ช่วยกระตุ้น ให้ไปใช้สิทธิเช่นในประเทศไทย
- ขาดความสะดวกในการไปใช้สิทธิ โดยเฉพาะแรงงาน ซึ่งต้องทำงานในวันอาทิตย์ด้วยหรือไม่อยากขาดเงินายได้สำหรับการทำงานในวันหยุด
กระทรวงการต่างประเทศรวมทั้งสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ได้เร่งเชิญชวนให้คนไทยในต่างประเทศไปลงทะเบียนใช้สิทธิ โดยสร้างความตื่นตัวในหมู่ชุมชนไทยผ่านการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ และพยายามชี้ให้เห็นว่า
การใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของคนไทย ทุกเสียงมีความสำคัญต่ออนาคตของประเทศและการพัฒนา ประชาธิปไตย ซึ่งเมื่อพิจารณาจากตัวเลขของผู้ขอลงทะเบียนใช้สิทธิในปีนี้ นับว่าการประชาสัมพันธ์ของสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ และกระทรวงการต่างประเทศได้ผลดี
อนึ่ง กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่เกี่ยวกับกำหนดการและวิธีการจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ดังนี้
- สถานเอกอัครราชทุต/สถานกงสุลใหญ่ จำนวน 90 แห่ง ใน 65 ประเทศ (ครอบคลุม 88 ประเทศ)มีจำนวนจุดเลือกตั้ง (ทั้งหน่วยเลือกตั้งและวิธีอื่นที่ไม่ใช่หน่วยเลือกตั้ง) รวมทั้งสิ้น 172 จุด ประกอบด้วย
(1) การใช้คูหา รวม 55 แห่ง (42 ประเทศ)
(2) การใช้วิธีการทางไปรษณีย์ รวม 47 แห่ง (37 ประเทศ)
(3) การใช้วิธีอื่นๆ รวม 21 แห่ง (19 ประเทศ)
(4) การใช้มากกว่า 1 วิธี รวม 30 แห่ง (30 ประเทศ)
(5) การใช้คูหาอย่างเดียว 26 แห่ง (14ประเทศ)
(6) การใช้วิธีการทางไปรษณีย์อย่างเดียว รวม 28 แห่ง (19ประเทศ)
(7) การใช้ทั้ง 3 วิธี (ทั้งคูหา ไปรษณีย์ และวิธีอื่นๆ) รวม 2 แห่ง (3 ประเทศ)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-