กรุงเทพ--11 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ภูมิหลัง
นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติและภริยามีกำหนดจะเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 9-11 ธันวาคม 2550 ก่อนเดินทางไปร่วมการประชุมรัฐภาคี United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) หรือที่เรียกว่า Bali Conference on Climate Change ณ บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในวันที่ 11-13 ธันวาคม 2550 และภายหลังการประชุมดังกล่าวจะเดินทางไปเยือนติมอร์-เลสเต โดยการเยือนประเทศไทยครั้งนี้เป็นไปตามคำเชิญของพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในช่วงการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 62 เมื่อเดือนกันยายน 2550 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
กำหนดการของเลขาธิการสหประชาชาติ
ในวันที่ 10 ธันวาคม 2550 เลขาธิการสหประชาชาติมีกำหนดการหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรี และพบปะเยี่ยมเยียนเจ้าหน้าที่สหประชาชาติที่ประจำในประเทศไทย พร้อมทั้งจัดการประชุม United Nations on Climate Change, Green Growth and Inclusive Development ซึ่งเป็นกิจกรรมภายในของสหประชาชาติที่สำนักงานคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก หรือ เอสแคป (UNESCAP) จากนั้น เลขาธิการสหประชาชาติและภริยาจะเยี่ยมชมโครงการงานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง ณ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ก่อนที่จะเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ
พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และเข้าร่วมงานเลี้ยงรับรอง ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ซึ่งนาง Noeleen Heyzer เลขาธิการบริหารคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก เป็นเจ้าภาพเลี้ยงรับรองเพื่อเป็นเกียรติแก่เลขาธิการสหประชาชาติและภริยา
ประเด็นสำคัญของการเยือนฯ
โดยที่การเดินทางเยือนประเทศไทยของเลขาธิการสหประชาชาติในครั้งนี้ เป็นการเยือนประเทศในเอเชียประเทศแรก กอปรกับเป็นช่วงมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา และในวันที่ 16 ธันวาคม 2550 จะเป็นวันครบรอบ 61 ปี ของความสัมพันธ์ไทยกับสหประชาชาติ การเยือนครั้งนี้ถือเป็นการเยือนประเทศไทยครั้งแรกของเลขาธิการสหประชาชาติภายหลังจากที่นายโคฟี่ อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติเคยเดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UN Development Programme Lifetime Achievement Award) แด่พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2549 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญที่สหประชาชาติตระหนักดีต่อแนวทางการพัฒนามนุษย์อย่างยั่งยืนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในการนี้ จึงเป็นโอกาสอันดีที่ฝ่ายไทยจะทำให้สหประชาชาติมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับบทบาทไทยในฐานะประเทศสมาชิกที่ดี มีความรับผิดชอบ และน่าเชื่อถือ ตลอดจนยืนยันความมุ่งมั่นที่จะขยายความเป็นหุ้นส่วน (partnership) ระหว่างไทยกับสหประชาชาติในการดำเนินการด้านต่าง ๆ ที่ประเทศไทยและสหประชาชาติให้ความสำคัญ โดยกรอบการเยือนฯ ในครั้งนี้ คือ Thailand-UN Partnership for Sustainable Development and Climate Change โดยประเด็นการหารือข้อราชการระหว่างฝ่ายไทยและสหประชาชาติในวันที่ 10 ธันวาคม 2550 จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับสหประชาชาติในลักษณะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และประเด็นทางด้านสังคม อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงานทางเลือก การให้ความร่วมมือในลักษณะไตรภาคี (Trilateral arrangements) ความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (South-South Cooperation) สาธารณสุข และผู้หนีภัย นอกจากนี้จะเป็นโอกาสอันดีที่ฝ่ายไทยและฝ่ายสหประชาชาติจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่มีความสนใจร่วมกัน อาทิ บทบาทของไทยในปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ การปฏิรูปสหประชาชาติ และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติ
-------------------------------------------------
ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลเกี่ยวกับเลขาธิการสหประชาชาติ
นายบัน คี มูน ชาวเกาหลีใต้ เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติคนที่ 8 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2550 มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และประเด็นที่นายบัน คี มูนให้ความสำคัญ ได้แก่
(1) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับสู่สำนักเลขาธิการสหประชาชาติ โดยการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสำนักเลขาธิการฯ กับประเทศสมาชิก
(2) สนับสนุนการขยายบทบาทของสหประชาชาติในการสร้างความปรองดองแห่งชาติในอิรัก และพม่า ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งในภูมิภาคต่าง ๆ อาทิ
ในดินแดนดาร์ฟูร์ของซูดาน ปัญหาสันติภาพในตะวันออกกลาง โดยการเจรจาทางการทูต การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และสิทธิมนุษยชน
(3) การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของประชาคมระหว่างประเทศให้ตระหนักถึงปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลก และส่งเสริมความร่วมมือเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว
นายบัน คี มูนเคยเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าของสาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 24-25 สิงหาคม 2547
สหประชาชาติ
สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2488 (ค.ศ. 1945) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การเคารพในหลักความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ การส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาคมโลก ตลอดจนส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ ปัจจุบันสหประชาชาติมีอายุครบ 62 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สหประชาชาติและประเทศสมาชิกให้ความสำคัญกับการปฏิรูปองค์กรนี้อย่างจริงจัง
สหประชาชาติมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีสมาชิก 192 ประเทศ ประกอบด้วย 6 องค์กรหลัก คือ สมัชชา (General Assembly — UNGA) คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council — UNSC) คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council — ECOSOC) คณะมนตรีภาวะทรัสตี (Trusteeship Council) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice — ICJ) และสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ (Secretariat) ซึ่งมีเลขาธิการสหประชาชาติ (Secretary-General) เป็นผู้บริการสูงสุดขององค์กร เลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ นายบัน คี มูน ชาวเกาหลีใต้ โดยองค์กรหลักดังกล่าวมีสำนักงานอยู่ที่นครนิวยอร์ก ยกเว้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
ความร่วมมือระหว่างไทยกับสหประชาชาติ
ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติลำดับที่ 55 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2489 หลังจากที่สหประชาชาติก่อตั้งขึ้น 1 ปี และได้ให้ความร่วมมือกับสหประชาชาติในด้านสันติภาพ ความมั่นคง เศรษฐกิจและการพัฒนา และด้านสังคมด้วยดีมาโดยตลอด และบทบาทที่สำคัญของไทยที่ได้กระทำอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การเข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพและสร้างสันติภาพ การเป็นที่ตั้งของหน่วยงานต่าง ๆ ของสหประชาชาติ เช่น เอสแคป และการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมมาโดยตลอด
บุคคลสำคัญของไทยกับสหประชาชาติ
พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างปี 2495-2501 ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานสมัชชาของสหประชาชาติ นอกจากนี้ มีคนไทยที่ได้รับแต่งตั้งจากสหประชาชาติให้ดำรงตำแหน่งและได้รับการยกย่องที่สำคัญ ได้แก่ นายอานันท์ ปันยารชุน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตองค์การยูนิเซฟ ประจำประเทศไทยตั้งแต่ปี 2539 และเมื่อปี 2547 ได้รับแต่งตั้งจากนายโคฟี่ อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติให้เป็นประธานคณะผู้ทรงคุณวุฒิว่าด้วยภัยคุกคาม สิ่งท้าทาย และการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรายงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวได้กำหนดแนวทางพื้นฐานที่สำคัญในการปฏิรูปสหประชาชาติในเวลาต่อมา และนายศุภชัย พานิชภักดิ์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) คนปัจจุบัน นอกจากนี้ ประเทศไทยได้มีโอกาสเข้ารับหน้าที่สำคัญในตำแหน่งต่าง ๆ ในองค์กรของสหประชาชาติ อาทิ สมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ระหว่างปี 2528-2529 ด้วย
เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 นายโคฟี่ อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติได้รับพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนาของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและแสดงให้เห็นว่า สหประชาชาติได้ตระหนักถึงการที่พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายและพระวิริยะอุตสาหะในการทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจและดำเนินโครงการในพระบรมราชูปถัมภ์นานัปการเพื่อการพัฒนายกระดับความเป็นอยู่ รวมทั้งนำประโยชน์และความเจริญอย่างยั่งยืนมาสู่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศมาโดยตลอด
ความร่วมมือแบบหุ้นส่วนระหว่างไทยกับสหประชาชาติ
ปัจจุบันรัฐบาลไทยและสหประชาชาติได้ดำเนินความร่วมมือแบบหุ้นส่วนภายใต้กรอบภาคีความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (Thailand — United Nations Partnership Framework: UNPAF) ครอบคลุมระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี (2550 - 2554) UNPAF เป็นกรอบงานสำหรับการให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของหน่วยงานสหประชาชาติในประเทศไทยที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน และสอดคล้องกับความต้องการตามแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทย โดยเน้นการดำเนินงานความร่วมมือใน 5 สาขา ได้แก่ (1) การเข้าถึงความคุ้มครองและบริการทางสังคมที่มีคุณภาพ (2) การกระจายอำนาจขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นและส่วนภูมิภาค (3) การเข้าถึงการป้องกัน และการดูแลรักษาโรค (4) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ (5) การสนับสนุนความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของประเทศไทย ทั้งนี้ ในการดำเนินงานตามกรอบ UNPAF หน่วยงานสหประชาชาติในประเทศไทยจะจัดทำแผนปฏิบัติการสำหรับการดำเนินโครงการระดับประเทศ (Country Programme Action Plan—CPAP)
ไทยในฐานะศูนย์กลางของสหประชาชาติในภูมิภาค
ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของหน่วยงานสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ภายใต้ระบบสหประชาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยกรุงเทพมหานครได้เป็นที่ตั้งขององค์การในระดับภูมิภาคและสำนักงานที่สำคัญของสหประชาชาติหลายองค์การ ได้แก่ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (เอสแคป) สำนักงานส่วนภูมิภาคของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งการที่ประเทศไทยได้เป็นที่ตั้งของหน่วยงานสหประชาชาติหลายหน่วยงานได้เปิดโอกาสให้ความร่วมมือระหว่างไทยกับสหประชาชาติในด้านต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างใกล้ชิดซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ภูมิหลัง
นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติและภริยามีกำหนดจะเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 9-11 ธันวาคม 2550 ก่อนเดินทางไปร่วมการประชุมรัฐภาคี United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) หรือที่เรียกว่า Bali Conference on Climate Change ณ บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในวันที่ 11-13 ธันวาคม 2550 และภายหลังการประชุมดังกล่าวจะเดินทางไปเยือนติมอร์-เลสเต โดยการเยือนประเทศไทยครั้งนี้เป็นไปตามคำเชิญของพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในช่วงการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 62 เมื่อเดือนกันยายน 2550 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
กำหนดการของเลขาธิการสหประชาชาติ
ในวันที่ 10 ธันวาคม 2550 เลขาธิการสหประชาชาติมีกำหนดการหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรี และพบปะเยี่ยมเยียนเจ้าหน้าที่สหประชาชาติที่ประจำในประเทศไทย พร้อมทั้งจัดการประชุม United Nations on Climate Change, Green Growth and Inclusive Development ซึ่งเป็นกิจกรรมภายในของสหประชาชาติที่สำนักงานคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก หรือ เอสแคป (UNESCAP) จากนั้น เลขาธิการสหประชาชาติและภริยาจะเยี่ยมชมโครงการงานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง ณ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ก่อนที่จะเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ
พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และเข้าร่วมงานเลี้ยงรับรอง ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ซึ่งนาง Noeleen Heyzer เลขาธิการบริหารคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก เป็นเจ้าภาพเลี้ยงรับรองเพื่อเป็นเกียรติแก่เลขาธิการสหประชาชาติและภริยา
ประเด็นสำคัญของการเยือนฯ
โดยที่การเดินทางเยือนประเทศไทยของเลขาธิการสหประชาชาติในครั้งนี้ เป็นการเยือนประเทศในเอเชียประเทศแรก กอปรกับเป็นช่วงมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา และในวันที่ 16 ธันวาคม 2550 จะเป็นวันครบรอบ 61 ปี ของความสัมพันธ์ไทยกับสหประชาชาติ การเยือนครั้งนี้ถือเป็นการเยือนประเทศไทยครั้งแรกของเลขาธิการสหประชาชาติภายหลังจากที่นายโคฟี่ อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติเคยเดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UN Development Programme Lifetime Achievement Award) แด่พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2549 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญที่สหประชาชาติตระหนักดีต่อแนวทางการพัฒนามนุษย์อย่างยั่งยืนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในการนี้ จึงเป็นโอกาสอันดีที่ฝ่ายไทยจะทำให้สหประชาชาติมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับบทบาทไทยในฐานะประเทศสมาชิกที่ดี มีความรับผิดชอบ และน่าเชื่อถือ ตลอดจนยืนยันความมุ่งมั่นที่จะขยายความเป็นหุ้นส่วน (partnership) ระหว่างไทยกับสหประชาชาติในการดำเนินการด้านต่าง ๆ ที่ประเทศไทยและสหประชาชาติให้ความสำคัญ โดยกรอบการเยือนฯ ในครั้งนี้ คือ Thailand-UN Partnership for Sustainable Development and Climate Change โดยประเด็นการหารือข้อราชการระหว่างฝ่ายไทยและสหประชาชาติในวันที่ 10 ธันวาคม 2550 จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับสหประชาชาติในลักษณะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และประเด็นทางด้านสังคม อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงานทางเลือก การให้ความร่วมมือในลักษณะไตรภาคี (Trilateral arrangements) ความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (South-South Cooperation) สาธารณสุข และผู้หนีภัย นอกจากนี้จะเป็นโอกาสอันดีที่ฝ่ายไทยและฝ่ายสหประชาชาติจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่มีความสนใจร่วมกัน อาทิ บทบาทของไทยในปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ การปฏิรูปสหประชาชาติ และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติ
-------------------------------------------------
ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลเกี่ยวกับเลขาธิการสหประชาชาติ
นายบัน คี มูน ชาวเกาหลีใต้ เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติคนที่ 8 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2550 มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และประเด็นที่นายบัน คี มูนให้ความสำคัญ ได้แก่
(1) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับสู่สำนักเลขาธิการสหประชาชาติ โดยการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสำนักเลขาธิการฯ กับประเทศสมาชิก
(2) สนับสนุนการขยายบทบาทของสหประชาชาติในการสร้างความปรองดองแห่งชาติในอิรัก และพม่า ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งในภูมิภาคต่าง ๆ อาทิ
ในดินแดนดาร์ฟูร์ของซูดาน ปัญหาสันติภาพในตะวันออกกลาง โดยการเจรจาทางการทูต การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และสิทธิมนุษยชน
(3) การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของประชาคมระหว่างประเทศให้ตระหนักถึงปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลก และส่งเสริมความร่วมมือเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว
นายบัน คี มูนเคยเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าของสาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 24-25 สิงหาคม 2547
สหประชาชาติ
สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2488 (ค.ศ. 1945) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การเคารพในหลักความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ การส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาคมโลก ตลอดจนส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ ปัจจุบันสหประชาชาติมีอายุครบ 62 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สหประชาชาติและประเทศสมาชิกให้ความสำคัญกับการปฏิรูปองค์กรนี้อย่างจริงจัง
สหประชาชาติมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีสมาชิก 192 ประเทศ ประกอบด้วย 6 องค์กรหลัก คือ สมัชชา (General Assembly — UNGA) คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council — UNSC) คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council — ECOSOC) คณะมนตรีภาวะทรัสตี (Trusteeship Council) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice — ICJ) และสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ (Secretariat) ซึ่งมีเลขาธิการสหประชาชาติ (Secretary-General) เป็นผู้บริการสูงสุดขององค์กร เลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ นายบัน คี มูน ชาวเกาหลีใต้ โดยองค์กรหลักดังกล่าวมีสำนักงานอยู่ที่นครนิวยอร์ก ยกเว้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
ความร่วมมือระหว่างไทยกับสหประชาชาติ
ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติลำดับที่ 55 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2489 หลังจากที่สหประชาชาติก่อตั้งขึ้น 1 ปี และได้ให้ความร่วมมือกับสหประชาชาติในด้านสันติภาพ ความมั่นคง เศรษฐกิจและการพัฒนา และด้านสังคมด้วยดีมาโดยตลอด และบทบาทที่สำคัญของไทยที่ได้กระทำอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การเข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพและสร้างสันติภาพ การเป็นที่ตั้งของหน่วยงานต่าง ๆ ของสหประชาชาติ เช่น เอสแคป และการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมมาโดยตลอด
บุคคลสำคัญของไทยกับสหประชาชาติ
พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างปี 2495-2501 ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานสมัชชาของสหประชาชาติ นอกจากนี้ มีคนไทยที่ได้รับแต่งตั้งจากสหประชาชาติให้ดำรงตำแหน่งและได้รับการยกย่องที่สำคัญ ได้แก่ นายอานันท์ ปันยารชุน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตองค์การยูนิเซฟ ประจำประเทศไทยตั้งแต่ปี 2539 และเมื่อปี 2547 ได้รับแต่งตั้งจากนายโคฟี่ อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติให้เป็นประธานคณะผู้ทรงคุณวุฒิว่าด้วยภัยคุกคาม สิ่งท้าทาย และการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรายงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวได้กำหนดแนวทางพื้นฐานที่สำคัญในการปฏิรูปสหประชาชาติในเวลาต่อมา และนายศุภชัย พานิชภักดิ์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) คนปัจจุบัน นอกจากนี้ ประเทศไทยได้มีโอกาสเข้ารับหน้าที่สำคัญในตำแหน่งต่าง ๆ ในองค์กรของสหประชาชาติ อาทิ สมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ระหว่างปี 2528-2529 ด้วย
เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 นายโคฟี่ อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติได้รับพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนาของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและแสดงให้เห็นว่า สหประชาชาติได้ตระหนักถึงการที่พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายและพระวิริยะอุตสาหะในการทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจและดำเนินโครงการในพระบรมราชูปถัมภ์นานัปการเพื่อการพัฒนายกระดับความเป็นอยู่ รวมทั้งนำประโยชน์และความเจริญอย่างยั่งยืนมาสู่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศมาโดยตลอด
ความร่วมมือแบบหุ้นส่วนระหว่างไทยกับสหประชาชาติ
ปัจจุบันรัฐบาลไทยและสหประชาชาติได้ดำเนินความร่วมมือแบบหุ้นส่วนภายใต้กรอบภาคีความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (Thailand — United Nations Partnership Framework: UNPAF) ครอบคลุมระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี (2550 - 2554) UNPAF เป็นกรอบงานสำหรับการให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของหน่วยงานสหประชาชาติในประเทศไทยที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน และสอดคล้องกับความต้องการตามแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทย โดยเน้นการดำเนินงานความร่วมมือใน 5 สาขา ได้แก่ (1) การเข้าถึงความคุ้มครองและบริการทางสังคมที่มีคุณภาพ (2) การกระจายอำนาจขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นและส่วนภูมิภาค (3) การเข้าถึงการป้องกัน และการดูแลรักษาโรค (4) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ (5) การสนับสนุนความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของประเทศไทย ทั้งนี้ ในการดำเนินงานตามกรอบ UNPAF หน่วยงานสหประชาชาติในประเทศไทยจะจัดทำแผนปฏิบัติการสำหรับการดำเนินโครงการระดับประเทศ (Country Programme Action Plan—CPAP)
ไทยในฐานะศูนย์กลางของสหประชาชาติในภูมิภาค
ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของหน่วยงานสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ภายใต้ระบบสหประชาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยกรุงเทพมหานครได้เป็นที่ตั้งขององค์การในระดับภูมิภาคและสำนักงานที่สำคัญของสหประชาชาติหลายองค์การ ได้แก่ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (เอสแคป) สำนักงานส่วนภูมิภาคของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งการที่ประเทศไทยได้เป็นที่ตั้งของหน่วยงานสหประชาชาติหลายหน่วยงานได้เปิดโอกาสให้ความร่วมมือระหว่างไทยกับสหประชาชาติในด้านต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างใกล้ชิดซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-