กรุงเทพ--12 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อ 59 ปีที่ผ่านมา ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้รับการรับรองโดยประชาคมระหว่างประเทศในฐานะที่เป็น “มาตรฐานแห่งความสำเร็จร่วมกันสำหรับประชาชนทั้งมวลและ ทุกประเทศ” ในวันนี้ ความพยายามของประชาคมระหว่างประเทศในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเข้มแข็ง ขึ้นกว่าแต่ก่อน ในโอกาสนี้ ประเทศไทยได้ร่วมกับประชาชนในประเทศอื่น ๆ เฉลิมฉลองวันสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ พร้อมๆ กับการเฉลิมฉลองวันรัฐธรรมนูญของไทย
หัวข้อของการรำลึกถึงวันดังกล่าวในปีนี้ คือ “ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์และความยุติธรรมสำหรับ ทุกคน” หลักการดังกล่าวมีพื้นฐานจากความเชื่อสากลที่ว่า มนุษย์ทุกคนมีคุณค่าและสมควรได้รับความเคารพอย่าง ไม่มีเงื่อนไข โดยไม่จำกัดอายุ เพศ แหล่งเชื้อชาติ ชนชั้นวรรณะ อุดมการณ์ทางการเมืองหรือศาสนา ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเองก็ระบุไว้ว่า “การยอมรับในศักดิ์ศรีที่มีในตนเอง สิทธิที่เท่าเทียมกันและที่ไม่สามารถพรากออกไปจากมนุษย์ทุกคนได้ คือรากฐานของเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพในโลก” ดังนั้น มนุษย์ทุกคนไม่ว่า จะเป็นใคร และไม่ว่าจะมาจากไหน เป็นเจ้าของสิทธิและศักดิ์ศรีเหมือนกันทั้งหมด
ประเทศไทยปรารถนาที่จะเห็นสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และความยุติธรรมสำหรับทุกคนแพร่หลายไม่เพียงแต่ในระดับระหว่างประเทศ แต่รวมถึงในระดับชาติและในทุกประเทศด้วย ประเทศไทยยอมรับว่าไม่มีประเทศใดที่มีความสมบูรณ์ในเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่หากเราร่วมมือกันทำงานอย่างสร้างสรรค์ ด้วยความเคารพในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและหลักขันติธรรม และด้วยความพยายามที่จะเข้าใจกันและกันให้ดียิ่งขึ้น เราก็จะสามารถสร้างความก้าวหน้าให้กับสิทธิมนุษยชนด้วยกันได้
พันธกรณีอันแข็งขันของไทยในการส่งเสริมและคุ้มครองศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และความ ยุติธรรมสำหรับทุกคน สามารถเห็นได้จากความพยายามอย่างต่อเนื่องของไทย ในการเข้าเป็นภาคีตราสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2550 ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรี ซึ่งเป็นสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับที่ 6 ซึ่งไทยได้เข้าเป็นภาคี นอกจากนี้ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 159 ว่าด้วยการฟื้นฟูอาชีพและการจ้างงานคนพิการ และก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 30 มีนาคมของ ปีนี้ ประเทศไทยได้ลงนามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของบุคคลผู้มีความพิการและกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินกระบวนการภายในเพื่อให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับนี้
พันธกรณีของไทยต่อสิทธิมนุษยชนยังได้สะท้อนอยู่ในรัฐธรรมนูญใหม่ของไทย ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับแรกที่ได้รับการรับรองในการลงประชามติทั่วประเทศ หัวใจของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่คือความตั้งใจที่จะเสริม ความเข้มแข็งให้กับข้อบทต่างๆ ที่ประกันการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการทางการเมือง ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล และการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลทางประชาธิปไตย ขณะนี้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีผลบังคับใช้แล้วและกำลังมีการ ดำเนินกระบวนการต่าง ๆ ทางด้านนิติบัญญัติ เพื่อประกันการเลือกตั้งทั่วไปที่อิสระและยุติธรรม ซึ่งจะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคมที่จะถึงนี้
นอกเหนือจากภายในประเทศ การรับรองกฎบัตรอาเซียนในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน และความตั้งใจที่จะจัดตั้งองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนอาเซียน ซึ่งไทยเป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญและเป็นกำลังผลักดันตั้งแต่เริ่มต้น แสดงให้เห็นว่าประเทศสมาชิกอาเซียนมองตัวเองที่จะผูกพันกันไม่เพียงแต่ชะตาที่มีร่วมกัน แต่ยังรวมถึง ค่านิยมร่วมในสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง ประชาธิปไตย ความเสมอภาค ความยุติธรรม และการเคารพสิทธิมนุษยชน ภายใต้กฎบัตรอาเซียนและความพยายามอย่างแข็งขันของประเทศสมาชิกอาเซียน ความเคารพในศักดิ์ศรีและความยุติธรรมจะกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญยิ่งขึ้นของประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นประชาคมที่อาจเกิดขึ้นจากชาติสมาชิกร่วมกันผลักดัน แต่ก็มีประชาชนเป็นศูนย์กลางที่สำคัญที่สุด
ท้ายที่สุดนี้ ในนามของประชาชนชาวไทย ข้าพเจ้าขอแสดงความชื่นชมสหประชาชาติในความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และขอถือโอกาสนี้ยืนยันอีกครั้งถึงพันธกรณีของ ประเทศไทยที่จะทำให้สิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยในประเทศไทยก้าวไปข้างหน้า รวมทั้งร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคและประชาคมระหว่างประเทศในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั่วโลก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อ 59 ปีที่ผ่านมา ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้รับการรับรองโดยประชาคมระหว่างประเทศในฐานะที่เป็น “มาตรฐานแห่งความสำเร็จร่วมกันสำหรับประชาชนทั้งมวลและ ทุกประเทศ” ในวันนี้ ความพยายามของประชาคมระหว่างประเทศในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเข้มแข็ง ขึ้นกว่าแต่ก่อน ในโอกาสนี้ ประเทศไทยได้ร่วมกับประชาชนในประเทศอื่น ๆ เฉลิมฉลองวันสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ พร้อมๆ กับการเฉลิมฉลองวันรัฐธรรมนูญของไทย
หัวข้อของการรำลึกถึงวันดังกล่าวในปีนี้ คือ “ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์และความยุติธรรมสำหรับ ทุกคน” หลักการดังกล่าวมีพื้นฐานจากความเชื่อสากลที่ว่า มนุษย์ทุกคนมีคุณค่าและสมควรได้รับความเคารพอย่าง ไม่มีเงื่อนไข โดยไม่จำกัดอายุ เพศ แหล่งเชื้อชาติ ชนชั้นวรรณะ อุดมการณ์ทางการเมืองหรือศาสนา ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเองก็ระบุไว้ว่า “การยอมรับในศักดิ์ศรีที่มีในตนเอง สิทธิที่เท่าเทียมกันและที่ไม่สามารถพรากออกไปจากมนุษย์ทุกคนได้ คือรากฐานของเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพในโลก” ดังนั้น มนุษย์ทุกคนไม่ว่า จะเป็นใคร และไม่ว่าจะมาจากไหน เป็นเจ้าของสิทธิและศักดิ์ศรีเหมือนกันทั้งหมด
ประเทศไทยปรารถนาที่จะเห็นสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และความยุติธรรมสำหรับทุกคนแพร่หลายไม่เพียงแต่ในระดับระหว่างประเทศ แต่รวมถึงในระดับชาติและในทุกประเทศด้วย ประเทศไทยยอมรับว่าไม่มีประเทศใดที่มีความสมบูรณ์ในเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่หากเราร่วมมือกันทำงานอย่างสร้างสรรค์ ด้วยความเคารพในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและหลักขันติธรรม และด้วยความพยายามที่จะเข้าใจกันและกันให้ดียิ่งขึ้น เราก็จะสามารถสร้างความก้าวหน้าให้กับสิทธิมนุษยชนด้วยกันได้
พันธกรณีอันแข็งขันของไทยในการส่งเสริมและคุ้มครองศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และความ ยุติธรรมสำหรับทุกคน สามารถเห็นได้จากความพยายามอย่างต่อเนื่องของไทย ในการเข้าเป็นภาคีตราสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2550 ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรี ซึ่งเป็นสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับที่ 6 ซึ่งไทยได้เข้าเป็นภาคี นอกจากนี้ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 159 ว่าด้วยการฟื้นฟูอาชีพและการจ้างงานคนพิการ และก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 30 มีนาคมของ ปีนี้ ประเทศไทยได้ลงนามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของบุคคลผู้มีความพิการและกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินกระบวนการภายในเพื่อให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับนี้
พันธกรณีของไทยต่อสิทธิมนุษยชนยังได้สะท้อนอยู่ในรัฐธรรมนูญใหม่ของไทย ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับแรกที่ได้รับการรับรองในการลงประชามติทั่วประเทศ หัวใจของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่คือความตั้งใจที่จะเสริม ความเข้มแข็งให้กับข้อบทต่างๆ ที่ประกันการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการทางการเมือง ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล และการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลทางประชาธิปไตย ขณะนี้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีผลบังคับใช้แล้วและกำลังมีการ ดำเนินกระบวนการต่าง ๆ ทางด้านนิติบัญญัติ เพื่อประกันการเลือกตั้งทั่วไปที่อิสระและยุติธรรม ซึ่งจะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคมที่จะถึงนี้
นอกเหนือจากภายในประเทศ การรับรองกฎบัตรอาเซียนในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน และความตั้งใจที่จะจัดตั้งองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนอาเซียน ซึ่งไทยเป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญและเป็นกำลังผลักดันตั้งแต่เริ่มต้น แสดงให้เห็นว่าประเทศสมาชิกอาเซียนมองตัวเองที่จะผูกพันกันไม่เพียงแต่ชะตาที่มีร่วมกัน แต่ยังรวมถึง ค่านิยมร่วมในสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง ประชาธิปไตย ความเสมอภาค ความยุติธรรม และการเคารพสิทธิมนุษยชน ภายใต้กฎบัตรอาเซียนและความพยายามอย่างแข็งขันของประเทศสมาชิกอาเซียน ความเคารพในศักดิ์ศรีและความยุติธรรมจะกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญยิ่งขึ้นของประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นประชาคมที่อาจเกิดขึ้นจากชาติสมาชิกร่วมกันผลักดัน แต่ก็มีประชาชนเป็นศูนย์กลางที่สำคัญที่สุด
ท้ายที่สุดนี้ ในนามของประชาชนชาวไทย ข้าพเจ้าขอแสดงความชื่นชมสหประชาชาติในความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และขอถือโอกาสนี้ยืนยันอีกครั้งถึงพันธกรณีของ ประเทศไทยที่จะทำให้สิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยในประเทศไทยก้าวไปข้างหน้า รวมทั้งร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคและประชาคมระหว่างประเทศในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั่วโลก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-