กรุงเทพ--19 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันที่ 19 ธันวาคม 2550 ณ กระทรวงการต่างประเทศ นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายอ้วน พมมะจัก เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวประจำประเทศไทย ได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันสารสนธิสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยการโอนตัวผู้ต้องคำพิพากษาและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นตามคำพิพากษาในคดีอาญา โดยสนธิสัญญาฯ ดังกล่าวได้มีการลงนามฯ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2547 ณ เมืองปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
การแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารจะทำให้สนธิสัญญาฯ มีผลใช้บังคับทันที ตามความในข้อ 12 ของสนธิสัญญาฯ ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกมิติของความพยายามระหว่างกันที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือในด้านกระบวนการยุติธรรมระหว่างสองประเทศ โดยประเทศไทยมีพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาในคดีอาญา พ.ศ. 2527 เป็นกฎหมายรองรับสนธิสัญญาฯ ฉบับนี้
วัตถุประสงค์หลักในการจัดทำสนธิสัญญาดังกล่าว คือ การมุ่งที่จะช่วยให้ผู้ต้องคำพิพากษาสามารถปรับตัวกลับคืนสู่สังคมของตนได้ สนธิสัญญาฯ นี้ได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ที่อนุญาตให้ผู้ต้องคำพิพากษาได้รับการโอนตัวกลับไปยังประเทศของตนเพื่อรับโทษที่เหลือ ภายหลังจากที่ผู้ต้องคำพิพากษาได้รับโทษจำคุกเป็นเวลาขั้นต่ำสุดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายของรัฐผู้โอนแล้ว ดังนั้น สนธิสัญญาฯ ฉบับนี้จึงเป็นเสมือนกรอบความร่วมมือที่จะช่วยเสริมสร้างให้ความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมายและการบริหารงานกระบวนการยุติธรรมระหว่างไทยกับลาวมีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
วันที่ 19 ธันวาคม 2550 ณ กระทรวงการต่างประเทศ นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายอ้วน พมมะจัก เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวประจำประเทศไทย ได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันสารสนธิสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยการโอนตัวผู้ต้องคำพิพากษาและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นตามคำพิพากษาในคดีอาญา โดยสนธิสัญญาฯ ดังกล่าวได้มีการลงนามฯ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2547 ณ เมืองปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
การแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารจะทำให้สนธิสัญญาฯ มีผลใช้บังคับทันที ตามความในข้อ 12 ของสนธิสัญญาฯ ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกมิติของความพยายามระหว่างกันที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือในด้านกระบวนการยุติธรรมระหว่างสองประเทศ โดยประเทศไทยมีพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาในคดีอาญา พ.ศ. 2527 เป็นกฎหมายรองรับสนธิสัญญาฯ ฉบับนี้
วัตถุประสงค์หลักในการจัดทำสนธิสัญญาดังกล่าว คือ การมุ่งที่จะช่วยให้ผู้ต้องคำพิพากษาสามารถปรับตัวกลับคืนสู่สังคมของตนได้ สนธิสัญญาฯ นี้ได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ที่อนุญาตให้ผู้ต้องคำพิพากษาได้รับการโอนตัวกลับไปยังประเทศของตนเพื่อรับโทษที่เหลือ ภายหลังจากที่ผู้ต้องคำพิพากษาได้รับโทษจำคุกเป็นเวลาขั้นต่ำสุดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายของรัฐผู้โอนแล้ว ดังนั้น สนธิสัญญาฯ ฉบับนี้จึงเป็นเสมือนกรอบความร่วมมือที่จะช่วยเสริมสร้างให้ความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมายและการบริหารงานกระบวนการยุติธรรมระหว่างไทยกับลาวมีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-